นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 29 เม.ย. 2024 10:33 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สีลพตปรามาส
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 19 ก.พ. 2016 5:35 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4543
สีลัพพตปรามาส‬ ลูบ ๆ คลำ ๆ ในศีล รับแล้วรับเล่านั่นเองเข้าใจไหม รับแล้วรับเล่า รับวันยังค่ำ แต่มันก็ขาดวันยังค่ำเหมือนกัน เพราะ หิริโอตตัปปะ ไม่มีในใจ ฉะนั้นไปที่ไหนมองเห็นหน้าก็ มยํ ภนฺเต มันอยากฟาดปากเอาเลยเราโมโห มันว่าอะไรนักหนา ไม่รักษา ทีนี้พอสำเร็จพระโสดานี้เรื่องหิริโอตตัปปะ ศีล ๕ มาพร้อมกันเลย เป็นหลักธรรมชาติของท่านเอง เป็นอย่างนั้นนะ ไม่ว่าส่วนธรรมส่วนวินัย ส่วนศีลอะไรนี้จะมาพร้อมกันเลย เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล พระโสดาจึงไม่ต้องรับศีลแล้วศีลเล่า เรียกว่าละ สีลัพพตปรมาส ลูบ ๆ คลำ ๆ ในศีล รับแล้วรับเล่านั่นเอง

พระอริยบุคคลถึงขั้นนี้แล้วสีลัพพตปรมาส ลบไปเลย เป็นหลักธรรมชาติขึ้นในจิต นั่นเห็นไหมล่ะ ท่านไปรับที่ไหน แม้ท่านจะเป็นหัวหน้าพาเขารับ ท่านก็ไม่มีความรู้สึกว่าศีลของท่านได้ขาดทะลุไป เป็นแต่เพียงว่านำหน้าว่าเฉย ๆ นี่แหละผู้มีธรรมในใจเป็นอย่างนั้น เป็นขึ้นมาเอง ไม่ว่าศีลว่าธรรมจะขึ้นในใจ แล้วก็มีเตือนเรื่อย ๆ อย่างที่เราพูดให้ฟัง

วันนี้ก็จะเปิดอีกนะ นักภาวนาท่านรู้ดีของท่าน ท่านไม่คอยพูดนะเรื่องอย่างนี้ เป็นธรรมประจำใจท่าน ผู้ใดมีจิตใจสงบร่มเย็นขึ้นไปเริ่มไปแล้วก็ไปหาสมาธิเข้าไปนี้เรื่อยเข้าไปแล้ว ธรรมะจะเป็นเหมือนกับอะไร เบรกห้ามล้อ คันเร่งอยู่ในนั้นหมดเลย เรียกว่าเป็นคนขับรถที่ดี คอยเหยียบเบรกคือคอยห้ามล้อ คอยเหยียบคันเร่งเอี้ยวพวงมาลัยไปทางไหน ถ้าผิดถูกประการใดจะเล็งในธรรมนี้ไปในตัวนะ ไม่ได้เหมือนคนไม่ได้ภาวนา คนไม่ภาวนาทำอะไรก็พรวดพราด ๆ ตามนิสัยมาดั้งเดิม แล้วก็เสียไปเรื่อย ๆ แต่ผู้มีศีลมีธรรมในใจ เช่น นักภาวนา จิตใจมีความสงบเย็นเข้าเท่าไร แล้วยิ่งมีความแน่นหนามั่นคงขึ้นภายในใจเท่าไรนี้ เรื่องธรรมนี้จะเตือนเรื่อยนะ เตือนภายในใจ จะทำอะไรผิดถูก จะมีความรู้สึกอยู่ภายในใจเจ้าของเสมอ ๆ

‪คัดลอกบางตอนจาก‬ :ธรรมเกิด ธรรมเตือน (สีลัพพตปรามาส)
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด





"ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่เลิศเลอ การเห็นที่สูงสุดเป็นมงคลอย่างยิ่งนั้น คือการเห็นสมณะ สมณะคือผู้สงบกาย วาจา ใจ จากบาปจากกรรมทั้งหลายนี้เรียกว่าเลิศเลอ สมณะมีหลายประเภท ท่านบอกว่า สมณะที่หนึ่งคือพระโสดา สมณะที่สองคือพระสกิทาคา สมณะที่สามคือพระอนาคา สมณะที่สี่ที่สุดยอดคือพระอรหันต์ ขึ้นถึงพระพุทธเจ้า นี่เรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ เป็นความรู้ความเห็นความได้ชมอย่างเลิศเลอที่สุด นี่ทัสสนานุตตริยะ พากันจำเอานะ"
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕





อธิจิต‬

ธรรมเทศนา ?มรรคปฏิปทา

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธาโร)

วันนี้จะได้นำข้อธรรมะมาแสดง เพื่อเป็นการส่งเสริมความคิดของผู้ฟัง ให้สมกับที่พวกเราต่างก็สนใจในการปฏิบัติธรรม ตามที่สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ? ?เพราะว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ จึงยังคงให้ศาสนาของเราจำเริญ

สืบมาตลอดสองพันห้าร้อยปีเศษ ? ?ที่ว่าอัศจรรย์ก็เพราะผู้ฟังธรรมะนั้น ? เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติตาม ? ก็ย่อมได้ประโยชน์แก่ตัวของ

ตัวเองตามกำลังความสามารถ ? ถ้าไม่บังเกิดผลก็ย่อมถือว่าไม่เป็นสิ่งอัศจรรย์อะไร

ฉะนั้นพวกเราผู้จะสืบอายุพระศาสนาต่อไป จึงต้องอาศัยสิ่งอัศจรรย์นี้เป็นรากฐานรากเหง้า

วิธีที่ถูก คือ การปฏิบัติธรรมโดยตนของตนเอง

ไม่ต้องอ้างอิงแบบแผน ตำรา ครูบาอาจารย์และหมู่คณะ ข้อสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติ ให้พากเพียรขวยขวายในการที่ตนได้ใคร่ครวญ

พิจารณาพระธรรมคำสอนนั้นๆ แล้ว และแลเห็นจริงตาม โดยถือกาลามสูตรเป็นหลัก

จนให้มีธรรมเกิดขึ้นในหัวใจของตน ถ้ามิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่า ได้รู้แต่ธรรมะ แต่ไม่มีธรรมะเกิดขึ้นในจิตในใจของตน เช่น

คนที่มีคดีเกิดขึ้นในโรงศาล ถ้าถูกซักมากๆ กลับชี้โบ๊ชี้เบ๊ ต้องให้พยานวุ่นวาย ย่อมแสดงว่าอาจมีความเท็จแฝงอยู่ในตัวบุคคลนั้น

เพราะคนเราถ้าเป็นคนจริง มีความจริงใจย่อมไม่ต้องพึ่งพาใครมาก

พุทธศาสนามีหลักความจริงอยู่ในตัว จนถึงกับทางบ้านเมืองเราได้ให้เกียรติแก่พระเป็นพิเศษ ? ถ้าพระไปให้การเป็นพยานเพียงปาก

เดียว ศาลเขาก็ให้ความเชื่อถือ บางทีตัดสินความได้เลย

ในการปฏิบัติธรรม ผู้ใดได้พากเพียรประพฤติปฏิบัติจนถึงขั้นที่ธรรมะได้มาเกิดอยู่ในดวงจิตของตนแล้ว ? ก็เรียกว่าผู้นั้นมีหลักเพียงพอ

อาศัยได้ ? และก็ย่อมจะไม่ต้องไปมุ่งหาหลักแหล่งที่อาศัยภายนอกมาประกอบอีก ? ?ดังนี้จึงเรียกว่า ? “ธรรมเป็นสิ่งอัศจรรย์”

ในการปฏิบัติให้มีศรัทธา มีความเชื่อในพระธรรม ? ไม่ให้ไปเชื่อในบุคคล แบบแผนหมู่หรือ สังคม ? เพราะสิ่งอื่นที่นอกจากธรรมะ

แล้ว ? ?ย่อมเปลี่ยนแปลงโยกไหวไปได้ตามกาลสมัย ? ?ในการปฏิบัติธรรมนั้น นอกจากการบำเพ็ญทางจิตใจแล้ว ? ก็ไม่มีหนทางใดที่จะ

ทำให้สำเร็จดังกล่าว ? คือ ? ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมาลงเอยที่จิตใจของเราทั้งสิ้น

ต่อไปนี้จะได้นำแนวทางปฏิบัติมาชี้แจง ? ?เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้บรรลุถึงธรรมที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน ? จงพากันตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญ

ให้จิตเป็นธรรมเกิดขึ้น ? เมื่อเป็นเช่นนี้ได้ก็จะเป็นเครื่องส่งเสริมผลักดันให้ดวงจิตซึ่งเป็นธรรม ? ได้มีความหนักแน่นละเอียดต่อไป

จนถึงกับบรรลุคุณธรรมอันสูงสุด คือ พระนิพพาน

ดวงจิตของเราซึ่งตามธรรมชาติธรรมดาย่อมจมอยู่ด้วยกิเลสอาสวะ ? อันติดมาแต่กำเนิดเสียเป็นส่วนมาก ? เมื่อเรามามุ่งชะล้างออก ก็

ต้องอาศัยความพยายาม ? ?ถ้าไม่เช่นนั้นจิตของเราก็จะถูกดูดเลื่อนลอยไปตามกระแสของมัน ? ดวงจิตธรรมชาติเป็นดวงจิตที่แก้ไข

ดัดแปลงได้ไม่เหลือความสามารถของใคร ? ถ้ามุ่งจริง เพียรจริง

พุทธบริษัทผู้มุ่งความหลุดพ้น ?พึงทำจิตของตนให้ถึง ? “อธิจิต” ? โดยความไม่ประมาทเถิด

“ อธิจิต. เต ? จ อาโยโค ?เอต ?พุทธานสาสน ” ? ??พระองค์ทรงตรัสไว้ดังนี้

อธิจิต ?นี้ ? แปลว่า ? จิตที่ยิ่ง สามารถที่จะขึ้นเหนือกิเลสกรรม

การที่จะขึ้นถึงอธิจิตนั้น มีอยู่ 2 ประการ คือ

1. ดวงจิตของตนไม่มีคุณธรรมอันยิ่ง แต่ตนทำให้ยิ่งด้วยความเพียร

2. ดวงจิตมีคุณธรรม และอาศัยคุณธรรมนั้นปกป้องจิตเอาไว้ให้อยู่เหนือกิเลสกรรม
ประการแรก ? เช่น ?จิตคนเราธรรมดา ?เมื่อไม่นั่งเข้าที่ก็ไม่มีสมาธิ ?แต่ต้องอาศัยอดทนไตร่ตรอง ? เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในจิต
เราก็ต้องรู้และใฝ่นึกคิดว่า ? เราจะไม่ยอมให้กิเลสนั้นๆ มาข่มเหงจิตเราได้ ?เราจะต้องพยายามอยู่เหนืออำนาจกิเลสให้จงได้ นี่เป็น?
สัมมาสังกัปโป เช่นนี้ เป็นความคิดนึกที่ถูกต้อง ?ถึงจะยังไม่มีสมาธิก็ยังพอใช้การได้ ?หมายถึง ?จิตเรารู้ทัน เช่นเวลาเราโกรธ เมื่อพบ
หรือไปกระทบอารมณ์ที่ไม่พึงปราราถนเช่นนี้ ?ก็ให้เรามีความรู้ตัว ?และให้มีความตั้งใจนึกว่า
“เราจะข่มความโกรธนั้นๆ ให้อยู่ในอำนาจของเราให้จงได้!” ??โดยอดทนต่อสู้นำเอาของดีๆ ออกมาใช้ ?คือ
เมื่อเราโกรธ เราก็ทำเหมือนไม่โกรธ ไม่เอาความโกรธมาทับจิตของตน ให้เอาความดีมาทับ นี้เรียกว่า “อธิจิต”
หรือ เมื่อพบอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา ? เราก็ไม่แสดงความไม่ชอบออกมา ? แต่ให้แสดงมรรยาทอันเป็นไปเพื่อความเยือกเย็น และ
เป็นสุขออกมา ? จงนำของดีออกมาใช้ อย่านำของเสียมาใช้เป็นอันขาด
เมื่อผู้ใดมีความรอบคอบ ?รู้จักยับยั้งชั่งใจก่อนที่จะแสดงกิริยาอาการตามอำนาจกิเลสออกมาแล้ว ? ข่มกิเลสให้หยุด ? แสดงแต่มรรยาท
ที่ควรออกมาได้ ? ผู้นั้นก็นับว่าเป็นผู้ที่มี “อธิจิต” ?ได้ ? ? ? และจะได้นามว่า “กัลยาณชน” ??เป็นคนดีของหมู่คณะ อันจะเป็นทางนำไปสู่
ความเจริญด้วย ตามบาลีเรียกว่า ? “โสรัจจะ” ? ชื่อว่าเป็น ผู้มีจิตเหนือกิเลส ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า
อธิจิตประการหนึ่ง ซึ่งควรบำเพ็ญให้มีในตนของผู้ปฏิบัติตามกำลังความสามารถ
ประการที่ 2 ? ?อธิจิตอีกประเภทหนึ่ง ?คือ ? จิตที่ปราศจากนิวรณธรรม ??บำเพ็ญใจของตนให้อยู่ใน ?สัมมาสมาธิ ??มีจิตตั้งมั่นใน
คุณธรรม เมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็เข้าครอบครองดวงจิตเขาผู้นั้นไม่ได้ เพราะเข้าไม่ถึง ด้วยจิตของผู้นั้นมีคุณธรรมปกป้องเพียบพร้อมอยู่
แล้ว ??ขอให้ผู้ปฏิบัติมุ่งบำเพ็ญความดี ? ? คือ อธิจิตนี้ให้เกิดขึ้นกับตน ?โดยอาศัยความเพียรบากบั่นพยายามให้รักความดีของตน
เหมือนเรามีอาหารรสดี ? เราก็ต้องพยายามขับไล่แมลงหวี่ ? แมลงวันไม่ให้มาไต่ตอมจึงจะบริโภคได้สบายไม่มีโทษ ?ต้องรู้จักสังเกต
และประกอบ โยคะธรรม ให้เกิดขึ้น คือ
1. ปหานปทา สิ่งใดที่เป็นศัตรูหมู่มาร จะมาทำสันดานตนให้หม่นหมอง เราต้องประหารเสีย
2. วิริยะปทา คือต้องอาศัยวิริยภาพ เพียรพยายามสร้างคุณงามความดี ให้เกิดมีขึ้นในตน
ทั้ง 2 ประการนี้ ? ถ้าใครประกอบเนืองๆ จะยังจิตของตนให้ถึง อธิจิต ได้ ? กล่าวถึงเรื่องความเพียรก็ควรให้รู้ไว้ด้วยว่า เขาแยกออกเป็น 2
ประการ ? ประการหนึ่ง คือ การเพียรละเครื่องเศร้าหมองใจ ??ประการที่สอง ?เพียรยกจิตของตนขึ้นสู่กรรมฐาน อันเป็นเครื่องประ
หารนิวรณธรรมต่าง ๆ เสียได้
นิวรณธรรม คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บุคคลบรรลุความดี มีอยู่ 5 อย่าง คือ
1. กามฉันทะ การพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ถูกใจ ชอบใจ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นต้น
2. พยาปาทะ การปองร้ายผู้อื่น
3. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่ตกลงใจได้
เรื่องกรรมฐานนี้ มี 2 วิธี คือ ชนิดที่ต้องเรียนทาง ?“อันดับ” และกรรมฐานชนิดที่ต้องเรียนทาง ?“สันโดษ”??ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
1. การเรียนกรรมฐานตามอันดับ คือ การพิจารณาไปโดยลำดับ เรียนไปตามหมวดหมู่ของมัน อย่าให้ข้ามหน้าข้ามหลัง ทั้งนี้แล้ว
แต่เราจะเจริญอย่างใด ใช้ชนิดไหน ก็ต้องให้เข้าใจหมวดหมู่ ลำดับหน้า ลำดับหลังของแต่ละชนิดนั้นๆ ให้ดี เพื่อจะได้นำไปใช้ให้ถูกกับ
เรื่อง กรรมฐานชนิดนี้มีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์เหมือนกัน ตัวอย่าง เช่น การเจริญอสุภะ ถ้าพิจารณาในด้านคุณก็ก่อให้เกิดจิต
สังเวช ปล่อยวาง อารมณ์สงบ ฯลฯ แต่มันโสมมไปหมด อย่างนี้ก็กลับเป็นโทษ อีกอย่างหนึ่ง บางคนจึงต้องให้ผู้บำเพ็ญภาวนา
พยายามมีความรู้เท่าทันเอาไว้ จะได้ก่อให้เกิดประโยชน์ มิใช่ให้กลับเป็นได้รับโทษมาสู่ตน
2. การเรียนกรรมฐานทางสันโดษ?? คือให้ตั้งใจกำหนดส่วนที่ละเอียด ?ที่ไม่มีอาการมากมาย ?ตั้งสติกำหนดลมเข้าออก อย่าวอกแวก
ไปอื่น ลมสบายอย่างไหนก็ควรใช้อย่างนั้น จิตจะสงบลงไป แล้วพยายามทำลมให้ละเอียดเข้า ต้องประคับประคองลมตลอดทั้งจิต
ของเราด้วย ให้เหมือนกับประคองสำลีในฝ่ามือฉะนั้น จนเรารู้สึกว่าลมไม่มีอาการเข้าออก จิตไม่วอกแวก สงบเงียบ ตัดสัญญา อดีต
อนาคตเสียได้ จึงจะละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มีความฟุ้งซ่าน จิตจะเที่ยงไม่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ จิตจะตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
จิตจะเป็นอัปปนาสมาธิและเกิดกำลังขึ้น
ผู้เจริญกรรมฐานจนถึงขั้นนี้แล้ว จะทำให้จิตของตนปล่อยวาง ? มีความรู้ความศรัทธาในเรื่อง ?ไตรลักษณะญาณ คือ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ความสงสัยต่างๆ จะคลายตัว ย่อมทราบได้ถึงทางพระนิพพาน และทางโลกีย์โดยไม่ต้องไปถามใคร
เมื่อรู้แจ้งชัดไม่สงสัย ใจมั่นด้วยตนเอง ก็ย่อมได้ชื่อว่า ?ตนของตนเป็นที่พึ่งของตน “อตตาหิ อตตโน นาโถ” ไม่ต้องพึ่งพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ อีก เพราะพึ่งตนเองได้แล้ว ความวุ่นวายเดือดร้อน และนิวรณ์ทั้งห้าก็จะดับลง
ดวงจิตก็จะขึ้นถึง โลกุตรธรรมได้สำเร็จ ดวงจิตจะไม่หวั่นไหวไปตามผู้อื่นอารมณ์อื่น จิตจะถึงความสุขที่เรียกว่า ? “อธิจิต”

ให้พวกเราผู้ปฏิบัติจงบำเพ็ญให้เกิดมีในตน ผู้ใดทำได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอธิจิต จะยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นให้เป็นไปด้วยดี
ทั้งย่อมจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์สุจริตต่อพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์โดยแท้จริงด้วย
ได้ชี้แจงแสดงมาก็เพื่อให้พวกเรานำไปประพฤติปฏิบัติ เมื่อนั้นแหละจะประสบความร่มเย็นเป็นสุขทุกทิวาราตรีกาล
“อธิจิตเต จ อาโยโค เอต พุทธานสาสน” จงทำใจของตนให้ยิ่งด้วยความเพียรอันชอบ
นั้นแลคือ คำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ดังนี้ ฯ



" อดีตชาติของทุกคนมีมากมายนัก..
จึงได้ทำกรรมกันไว้มากมายนัก

** กุศลกรรมบ้าง... อกุศลกรรมบ้าง
** ชีวิตในปัจจุบันจึงมีดีบ้าง... ไม่ดีบ้าง
** สุขบ้าง... ทุกข์บ้าง

คนมั่งมีเป็นมหาเศรษฐี..
ก็ด้วยอำนาจของกุศลกรรม คือ..
การบริจาคช่วยเหลือเจือจุนผู้อื่น ที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติ

เมื่ออกุศลกรรม คือ..
การคดโกงเบียดเบียนทรัพย์สินให้ผู้อื่นต้องเดือนร้อน
ที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติตามมาส่งผล
‪#‎และเมื่อเป็นผลที่แรงกว่ามีกำลังกว่ากุศลกรรมที่กำลังเสวยผลอยู่‬
อกุศลกรรมก็จะตัดรอนกุศลกรรม..
ส่งผลไม่ดีของอกุศลกรรมให้เกิดแทน

ความมั่งมี.. ก็จะกลับเป็นความไม่มี..
เงินทองของมีค่าก็จะสูญหายหมดไป
อกุศลกรรมแรงมาก..
ก็จะสามารถทำให้มหาเศรษฐีสิ้นเนื้อประดาตัวได้
กำลังเป็นสุขก็จะเป็นทุกข์เดือนร้อน อำนาจของกรรมเป็นเช่นนี้จริง

ผู้มีปัญญา..
จึงกลัวกรรมยิ่งกว่ากลัวอะไรอื่น..
กลัวเพราะรู้ว่า..เมื่อทำกรรมไม่ดีไว้แล้ว ต้องได้รับผลไม่ดี และเมื่อถึงเวลาที่กรรมส่งผลไม่ดีมาถึงตัวแล้ว

แม้ตั้งแต่เกิดมาในชาตินี้..
จะไม่เคยทำกรรมไม่ดีเช่นนี้..
ก็จะต้องได้รับผลไม่ดี ที่อาจทำให้พิศวงสงสัยจนถึงมาก
คนเกิดมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด คือ..
เห็นไปว่าทำดีไม่ได้ดี ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น..
** ทำดีต้องได้รับผลดีเสมอ
** ทำไม่ดีจึงจะได้รับผลไม่ดี

‪#‎การส่งผลของกรรมดีและกรรมไม่ดีนั้น‬...‪#‎ข้ามภพข้าชาติได้‬
กรรมในอดีตชาติ..
** ส่งผลมาทันในปัจจุบันชาติก็มี
** ไปส่งถึงในอนาคตชาติก็มี
แล้วแต่ว่าผู้ทำกรรมจะสามารถหนีได้ไกลเท่าไร
หรือหนีได้นานเท่าไร

นั่นก็คือแล้วแต่ว่าในปัจจุบันชาติ..
ผู้ทำกรรมแล้วในอดีต จะสามารถในการทำจิตใจทำบุญทำกุศล
ทำความดีได้มากเพียงไหน..
เป็นกรรมที่ใหญ่ยิ่งหนักหนากว่ากรรมไม่ดีหรือไม่

การให้ผลของกรรม..
ก็เช่นเดียวกับการตกจากที่สูงของวัตถุ
สิ่งใดหนักกว่า..เมื่อตกลงจากที่เดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน
" สิ่งนั้นย่อมถึงพื้นก่อน "

เปรียบดังกรรมสองอย่าง..
คือกรรมดี... และกรรมไม่ดี กระทำในเวลาใกล้เคียงกัน
‪#‎กรรมที่หนักกว่า‬..
ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดีก็ตามย่อมส่งผลก่อน

กรรมที่เบากว่าย่อมส่งผลทีหลัง..
และย่อมส่งผลทั้งสองแน่นอน

** ไม่เร็วก็ช้า
*** ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า
** ไม่ชาติหน้าก็ชาติต่อไป
** ต่อไป ต่อไป อาจจะอีกหลายภพชาติก็ได้

เพราะกรรม..
ไม่ใช่สิ่งที่จะลบเลือนได้ด้วยกาลเวลา
นานเพียงไร กรรมก็ยังให้ผลอยู่เสมอ
กรรมจึงมีอำนาจเหนืออำนาจทั้งปวง..






..เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา..

"..ในขั้นต้นให้หมั่นสมาทานรักษาศีลให้ได้ แม้จะเป็นโลกียศีล รักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง ก็ให้เพียรระวังรักษาไป สำคัญที่เจตนาจะรักษาศีลไว้ และปัญญาที่คอยตรวจตราแก้ไขตน

“เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วะทามิ” เจตนาเป็นตัวศีล
“เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วะทามิ” เจตนาเป็นตัวบุญ

จึงขอให้พยายามสั่งสมบุญนี้ไว้ โดยอบรมศีลให้เกิดขึ้นที่จิต เรียกว่า เรารักษาศีล ส่วนจิตที่อบรมศีลดีแล้ว จนเป็นโลกุตรศีล เป็นศีลที่ก่อให้เกิดปัญญาในอริยมรรคอริยผลนี้ จะคอยรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้เสื่อมเสีย หรือตกต่ำไปในทางที่ไม่ดีไม่งามนี้แลเรียกว่า ศีลรักษาเรา.."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ





" ปัญญา เป็นโลกุตตรธรรม เป็นธรรมที่จะยกจิต
ให้อยู่เหนือโลกแห่ง การเวียนว่ายตายเกิด
สมาธิยังเป็นโลกิยะ ศีลก็โลกิยะ
ทานก็โลกิยะ ถ้าทำทานรักษาศีล นั่งสมาธิได้ ได้ฌาน
ได้สมาบัติ ก็ยังจะ ไม่สามารถยกจิต ให้อยู่เหนือการ
เวียนว่ายตายเกิดได้ ปัญญาเท่านั้นที่จะทำได้ "
(โอวาทธรรม พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)




ร่วมสร้างมหาเจดีย์เพื่อบรรจุสรีระสังขารของ
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมสิงหบุราจารย์
(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) ชั้นบนสุดของเจดีย์
จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รองลงมาจะเป็นพิพิธภัณฑ์ และที่เก็บสรีระพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ชั้นล่างจะเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ ขอเชิญชวนทุกท่าน
https://www.facebook.com/wisaka.satoo/p ... 9305490319




ขอเชิญสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก 1.5เมตร(60นิ้ว) เนื้อปูนปั้น ไปถวายเป็นพระประธานในลานปฏิบัติธรรมที่วัดแมดนอก (วัดป่าบุพพาราม) อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ
https://www.facebook.com/permalink.php? ... 7576249304




ขอเชิญร่วมบุญ‬ งานอุปสมบทหมู่และเททอง
หล่อพระประธาน ‪#‎พระพุทธชินราช‬ หน้าตัก
ขนาด 39 นิ้ว
ในวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2559
ณ วัดไตรมิตรวราราม อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid ... 808&type=3




ขอเชิญหล่อพระหลวงพ่อทันใจ
https://www.facebook.com/sarngpra/posts/781845691944041




รับสมัครนักศึกษาทุกสถาบัน
และบุคคลทั่วไปผู้มีความตั้งใจ
บวชฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย
บวชระหว่างวันที่ 28 พ.ค. - 13 ก.ค.59 (ช่วงปิดเทอม)
ณ วัดแสงธรรมวังเขาเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
https://drive.google.com/open?id=0BxC6L ... 0F4d1dEYm8
สมัครบวชหรือสอบถามเพิ่มเติม
โทร 086-4161306
https://www.facebook.com/54762388194715 ... 31/?type=3




ขอเชิญร่วมงานอุปสมบทวัดเวฬุวัน
https://www.facebook.com/54762388194715 ... 12/?type=3




ขอเชิญร่วมบุญ
https://www.facebook.com/54762388194715 ... 27/?type=3





ขอเชิญร่วมบุญตักบาตรพระในวันมาฆบูชา
https://www.facebook.com/54762388194715 ... 61/?type=3




บุญทาสีบูรณะองค์พระพุทธรูป‬
(ปิดรับ29ก.พ.เวลา12.00น.)
https://www.facebook.com/54762388194715 ... 22/?type=3





พระมหาเมธี จารุวัณโณ วัดป่าภูรังเมธาราม (สถานปฏิบัติธรรมมรรควิสุทธิญาณ) หมู่ 6 บ้านซับพระไวย์ ต.โพนทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ จากรายการ ธรรมทาน

ขอเชิญชวนสาธุชน ร่วมกันเป็นเจ้าภาพขอติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าสู่วัด เนื่องจากปัจจุบันทางวัดโยงสายไฟฟ้ามาใช้งานจากชาวบ้านในย่านนั้น ทำให้ไม่ได้มาตรฐาน ไฟตกบ่อย ไม่สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกันได้ เช่น หุงข้าว ก็จะเปิดพัดลมไม่ได้
1 สายไฟฟฟ้า 1,600 เมตร เมตรละ 100 บาท
2 หม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ จำนวน 80 กองทุน กองทุนละ 1,000 บาท
3. กองทุนข้าวสาร น้ำดื่ม สำหรับอุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในช่วงวันมาฆบูชา
3.1 ข้าวสาร กระสอบละ 1,500 บาท
3.2 น้ำดื่ม โหลละ 50 บาท
ร่วมบุญกับ พระมหาเมธี จารุวัณโณ
โทร 090-829-1117


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO