นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 06 พ.ค. 2024 3:12 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ศีลแปลว่าปกติ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 02 ส.ค. 2015 10:35 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
บารมีคนเราก็ต่างกันนะ ต้องสร้างบารมี
ไม่ใช่ไปอยากร่ำรวย เหมือนเขา
แต่ตัวเองไม่ได้สร้าง ทานบารมีไว้
เราต้องสร้าง ทาน ศีลไว้ก่อน
แล้วบารมี จะได้ค่อยเพิ่มพูน
ขอให้ภาวนา ทานก็ทำ เป็นสมบัติติดตัว
ติดตามไป ทุกภพทุกชาติ
แต่จิตตภาวนานี้มีอำนาจมาก มีพลังมาก
ขอให้ภาวนา อย่าได้ขี้เกียจภาวนา

~หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร~




การรักษาศีล

ศีล แปลว่า ปกติ

ผู้มีศีล จึงเป็นผู้มีความปกติ ต่างจากผู้ไม่มีศีล ซึ่งขาดความเป็นปกติของความเป็นคน หรือความเป็นมนุษย์

เมื่อเรารักษาศีลแล้ว ความสุขในโลกนี้ และโลกหน้าย่อมเป็นที่หวังได้

ศีลนั้นมีหลายระดับสำหรับแต่ละบุคคล คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ (สามเณร) และศีล ๒๒๗ ข้อ (พระสงฆ์)

การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ข้อให้บุญที่ต่างกัน ดังที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงแยกแยะไว้โดยสรุป ดังนี้

• การทำบุญด้วยการให้อภัยทาน ๑๐๐ ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ เพียงครั้งเดียว
• การทำบุญด้วยการถือศีล ๘ ๑๐๐ ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ (สามเณร) เพียงครั้งเดียว
• การทำบุญด้วยการถือศีล ๑๐ ๑๐๐ ครั้ง ได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๒๒๗ ข้อ (พระสงฆ์) เพียงครั้งเดียว

ในทางพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ถือศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ได้บุญสูงที่สุดในการรักษาศีล

สำหรับบุคคลธรรมดานั้น ควรจะถือศีล ๕ เป็นอย่างน้อย เพื่อให้สามารถดำรงค์ความเป็นมนุษย์ปกติได้ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า

ทุกวันเมื่อตื่นขึ้นตั้งใจว่า จะถือศีล ๕ ดังนี้
๑. เราจะไม่ฆ่าสัตว์
๒. เราจะไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. เราจะไม่ประพฤติผิดในกาม
๔. เราจะไม่พูดเท็จ
๕. เราจะเว้นจากการดื่มสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

การถือศีลนั้นเป็นการชำระจิตใจเพื่อเริ่มเดินตามมรรคมีองค์ ๘ หมวดศีลคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ในอริยสัจ ๔ อันเป็นหนทางไปสู่การพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง หรือไปสู่นิพพาน

การรักษาศีล ๕ ได้อานิสงส์มาก ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ชาตินี้มีคนรักใคร่ นับถือ มีทรัพย์สินพอใช้สอย เพราะเป็นคนที่รักษาศีล ผู้อื่นย่อมมีความรักใคร่ เกื้อหนุน และมีความเชื่อถือในคำพูด ชาติหน้าสามารถกำเนิดเป็นมนุษย์ในตระกูลที่ร่ำรวย สุขภาพแข็งแรง มีโชคดีในความรัก มีบุตรธิดาที่ดี พูดจาสิ่งใดมีผู้เชื่อถือ มีปัญญาดี

พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงฆ์ของศีลไว้ว่า
“ผู้มีศีลย่อมได้โภคสมบัติ เกียรติคุณอันงามย่อมขจรไป เมื่อเข้าสมาคมใด ย่อมองอาจกล้าหาญ ไม่ครั่นคร้านขามเกรง ไม่เก้อเขิน เมื่อจะตายก็ไม่หลงตาย และเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”

แต่ถึงศีลจะมีอานิสงส์มากเพียงใดก็ตาม บุญบารมีที่ได้ก็ยังน้อยกว่า การภาวนา หรือวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นการปฏิบัติเพื่อไปสู่การพ้นทุกข์โดยตรง เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ กว่าการทำบุญทั้งหลาย

การภาวนา

การภาวนา คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งการทำสมาธิ (สมถภาวนา) และการเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) โดยถือการเจริญปัญญาเป็นขั้นสูงสุด

สมถภาวนา จำเป็นต้องทำ
การทำสมาธิ (สมถภาวนา) หรือสมถะกรรมฐานนั้น ได้แก่ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่น อยู่กับลมหายใจ อยู่กับพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติเป็นแบบอย่างไว้ถึง ๔๐ ประการ เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐

อานิสงส์ของการทำสมาธินั้นมากกว่าการรักษาศีลมาก พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอานิสงส์ของการทำสมาธิว่า

“แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิ เพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”

เปรียบเสมือนการที่เราจะเดินทางไกล เราเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการทำทานและรักษาศีลแล้ว การเริ่มเดินทางคือการทำสมาธิ ถ้าเพียงแต่เตรียมตัวโดยไม่เริ่มเดินทางแล้ว เราก็ไม่สามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย คือ การพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง หรือนิพพานได้เลย

วิปัสสนาภาวนา การทำบุญชั้นสูงสุด

การทำสมาธิ ถึงแม้จะได้บุญกุศลอย่างมาก เหนือกว่าการทำทาน เหนือกว่าการรักษาศีล แต่ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การเจริญปัญญา หรือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นการทำบุญขั้นสูงสุดยอด ที่ได้บุญมากที่สุดในขั้นตอนการทำบุญทั้งหมดอย่างเทียบกันไม่ได้

วิปัสสนาภาวนาทำได้โดย เมื่อจิตมีสมาธิจากสมถภาวนาแล้ว ก็ใช้จิตนั้นพิจารณาจนเห็นความจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลายได้แก่ขันธ์ ๕ ล้วนแล้วแต่ต้องเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนและบังคับบัญชาไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อเพิกถอนการยึดในขันธ์ ๕ อันเป็นต้นเหตุของทุกข์ออกไปเสีย

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

“ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌาณได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงมีว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม”

ถึงแม้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา จะได้บุญสูงสุดยอด แต่เราก็ไม่สามารถละทิ้งการให้ทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิไปได้ เพราะเป็นพื้นฐานเพื่อให้การเจริญวิปัสสนาได้ผลดี เปรียบเสมือนการเรียนหนังสือที่เราต้องเริ่มตั้งแต่ชั้นประถม ชั้นมัธยม จนถึงชั้นมหาวิทยาลัย

เราจะไปเริ่มต้นที่ชั้นมหาวิทยาลัย โดยไม่ผ่านชั้นประถมและมัธยมไม่ได้ฉันใด การเจริญวิปัสสนาภาวนาให้ได้ผลดี จำเป็นต้องพึ่งพาการให้ทาน รักษาศีล และการทำสมาธิฉันนั้น

ทำบุญเพื่อสำเร็จดังสิ่งที่หวัง

การทำบุญ เป็นการสร้าบารมี เพื่อบรรลุถึงจุดหมายอันสูงยิ่ง คือมรรคผลนิพพาน ดังนั้น เวลาทำบุญ เราควรทำบุญด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่มุ่งอยากได้วัสดุสิ่งของหรือความสุขเฉพาะหน้า แต่มุ่งถึงการทำความดี เพื่อให้ผู้อื่นได้รับผลแห่งการทำความดีของเรา ไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด นอกจากเพื่อให้เราเองได้เข้าใกล้จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน

“บุคคลใดได้สร้างกุศลไว้ดีแล้วแต่ปางก่อน ย่อมเป็นนิสัยทางมรรคผลแห่งบุคคลนั้น ได้สำเร็จดังสิ่งที่หวัง”

ดังนั้น การทำบุญด้วยจิตที่บริสุทธิ์ โดยไม่คาดหวังสิ่งตอบแทนใดๆ จะได้รับผลแห่งการทำบุญ หรือการทำดีเสมอ ทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้ขึ้นสวรรค์ และสุดท้ายเมื่อบุญบารมีพร้อมแล้ว ก็สามารถไปถึงนิพพาน อันเป็นการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ผจญกรรม ผจญทุกข์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดอีกต่อไป

“ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือของที่บุคคลหวงแหน อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยอื่นๆ ทั้งหมดนี้ บุคคลนำไปไม่ได้ต้องทอดทิ้งไว้ทั้งหมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจนั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดต้องสั่งสมกัลยาณกรรม อันจะนำติดตัวไปสัมปรายภพได้ เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”




ถ้าจะว่าไปแล้ว พระพุทธก็ดี
พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี
นี่เป็นชื่อของผู้ประกาศความจริงเท่านั้นแหละ

ความจริง ถ้าย่อลงมาแล้ว
ก็คือท่านให้เชื่อ กรรม
คือ การกระทำของเรา

เราจะกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เฉพาะอะไรที่มันไม่เป็นโทษ
ปราศจากโทษทั้งหมด

ถึงแม้ว่ามันจะมีอะไรหลายๆอย่างในโลก
ที่ว่ามันน่าอัศจรรย์ก็ดี ที่น่าเลื่อมใสก็ดี
น่าอะไรต่างๆ ก็ดี อันนี้ก็ตามใจมันเถอะ

แต่พระพุทธเจ้าของเราท่านก็ว่า
กรรมเป็นแดนเกิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ถ้าเรากระทำทางกายก็เรียกว่า กายกรรม
กระทำทางวาจาก็เรียกว่าวจีกรรม
กระทำทางใจก็เรียกว่ามโนกรรม

ท่านให้เชื่ออันนี้
คือเชื่อในการกระทำของเรา

หลวงปู่ชา สุภัทโท




คนเรา
เมื่อประพฤติให้อยู่ในกรอบแห่งศีล
อยู่ในความไม่ประมาท บำเพ็ญบุญ
สวดมนต์ไหว้พระทุกๆ วัน ก็สุขแล้ว
จึงไม่ต้องวิ่งไปวัดหาพระที่ไหน

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO