นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 06 พ.ค. 2024 1:42 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: กรรมบถ 10
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 19 ก.ค. 2015 8:28 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
การฝึกปฏิบัติก็ต้องฝึกรู้มาที่จิตด้วย
คือเมื่อฝึกรู้ที่กายแล้ว
ก็ให้ฝึกรู้มาที่จิตใจด้วย
‪#‎การเข้าสู่แนวทางของวิปัสสนา‬
‪#‎ก็โดยการรู้ที่สภาวปรมัตถ์‬
‪#‎หรือความรู้สึกของกายของใจ‬


ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจ
เพื่อที่จะได้ตรงทางของวิปัสสนา
ตามปกติแล้ว
จิตมักจะไปในแนวทางของสมถะ
คือไปในเรื่องของบัญญัติหรือสมมติ

ดังนั้นก็ขอให้เราฝึกฝนการปฏิบัติ
ให้เข้ามารู้ปรมัตถ์(ความรู้สึก)
ทั้งๆ ที่สภาวปรมัตถ์
ก็มีอยู่แล้วตลอดเวลา
พูดง่ายๆ โดยย่อก็คือ
‪#‎กายไหว‬ ‪#‎ใจรู้‬ ‪#‎ฝึกดู‬ ‪#‎ทั้งรู้ทั้งไหว‬

‪#‎ให้ฝึกมีสติรู้ที่กายที่ใจ‬
‪#‎ไม่ส่งจิตออกไปนอกกายนอกใจ‬
ด้วยการไม่กด ไม่ข่ม ไม่เพ็งเล็ง
จดจ้องทะยานอยากด้วยตัณหา
คือวางใจให้รู้สึกแต่ว่ารู้
ไม่ว่าอะไร ไม่เอาอะไร
ปล่อยวาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย

‪#‎ธัมโมวาท‬ โดยพระวิปัสสนาจารย์
‪#‎ท่านเจ้าคุณ‬ ‪#‎พระภาวนาเขมคุณ‬
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา



อาการที่ตัณหาไม่นำไปสู่ภพใหม่
ให้เกิดผลพิเศษอีกนานาประการ
ภิกษุ ท.! ....ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง.
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจิรง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง
เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว; เขาย่อมไม่กำ หนัดในจักษุ, ไม่
กำหนัดในรูปทั้งหลาย, ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ, ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส, และ
ไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็น
ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม. เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพัน
แล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนือง ๆ, ปัญจุปา-
ทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป; และตัณหา อันเป็นเครื่อง
นำ ไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำ หนัดด้วยอำ นาจความเพลิน เป็น
เครื่องทำ ให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์ นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้ ; ความ
กระวนกระวาย (ทรถ) แม้ ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความกระวนกระวาย
แม้ ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้; ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย
อันเขาย่อมละเสียได้, ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้; ความ
เร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความเร่าร้อน แม้ทาง
จิต อันเขาย่อมละเสียได้. บุคคลนั้นย่อม เสวยซึ่งความสุข อันเป็นไป ทางกาย
ด้วย. ซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางจิต ด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิ ฏ ฐิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ;
ความดำริของเขา ยอ่มเป็นสัมมาสังกัปปะ; ความพยายาม ของเขา ย่อมเป็น
สัมมาวายามะ ; สติ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ; สมาธิ ของเขา ย่อมเป็น
สัมมาสมาธิ; ส่วน กายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา เป็นธรรม
บ ริสุท ธิ์อยู่ก่อ น แล้วนั่น เทีย ว. ด้วย อาการอ ย่างนี้ เป็น อัน ว่า อ ริย อัฏ -
ฐังคิกมรรค นี้ ของเขานั้น ย่อม ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.
(อริยสัจจากพระโอษฐ์) อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑



# โอวาทธรรม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม #
" นักภาวนา...จะต้องไม่ติดตระกูล ไม่ติดถิ่น ไม่ติดที่อยู่ หรือแม้แต่ติดอากาศ ติดร้อน...ติดหนาว ก็ไม่สมควรเช่นกัน ร้อนเกินไป...หนาวเกินไป ต้องทดลองให้มันรู้แจ้งกันลงไป ให้จิตมันชนะกิเลสลงไป...ให้แจ้งชัด "



ไปที่ไหน ทำใจสำรวม

ท่านกับหมู่คณะราว ๓-๔ องค์เที่ยววิเวกมาพักอยู่ถ้ำเชียงดาวได้ประมาณสองคืน พอตื่นเช้าคืนที่สามท่านบอกว่า คืนนี้ภาวนาปรากฏเห็นถ้ำใหญ่และกว้างขวางน่าอยู่มาก อยู่บนยอดเขาสูงและชัน ถ้ำนี้สมัยก่อน ๆ เคยมีพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมาพักเสมอ แต่พระเราสมัยนี้ไปอยู่ไม่ได้เพราะสูงและชันมาก ทั้งไม่มีที่โคจรบิณฑบาต ท่านสั่งให้พระขึ้นไปดูถ้ำนั้น และกำชับว่า ก่อนขึ้นไปต้องเตรียมเสบียงอาหารขึ้นไปพร้อม ทางขึ้นไม่มี ให้พยายามปีนป่ายขึ้นไปโดยถือเอายอดเขาลูกนั้นเป็นจุดที่หมาย คือถ้ำที่ว่านี้อยู่ใต้ยอดเขานั้นเอง


พระและโยมได้พากันขึ้นไปดูตามคำที่ท่านบอก เมื่อขึ้นไปถึงแล้วปรากฏว่าถ้ำนั้นสวยงามและกว้างขวางมากดังที่ท่านว่าจริง ๆ อากาศปลอดโปร่งสบายน่าอยู่มาก พระเกิดความชอบใจอยากพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรมเป็นเวลานาน ๆ แต่จำเป็นด้วยที่โคจรบิณฑบาตไม่มี เพราะถ้ำอยู่สูงและห่างไกลจากหมู่บ้านมาก พอเสบียงจวนหมดจำต้องลงมา

เมื่อลงถึงที่พัก ท่านถามว่าเป็นอย่างไรถ้ำสวยงามน่าอยู่ไหม ผมเห็นในนิมิตภาวนารู้สึกว่าถ้ำนั้นทั้งกว้างขวางและสวยงามมาก จึงอยากให้หมู่เพื่อนขึ้นไปดู ใคร ๆ คงจะชอบกันแน่ ๆ แต่ก่อนผมก็ไม่ได้สนใจพิจารณาว่าจะมีสิ่งแปลก ๆ อยู่ในเขาลูกนี้ แต่พอพิจารณาจึงทราบว่ามีของแปลกและอัศจรรย์อยู่ที่นี่มากมายหลายชนิด

ในถ้ำที่พวกท่านขึ้นไปดูนั้นยังมีรุกขเทพ อารักขาอยู่เป็นประจำตลอดมามิได้ขาด ใครไปทำอะไรที่ไม่สมควรในที่นั้นไม่ได้ ต้องเกิดเป็นต่าง ๆ ขึ้นมาจนได้

ขณะที่สั่งให้พวกท่านขึ้นไปดู ผมก็ลืมบอกว่าที่นั้นมีพวกเทพฯอารักขาอยู่ ควรพากันสำรวมระวังมรรยาทและอาการทุกส่วน อย่าไปส่งเสียงอื้ออึงผิดวิสัยของสมณะ เกรงว่าจะเกิดความไม่สบายต่าง ๆ ขึ้นมา เพราะความไม่พอใจของพวกเทพฯ ที่อารักขาอยู่ในสถานที่นั้น อาจบันดาลให้เป็นต่าง ๆ ได้

พระที่ขึ้นไปได้กราบเรียนท่านตามที่ได้ประสบมา และแสดงความประสงค์อยากอยู่ถ้ำนั้นเป็นเวลานาน ๆ ท่านตอบว่า แม้จะสวยงามและน่าอยู่เพียงไรก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีข้าวจะกิน ดังนี้อาการที่ท่านพูดกับพระที่ไปดูถ้ำกลับลงมาเป็นคำพูดธรรมดา ๆ ประหนึ่งท่านเคยเห็นถ้ำนั้นด้วยตามาแล้วหลายครั้ง ทั้งที่ไม่เคยขึ้นไปเลย เพราะอยู่สูงและชัน ขึ้นลงลำบากมาก แต่กลับถามว่าน่าอยู่ไหม ซึ่งเป็นคำพูดออกมาจากความแน่ใจจริง ๆ มิได้สงสัยว่าความรู้ทางด้านภาวนาจะโกหกหลอกลวงเลย

ที่ท่านเตือนพระให้พากันสำรวมระวังเวลาพักอยู่ในที่ต่าง ๆ ไม่เฉพาะเพียงถ้ำนั้นแห่งเดียวนั้นเกี่ยวกับพวกเทพฯ ที่สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ ซึ่งชอบความเป็นระเบียบงามตาและชอบสะอาดมาก เวลาพวกรุกขเทพฯ มาเห็นอากัปกิริยาของพระที่จัดวางอะไรไว้ไม่เป็นระเบียบ เช่น การหลับนอนไม่มีมรรยาท นอนหงายเหมือนเปรตทิ้งเนื้อทิ้งตัว บ่นพึมพำด้วยการละเมอเพ้อฝันไปต่าง ๆ เหมือนคนไม่มีสติ แม้จะเป็นสิ่งที่สุดวิสัยของคนนอนหลับจะรักษาได้ก็ตาม แต่พวกเทวดามีความอิดหนาระอาใจอยู่เหมือนกัน และเคยมาเล่าให้ท่านอาจารย์มั่นทราบเสมอ..

..และเล่าว่า พระซึ่งเป็นเพศที่น่าเลื่อมใสและเย็นตาเย็นใจแก่โลกที่ได้เห็นได้ยิน จึงควรสำรวมระวังกิริยามรรยาททั้งการหลับนอนและเวลาปกติ พอเป็นความงามตาเย็นใจแก่ตนและทวยเทพ ตลอดมนุษย์ทั้งหลายบ้าง ไม่แสลงตาแสลงใจจนเกินไปเมื่อยังพอมีทางรักษาได้อยู่ ไม่อยากให้เป็นไปแบบฆราวาสซึ่งไม่มีขอบเขตหรือปล่อยไปตามยถากรรมจนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่ในวิสัยของพระจะทำได้

การมาเล่าเรื่องทั้งนี้มิได้มุ่งมั่นมาตำหนิติเตียนพระว่าไม่ดีโดยถ่ายเดียว แต่เทวดาทั้งหลายก็มีส่วนแห่งความดีและเจตนาหวังเทิดทูนพระศาสนา พร้อมทั้งมีความพอใจกราบไหว้พระสงฆ์ผู้มีมรรยาทอันดีประจำนิสัยของพวกเทวดาเหมือนกัน จึงใคร่ขอกราบท่านเพื่อได้ตักเตือนพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ได้ตั้งอยู่ในท่าสำรวม พอเป็นที่งามตาแก่มนุษย์มนาตลอดเทวดาอินทร์พรหมทั้งหลายบ้าง เทวดาทั้งหลายก็จะพลอยมีส่วนเพิ่มพูนความเคารพเลื่อมใสขึ้นอีกมากมายจากความดีของพระที่น่าเลื่อมใส

..นี้เป็นคำของพวกเทวดามาเล่าถวายท่าน..

ดังนั้นเวลาท่านกับพระลูกศิษย์พักอยู่ในป่าในเขาลึก ซึ่งเป็นที่สถิตของพวกรุกขเทวดา ท่านจึงคอยเตือนพระอยู่เสมอเกี่ยวกับการวางบริขารเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดผ้าเช็ดเท้าท่านก็สั่งให้พับและเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ให้ทิ้งระเกะระกะ การขับถ่ายก็ให้เป็นที่เป็นทาง และกำหนดทิศทางว่าควรจะทำส้วมสำหรับถ่ายในที่เช่นไร บางครั้งท่านก็สั่งพระตรง ๆ เลยว่าไม่ให้ไปทำส้วมหนักส้วมเบาทางทิศนั้นหรือต้นไม้นั้น เพราะพวกเทวดาที่สถิตอยู่หรือเทวดามาทางทิศนั้น จะรังเกียจและยกโทษเอาดังนี้ก็มี

ถ้าเป็นพระที่รู้เรื่องของพวกเทวดาได้ดีอยู่แล้ว ก็ไม่หนักใจที่ท่านอาจารย์ต้องบอกกล่าว เพราะท่านองค์นั้นย่อมทราบวิธีปฏิบัติต่อเทวดาโดยถูกต้อง และพระที่เป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นมีความสามารถในทางนี้อยู่ไม่น้อย เป็นแต่ความรู้ของท่านเป็นประเภทป่า ๆ จึงไม่อาจแสดงตัวอย่างเปิดเผย กลัวนักปราชญ์จะหัวเราะเยาะ เราพอทราบได้เวลาท่านสนทนากันเรื่องเทวดาประเภทและภูมิต่าง ๆ กันมาเยี่ยมท่าน เขามีเรื่องอะไรบ้างมาสนทนาหรือถามปัญหาท่าน ๆ นำมาเล่าสู่กันฟัง เราก็พลอยทราบภูมิจิตใจท่านที่เกี่ยวกับทางนี้ไปด้วย

หนังสือประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน




กรรมบถ ๑๐ เตรียมทางเข้าสู่พระนิพพาน
ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

สำหรับกรรมบถ ๑๐ ดูแล้วธรรมะข้อนี้ เป็นการเตรียมทางเข้าสู่พระนิพพานจริง ๆ หากว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคน ทรงกำลังนี้ได้ อาตมาก็คิดว่าความเป็นพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีน่ะ อยู่ในกำลังใจเราแน่ จะเห็นว่ากรรมบถ ๑๐ เขาแยกไว้ดังนี้


ทางกาย
๑. ไม่ฆ่าสัตว์
๒. ไม่ลักทรัพย์
๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม
ทางกายมี ๓ ถ้าเราบวกมีศีล ๕ ก็เพิ่มเว้นสุราอีกข้อหนึ่ง แต่ความจริงถ้าจิตดี มันก็ไม่ต้องเว้น ที่ท่านไม่ติดสุราไว้ เพราะว่ากำลังใจดี ก็ไม่ต้องเว้น ไม่ต้องบอกไว้มันก็เว้นเอง

สำหรับทางด้านวาจา วาจาท่านแยกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ไม่พูดปด
๒. ไม่พูดคำหยาบ
๓. ไม่พูดวาจาทำให้แตกร้าวกัน
๔. ไม่พูดวาจาไร้ประโยชน์
นี่ด้านวาจา

สำหรับด้านจิตใจ ท่านแยกไว้ ๓ คือ
๑. ไม่คิดอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นใด ที่เขาไม่ให้โดยชอบธรรม
๒. ไม่คิดประทุษร้ายคนอื่น
๓. ทำความเห็นให้ถูก

ทั้งหมดนี้เป็นภาคพื้นของพระนิพพานโดยตรง




"ไตรลักษณ์ครอบไตรลักษณ์"

ถาม : อะไรคือไตรลักษณ์ครับ?

ตอบ : คือสามัญลักษณะ ๓ ประการ
-อนิจจัง คือ ความไม่แน่นอน
-ทุกขัง คือ การทนสภาพอยู่ไม่ได้
-อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
รวมลงมาแล้วทั้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป


ถาม : แล้วกฎของไตรลักษณนี้ครอบหมดทุกอย่างเลยหรือเปล่าครับ

ตอบ : ครอบหมดทุกอย่าง

ถาม : ถ้าเป็นเช่นนั้น ไตรลักษณครอบไตรลักษณด้วยหรือเปล่าครับ ?

ตอบ : ไตรลักษณ์ครอบไตรลักษณ์เองด้วย
-อนิจจัง คือทุกสิ่งมันไม่แน่ แล้วความไม่แน่นี้มาครอบอีกทีก็เลยเป็นแน่ คือแน่ที่เป็นอย่างนั้น มันแน่ที่จะมีสภาวะไม่แน่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่าความไม่แน่เป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด
-ทุกขัง คือการทนสภาพไม่ได้ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปก็สภาพที่ยั่งยืนนิรันดรก็คือ สภาพที่ต้องเปลี่ยนแปลง
-อนัตตา ไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง อนัตตาครอบอนัตตาก็เป็นอัตตา คือมีตัวที่แท้จริงของสภาวะความไม่มีตัวตนของทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง

ถาม : สรุปแล้วหัวใจสำคัญของการภาวนา คืออะไรครับ ?

ตอบ : “สติ”

พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน
วัดมาบจันทร์ จ.ระยอง


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO