นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อังคาร 14 พ.ค. 2024 4:45 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ควรมีสติอยู่ทุกเวลา
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 22 มิ.ย. 2015 12:25 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4557
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา

ผู้นั้นก็ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

เพราะว่า เมื่อตามองเห็นรูป ก็เป็นธรรมะ


หูได้ฟังเสียง ก็เป็นธรรมะ

จมูกได้กลิ่น ก็เป็นธรรมะ

ลิ้นได้รสก็เป็นธรรมะ

ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ

นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น

ฉะนั้นผู้มีสติจึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน มันมีอยู่ทุกเวลา เพราะอะไร ? เพราะเรามีความรู้อยู่

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี



ผู้บรรลุธรรมนั้นคล้ายกับว่าเรามองเห็นงูเห่าที่มันเลื้อยไป เราก็รู้ว่างูนั้นมันเป็นอสรพิษ ถ้ามันกัดใครมันจะถึงตายหรือเจียนตาย อันนี้เรียกว่าเรารู้ในงูเห่าตามความเป็นจริง ก็ไม่กล้าไปจับงูนั้น ใครจะบอกอย่างไรก็ไม่กล้าจับ คือเราบรรลุถึงพิษของมัน ความชั่วทั้งหลายก็เหมือนกันถ้าเราเห็นโทษของมันก็ไม่อยากทำขอให้เราปฏิบัติไปพิจารณาไปมันจะถอนของมันเอง


หลวงปู่ชา สุภัทโท
ที่มา: อุปมาอุปไมยของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท)




กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ขันธ์เป็นขันธ์ รูปเป็นรูป เวทนาก็เป็นเวทนา สัญญาเป็นสัญญา สังขารเป็นสังขาร วิญญาณก็เป็นวิญญาณ จิตก็เป็นจิต ไม่ได้เป็นอะไรมันก็จบ

วาสนาคือการกระทำ มันไม่มีทำให้มันมีได้ มันมีน้อยทำให้มันมีมากได้ ทำไป ทำไป มันก็เต็มของมันเอง เหมือนกับเราทานอาหาร ทานเข้าไป ทานเข้าไป เมื่อมันอิ่มแล้ว มันก็หยุดของมันเอง

หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม



ให้พึ่งตน พึ่งธรรม
อานนท์ ! เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่
หรือว่า “ความเป็นต่าง ๆ ความพลัดพราก ความเป็น
อย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ย่อมมี; อานนท์ !
ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า : สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว
อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา, สิ่งนั้น
อย่าชำรุดไปเลย ดังนี้; ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้”.
อานนท์ ! เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น
เหลืออยู่ ส่วนใดเก่าคร่ำกว่าส่วนอื่น ส่วนนั้นพึงย่อยยับ
ไปก่อน, ข้อนี้ ฉันใด; อานนท์ ! เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มี
ธรรมเป็นแก่นสารเหลืออยู่, สารีบุตรปรินิพพานไปแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน. อานนท์ ! ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า :
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแล้ว มีความ
ชำรุดไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้;
ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้.
อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป
มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.
อานนท์ ! ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ, มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็น
สรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่,
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนือง ๆ อยู่,
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่,
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนือง ๆ อยู่;
มีเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
อานนท์ ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป
มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็น
ประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไป
แห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตน
เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป
มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา,
ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด.
มหาวาร .สํ. ๑๙/๒๑๖/๗๓๖.




ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น

ภิกษุ ทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะ
และเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความ
ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความ
ถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มี
ความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! ก็เจโตวิมุตติ ที่ไม่กำเริบอันใดมีอยู่,
พรหมจรรย์นี้มี สิ่งนั้น นั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย
เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์แล.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วย
แก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้
ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่เป็น
แก่นแท้’ ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า
“ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จักเปลือกสด,
รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้
เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอา
แก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่ เป็นแก่นแท้’ ดังนี้. สิ่ง
ที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้”
ดังนี้.
มู. ม. ๑๒/๓๗๐/๓๕๑.
เจโตวิมุตติ คือ หัตตผลโดยมีน้ำหนักของการทำสมาธิมากกว่าการ
กระทำด้านอื่น ๆ
แบบของการหลุดพ้นยังมีอย่างอื่นอีกเช่น สัทธาวิมุตติ, ปัญญาวิมุต
เป็นต้น


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO