นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 04 พ.ค. 2024 6:06 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 18 ก.พ. 2013 7:30 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง มีพระราชอุทยานอยู่

ในที่ไกล พระองค์ต้องเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จ

ลงจากพระยานในระหว่างมรรคา ด้วยพระราชดำริว่า เราไปสู่ท่าน้ำแล้วจัก

ล้างหน้า ก็ในประเทศนั้น นางราชสีห์ตกลูกราชสีห์แล้วไปหากิน ราชบุรุษ

เห็นลูกราชสีห์นั้นแล้ว ทูลว่า ลูกราชสีห์ พระเจ้าข้า พระราชาทรงพระราช

ดำริว่า ได้ยินว่า ราชสีห์ไม่กลัวใคร จึงตรัสสั่งให้ตีวัตถุมีกลองเป็นต้น เพื่อ

ทดลองลูกราชสีห์นั้น ลูกราชสีห์ฟังเสียงนั้น ก็นอนตามเดิม พระราชาตรัสสั่ง

ให้ตีวัตถุถึงสามครั้ง ในครั้งที่ ๓ ลูกราชสีห์ก็ชูศีรษะขึ้น แลดูบริษัททั้งหมด

แล้วนอนเหมือนเดิม.

ขณะนั้น พระราชาตรัสว่า แม่ของลูกราชสีห์นั้น ยังไม่กลับมาตราบ

ใด พวกเราจะไปตราบนั้น เมื่อจะเสด็จไป ทรงพระราชดำริว่า ลูกราชสีห์

แม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อในกาลไหนหนอ เราพึงตัดความ

สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิแล้ว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงกลัว พระองค์ทรงยึด

อารมณ์นั้น เสด็จไปอยู่ ทรงเห็นลมพัดไม่ติดตาข่ายทั้งหลาย ที่พวกชาวประมง

จับปลาแล้ว คลี่ตากไว้บนกิ่งไม้ทั้งหลาย ทรงยึดนิมิตแม้นั้นอีกว่า ชื่อในกาล

ไหนหนอ แม้เราพึงทำลายข่ายคือตัณหาทิฏฐิ และข่ายคือโมหะไป

ไม่ติดขัดเช่นนั้น.

ต่อมา พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณี

ที่มีแผ่นศิลา ทรงเห็นปทุมทั้งหลายที่ต้องลมแล้ว โอนเอนไปถูกน้ำ เมื่อ

ปราศจากลม ก็ตั้งอยู่ตามที่เดิมอีก ไม่เปียกน้ำ จึงทรงถือนิมิตแม้นั้น ว่า

เมื่อไรหนอ แม้เราเกิดแล้วในโลก ไม่พึงติดในโลกดำรงอยู่ เหมือนปทุม

เหล่านี้ เกิดในน้ำ ไม่เปียกน้ำดำรงอยู่ ฉะนั้น.

พระราชานั้น ทรงพระราชดำริบ่อย ๆ ว่า

เราไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงติด ไม่พึงเปียก

เหมือนราชสีห์ ลม และปทุม

ฉะนั้น แล้วทรงสละราชสมบัติ

ผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว

ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สีโหว สทฺเทสุ อสนฺตสนฺโต

วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน

ปทุมํ ว โตเยน อลิมฺปมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

* สํ. นิทาวคฺค ๔๔.

บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น

เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง

ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์ และอายตนะเป็นต้น

เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย

ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ

เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ ๔ ประเภท คือ ติณสีหะ

นรสีหะ กาฬสีหะ เกสรสีหะ. เกสรสีหะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าสีหะ ๓ ประเภท

นั้น เกสรสีหะนั้นเทียว ท่านประสงค์เอาในคาถานี้.

บทว่า วาโต ได้แก่ ลมหลายชนิด ด้วยอำนาจแห่งลมที่พัดมาทาง

ทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า ปทุมํ ว ได้แก่ ปทุมหลายชนิด ด้วยอำนาจ

แห่งปทุมแดงและปทุมขาวเป็นต้น. ในลมและปทุมเหล่านั้น ลมอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ปทุมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ควรทั้งนั้น.

ในคาถานั้น เพราะความสะดุ้งย่อมมีได้ เพราะความรักตน และ

ความรักตน ก็คือ ความติดด้วยอำนาจตัณหา แม้ความติดด้วยอำนาจตัณหา

นั้น ย่อมมีได้ เพราะความโลภที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ หรือที่ปราศจากทิฏฐิ ก็

ความโลภนั้น คือ ตัณหานั่นเอง ก็ในคาถานั้น ความข้องย่อมมีด้วยโมหะสำหรับ

บุคคลผู้เว้นจากการพิจารณา และโมหะ ก็คือ อวิชชา ในการนั้น การละตัณหา

ย่อมมีได้ด้วยสมถะ การละอวิชชามีได้ด้วยวิปัสสนา เพราะฉะนั้น บุคคล

ละความรักตนด้วยสมถะแล้ว ไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือน

ราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียงฉะนั้น ละโมหะด้วยวิปัสสนาปัญญาแล้ว ไม่ข้องอยู่ใน

ธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่ายฉะนั้น ละโลภะ

และทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยโลภนั่นเอง ด้วยสมถะนั้นแล ไม่ติดอยู่ด้วยความโลภ

คือความยินดีในภพทั้งปวง เหมือนปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉะนั้น

ก็ในที่นี้ ศีลเป็นปทัฏฐานของสมถะ สมถะ คือ สมาธิ วิปัสสนา คือ

ปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อธรรมทั้งสองนั้น สำเร็จอย่างนี้แล้ว ขันธ์ทั้ง ๓

ก็เป็นอันสำเร็จแล้ว. ในขันธ์ ๓ อย่างนั้น บุคคลเป็นผู้กล้าหาญด้วยศีลขันธ์

เขาย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความที่ตนประสงค์เพื่อจะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย

เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียงฉะนั้น ผู้มีสภาพอันแทงตลอดแล้ว ด้วยปัญญา

ขันธ์ ย่อมไม่ต้องอยู่ในธรรมอันต่างด้วยขันธ์เป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ใน

ข่าย ฉะนั้น ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ด้วยสมาธิขันธ์ ย่อมไม่ติดอยู่ด้วยราคะ

เหมือนปทุมไม่ติดด้วยน้ำ ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้ง ไม่ข้องอยู่ ไม่ติด

ด้วยอำนาจแห่งการละอวิชชาตัณหา และอกุศลมูล ๓ ตามความเป็นจริง

ด้วยสมถวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์

บัณฑิตพึงทราบด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO