นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 28 เม.ย. 2024 6:28 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 16 ต.ค. 2015 5:45 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4542
โสดาบันกลัวอะไร
* เย็นวันหนึ่งเจ้ามหานามคิดเพลิน(นันทิ)ไปว่า กรุงกบิลพัสดุ์นี้มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีถนนคับแคบ เห็นช้าง ม้า รถ เกวียน ผู้คนที่พลุกพล่านขวักไขว่ พอคิดมาถึงตรงนี้ก็มีสติกลับคืนระลึกไปว่าหากเราถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร เพราะลืมสติปรารภถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า
* ทรงตรัสสูตรที่ ๑ ว่า อย่ากลัวเลยๆ การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม แต่กายนี้ต้องแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กา แร้ง นกตะกรุม สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก สัตว์หลายชนิดย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของบุคคลที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญามาเป็นเวลานานย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ เปรียบเหมือนบุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลง ส่วนเนยใสหรือน้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้นเหนือน้ำ แม้ฉันใด จิตที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญามาเป็นเวลานานย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ
* ทรงตรัสสูตรที่ ๒ ว่าอย่ากลัวเลยมหาบพิตร การสวรรคตของ พระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม เพราะอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
* ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
* ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
* ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
* ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
* เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เอนลงไปไหน เมื่อตัดขาดย่อมล้มลงในทางที่เอน”อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”
** ดังนั้นความเพลินหลงลืมสติในการระลึกถึงพระรัตนตรัยของโสดาบันจึงมีอยู่บ้าง แต่ไม่ถึงกับเป็นผลเสีย หรือบุคคลที่เจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญามาเป็นเวลานานย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ ดังในกรณีของเจ้ามหานาม แม้จะเป็นโสดาบันแล้วก็ยังมีความกลัว หรือความสงสัยในคุณธรรมของตน หากว่าตายไปในขณะคิดอะไรเพลินๆ ดังกล่าว
ศึกษารายละเอียด พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๑๙ ข้อ ๑๕๐๗-๑๕๑๒ หน้า ๓๖๙-๓๗๑ ./ ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑๙ ข้อ ๑๕๐๗-๑๕๑๒ หน้า ๕๒๒-๕๒๔ ./ ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๓๑ ข้อ ๑๕๐๗-๑๕๑๒ หน้า ๓๒๕-๓๒๙. (เล่มสีแดงให้ดูที่ข้อเป็นหลัก เพราะหน้าจะไม่ตรงกันกับสีเล่มน้ำเงิน).



เรื่องการกระทำบำเพ็ญ‬ เราก็คงจะพอเข้าใจกันบ้างแล้ว มีแต่พวกเราจะทำให้มันมาก เจริญให้มันยิ่งขึ้นไป ให้มันได้รับผลของการปฏิบัติ การปฏิบัตินี้ส่วนมากจิตใจของพวกเรา หรือว่าจิตใจของครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ที่ท่านได้ปฏิบัติมาก่อนพวกเรา มันก็เป็นของทำได้ยากอยู่เหมือนกัน เพราะอะไร เพราะมันต้องได้ฝืนธรรมดา ฝืนธรรมชาติ ธรรมชาติจิตใจมันชอบจะไหลลงไปทางต่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเราจะต้องฝ่าฝืน ทีนี้ข้อวัตรปฏิบัติที่เราได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์ เราก็ต้องปฏิบัติตามนั้น ไม่ใช่ว่าอาจารย์รูปนี้สอนอย่างนี้ อาจารย์รูปใหม่สอนอีกอย่าง เราก็เปลี่ยนไปอีก มันก็ไม่ถูกเหมือนกัน ต้องจับให้มันมั่น ทำอะไรทำให้มันจริงมันจัง เมื่อเราทำจริง ปฏิบัติจริง มันก็จะได้เห็นของจริง มันก็รู้ของจริง ถ้าเราทำไม่จริง มันก็เห็นไม่จริง มันก็ไม่รู้จริง

เมื่อเราปฏิบัติได้แล้ว ทีนี้มันเป็นของใครมันก็เป็นของเราเป็นที่พึ่งของเราโดยตรง และเป็นที่พึ่งอันเกษมสูงสุด คือพึ่งตัวเรา ตัวของเราผู้ซึ่งเป็นคนปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติไป บางคนจิตใจคงเคยได้นับความสงบเข้าไปบ้าง แต่บางคนก็อาจจะยังไม่เคยสงบ ยังไม่เคยได้รับผล แต่อย่าไปสงสัย อย่าไปน้อยใจว่าเราปฏิบัติไปจะไม่ได้รับผล ต้องได้รับผลแน่นอนตามเหตุ ตามปัจจัย ทำน้อยได้รับผลน้อย ทำมากได้รับผลมาก จนกว่ามันจะรู้จะเห็นเป็นไปของเรา ความเป็นไป ความได้มันอยู่ตรงไหน มันอยู่ในจิต คือ ตัวสติ ตัวรู้ คือ ความรู้นี่ฟื้นฟูดวงรู้นี่ขึ้นมา ดวงรู้นี่คือดวงใจของเรามีทุกคน แต่ว่ามันรู้อยู่แต่มันไม่เต็มภูมิ เปรียบประมาประมัยเหมือนกับพระจันทร์ข้างขึ้นข้างแรม ที่มันยังเว้ายังแหว่งอยู่ มันไม่เต็มภูมิ...

เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมาศึกษาปฏิบัติ มารักษาตัวสติให้มันติดต่อ ให้มันต่อเนื่องกัน บำรุงตัวสติให้มันเด่นดวงขึ้นมา คือ ตัวรู้...เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ปัญญามันก็จะตามมา เพราะปัญญากับสติมันอยู่ด้วยกัน มีสติรู้อยู่กับอารมณ์กรรมฐานที่เราปฏิบัติอยู่ บางคนก็กำหนดลมหายใจ หรือกำหนดคำบริกรรม หรือกำหนดที่ใดที่หนึ่ง เมื่อเรากำหนดอยู่ที่จุดใด ก็กำหนดให้มันอยู่ที่จุดนั้น เมื่อเวลาจิตมันแว่บไปก็ให้มันรู้..มันอยู่ก็ให้มันรู้หรือมันฟุ้งซ่านก็ให้มันรู้ ให้ฝึกตัวรู้นี่ก่อน เหมือนกับเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่ เมื่อมันเกิดมาใหม่ ก็ต้องฝึกนั่ง แล้วก็มาฝึกยืน เมื่อยืนมั่นคงแข็งแรงแล้วค่อยก้าวออกไป ถ้ามันไม่แข็งแรงก้าวออกไปมันก็จะล้ม

หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO