นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 20 พ.ค. 2024 8:08 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 8:10 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 16 พ.ย. 2008 9:25 pm
โพสต์: 1207
การทำจิตให้สงบ คือการวางให้พอดี ตั้งใจเกินไปมากมันก็เลยไป ปล่อยเกินไปมันก็ไม่ถึงเพราะขาดความพอดี ธรรมชาติจิตเป็นของไม่อยู่นิ่ง เป็นของมีกิริยาไหวตัวอยู่เรื่อย ฉะนั้น จิตใจของเราจึงไม่มีกำลังการทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมัน ต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลัง ทำกายบริหารมีการ กระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลังการทำจิตใจให้มีกำลังก็คือ ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่างๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมันเพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลังมันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน

บัดนี้เราจะทำสมาธิก็ตั้งใจ ให้เอาความรู้สึก กำหนดอยู่กับลมหายใจ ถ้าหากว่าเราหายใจสั้นเกินไปหรือยาวเกินไปก็ไม่พอดี ไม่ได้สัดได้ส่วนกัน ไม่เกิดความสงบ เหมือนกันกับเราเย็บจักรผู้เย็บจักรมีมือมีเท้า เราต้องถีบจักรเปล่าดูก่อน ให้รู้จัก ให้คล่องกับเท้าของเราเสียก่อน จึงเอาผ้ามาเย็บ การกำหนดลมหายใจก็เหมือนกัน หายใจเฉยๆกำหนดรู้ไว้ จะพอดีขนาดไหน ยาวขนาดไหน สั้นขนาดไหน จะให้ค่อยขนาดไหนแรงขนาดไหน จะยาวก็ไม่เอากับมัน จะสั้นก็ไม่เอากับมัน จะค่อยก็ไม่เอากับมัน เอาตามความพอดี เอายาวพอดี เอาสั้นพอดี เอาค่อยพอดี เอาแรงพอดี นั่นชื่อว่าความพอดี เราไม่ได้ขัดไม่ได้ข้อง แล้วก็ปล่อยหายใจดูก่อน ไม่ต้องทำอะไร

ถ้าหากว่าจิตสงบแล้ว จิตพอดีแล้ว ก็ยกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หายใจเข้า ต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัยคือหัวใจปลายลมอยู่สะดือ อันนี้เป็นแหล่งการเดินลม เมื่อหายใจออกต้นลมจะอยู่สะดือ กลางลมจะอยู่หทัย ปลายลมจะอยู่จมูก นี่มันสลับกันอย่างนี้ กำหนดรู้เมื่อลมผ่านจมูก ผ่นหทัย ผ่านสะดือพอสุดแล้วก็จะเวียนกลับ มาอีกเป็นสามจุดนี้ ให้ความรู้ของเราอยู่ในความเวียนเข้าออกทั้งสามจุดนี้

พยายามติดตามลมหายใจเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อรักษาความรู้นั้นและทำสติสัมปชัญญะของเราให้กล้าขึ้นหากว่าเรากำหนดจิจของเราให้รู้จักต้นลม กลางลม ปลายลม ดีแล้วพอสมควร เราก็วางเราจะหายใจเข้าออกเฉยๆ เอาความรู้สึกของเราไว้ปลายจมูก หรือริมฝีปากบนที่ลมผ่านออกเข้าเอาแต่ความรู้สึกเท่านั้น ไม่ต้องตามลมออกไป ไม่ต้องตามลมเข้ามา เอาความรู้สึกหรือผู้รู้นั่นแหละไว้เฉพาะหน้าเราที่ปลายจมูกให้รู้จักลมผ่านออกผ่านเข้า ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย เพียงแต่ให้มีความรู้สึกเท่านั้นแหละ ให้มีความรู้สึกติดต่อกัน ลมออกก็ให้รู้ ลมเข้าก็ให้รู้ ให้รู้อยู่แต่ที่นั้นแหละรู้แล้วมันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องคิด เอาเพียงเท่านั้นเสียก่อนในเวลานี้หน้าที่การงานของเรามีแค่นั้นไม่ได้มีมาก กำหนดลมเข้าออกอยู่อย่างนั้นแหละ ต่อไปจิตก็สงบ ลมก็จะละเอียดเข้าไป น้อมเข้าไปกายก็จะเบาเข้าไป จิตก็จะสงบไป ความเบากายเบาใจนั้นก็จะเกิดขึ้นมา จะเป็นกายควรแก่การงานและจะเป็นจิตควรแก่การงานต่อไป นี่คือการทำสมาธิ ไม่ต้องทำอะไรมาก ให้กำหนดเท่านั้นต่อไปนี้ให้ตั้งใจทำ กำหนดไป....

จิตเราละเอียดเข้าไป การทำสมาธินั้น จะไปไหนก็ช่างมันให้เรารู้ทันเอาไว้ ให้เรารู้จักมัน มันมีทั้งอารมณ์ มีทั้งความสงบคลุกคลีกันไป มันมีวิตก วิตกคือการจะยกจิตของตนนึกถึงอันหนึ่งขึ้นมาถ้าสติของเราน้อยก็จะวิตกน้อย แล้วมีการวิจารคือการตรวจดูตามเรื่องที่เราวิตกนั้นแต่ข้อสำคัญนั้นต้องพยายามรู้ให้ทันอยู่เสมอแล้วก็พิจารณาให้ลึกลงไปอีก ให้เห็นว่ามีทั้งสมาธิและมีทั้งความรู้รวมรู้ในนั้นคำว่า “จิตสงบ” นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีอะไร มันต้องมี มีความสงบครอบอยู่ ท่านกล่าวถึงองค์ของความสงบขั้นแรกว่า หนึ่งมี วิตก ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา แล้วก็สอง มี วิจาร คือพิจารณาตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นมา สาม จะมี ปิติ คือความยินดีในสิ่งที่เราวิตกไปนั้นในสิ่งที่เราวิจารไปนั้นจะเกิดปิติคือความยินดีซาบซึ้งอยู่โดยเฉพาะของมันแล้วก็จะมีสี่ สุข สุขอยู่ไหน สุขอยู่ในการวิตกสุขอยู่ในการวิจาร สุขอยู่กับความอิ่มใจ สุขอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแหละ แต่ว่ามันสุขอยู่ในความสงบวิตกก็วิตกอยู่ในความสงบ วิจารก็วิจารอยู่ในความสงบ ความอิ่มใจก็อยู่ในความสงบสุขก็อยู่ในความสงบ ทั้งสี่อย่างนี้เป็น อารมณ์อันเดียว ห้าคือ เอกัคคตาห้าอย่างแต่เป็นอันเดียวกัน คือทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ แต่มีลักษณะอยู่ในขอบเขตอันเดียวกัน คือเมื่อจิตสงบ วิตกก็มี วิจารก็มี ปิติก็มี สุขก็มี เอกัคคตาก็มี ทั้งหมดนี้เป็นอารมณ์เดียวกันคำที่ว่าอารมณ์เดียวกันนั้น ทำไมจึงมีหลายอย่าง หมายความว่า มันจะมีหลายอาการก็ช่างมันเพราะอาการทั้งหลายเหล่านั้นจะมารวมอยู่ในความสงบอันเดียวกัน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญเหมือนกับว่ามีคน ๔ คนนั้นมีอาการอันเดียวกัน คือจะมีอารมณ์ทั้ง ๔ อารมณ์

เมื่ออารมณ์อันนี้อยู่ในลักษณะนี้ท่านเรียกว่า ‘องค์’ องค์ของความสงบ ท่านไม่ได้เรียกว่าอารมณ์ ท่านเรียกว่า วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เป็นอารมณ์ตามธรรมดา ท่านจึงจัดว่าเป็นองค์ของความสงบมีอาการอยู่ ๔ อย่าง คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ไม่มีความรำคาญ วิตก อยู่ก็ไม่รำคาญ วิจารอยู่ก็ไม่รำคาญ มีปิติก็ไม่รำคาญมีความสุขก็ไม่รำคาญ จิตจึงเป็นอารมณ์เดียวอยู่ในสิ่งทั้ง ๔ นี้จับรวมกันอยู่เรื่องจิตสงบขั้นแรกจึงเป็นอย่างนี้ที่นี้ บางอย่างอาจถอยออกมา ถ้ากำลังใจไม่กล้า สติหย่อนไปแล้วมันจะมีอารมณ์มาแทรกเข้าไปเป็นบางครั้ง คล้ายๆกับว่าเคลิ้มไปแล้วก็มีอาการอะไรบางอย่างเข้ามาแทรกตอนที่มันเคลิ้มไปแต่ไม่ใช่ความง่วงตามธรรมดา ท่านว่ามีความเคลิ้มในความสงบ บางทีก็มีอะไรบางอย่างเข้ามาแทรกเข้ามา เช่นว่าบางทีมีเสียงปรากฎบ้าง บางทีเหมือนเห็นสุนัขวิ่งผ่านไปข้างหน้าบ้าง แต่ว่าไม่ชัดเจนและก็ไม่ใช่ฝันอันนี้จัดเป็นฝันไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะกำลังทั้ง ๔ ดังกล่าวแล้ว ไม่สม่ำเสมอกัน มันอ่อนลง อ่อนเคลิ้มลง จึงเกิดอารมณ์เข้าแทรก อันนี้เป็นอาการของจิต ถ้าหากว่าเรามีความสงบมันก็มีสิ่งทั้ง ๔ สิ่งนี้เป็นบริวารอยู่ แต่เป็นบริวารในความสงบ อันนี้เป็นเบื้องแรกของมันขณะที่จิตเราสงบอยู่ในขั้นนี้ ชอบมีนิมิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางจิตมันชอบเป็น แค่ผู้ทำสมาธิจับไม่ค่อยถูกว่า “มันหลับไหม ก็ไม่ใช่” “มันฝันไปหรือ ก็ไม่ใช่”ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น มันเป็นอาการ เกิดมาจากความสงบครึ่งๆกลางๆ ก็ได้บางทีก็แจ่มใสเป็นธรรมดาบางทีก็คลุกคลีไปกับความสงบบ้างกับอารมณ์ทั้งหลายบ้างแต่อยู่ในขอบเขตของมันอย่างไรก็ตาม บางคนทำสมาธิยาก เพราะอะไร เพราะจริตแปลกเข้า แต่ก็เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่หนักแน่นไม่ได้รับความสบายเพราะสมาธิแต่จะได้รับความสบายเพราะปัญญา เพราะปัญญาความคิด เห็นความจริงของมัน แล้วก็แก้ปัญหาถูกต้อง เป็นประเภทปัญญาวิมุตติไม่ใช่เจโตวิมุตติ มันจะมีความสบายทุกอย่างที่จะได้เกิดขึ้น เป็นหนทางของเราเพราะปัญญา สมาธิมันน้อย คล้ายๆกับว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ พิจารณา “อันนั้นเป็นอะไรหนอ”แล้วแก้ปัญหาอันนี้นได้ทันทีเลยสบายไปเลยสงบ ลักษณะผู้มีปัญญาต้องเป็นอย่างนั้น ทำสมาธิไม่ค่ยได้ง่สยและไม่ค่อยดีด้วย มีสามธิแต่เพียงเฉพาะเสี้ยงปัญญาให้เกิดดีขึ้นมาได้ โดยมาอาศัยปัญญา เช่น สมมุติว่า ทำนากับทำสวนเราอาศัยนามากว่าสวน หรือทำนากับทำไร่ เราจะอาศัยนามากว่าไร่

ในเรื่องของเราอาชีพของเราและการภาวนาของเราก็เหมือนกัน มันจะได้อาศัยปัญญาแก้ปัญหา แล้วจะเห็นความตริง ความสงบจึงเกิดขึ้นมา มันเป็นไปอย่างนั้น ธรรมดาก็เป็นไปอย่างนั้น มันต่างกันบางคนแรงในทางปัญญา สมาธิพอเป็นฐานไม่มาก คล้ายๆกันว่านั่งสมาธิไม่ค่อยสงบ ชอลมีความปรุงแต่งมีความคิดและมีปัญญาซักเรื่องนั้นมาพิจารณา ซักเรื่องนี้มาพิจารณา แล้วพิจารณาลงสู่ความสงบก็เห็นความถูกต้อง อันนี้จะได้มีกำลังกว่าสมาธิ อันนี้จริตของบางคนเป็นอย่างนั้น แม้จะยืน เดิน นั่ง นอนก็ตาม ความตรัสรู้ธรรมะนั้นไม่แน่นอน จะเป็นอิริยาบถใดก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้นั่งก็ได้ นอนก็ได้ อันนี้แหละผู้แรงด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญาสามารถที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากก็ได้ ถ้าพูดกันง่ายๆ ปัญญาเห็นเลย เห็นไปเลย ก็ละไปเลย สงบไปเลยได้ความสบายเพราะอันนั้นมันเห็นชัด มันเห็นจริงง เชื่อมั่นยืนยันเป็นพยานตนเองได้ นี่จริตของบางคนเป็นไปอย่างนี้ แต่จะอย่างไรก็ช่าง มันก็ต้องทำลายความเห็นผิดออกเหลือแต่ความเห็นถูก ทำลายความฟุ้งซ่านออก เหลือแต่ความสงบมันก้จะลงไปสู่จุดอันเดียวกัน บางคนปัญญาน้อย นั่งสมาธิได้ง่าย สงบ สงบเร็วที่สุด ไว แต่ไม่ค่อยมีปัญญา ไม่ทันกิเลสทั้งหลายไม่รู้เรื่องกิเลสทั้งหลายแก้ปัญหาไม่ค่อยได้ พระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติมีสองหน้าอย่างนี้ ก็คู่กันเรื่อยไป แต่ปัญญาหรือวิปัสสนากับสมถะมันก็ทิ้งกันไม่ได้ คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆอย่างนี้ทีนี้ ถ้ามันชัดแจ้งในความสงบ เมื่อมีอารมณ์มาผ่าน มีนิมิตขึ้นมาผ่าน ก็ไม่ได้สงสัยว่า “เคลิ้มไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้” “หลงไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้” “ลืมไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้” “หลับไปหรือเปล่าหนอเมื่อกี้นี้” จิตขณะนี้สงสัย “หลับก็ไม่ใช่ ตื่นก็ไม่ใช่” นี่มันคลุมเครือ เรียกว่ามันมั่วสุมอยู่กับอารมณ์ ไม่แจ่มใสเหมือนกันกับพระจันทร์เข้าก้อนเมฆ มองเห็นอยู่แล้วแต่ไม่แจ่มแจ้ง มัวๆไม่เหมือนกับพระจันทร์ออกจากก้อนเมฆนั่นแจ่มใสสะอาด จิตเราสงบ มีสติสัมปชัญญะรอบคอบสมบูรณ์แล้ว จึงไม่สงสัยในอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้น จะหมดจากนิวรณ์จริงๆ รู้ว่าอันใดเกิดขึ้นมาเป็นอันใดหมดทุกอย่าง รู้แจ้ง รู้เรื่องตามเป็นจริง ไม่ได้สงสัย อันนี้นเป็นดวงจิตที่ใสสะอาด สมาธิถึงขีดสุดแล้วเป็นเช่นนั้น

ระยะหลังๆมาก็เป็นไปในรูปอย่างนี้ทำนองนี้ เป็นเรื่องธรรมดาของมัน ถ้าจิตแจ่มแจ้งผ่องใสแล้ว ไม่ต้องไปถามว่าง่วงหรือไม่ง่วง ใช่หรือไม่ใช่ ทั้งหลายเหล่านี้มันก็ไม่มีอะไร ถ้ามันชัดเจน ก็เหมือนเรานั่งธรรมดาอย่างนี้เอง นั่งเห็นธรรมดา หลับตาก็เหมือนลืมตามาเห็น ทุกอย่างสารพัดไม่มีความสงสัย เพียงแต่เกิดอัศจรรย์ขึ้น ในดวงจิตของเราว่า “เอ๊ะ ! สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นของมันไปได้ มันไม่น่าจะเป็นไปได้ มันก็เป็นของมันได้” อันนี้จะวิพากษ์วิจารณ์มันเองไปเรื่อยๆ ทั้งมีปิติ ทั้งมีความสุขใจ มีความอิ่มใจ มีความสงบเป็นเช่นนั้น ต่อนั้นไปจิตมันจะละเอียดไปยิ่งกว่านั้น มันก็จะทิ้งอารมณ์ของมันไปด้วย วิตกยกเรื่องขึ้นมาก็จะไม่มี และเรื่องวิจารมันก็จะหมด จะเหลือแต่ความอิ่มใจ อิ่ม ไม่รู้ว่าอิ่มอะไร แต่มันอิ่มเกิดความสุขกับอารมณ์เดียว นี้มันทิ้งไป วิตกวิจารมันมันทิ้งไปทิ้งไปไหนไม่ใช่เรื่องทิ้ง จิตเราหดตัวเข้ามา คือมันสงบ เรื่องวิตกวิตารมันเป็นของหยาบไปแล้วมันเข้ามาอยู่ในที่นี้ไม่ได้ ก็เรียกว่าทิ้งวิตก ทิ้งวิจารทีนี้จะไม่มีความวิตก ความยกขึ้น วิจาร ความพิจารณาไม่มี มีแต่ความอิ่ม มีความสุขและมีอารมณ์เดียว เสวยอยู่อย่างนั้นที่เขาเรียกว่า ปฐมณาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตตุถฌาน เราไม่ได้ว่าอย่างนั้น เราพูดถึงแต่ความสงบ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ต่อไปนี้ก็ทิ้งวิตกและวิจารเกิดขึ้นมาแล้วก็ทิ้งไป เหลือแต่ปิติกับสุข เอกัคคตา ต่อไปก็ทิ้งปิติ เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ต่อไปก็มีเอกัคคตากับอุเบกขา มันไม่มีอะไรแล้ว มันทิ้งไป เรียกว่าจิตมันสงบๆๆๆ จนไปถึงอารมณ์มันน้อยที่สุด ยังเหลืออยู่แต่โน้น....ถึงปลายมันเหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา เฉยอย่างนี้ อันนี้มันสงบแล้วมันจึงเป็น นี่เรียกว่ากำลังของจิต อาการของจิตที่ได้รับความสงบแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้มันไม่ง่วง ความง่วงเหงาหาวนอนมันเข้าไม่ได้ นิวรณ์ทั้งห้ามันหนีหมด วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล อิจฉา พยาบาท ฟุ้งซ่าน รำคาณ หนีเล่านี้ไม่มีแล้ว นี้มันค่อยเคลื่อนไปเป็นระยะอย่างนั้น นี่อาศัยการกระทำให้มาก เจริญให้มากสิ่งที่รักษาสมาธินี้ไว้ได้คือสติ สตินี้เป็นธรรม เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ซั่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพียง สตินี้ก็คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท ในระหว่าง ขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือ สตินี้คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ไม่สมบูรณ์ อันนี้คือการควบคุม การยืน การเดิน การนั่ง การนอนไม่ใช่แต่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แม้เมื่อเราออกจาสมาธิไปแล้วสติก็ยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ระมัดระวัง เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายมันก็เกิดขึ้นมา การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้นเมื่อความอายกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรมีมากขึ้นด้วยเมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มีนี่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนั้น เราจะไปไหนก็ตามอันนี้มันอยู่ในจิตของตัวเอง มันไม่ด้หนี้ไปไหน ที่ท่านว่าเจริญสติทำให้มาก เจริญให้มากอันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่หรือทำมาแล้ว หรือกำลังจะกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก ให้เรารู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีอยู่ทุกเมื่อ เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่ เกิดขึ้นอยู่ทุก เมื่อความละอายก็เกิดขึ้น จะไม่ทำสิ่งที่ผิด หรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อรวบยอดเข้ามา มันจะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา คือการสังวร สำรวมที่มีอยู่ในกิจการของตนนั้น ก็เรียกว่าศีล ศีลสังวร ความตั้งใจมั่นอยู่ในความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น ก็เรียกว่ามันมีอยู่ในความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น ก็เรียกว่า ปัญญาพูดง่ายๆก็คือ จะมีศีล จะมีสมาธิจะมีปัญญษก็ดี เมื่อมันกล้าขึ้นมา มันก็คือมรรค นี่แหละคือหนทาง ทางอื่นไม่มี

ความสงบที่เกิดจากปัญญานี้ไม่ได้ถือเอาความสุขเป็นความสงบ แต่ถือเอาจิตที่รู้จักพิจารณาสุขทุกข์เป็นความสงบ เพราะว่าความสุขทุกข์นี้เป็นภพเป็นชาติ เป็นอุปาทาน จะไม่พ้นจากวัฎฎสงสารเพราะติดสุขติดทุกข์ ความสุขจึ้งไม่ใช่ความสงบ ความสงบจึงไม่ใช่ความสุข ฉะนั้น ความสงบทื่เกิดจากปัญญานั้นจึงไม่ใช่ความสุข แต่เป็นความรู้เห็นคามความเป็นจริงของความสุข ความทุกข์แล้ว ไม่มีอุปาทานมั่นหลายในสุขทุกข์ที่มันเกิดขึ้นมา ทำจิตให้เหนือสุขเหนือทุกข์นั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นเป้าหมายของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:24 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 10 ธ.ค. 2008 11:36 pm
โพสต์: 1173
ขอบพระคุณครับ :) ถึงจะยังอ่านไม่จบเพราะต้องใช้สมาธิในอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับธรรมะของท่านเรืยกว่าต้องใช้ความเพียรซักหน่อยแต่ในช่วงแรกก็พอเข้าใจครับเพราะเคยสัมผัสในอาการที่ว่า มีความเคลิ้มในอารมภ์สงบครับ ในบางครั้งที่ได้นั่งสมาธิไปซักพักก็จะมีอาการนี้เกิดตอนนั้นนึกว่าตัวเองง่วงแต่ก็ไม่ใช่ เป็นบทความที่ดีครับ เดี๋ยวจะมาอ่านต่อให้จบครับ :P

_________________
หนอนในอาจมย่อมสกปรก เมื่อกลายเป็นจั๊กจั่นก็ดื่มน้ำค้าง เมื่อกลายเป็นหิ่งห้อยก็เรืองโรจน์ใต้เเสงจันทร์
พึงรู้ว่าสะอาดเกิดจากสกปรก สว่างเกิดจากมืดมน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:27 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
เดี๋ยวก็ลืมมม .... :lol: :lol:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:31 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 10 ธ.ค. 2008 11:36 pm
โพสต์: 1173
ลืมที่ว่านี้ใช่ลืมโลโก้ตัวเองหรือเปล่าจ๊ะคุณอู๊ดดี้ :D เห็นเปลี่ยนบ่อยจังเยย

_________________
หนอนในอาจมย่อมสกปรก เมื่อกลายเป็นจั๊กจั่นก็ดื่มน้ำค้าง เมื่อกลายเป็นหิ่งห้อยก็เรืองโรจน์ใต้เเสงจันทร์
พึงรู้ว่าสะอาดเกิดจากสกปรก สว่างเกิดจากมืดมน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:33 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
เปลี่ยนโลโก้บ่อยจริง แต่ใจเดียวนะก๊าบบบ :mrgreen: :mrgreen:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:40 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 10 ธ.ค. 2008 11:36 pm
โพสต์: 1173
ใจเดียวแต่หลายห้อง ชัวร์ ;)

_________________
หนอนในอาจมย่อมสกปรก เมื่อกลายเป็นจั๊กจั่นก็ดื่มน้ำค้าง เมื่อกลายเป็นหิ่งห้อยก็เรืองโรจน์ใต้เเสงจันทร์
พึงรู้ว่าสะอาดเกิดจากสกปรก สว่างเกิดจากมืดมน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:42 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
ตีทะลุหมดฮ๊าาาา :lol: :lol:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:44 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 10 ธ.ค. 2008 11:36 pm
โพสต์: 1173
อ๋อ..หมูหมู่สินะ :lol: :lol:

_________________
หนอนในอาจมย่อมสกปรก เมื่อกลายเป็นจั๊กจั่นก็ดื่มน้ำค้าง เมื่อกลายเป็นหิ่งห้อยก็เรืองโรจน์ใต้เเสงจันทร์
พึงรู้ว่าสะอาดเกิดจากสกปรก สว่างเกิดจากมืดมน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 22 ก.พ. 2009 10:46 pm 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
มาไงฮะเนี่ยยย ............ อืม ว่าแต่นี่กระทู้ธรรมะ นะคร้าบบ :lol: :lol:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 23 ก.พ. 2009 12:58 am 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบพระคุณอ.bonมาก ๆ ครับ ธรรมของหลวงพ่อชานี่อ่านกี่ครั้งก็ใช่ทุกครั้งจริง ๆ เลยเชียว ชอบมากครับ :D

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO