นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 04 พ.ค. 2024 8:54 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 22 มี.ค. 2013 5:34 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
สุตฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ
ผู้ฟังดี ย่อมได้ ปัญญา

พุทธโอวาท ศาสนาคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่มีรสชาติอันอร่อยสุขุมมาก เหล่าชุมชนทั่วไปฟังได้ ปฏิบัติได้ รู้ได้ ตามชอบใจ ตามภูมิแลฐานะของตนๆ ไม่เป็นการข่มขืนขัดขวางต่อนิสัยและระบอบใดๆ ของใครในโลกทั้งนั้น คำสอนของพระองค์เป็นแต่ชี้แนวทางปฏิบัติให้ พร้อมทั้งบอกเหตุผลของการปฏิบัตินั้นๆ ใครจะปฏิบัติตามหรือไม่ คำสอนนั้นก็มิได้ลงโทษหรือให้คุณแม้แต่ประการใด โทษแลคุณย่อมเป็นของอำนวยให้ผลตามเหตุนั้นเท่านั้น พระองค์ได้ทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้พร้อมด้วยพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ โดยมิได้หวังการตอบแทนแม้แต่ประการใดเลย พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงไว้แล้วซึ่งพระวิสุทธิคุณอันวิเศษ หากิเลสทั้งหลายมีอคติเป็นต้น มิได้เจือปนไปในพระทัยของพระองค์เลย พระองค์ได้ทรงไว้แล้วซึ่งสติปัฏฐานทั้งสามบริบูรณ์ทุกเมื่อ คือว่า

พระองค์มิได้หลงดีใจต่อผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ๑

มิได้เสียใจต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ๑

ใครจะปฏิบัติตามบ้างไม่ปฏิบัติตามบ้าง พระองค์เจ้าก็มีสติตั้งมั่นอยู่ทุกเมื่อไม่หลงยินดีและยินร้าย ๑

ฉะนั้น พระองค์จึงทรงมีวิสารทแกล้วกล้าสามารถอาจหาญ โปรดประทานพระโอวาทในที่ทุกแห่ง แล้วทรงบัญญัติศีล สมาธิ ปัญญาเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด มีวิมุติอันเป็นยอดเยี่ยม โดยมิได้หวาดหวั่นต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งนั้น

สาธุชนทั้งหลายจึงไม่ควรประมาท ในการที่พวกเราได้มาเกิดเป็นมนุษย์ชาติ เป็นคติอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยของวิเศษต่างๆ มีอริยทรัพย์เป็นเครื่องประดับ ซึ่งสาธุชนทั้งหลายพากันปรารถนาอยู่แล้ว อนึ่ง พระพุทธโอวาทที่ชี้ขุมทรัพย์นับตั้งอนันต์นี้ มิใช่เป็นของหาได้ง่ายเมื่อไร เราเกิดมานับเป็นแสนชาติอนันต์ ซึ่งจะได้พบปะโอวาทคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธนี้ ก็สุดวิสัย อย่าพึงพากันเข้าใจว่าเป็นของหาได้ง่าย ฉะนั้น เมื่อมรดกอันมีค่าสามารถแลกเอาซึ่งของวิเศษทั้งหลาย มีมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ พระนิพพานสมบัติ เป็นต้น อันมนุษย์ในโลกนี้ปรารถนาอยู่แต่ยังไม่พึงเห็น เวลานี้มรดกนั้นได้ตกเข้ามาถึงมือของพวกเราแล้วตามความประสงค์ ไฉนเล่าพวกเราจึงไม่ยอมรับ แลใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์แก่เราบ้างเลย

สาธุชนทั้งหลายจงพากันรีบรับ จงพากันรีบชม จงพากันรีบใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเสีย ในเมื่อทรัพย์ของดีมีอยู่ ในเมื่อมีผู้ชี้ขุมทรัพย์แลคุณค่าพร้อมทั้งอุบายใช้จ่ายทรัพย์นั้น จะได้ทันแก่กาลสมัยที่ตนปรารถนา อย่าได้พากันยึดหน่วงด้วยบ่วงของมาร ภาระหนักจงพากันพักไว้ก่อน ตอนหลังยังมีถมไป อุบายใช้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ล้วนแต่เป็นของดีมีคุณ พระพุทธองค์ทรงจำแนกแจกไว้ในคัมภีร์เป็นอเนก แต่ในที่นี้จะชี้แจงอุบายจ่ายทรัพย์ถุงน้อยๆ อันมีคุณค่าเป็นอนันต์ ขอสาธุชนทั้งหลายผู้อ่านอย่าพากันเข้าใจว่าเป็นอุบายของผู้แต่ง ความจริงมีในพระคัมภีร์แล้ว แต่เป็นของกว้างมาก ยากที่ผู้จะหยิบเอามาใช้จ่ายให้ทันแก่ความต้องการของตนได้ ฉะนั้น จึงได้ย่นย่อเอาแต่หัวข้ออันจะพึงปฏิบัติมาแต่งไว้ในหนังสือเล่มนี้

ผู้เริ่มจะเรียนบทกฎใช้ทรัพย์ จะตื่นจากหลับกลับจากความหลง อย่าพึงส่งจิตคิดไปตามสงสาร จงเห็นเป็นของน่ารำคาญ สงสารมันลวงเราผูกมัดรัดรึงตึงเครียดไม่เกลียดหน่าย หลงมัวเมา แก่เฒ่า หนุ่มสาว แม้แต่ชั้นเด็กๆ ก็ไม่รู้จักอิ่มพอ รสสงสารทำให้คนเมาไม่รู้จักสร่าง ตัวแก่จนจวนจะดับจิตยังไม่คิดถึงที่พึ่งของตน สิ่งอื่นนอกจากความดีที่มีอยู่ในตนแล้ว คนอื่นที่ไหนใครเขาจะให้พึ่งได้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราคนเดียวทั้งนั้น ตายแล้วไม่มีใครเป็นเพื่อนของเราเลย จงเริ่มรีบเรียนบทกฎใช้ทรัพย์ไว้สำหรับตน คนเราทุกๆ คนยังเดินทางอยู่ไม่รู้จักจบ ซ้ำจะต้องประสบพบกับภัยใหญ่ในวันหนึ่งข้างหน้า (กล่าวคือ พยาธิและมรณะ)

เมื่อเราเรียนรู้วิชาใช้ทรัพย์พร้อมกับคุณค่าของทรัพย์ไว้ได้แล้ว จะได้ทุ่มเททรัพย์ของตนที่มีอยู่นั้นต่อสู้กับปฏิปักษ์ พึงทราบเถิดว่า สนามยุทธหมู่ไพรีสี่สหาย นายทหาร ๔ คนพากันชุมชุกสนุกใจอยู่ในไพรขันธ์ ต่างขยันทำกิจตามหน้าที่ไม่มีเกียจคร้านเลย คนหนึ่งดักต้นทางพบแล้วปล่อยไป คนที่สองด้อมมองตามทุกฝีย่าง คนที่สามคุกคำรามตามทารุณแสนร้ายกาจ คนที่สี่มองมับเมียงคอยเหวี่ยงเปรี้ยงให้บรรลัย

สี่สหายนายโจรใหญ่นี้ทำเป็นมิตรสนิทสนมกับเรา นั่งนอนยืนเดินอยู่กิน พูดจาเฮฮาหัวเราะ เศร้าโศกสุขทุกข์ เขาย่อมเป็นไปกับเราทั้งนั้น เล่ห์กลมารยาของเขาลึกล้ำมาก ยากที่บุคคลจะรู้เหลี่ยมของเขา เว้นเสียแต่พระพุทธองค์เจ้าและพระอรหันตขีณาสพทั้งหลายเท่านั้นจะรู้กลอุบายของเขา ฉะนั้น สาธุชนทั้งหลายผู้เห็นภัยแล้วกลัวต่อนายโจรทั้งสี่สหาย พึงพากันยินดีเรียนเอาวิชาคือพุทธมนต์ไว้สำหรับป้องกันตน พุทธมนต์นั้นมี ๒ ประเภท พึงรู้คุณวิเศษแลลักษณะอาการของพุทธมนต์นั้นมีดังนี้ก่อนคือ การศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นบทบาทอรรถบาลี ซึ่งมีในพระคัมภีร์ทั้งหลาย เรียกว่าพระปริยัติธรรม วิชาขั้นนี้เป็นวิชาขั้นต้น มนต์นี้เรียนแล้วไม่สาธยายเสกเป่า คือไม่ปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจนั้น พวกไพรีทั้งสี่ย่อมยิ้มกริ่ม มนต์นั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ตน ตรงกันข้าม ถ้าปฏิบัติเขาย่อมเกรงขาม

ฉะนั้น ท่านจึงแสดงมนต์ประเภทนี้ไว้ว่ามีทั้งคุณและโทษดังนี้ อลคทฺทูปมาปริยตฺติ พระปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษ คือ ผู้ศึกษาเล่าเรียนทรงจำไว้ไม่ดี ไม่ตรึกตรองให้ถ่องแท้ จะเข้าใจผิดๆ ถูกๆ แล้วนำไปใช้ย่อมให้โทษแก่ผู้นั้น นิสฺสรณตฺถปริยตฺติ พระปริยัติที่บุคคลท่องบ่นจดจำเล่าเรียนทรงไว้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว โดยมีความประสงค์จะทำตนให้พ้นจากโอฆะโดยการเรียนนั้น ภณฺฑาคาริกปริยตฺติ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนของพระอริยเจ้าผู้ท่านสิ้นกิเลสแล้วดังนี้ เป็นพุทธมนต์ที่หนึ่ง

พุทธมนต์ที่สองนั้น ได้แก่ สมถวิปัสสนากรรมฐาน อธิบายว่า ผู้ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างนั้นมาแล้วก็ดี หรือเรียนแต่น้อยๆ เฉพาะอุบายของกรรมฐานนั้นก็ดี แล้วตั้งหน้าตั้งตาเจริญพระกรรมฐานนั้นเรื่อยไป วิชาประเภทหลังนี้นายโจรทั้งสี่มีความกลัวมาก

พุทธมนต์ทั้ง ๒ ประเภทนี้เป็นวิชาป้องกันตัวในเมื่อเข้าสู้ยุทธไพรี ๔ นายนั้น สาธุชนทั้งหลายไม่ควรประมาท ควรพากันเรียนไว้ให้ช่ำชองอาจหาญ จะพาข้ามด่านไปได้ก็เพราะวิชานี้

ต่อไปนี้จะแสดงวิชาประเภทที่ ๒ ซึ่งเรียกว่าสมถวิปัสสนานั้นต่อไป วิชาประเภทนี้เป็นวิชาที่เรียนแล้วลงมือกระทำกันจริงๆ เหตุการเรียนมากและเรียนน้อยไม่สู้จะสำคัญนัก ส่วนสำคัญอยู่ที่กำลัง ๕ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เท่านั้น มีกำลังทั้ง ๕ นี้เป็นทุนอุดหนุนแล้ว แม้จะเรียนบทกรรมฐานเพียงสักว่า "ความตายของเราเที่ยง" เท่านี้ก็สามารถจะต่อสู้ชิงชัยได้ สมกับพระสูตรท่านแสดงไว้ว่า "ปุถุชนผู้เรียนมากแลเรียนน้อย เมื่อปฏิบัติแล้วย่อมเข้าใจถึงธรรมได้เหมือนกัน" ดังนี้ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดที่ใจมิได้มีในที่อื่น พระปริยัติธรรมทั้งหลายถึงจะมากมายสักเท่าไร ก็บัญญัติตามลักษณะและกิริยาที่แสดงออกมาจากใจทั้งนั้น ผู้รู้จักลักษณะอาการของใจหยาบก็บัญญัติได้น้อย ผู้รู้ละเอียดก็บัญญัติได้มาก

เหตุนั้นท่านจึงแสดงวิมุตติของพระขีณาสพไว้ถึง ๔ ชั้นคือ พระสุกขวิปัสสก ๑ พระเตวิชชะ ๑ พระฉฬภิญญะ ๑ พระจตุปฏิสัมภิทัปปัตตะ ๑ ดังนี้ พวกท่านทั้งหลายย่อมเข้าถึงวิมุตติหลุดพ้นกิเลส เข้าถึงพระนิพพาน ก็รู้รสชาติที่เป็นแก่นสารด้วยใจของตนเองทั้งนั้น พระอรหันต์ ๔ เหล่านั้น มิได้วิวาทเป็นปฏิปักษ์ข้าศึกแก่กันและกันเลย ไม่เหมือนปุถุชนพวกเราทั้งหลาย ผู้ตาบอดคลำช้างต่างก็พากันเข้าใจว่าของตนถูก ผลที่สุด พวกตาบอดเหล่านั้นเกิดทะเลาะทุบต่อยกันขึ้นเพราะช้างตัวเดียวเป็นเหตุ

พระโลกเชษฐ์พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม เครื่องตัดสินพระธรรมวินัยในพระศาสนานี้ไว้แล้วถึง ๘ ประการว่า ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อราคะ ธรรมเหล่านั้นมิใช่ธรรม มิใช่วินัย คำสอนของพระองค์ ดังนี้เป็นต้น เมื่อพระธรรมยังไม่มีใครบัญญัติ พระสัพพัญญูผู้วิเศษปฏิบัติถูกต้องแล้ว รู้แจ้งด้วยพระองค์เองแล้ว บัญญัติเหล่านั้นสอนพระสาวกทั้งหลาย เมื่อพระสาวกองค์ใดปฏิบัติถูกต้องเข้า ธรรมเหล่านั้นย่อมมาปรากฏชัดในใจของท่าน ความรู้ความฉลาดความหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เกิดมีขึ้นเฉพาะในใจของท่าน ด้วยการใช้อุบายของพระองค์ ความหลุดพ้นเพราะเห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง จึงทอดทิ้งกิเลสทั้งหลาย มีขันธูปธิ เป็นต้น ไม่ต้องเชื่อคนอื่นอีกแล้ว ฉะนั้น ผู้ยังไม่ถึงวิมุตติจะบัญญัติธรรมใดๆ ก็ยังเป็นสมมติอยู่นั่นเอง ตกลงว่าสมมติทับสมมติเรื่อยไป ส่วนท่านที่ถึงวิมุตติแล้ว แม้จะบัญญัติธรรมเหล่าใดๆ บัญญัตินั้นก็ถูกต้องตามบัญญัติจริงๆ เพราะความในใจของท่านยังเป็นวิมุตติอยู่ตามเดิม

สมถ-วิปัสสนานี้ เป็นวิถีทางตรงที่จะให้ถึงซึ่งวิมุตติ แล้วเกิดปฏิเวธ บัญญัติสภาวะสิ่งนั้นๆ ให้เป็นไปตามความจริงถูกต้องได้ สมถะเป็นปฏิปักษ์แก่กามภพ ตัดหนทางอันคดเคี้ยวให้ตรง ด้วยองค์ฌานแลสมาธินั้นๆ วิปัสสนาปัญญา รอบรู้เห็นอยู่เฉพาะซึ่งของจริงทั้งหลาย เป็นต้นว่าเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นจริงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันยักย้ายเป็นอื่นไปเลย จิตวางเฉย รู้เท่าทันต่อสิ่งเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอัตตานุทิฏฐิ ตัดกระแสของภพทั้งสามให้ขาดไปด้วยวิปัสสนาอยู่ในที่เดียว

อุบายของสมถะนี้ท่านแสดงไว้มีมากมายหลายอย่าง จะต่างกันก็แต่อุบายเบื้องต้นเท่านั้น เมื่อเข้าถึงองค์ของสมถะแล้วก็อันเดียวกัน คือเอกัคคตารมณ์ ฉะนั้น ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าท่านจึงแสดงสมถะ ฌาน สมาธิ เป็นอันเดียวกัน เพราะธรรมทั้งสามนี้ มีพระกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์เหมือนกันทั้งนั้น ต่างแต่ผลัดกันเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันเท่านั้น (ดังจักอธิบายต่อไปข้างหน้าเรื่องรูปฌาน ๔ และสมาธิ)

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่อบรมดีแล้วนำความสุขมาให้

พระกรรมฐานทั้งหลาย ๔๐ มีกสิณ ๑๐ เป็นต้น มีอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นปริโยสาน เมื่อน้อมเข้ามาให้มีอยู่เฉพาะที่กาย วาจา ใจ ของตนแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าตัวของเราทั้งก้อนนี้เป็นที่ประชุมที่ตั้งของพระกรรมฐาน หรือเป็นแหล่งของสมถะ ฌาน สมาธิ ตลอดถึงปัญญาและวิมุตติด้วย เพราะเหตุที่เราไม่เข้าไปเพ่งพิจารณาที่กายนี้ ตามวิถีที่พระพุทธองค์เจ้าทรงสอนไว้ จึงไม่เห็นธรรมวิเศษของดีทั้งหลาย มีสมถะเป็นต้นฯ ฉะนั้น ในที่นี้จะได้ยกเอาพระกรรมฐาน อันเป็นแหล่งของสมถะ ฌาน สมาธิ คือ กายนี้อย่าเดียวมาแสดงพอเป็นสังเขป เมื่อเจริญกรรมฐานอันนี้ได้แล้ว กรรมฐานอื่นนอกจากนี้ก็ไม่ต้องลำบาก

กายคตานี้ท่านแสดงไว้มีหลายนัย เช่น แสดงเป็นธาตุ ๔ อสุภ ๑๐ เป็นต้น ในที่นี้จะรวมย่อเข้าแสดงเป็นอันเดียว ให้ชื่อว่า อสุภกายคตา แล้วจะจำแนกออกไปพอเป็นสังเขปบ้างเล็กน้อย ดังนี้

กายคตา พิจารณากายให้เห็นเป็นธาตุ ๔ เมื่อผู้จะพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นธาตุ ๔ แล้ว พึงน้อมเอาจิตที่สงบพอเป็นบาทฐานซึ่งได้อบรมไว้แล้วด้วยการบริกรรมพุทโธๆ ดังนี้เป็นต้นนั้น เข้าไปเพ่งพิจารณาเฉพาะอาการของกายทั้งหลาย ที่เรียกว่า ทวตฺตึสาการ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น แล้วอย่าให้จิตนั้นส่งไปในที่อื่น น้อมเอาจิตนั้นเพ่งเฉพาะสิ่งเดียว เช่นจะเพ่งผม ก็ให้เพ่งเอาแต่เฉพาะผมอย่างเดียวเสียก่อนว่า ผมๆๆ เท่านั้นเรื่อยไป พร้อมกับคำนึงและทำความเชื่อมั่นว่านั่นเป็นธาตุดินจริงๆ ดังนี้ ถ้าจะเพ่งอาการอื่นต่อไปมีขนเป็นต้น ก็ให้เพ่งมีอาการและลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน อาการเพ่งอย่างนี้ ถ้าชัดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว ส่วนอื่นๆ ก็จะชัดไปตามกัน แต่เมื่อจะเพ่งส่วนใด ขอให้ชัดในส่วนนั้นเสียก่อน อย่าพึงรีบร้อนไปเพ่งส่วนนั้นบ้าง ส่วนนี้บ้าง อาการโน้นบ้าง อาการนี้บ้าง พระกรรมฐานจะไม่ชัด อาการเพ่งอย่างนี้เรียกว่าเพ่งส่งตามอาการ บางคนมักจะให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นตรงที่เพ่งนั้นๆ เพราะจิตยังไม่สงบหรือกำหนดอุบายยังไม่ถูก บางทีถูก เช่นอย่างว่าเพ่งผมแล้วอย่าสำคัญว่าผมมีอยู่ที่ศีรษะของเราดังนี้ก็แล้วกัน มันจะมีมาในที่ใดมากแลน้อย ประการใดก็ดี ให้เพ่งแต่ว่าผมเท่านั้นก็พอแล้วฯ

ถ้าดังอธิบายมานี้ยังไม่ชัด พึงน้อมเอาอาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น ให้เข้ามาตั้งเฉพาะผู้มีความรู้สึก "คือใจ" แล้วเพ่งโดยดังนัยก่อนนั้น เมื่อยังไม่ชัด พึงนึกน้อมเอาธาตุดินภายในกายนี้มีผมเป็นต้น ว่าต้องเป็นดินแน่ แล้วน้อมออกไปเทียบกับธาตุดินภายนอก ว่าต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกันดังนี้ก็ได้ หรือน้อมเอาธาตุดินภายนอกเข้ามาเทียบกับธาตุดินภายในกายของเรานี้ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นแน่ ดังนี้ก็ได้ เมื่อเห็นชัดโดยอาการอย่างนั้น เรียกว่าเห็นโดยอนุมาน พอเป็นมุขบาทของฌานสมาธิได้บ้าง

ถ้าหากความเห็นอันนั้นแก่กล้า จะสามารถตัดความกังขาลังเลสงสัยเสียได้จริงๆ ว่าสิ่งนั้นต้องเป็นอย่างนั้นทีเดียว จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้แน่นอน จนจิตนั้นถอนออกจากความถือมั่นสำคัญเดิม ด้วยอำนาจของความหลง จิตตกลงเชื่อแน่วแน่แจ่มใสมีสติรู้อยู่ทุกระยะที่รู้ที่เห็นที่พิจารณาทุกอาการทุกส่วน เรียกว่าเห็นด้วยอำนาจของ สมาธิ มีสมาธิเป็นภูมิฐาน

เมื่อความรู้ความเห็นอันนั้นมีกำลังเพียงพอ ปัญญาเข้าไปตรวจดูว่าของเหล่านี้มีอยู่ภายในเช่นไร ภายนอกทั้งหมดก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ของที่หยาบและละเอียดย่อมมีสภาวะเป็นเหมือนกันทั้งนั้น ในโลกนี้มีธาตุ ๔ ทั้งหมดล้วนแต่เกิดจากธาตุ ๔ ตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด กี่ร้อยกี่พันชาติ ก็มีสภาวะเป็นอย่างเดียวกันทั้งนั้น เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นด้วย วิปัสสนาปัญญา

เมื่อเพ่งพิจารณาโดยอาการทั้งสาม ดังที่อธิบายมาแล้วนี้ เมื่อถึงกาลสมัยซึ่งมันจะเป็นไปเอง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจอยากจะให้มันเป็น หรือตกแต่งเอาด้วยประการใดๆ จิตที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นจะรวมลงมีอาการให้วุ่นวายคล้ายกับเผลอสติหรือบางทีก็เผลอเอาจริงๆ ดังนี้เรียกว่าจิตเข้าสู ภวังค์ คือเป็นภพใหญ่ของจิตที่ยังไม่ปราศจากอุปธิ รวมเอาขันธ์ทั้งห้า ซึ่งเป็นส่วนภายนอกเข้าไว้ในที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันนั้น บางทีจะปรากฏภาพที่เราเพ่งพิจารณามาแล้วแต่เบื้องต้น เช่น เพ่งผมให้เป็นดินนั้นแปรเป็นสภาพที่ละเอียดชัดขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะได้เห็นด้วยขันธ์ในอันบริสุทธิ์ มิได้เห็นด้วยขันธ์อันหยาบๆ ภายนอกนี้

บางทีเมื่อภาพชนิดนั้นไม่ปรากฏ จะมีปีติปรากฏขึ้นในขณะนั้นให้เป็นเครื่องอัศจรรย์ เช่นทำให้กายหวั่นไหวหรือโยกคลอน สะอื้นน้ำตาร่วง กายเบา เหล่านี้ หรืออาจจะให้เห็นอะไรต่ออะไรมากอย่างนานัปการ ทำผู้ทำกรรมฐานให้ชอบใจมาก ถ้าผู้เจริญวิปัสสนาแล้วเกิดอาการเหล่านี้ จัดเป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา ถ้าท่านผู้หาอุปธิมิได้ในขันธสันดานของท่านแล้ว อาการเหล่านี้เป็นวิหารธรรม เพื่อวิหารสุขในทิฏฐธรรมของท่าน ถ้าผู้เจริญสมถะอยู่ ความรู้ความเห็นอย่างนั้นเรียกว่ารู้เห็นด้วยอำนาจภวังค์ ความรู้ความเห็นสามตอนปลายนี้ เรียกว่า ปัจจักขาสิทธิ

การเพ่งพิจารณากายนี้ มีนัยวิจิตรพิสดารมาก แต่เมื่อสรุปใจความลงแล้ว ผู้มายึดเอากายนี้เพ่งเป็นต้นทางแล้ว ปลายทางก็มีอาการเป็น ๒ คือ เห็นชัดด้วยอนุมาน ๑ เห็นชัดด้วยปัจจักขาสิทธิ ๑ ปัจจักขาสิทธิยังแจกออกไปอีกเป็น ๓ คือ เห็นชัดด้วยสมาธิ ๑ เห็นชัดด้วยฌาน ๑ เห็นชัดด้วยวิปัสสนาปัญญา ๑ ฉะนั้น ความรู้ความเห็นซึ่งเกิดจากการเพ่งพิจารณากายมีแยบคายออกเป็นทาง ๓ เส้น ดังอธิบายมาแล้วนี้ จะไม่นำมาอธิบายอีก จะแสดงแต่ต้นทาง มีพิจารณากายให้เป็นอสุภเป็นต้น ผู้พิจารณากายพึงรู้เอาโดยนัยดังอธิบายมาแล้วนั้นเถิด

กายคตา การพิจารณากายให้เป็นอสุภ พึงเพ่งพิจารณากายก้อนนี้ อันเป็นที่ตั้งของอัตตานุทิฏฐิให้เกิดอุปธิกิเลส เป็นเหตุให้เราหลงถือว่าเป็นสุภของสวยงาม ให้เป็นอสุภ แล้วจะได้ละวิปลาส หลงถือของไม่สะอาดสวยงาม แล้วรู้ตามเป็นจริง

กายนี้เป็นของอสุภมาแต่กำเนิด เมื่อจะเกิดมาเป็นกายก็เอาอสุภคือสัมภวธาตุ (เลือดขาว) ของมารดาบิดามาประสมกันเข้าแล้วจึงเกิดเป็นกายได้ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมา ซึ่งนอนอยู่ในครรภ์ของมารดานั้น ก็นอนอยู่ในอสุภ เกลือกกลั้วด้วยน้ำเลือดน้ำเน่าของมารดา อาศัยน้ำเลือดน้ำเน่าเหล่านั้นเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจึงเจริญมา เปรียบเหมือนตัวหนอนซึ่งเกิดอยู่ในหลุมคูถ บ่อนกินคูถเป็นอาหารจึงเติบโตขึ้นมาได้ฉะนั้น ตัวหนอนบ่อนกินคูถเป็นอาหารด้วยมุขทวาร ยังดีกว่าทารกที่รับอาการด้วยสายรกสืบจากมารดาเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตโดยอาการซึมซาบเข้าไปทางสายสะดือนั้นเสียอีก

เมื่อคลอดออกมาก็เป็นของน่าอุจาดเหลือที่จะทน เปรอะเปื้อนด้วยน้ำเน่าแลน้ำหนอง เหม็นสาบเหม็นโขงยิ่งร้ายกว่าผีเน่าที่นอนอยู่ในโลง คนทั้งหลายนอกจากมารดาบิดาแลญาติที่ใกล้ชิดแล้ว ไม่อาจมองดูได้ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมาทุกระยะวัยนั้นเล่า ก็อาศัยของเน่าปฏิกูลเป็นเครื่องบำรุงมาตลอดกาล เช่นอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นต้น จะเป็นของดีวิเศษปรุงสำเร็จมาแล้วด้วยของดีอันมีค่า เมื่อเข้ามาถึงมุขทวารแล้ว อาหารเหล่านั้นก็เป็นของปฏิกูลคลุกเคล้าไปด้วยเขฬะน้ำลายอันเป็นของน่าเกลียดหน่ายทั้งตนแลคนอื่นด้วย

เมื่อกลืนล่วงลำคอลงไปอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว เปื่อยเน่าเท่ากับหลุมคูถที่หมักหมมมานานตั้งหลายปี ของปฏิกูลซึ่งมีอยู่ภายในทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมซึมซาบไหลออกมาภายนอก เกรอะกรังอยู่ตามผิวหนังแลช่องทวารต่างๆ แมลงหวี่แมลงวันพวกหลงของเน่าสำคัญว่าเป็นของดี พากันยื้อแย่งไต่ตอมกิน ในกายนี้ทั้งหมดจะหาของดีสักชิ้นหนึ่งก็ไม่ได้ เว้นไว้แต่บุคคลผู้ยังหลงสำคัญว่าเป็นของดีสะอาด จึงสามารถหลงรักและชมชอบว่าเป็นของดีสะอาด ทั้งๆ ที่เขายังหลงอยู่นั้นเอง จึงได้หาเครื่องทาหาของย้อมมาประพรมเพื่อกลบกลิ่นอันไม่พึงใจ แต่เขาเหล่านั้นหารู้ไม่ว่า การทำเช่นนั้นเพื่อกลบกลิ่นกลับเข้าไปตรงกันข้ามไปเสียว่าเพื่อความหรูหราและเพลิดเพลินเจริญใจแก่ตนและบุคคลผู้ที่ได้เห็นได้ดู ข้อนี้อุปมาเหมือนกับหีบศพที่กลบให้มิดปิดให้ดี ระบายสีให้สะอาดวาดลวดลายด้วยน้ำทอง คนทั้งหลายมองดูแล้วชมว่าสวย ที่ไหนได้ ภายในเป็นซากอสุภ

พิจารณากายนี้ให้เป็นอสุภดังแสดงมาแล้วนี้ก็ได้ หรือจะพิจารณาโดยอนุพยัญชนะคือ ทวตฺตึสาการ อาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ให้เป็นอสุภแต่ละอย่างๆ ดังแสดงมาแล้วข้างต้นก็ได้ เมื่อผู้มาพิจารณาโดยนัยนี้ให้เห็นเป็นอสุภดังแสดงมานี้แล้ว ย่อมละเสียซึ่งความเมาในรูปนี้ได้

กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นทุกข์ ให้พิจารณาจำเดิมแต่ตั้งปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของมารดา นั่งขดคู้อยู่ด้วยอิริยาบถเดียว สิ้นทศมาสสิบเดือน อาศัยผลกรรมตามสนองจึงประคองชีวิตมาได้โดยความลำบาก แม้แต่อาหารที่จะเลี้ยงชีพเป็นต้นว่าข้าวแลน้ำก็มิได้นำเข้าทางมุขทวาร อาศัยรสชาติอาหารของมารดาที่ซึมซาบออกไปจากกระเพาะแล้วนั้น ค่อยซึมซาบไปหล่อเลี้ยงโดยสายรกที่ติดต่อจากมารดาเข้าไปโดยทางสายสะดือ ลมหายใจเล่าก็ต้องอาศัยลมหายใจของมารดาที่กลั่นกรองแล้วออกจากปอด เข้าไปสูบฉีดทีละนิดทีละหน่อยพอให้มีชีวิตเป็นไป ความอึดอัดเพราะการคับแคบก็เหลือที่จะทนทาน

อาหารที่มารดารับเข้าไปถ้าเป็นของร้อนและเผ็ดแสบ ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ร้อนและเผ็ดแสบไปด้วย ความทุกข์ในเมื่ออยู่ในครรภ์เหลือที่จะทนทาน แต่เป็นการจำเป็น บุญกรรมตามสนองไว้จึงไม่ถึงกับตาย แต่เมื่อทุกข์ถึงขนาดเพราะได้รับการกระทบกระทั้ง บางกรณีก็ถึงซึ่งชีวีไปได้อยู่ในครรภ์นั่นเอง เมื่อคลอดจากครรภ์ของมารดานั้น ความทุกข์ก็แสนสุดขนาดเหลือที่จะประมาณ ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนกับช้างสารที่หนีนายพรานออกไปในช่องหินที่คับแคบในระหว่างภูเขาทั้งสอง ฉะนั้น

ความทุกข์เมื่ออยู่ในครรภ์ จะว่าเป็นนรกใหญ่ของมนุษย์ในชาตินี้ก็ว่าได้ คราวเมื่อคลอดออกมา เท่ากับว่านายนิรยบาลทำทัณฑกรรมก็ว่าได้ นับแต่วันคลอดแล้วมา อาการของทุกข์ในกายนี้ย่อมขยายตัวออกมาให้ปรากฏทุกระยะ จำเดิมแต่ทุกข์เพราะหิวกระหาย ทุกข์เพราะกายนี้คอยรับเอาซึ่งสัมผัส เกิดจากเย็นร้อนอุตุฤดูต่างๆ หรือเกิดแผลพุพองเปื่อยเน่า แมลงต่างๆ ต่อยกัด สัตว์เล็กสัตว์โตรบกวนราวี ถูกโบยตีทารุณทัณฑกรรมต่างๆ หลายอย่างเหลือที่จะคณนานับ ทุกข์สำคัญคือทุกข์ที่มีประจำในตัวไม่รู้จักจบสิ้น ทุกข์เหล่านั้นเรียกว่า โรค ๖๔ ประการ มีโรคเกิดประจำ ตา หู จมูก เป็นต้น

ปกิณณกทุกข์ นั้นมีทุกข์เกิดจากความโศกเศร้า เสียใจอาลัยโทมนัสขัดแค้นเป็นต้น ทุกข์เหล่านี้จะเรียกว่าทุกข์ที่เป็นบริวารของนรกก็ว่าได้

ปริเยสิกทุกข์ ทุกข์เพราะการแสวงหาเลี้ยงชีพ เป็นต้นว่า การกสิกรรม อดทนต่อแดดและฝน โสมมด้วยของสกปรกตลอดวัน พอตกกลางคืนพักผ่อนรับประทานเสร็จแล้วค่อยสบายนอนหลับสนิท บางทีกลางคืนทำงานตลอดรุ่ง กลางวันพักผ่อนนอนสบายใจ หรือบางทีทำงานอาชีพตลอดวันยังค่ำคืนยังรุ่ง หาเวลาว่างมิได้ดังนี้ก็ดี หรืออาชีพด้วยการค้าขาย มีการหลอกลวงหรือฉ้อโกงกัน เกิดทะเลาะวิวาททุบต่อยจนถึงฆ่ากันตาย ด้วยการอาฆาตบาดหมางเพราะอาชีพนั้นดังนี้ก็ดี ถ้าจะเปรียบแล้วทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ก็เหมือนกับว่าทุกข์ของเปรต ที่เป็นเศษจากผลกรรมที่ตกนรกเล็กน้อยแล้วนั้น มารับผลของกรรมที่เป็นบุญ ได้รับความสุขในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันไปเสวยผลของกรรมที่เป็นบาปได้รับทุกข์ บางทีในเวลากลางคืนได้รับผลของกรรมที่เป็นบาป เป็นทุกข์ในเวลากลางคืน กลางวันได้รับผลของบุญที่เป็นสุข

กายอันนี้เกิดมาทีแรกก็เป็นทุกข์ ความเป็นอยู่ในปัจจุบันก็เป็นทุกข์ คราวที่สุดจวนจะตายก็เป็นทุกข์ หาความสุขสบายของกายอันนี้แม้แต่น้อยหนึ่งย่อมไม่มีเลย เว้นไว้แต่ผู้ยังหลงมัวเมาเข้าใจว่าทุกข์เป็นสุขเท่านั้น เหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสไว้ว่า "ในโลกนี้นอกจากทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมดับไป ย่อมไม่มีอะไร" ดังนี้ ฉะนั้น ผู้มาพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นทุกข์ดังอธิบายมานี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในกายนี้ แล้วพยายามหาวิถีทางที่จะหนีให้พ้นจากทุกข์

กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง จำเดิมแต่กายนี้ปฏิสนธิ อาการของกายนี้ทุกส่วนยังไม่ปรากฏ เป็นของเล็กน้อยละเอียดที่สุด จิตเข้ามายึดถือเอาปฏิสนธิจากสัมภวธาตุของมารดาบิดาอันผสมกัน แล้วกลั่นกรองให้เป็นของละเอียด จนเป็นน้ำมันใสมีประมาณเล็กน้อยที่สุด น้ำมันแต่ละหยดนั้นแหละจะค่อยแปรมาโดยลำดับ คือ จะแปรมาเป็นน้ำมันข้น แล้วแปรมาเป็นน้ำล้างเลือด แล้วแปรมาเป็นน้ำเลือด แล้วแปรมาเป็นก้อนเลือด แล้วแปรมาเป็นก้อนเนื้อ



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



ขอเชิญร่วมสร้างบุญกุศล โดยการเข้าร่วมโครงการ ถวายยาสมุนไพร และยาที่ช่วยในการรักษาโรค แด่พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ

087-011-2340



ขอเชิญรับ "พระบรมสารีริกธาตุ" ไปสักการะบูชา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

โทรศัพท์ 082-4448270



การเปิดสอน การฝึกสติออนไลน์

http://www.banduangdham.com/forum/



เชิญปฏิบัติธรรม ณ วัดไตรมิตรฯ ตลอดปี 2556
0828998466



โครงการสร้างหนังสือพระไตรปิฎกพร้อมตู้ ครั้งที่ 3
โทร.090-469-5989



รับบริจาค เส้นผม เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ที่ รพ.จุฬาภรณ์ ฯ




ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างพระประธานแกะสลักหินทรายขาว

เพื่ออัญเชิญประดิษฐานณ.วัดป่าพลาญจิก(ธ)
เขตเทือกเขาพนมดงรักบ้านนาตราว ต.ดงรัก อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ





มีโครงการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา และเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ

โทร .036-783-086

วัดอินทรารามวรวิหาร จะมีงานประจำปี2556

ในวันที่ 23 มี.ค.56 - 1 เม.ย.56

มีก่อเจดีย์ทราย จะมีขึ้นในเย็น วันจันทร์ ที่ 25 มี.ค.56 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป





ขอเชิญสร้างเจดีย์ประทีปแก้ว
https://www.facebook.com/watpraputtabathwongtoung





เชิญร่วมบุญ โครงการบรรพชาสามเณรเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.- 20 เม.ย 2556 ณ วัดธาตุน้อย (เจดีย์พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) และ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

โทร 075-340043





จัดซื้อยาถวายพระที่อาพาต

087-011-2340



ร่วมเป็นเจ้าภาพ บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน 50รูป ที่วัดนครชื่นชุ่ม ต .กระทุ่มล้ม อ .สามพราน จ .นครปฐม ในวันที่ 8 เมษายน - 9 พฤษภาคม พ .ศ .2556





ขอเชิญพุทธ ศาสนิกชนคนทำบุญทั้งหลายทำบุญเททองหล่อพระประธาน(พระพุทธชินราช)ขนาดหน้าตัก 59"เพื่อประจำใน อุโบสถ และร่วมวาง ศิลาฤกษ์สร้างอุโบสถ ให้กับสำนักสงฆ์ เขาพรานธูป บ้านทุ่งเสือนอน ต .ทับใต้ อ .หัวหิน จ .ประจวบคีรีขันธ์





กิจกรรม ค่ายรักลูกให้ถูกธรรม รุ่นที่ 3 จะจัดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม -1 เมษายน 2556 สถานที่จัดกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ .วังน้อย จ .พระนครศรีอยุธยา

***ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร โบชัวร์ได้ที่ที่เว็บไซต์ http://www.thammacamp.com/ สอบถามรายละเอียด และสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ กลุ่มใจใสวัยปิ๊ง 086-3239578, 084-9291105, 083-0171699 ,089-15256 61, 086-539-0775





ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ เทวดา ประดิษฐานรอบ อุโบสถและกำแพง วัดปางค่า ต .ไชยสถาน อ .เมือง จ .น่าน
... ร่วมทำบุญได้ที่ หมายเลขบัญชี 732-227401-0
ชื่อบัญชี พระกีรติกร สุธมฺมจารี ธนาคารไทยพานิชย์สาขาน่าน
หรือโทร 0861858116



ขอเชิญร่วมบวชชีพราหมณ์ (บวชเนกขัมมะ ) ที่วัดศรีบุญเรื่อง ในวันวิสาขบูชา 24-26 พฤษภาคม 2556 (ศุกร์ ถึง อาทิตย์ )


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO