นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 26 เม.ย. 2024 2:59 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 26 พ.ย. 2008 2:39 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
รูปหล่อขนาด5 นิ้ว บูชาครับ หากใครเจอที่ไหนอย่าให้พลาดนะครับ มีออกหลายๆปีๆยุคแรกๆ2498-2506จะสีดำใต้ฐานดินไทย รุ่นต่อมาก็จะอุดปูนพลาสเตอร์ครับ แต่ก็ราวๆปี2516-2525มีป้ายชื่อหลวงพ่อและวัด เป็นแบบเชื่อมติด แต่รุ่นหลังๆมาก็มักจะเป็นแบบนี้แล้วครับ มีหน้าตักตั้งแต่ 3นิ้ว 5นิ้ว 7นิ้ว 9นิ้ว 12 นิ้วครับ ผ่านไปที่วัด บูชามาเป็นศิริมงคลบ้างนะครับ เป็นพระประธานในบ้านก็ดีครับ


แนบไฟล์:
1342297.jpg

1342299.jpg

ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 26 พ.ย. 2008 7:11 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 14 ต.ค. 2008 9:22 pm
โพสต์: 832
:grt: ขอบคุณ คับ :grt:

_________________
"สติเป็นบ่อเกิดของธรรม ใครอยากให้ธรรมเกิด พึงมีสติอยู่ทุกเมื่อ"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 26 พ.ย. 2008 10:20 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
งามสุด สุด ครับ

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 27 พ.ย. 2008 1:28 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบพระคุณครับ สำหรับความรู้ประดับสติปัญญา

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 27 พ.ย. 2008 7:52 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
...ตามตำนานประวัติของ หลวงพ่อโต ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ประมาณกาล ๒๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ได้มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ปาฏิหาริย์ลงมาจากทางเหนือ ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดมา พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ เข้าใจว่าปวงชนในกรุงศรีอยุธยาคงอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบหนีข้าศึก ด้วยในสมัยนั้นบ้านเมืองได้เกิดสภาวะสงครามขึ้นกับพม่า พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้แสดงอภินิหารลอยล่องมาตามลำแม่น้ำและบางครั้งก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับ จนเป็นที่โจษจันกันทั่วถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จนล่วงมาถึงตำบล ๆ หนึ่ง ท่านก็ได้ผุดให้คนเห็นเป็นอัศจรรย์ พวกเหล่าประชาชนในตำบลนั้น ต่างก็พร้อมใจกันทำพิธีอาราธนาท่านขึ้นสู่ฝั่ง ฝูงชนประมาณ ๓ แสนคน ช่วยกันฉุดลากชะลอองค์ท่าน ก็ไม่สามารถนำท่านขึ้นสู่ฝั่งได้ และท่านก็กลับจมลงหายไปในแม่น้ำอีก ยังความเศร้าโศกเสียดายของประชาชนในตำบลนั้นเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาตำบลนั้นจึงถูกเรียกชื่อว่า "ตำบลสามแสน" แต่ต่อมาก็ถูกเรียกกลับกลายเป็น "ตำบลสามเสน" มาจนกระทั่งบัดนี้
...พระพุทธรูปได้ล่องลอยทวนน้ำมาทั้ง ๓ องค์โดยลำดับ ครั้งหนึ่งปรากฏว่าได้ล่องลอยไปจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แสดงอภินิหารปรากฏให้ผู้คนเห็นอีก ประชาชนต่างก็ได้ช่วยกันอาราธนาและฉุดชะลอท่านขึ้นจากลำน้ำ แต่ก็ไม่สำเร็จอีก
...พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้ลอยทวนน้ำและจมหายไป ณ ที่แห่งนั้น จึงได้ชื่อว่า "สามพระทวน" แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเรียกกันอีกเป็น "สัมปทวน" คือ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปัจจุบัน
...พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ท่านล่องลอยผ่าน ณ ที่ใดที่นั่นก็จะมีชื่อเรียกกันใหม่ทุกครั้งดังเช่น ท่านได้แสดงอภินิหารล่องลอยให้ผู้คนเห็นเป็นอัศจรรย์เรื่อยมาในแม่น้ำบางปะกง ผู้คนมากมายพยายามที่จะอาราธนาท่านขึ้นแต่ก็ไม่สำเร็จอีก ณ สถานที่นั้นจึงได้มีชื่อเรียกกันว่า "บางพระ" ซึ่งเรียกว่า "คลองบางพระ" ในปัจจุบัน
...ครั้นต่อมาภายหลังปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์หนึ่งไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ "วัดบ้านแหลม" จังหวัดสมุทรสงคราม และต่อมาในเวลาไล่เลี่ยกันพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งก็ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ "วัดโสธร" จังหวัดฉะเชิงเทรา
...และอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนพบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่วถึงความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร พร้อมกับพากันอาราธนาท่านขึ้นที่ปากคลองสำโรงนั้น แต่ท่านก็ไม่ยอมขึ้น และในที่นั้นได้มีผู้มีปัญญาดีคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่าคงเป็นเพราะบุญญาอภินิหารของท่าน แม้จะใช้จำนวนผู้คนสักเท่าไรอาราธนาฉุดท่านขึ้นบนฝั่งคงไม่สำเร็จเป็นแน่ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยมาตามลำน้ำสำโรง และอธิษฐานว่า "หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด ก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด" เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องดีกันดังนั้นแล้วก็พร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือซึ่งสมัยนั้นเป็นเรือพายทั้งสิ้นช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลอง เรือที่ใช้ลากจูงแพมานั้นมีชื่อแปลกต่าง ๆ กัน เช่น ม้าน้ำ เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่น ๆ เป็นต้น และจัดให้มีการละเล่นต่าง ๆ มีละครเจ้ากรับรำถวายมาตลอดทาง และการละเล่นอื่น ๆ ครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน แพที่ผูกชะลอองค์ท่านก็เกิดหยุดนิ่ง พยายามจ้ำและพายกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่ ประชาชนที่มากับเรือและชาวบางพลีถึงกับยินดีและเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนักต่างก้มลงกราบนมัสการด้วยความเคารพ และเปี่ยมด้วยสักการะจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ก็ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด"
...และก็เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก เพียงใช้คนไม่มากนักก็สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้โดยง่าย ทำให้ประชาชนต่างแซ่ซ้องในอภินิหารของท่านเป็นอย่างยิ่ง และได้อาราธนาท่านขึ้นไปประดิษฐานในพระวิหารซึ่งต้องชะลอท่านขึ้นข้ามฝาผนังวิหารเพราะขณะนั้นหลังคาพระวิหารยังไม่มี และประตูวิหารก็เล็กมาก ต่อจากนั้นท่านจึงได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารนั้นเรื่อยมา ครั้นต่อมาได้รื้อวิหารนั้นอีกเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร จึงต้องชะลออาราธนาองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถเพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน การที่ท่านได้พระนามว่า "หลวงพ่อโต" นั้นคงเป็นเพราะองค์ของท่านใหญ่โตสมกับที่ประชาชนเรียก คือใหญ่โตกว่าองค์ที่ลอยน้ำมาด้วยกันทั้ง ๒ องค์ จึงถือเป็นนิมิตอันดีให้ประชาชนพากันถวายนามว่า "หลวงพ่อโต" เป็นสิ่งที่เคารพสักการะของชาวบางพลี และเป็นมิ่งขวัญของวัดบางพลีใหญ่ในมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
...การที่ลำดับว่าองค์ไหนเป็นองค์พี่ องค์กลาง องค์น้องนั้น และลอยมาพร้อมกันตามตำนานที่สืบต่อกันมา เข้าใจว่าคงจะนับเอาองค์ที่อาราธนาขึ้นจากน้ำได้ก่อนเป็นองค์พี่ ขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๒ เป็นองค์กลาง และขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๓ เป็นองค์น้อง ตามลำดับคือ
...๑.หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๑ เป็นองค์พี่ (โปรดติดตามประวัติที่จะเสนอต่อไป)
...๒.หลวงพ่อโสธร วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๒ เป็นองค์กลาง (โปรดติดตามประวัติที่จะเสนอต่อไป)
...๓.หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๓ เป็นองค์น้อง เรียงกันมาตามลำดับ...


แนบไฟล์:
WatBP10.jpg

ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 27 พ.ย. 2008 7:55 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 30 ก.ย. 2008 10:00 am
โพสต์: 634
ประเพณี รับบัว
ประเพณีรับบัว นี้เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบกันมาแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ
ความเป็นมาของประเพณีมีความดังนี้
ในสมัยก่อนนั้น ในแถบอำเภอบางพลีมีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 พวก ด้วยกัน คือ คนไทย
คนรามัญ คนลาว ซึ่งแต่ละพวกก็มีผู้ควบคุมดูแล ซึ่งแต่ละพวกก็ทำมาหากินในอาชีพต่าง ๆ กันและ
ต่อมา กาลครั้งหนึ่ง ทั้งไทย รามัญ ลาว ทั้งสามพวกก็ได้ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วย กันหักร้าง
ถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่และทำสวนต่อไป ซึ่งแต่ก่อนนี้เต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขม และ
พันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นเต็มพรืดไปหมด มีสัตว์ร้ายนานาชนิดจำนวนมากอาศัยอยู่ทางฝั่งใต้ของลำคลอง
ก็เต็มไปด้วยป่าแสมน้ำก็เป็นน้ำเค็ม ทางฝั่งเหนือก็เต็มไปด้วยบึงใหญ่ ๆ ภายในบึงแต่ละบึงก็ลึกลุ่ม
มีบัวหลวงขึ้นมากมาย พวกคนไทย รามัญ ลาว ต่างก็พยายามช่วยกันหักล้าง ถางพงเรื่อยมาจนถึงทาง
สามแยก คือ ทางหนึ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทางหนึ่งไปทางทิศเหนือทางหนึ่งไปทางทิศตะวัน
ออกเฉียงเหนือ คือ คลองสลุด 1 คลองชวดลากข้าว 1 คลองลาดกระบัง1 พอมาถึงตรงนี้คนทั้ง 3 พวกต่าง
ก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันไปทำมาหากินกันคนละทางจะดีกว่า เพื่อจะได้รู้ถึงภูมิประเทศว่าด้าน
ไหนจะหากินได้คล่องกว่ากัน เมื่อตกลงกันดังนั้นแล้วจึงต่างก็แยกทางกันไป พวกคนลาวไปทางคลอง
สลุดพวกคนไทยไปคลองชวดลากข้าว พวกคนรามัญไปทางคลองลาดกระ-บัง ทำมาหากินกัน ต่อมาพวก
คนรามัญที่ แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนกและหนูชุกชุม
รบกวนพืชผลต่าง ๆ จนเสียหายเป็นอันมากเมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญต่างก็ปรึกษาหารือกัน
เพื่อเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิม คือทางฝั่งปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็พากันไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไป
มากมาย บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน ที่ปากลัด และได้สั่งเสียคนไทยที่รักใคร่สนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อ ๆ ไปเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยกัน
เก็บดอกบัวหลวงรวบรวมไว้ให้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วย แล้วพวกตนจะมารับเอาดอกบัวไป
เป็นด้วยอุปนิสัยของคนไทยนั้นมีจิตใจโอบอ้อมอารีพวกพ้องและผู้อื่นอยู่แล้วก็ตอบตกลงว่ายินดีที่จะจัดการเก็บดอกบัวไว้ให้พวกรามัญ
ก็ได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อโต พร้อมทั้งขอน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปเพื่อเป็นสิริมงคล แล้วลากลับถิ่นเดิมเพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
ต่อไป ครั้นในปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยต่างก็ช่วยกันเก็บดอกบัวมารวบรวมไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ใน ตามคำของร้องของพวก
รามัญ พวกรามัญก็พากันมารับดอกบัวไปเป็นประจำทุกปี การมาของพวกรามัญที่มารับดอกบัวไปนั้น ต่างพากันมาโดยทางเรือขนาดใหญ่หลายสิบลำ
แต่ละลำจุคนได้ 50-60 คน พวกรามัญจะมาถึงวัดบางพลีใหญ่ในเพื่อรับดอกบัวตอนตี 3-4 ทุกครั้ง และทุกครั้งที่มาถึงวัดต่างก็ตีฆ้องกลองร้องรำทำเพลง
และแสดงการละเล่นอะไรต่ออะไรต่าง ๆ อย่างสนุกสนานครึกครื้นไปด้วย ด้วยไมตรีจิตและมิตรภาพอันดียิ่ง และคนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่าง ๆ
เลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญกันดีแล้วพวกรามัญก็นำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโตในวิหาร และนำน้ำมนต์ของ
หลวงพ่อโตกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือนของตน ส่วนดอกบัวที่เหลืออยู่พวกรามัญต่างก็นำกลับไปบูชา พระคาถาพันของพวกเขาตามวัดของตน
ต่อไป ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของ “ประเพณีรับบัว” สืบต่อกันมาจนถึงบัดนี้ ส่วนการแห่หลวงพ่อโตนั้น แต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นในสมัยนี้ ใน
ราวปี พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกพ้องได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นในวัดนี้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้จัดให้มีการฉลอง โดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐม
เจดีย์นี้ไปตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์ กลางคืนก็จัดให้มี มหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไป
ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ต่อมาก็ได้มีการแห่รูปหลวงพ่อโตขึ้นแทนโดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ยและประชาชนในถิ่นนั้น
อันมีนายฉาย งามขำเป็นหัวหน้าฝ่ายประชาชน แห่ด้วยรูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2485 ก็ได้มีการทำรูปหุ่นจำลองขององค์หลวงพ่อ
โตสานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำมาแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ตกกลางคืนก็มีมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นมากมายหลายอย่าง
จนต่อมาถึงสมัยของพระครูพิศาลสมณวัตต์ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน มีพระครูวุฒิธรรมสุนทรปเป็นรองเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2497 ก็ได้จัดให้ทำ
การหล่อรูปจำลองหลวงพ่อโต หรืองานประเพณีรับบัว ก็สนุกสนานครึกครื้น วิวิฒนาการกันเรื่อยมา โดยมีการเล่นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น แข่งเรือ ประกวด
เรือประเภทต่าง ๆ แข่งขันกีฬาต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีมหรสพสมโภชมากมายหลายอย่างเอิกเกริก ครึกครื้นสนุกสนาน ด้วยความร่วมมือของประชาชน
ชาวอำเภอบางพลี และมีประชาชนจากต่างจังหวัดทั้งใกล้และไกล มานมัสการหลวงพ่อโตและเที่ยวงานประเพณีรับบัวอย่างสนุกสนาน งานนี้มีด้วยกัน
4 วัน คือ เริ่มตั้งแต่เดือน 11 ขึ้น 11 ค่ำ ถึง 14 ค่ำ ของทุกปี และงานประเพณีรับบัวนี้ จะยั่งยืนตลอดไปชั่วกาลนาน.


แนบไฟล์:
lotus.jpg

ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: หลวงพ่อโต บางพลี
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 28 พ.ย. 2008 12:38 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 29 ก.ย. 2008 12:53 pm
โพสต์: 754
ขอบคุณมากครับ

_________________
.........ถ้าเจ้าได้ทุกอย่างอย่างที่คิด
ชั่วชีวิตจะเอาของกองที่ไหน
จะได้บ้างเสียบ้างจะเป็นไร
ช่างหัวใครช่างหัวมันเท่านั้นเอง ..........


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO