นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 04 พ.ค. 2024 9:03 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 31 ม.ค. 2013 8:45 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
คาถาว่า ปญฺาพล ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

คาถานี้ตรัสปรารภพระเรวตเถระ ในคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบการ

บรรพชาจำเดิมแต่ต้นของพระเรวตเถระ การบรรลุคุณวิเศษของท่านผู้บวชแล้ว

อยู่ที่วัดป่าตะเคียน โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในคาถานี้ว่า คาเม วา ยทิ วารญฺเ

และการเสด็จไปและการเสด็จกลับในป่าตะเคียนนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับแล้ว ภิกษุแก่รูปหนึ่งลืมรองเท้าจึงกลับมาเห็น

รองเท้าแขวนที่ต้นตะเคียน ถึงกรุงสาวัตถี เมื่อนางวิสาขาอุบาสิกาถามว่า ข้า

แต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเป็นที่อยู่ของพระเรวตเถระเป็นที่รื่นรมย์หรือ เมื่อพูด

รุกรานภิกษุทั้งหลายที่กล่าวสรรเสริญ จึงกล่าวว่า แน่ะ อุบาสิกา ภิกษุเหล่านั้น

พูดเท็จ ภูมิประเทศไม่งาม เศร้าหมองอย่างยิ่ง ป่าตะเคียนนั่นเล่า ก็ขรุขระ

เขาฉันอาคันตุกภัตรของนางวิสาขาแล้ว เพ่งโทษภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมที่โรง

กลมในภายหลังภัตร กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ สิ่งอันจะพึงรื่นรมย์ในเสนาสนะ

ของพระเรวตะพวกท่านเห็นแล้วหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เหตุการณ์นั้นแล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี

เสด็จถึงท่ามกลางบริษัท ด้วยปาฏิหาริย์อันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับนั่ง

บนพุทธาสนะตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้อยคำเกิดขึ้นปรารภพระเรวตเถระ พระเรวตเถระเป็นนวกรรมอย่างนี้จักกระทำ

สมณธรรมในกาลไหน ? พระพุทธองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรวตะ

ไม่ได้เป็นนวกรรม เรวตะเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ทรงปรารภพระเรวตะนั้น

แล้ว จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ผู้มีกำลัง คือ ปัญญา เพราะความ

เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังคือปัญญา อันสำเร็จการทำให้อ่อนกำลังและการละ

กิเลส หรืออันต่างด้วย การแสดงฤทธิ์และการอธิษฐาน ชื่อว่า ประกอบด้วย

ศีลและวัตร เพราะความเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปาริสุทธิศีลสี่ และธุตังควัตร

ชื่อว่า มีจิตตั้งมั่น ด้วยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ และอิริยาปถสมาธิ ชื่อว่า

ยินดีในฌาน เพราะความเป็นผู้ยินดีแล้วด้วยฌานอันต่างด้วยอุปจารฌานและ

อัปปนาฌาน หรือในฌาน ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์

ด้วยสติ ชื่อว่า หลุดพ้นจากเครื่องข้อง เพราะความเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่อง

ข้อง คือราคะเป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีกิเลสดุจหลักตอ ไม่มีอาสวะเพราะไม่มี

กิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๕ อย่าง และไม่มีอาสวะ ๔ อย่าง.

บทว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ ความว่า อนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย

ผู้บัณฑิตย่อมประกาศแม้ผู้นั้น ผู้ประกอบด้วยคุณคือปัญญาเป็นต้น ผู้ปราศจาก

โทษ คือ เครื่องข้องเป็นต้น ว่าเป็นมุนี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ

พระเรวตเถระว่า ท่านทั้งหลายจงดู พระขีณาสวมุนีนี้ เป็นผู้ประเสริฐสุด

เพียงใด พระมุนีนั้นพึงเห็นว่า เป็นนวกรรม หรือว่าจักกระทำสมณธรรมใน

กาลไหนอย่างไร เพราะพระมุนีนั้น ยังวิหารธรรมนั้นให้จบแล้ว ด้วยกำลัง

คือ ปัญญา หาให้จบด้วยการทำนวกรรมไม่ พระมุนีนั้นทำกิจเสร็จแล้ว จัก

ไม่ทำสมณธรรมในบัดนี้ ก็ วาศัพท์ ในคาถานี้ มีการทำให้แจ่มแจ้งเป็นอรรถ

ดังนี้แล.
คาถาว่า เอก จรนฺต ดั้งนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ตามลำดับ ตั้งแต่

ควงโพธิมัณฑ์ ครั้นสมาคมแห่งพระบิดาและโอรสเป็นไปอยู่ พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้อันพระเจ้าสุทโธทนะทรงพระปราโมทย์ ตรัสพระดำรัสเป็นต้นอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ทรงนุ่งผ้าทั้งหลายมีผ้ากาสี

เป็นต้น ซึ่งทอในคันธกรัณฑกะ บัดนี้ ทรงผ้าปังสุกุลทั้งหลายที่ตัดแล้ว

อย่างไร เมื่อจะทรงแนะนำพระราชา จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ดูก่อนพระบิดา พระองค์ตรัสถึงผ้า

กาสีที่ทอเป็นผืนใด ผ้าปังสุกุลดีกว่าผ้ากาสี

นั้น ผ้าปังสุกุลนั่น อาตมภาพปรารถนา

ยิ่งนัก ดังนี้.

เมื่อจะทรงแสดงสภาพของพระองค์ยิ่งกว่าโลกธรรมทั้งหลาย จึงตรัส

คาถา ๗ บทนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่พระราชา.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยคุณทั้งหลาย กล่าวคือ

บรรพชาเป็นต้น ชื่อว่า เที่ยวไป ด้วยจริยาทั้งหลายมีอิริยาบถเป็นต้น ชื่อว่า

มุนี เพราะถึงพร้อมด้วยโมเนยยธรรม ชื่อว่า ไม่ประมาท เพราะไม่มีความ

ประมาทในฐานะทั้งปวง ชื่อว่า ไม่หวั่นไหว ด้วยอำนาจแห่งความยินร้ายและ

ความยินดีในเพราะนินทาและสรรเสริญเหล่านี้ คือ นินทา อันต่างด้วย

การด่าและการครหาเป็นต้น และการสรรเสริญ อันต่างด้วยการชมเชยคุณ

เป็นต้น ก็โลกธรรมแม้ ๘ อย่าง พึงทราบว่า ตรัสแล้วในคาถานี้ โดยมี

นินทาและการสรรเสริญเป็นประธาน.

ชื่อว่า ไม่สะดุ้งหวาด เพราะไม่เข้าถึงการผิดปกติในเพราะโลกธรรม

ทั้งแปด หรือเพราะไม่มีความสะดุ้งหวาด ในเพราะเสนาสนะที่สงัด เหมือน

ราชสีห์ไม่สะดุ้งหวาดในเพราะเสียงมีเสียงกลองเป็นต้น ไม่ข้องอยู่ในข่าย คือ

ตัณหาและทิฏฐิด้วยมรรคทั้งสี่ เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในตาข่าย อันต่างด้วย

ตาข่ายที่ทำด้วยด้ายเป็นต้น ชื่อว่า ไม่ติดอยู่กับโลก เพราะละได้แล้วซึ่งความ

ติด คือ ตัณหาและทิฏฐิ อันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายติดอยู่กับโลก ดุจดอกปทุม

แม้เกิดขึ้นโลกแต่ไม่ติดอยู่กับน้ำ ชื่อว่า เป็นผู้นำ ด้วยมรรคนั้น เพราะยัง

มรรคให้ถึงนิพพานให้เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้ที่ใคร ๆ อื่นจะพึงนำไปได้

เพราะความที่พระองค์ทรงแสดงมรรคแก่เทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น แต่พระองค์

ไม่มีใคร ๆ อื่นที่จะพึงแสดงมรรคนำไปได้ นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้น

ว่าเป็นมุนี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระองค์ให้แจ่มแจ้งดังพรรณนา

มานี้. บทที่เหลือในคาถานี้ มีนัยกล่าวแล้วนั่นแล.
คาถาว่า โย โอคหเณ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยเฉพาะครั้งแรก ทรงมีลาภสักการะ

ใหญ่ให้เป็นไปแล้ว ไม่มีปริมาณเพราะอาศัยพระอภินีหารคุณอันต่างด้วยบารมี

๑๐ อุปปารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ที่ทรงบำเพ็ญตลอดสี่อสงไขยและแสนกัป

พระคุณที่ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วทรงอุบัติในดุสิตภพ พระคุณที่ประทับ

อยู่ในดุสิตภพนั้น พระมหาวิโลกนคุณ การก้าวลงสู่พระครรภ์ การอยู่ใน

พระครรภ์ การเสด็จออกจากพระครรภ์ การย่างพระบาท การทรงแลดูทิศ

การบันลือดุจพรหม การมหาภิเนษกรมณ์ มหาปธาน การตรัสรู้ การประกาศ

พระธรรมจักร มรรคญาณสี่ ญาณที่ไม่หวั่นไหวในปริญญาแปด* ทศพลญาณ

ญาณกำหนดคติห้า พุทธญาณ ๑๔ อย่าง คือ อสาธารณญาณ ๖ อย่าง

พุทธญาณอันไม่ทั่วไปแก่สาวก ๘ อย่าง ญาณกำหนดพุทธคุณ ๑๘ อย่าง

ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง พระคุณตั้งแสนมีญาณวัตถุ ๗๗ อย่างเป็นต้น

เดียรถีย์ทั้งหลายไม่ทนต่อมหาลาภสักการะอันไม่มีปริมาณนั้น จึงใช้นางจิญจ-

มาณวิกาก่ออัปยศให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในท่ามกลางบริษัทสี่ โดย

นัยที่กล่าวแล้ว ในคาถานี้ว่า เอกธมฺมมตีตสฺส ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายสนทนา

กันเพราะอัปยศนั้นเป็นปัจจัยว่า ครั้นอัปยศชื่อแม้เห็นปานนี้ เกิดขึ้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงมีพระทัยเป็นอย่างอื่นเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบเรื่องนั้นแล้ว เสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จถึงท่ามกลางบริษัท โดย

ปาฏิหาริย์ อันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับนั่ง บนพุทธาสนะ ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรหนอ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลบอกเรื่องทั้งหมด แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้คงที่ในเพราะโลกธรรม

ทั้งแปด ดังนี้แล้ว ตรัสคาถานี้ เพื่อประโยชน์แก่การทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ

เหล่านั้น.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า พวกตระกูลสูงก็ตาม พวกตระกูลต่ำก็ตาม

ขัดตัวที่เสาสี่เหลี่ยม หรือแปดเหลี่ยมที่เขาฝังไว้เพื่อประโยชน์แก่การขัดตัวที่

ท่าน้ำ คือ ท่าสำหรับเป็นที่อาบน้ำของมนุษย์ทั้งหลาย เสาจะฟุบลง หรือ

ฟูขึ้น เพราะการขัดตัวนั้น ก็หามิได้ ฉันใด แม้ผู้ใดไม่ถึงความยินดีหรือยินร้าย

ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจาด้วยอำนาจการชม หรือ การติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ผู้อื่นจะเป็นเดียรถีย์ หรือพวกอื่น กล่าววาจา

ชั้นสูงด้วยอำนาจแห่งการชม หรือวาจาชั้นต่ำด้วยอำนาจแห่งการติเป็นที่สุดใน

เรื่องใด ผู้ใดไม่ถึงความยินดีหรือยินร้ายในเรื่องนั้น เป็นเหมือนเสาที่มีอยู่ที่ท่า

เป็นที่ลงอาบน้ำ เพราะความเป็นผู้คงที่ฉะนั้น.

บทว่า ต วีตราค สุสมาหิตินฺทฺริย ความว่า ผู้นั้น ชื่อว่า ปราศจาก

ราคะ เพราะไม่มีราคะในเพราะอิฏฐารมณ์ และชื่อว่า มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว

เพราะไม่มีโทสะและโมหะในเพราะอนิฏฐารมณ์ หรือมีอินทรีย์ตั้งมั่นโดยดีแล้ว

อธิบายว่า มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว คือ มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงสรรเสริญพระองค์ว่า นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็น

มุนี คือ ย่อมประกาศว่า เป็นพุทธมุนี จิตของพุทธมุนีนั้น จักเป็นประการอื่น

อย่างไรได้. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
คาถาว่า โย เว ิตตฺโต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ลงจากปราสาท ไปสู่

โรงทอผ้า ในปราสาทชั้นล่าง เห็นคนทั้งหลายสอดกระสวยอยู่ จึงถือเอานิมิต

อันเปรียบกับกระสวยนั้น โดยความที่กระสวยนั้นเป็นธรรมชาติตรงว่า โอหนอ !

สัตว์ทั้งปวงละความคดทางกายและทางวาจา พึงเป็นผู้มีจิตตรง เหมือนกระสวย

นางแม้ขึ้นสู่ปราสาทแล้ว ก็นั่งนึกถึงนิมิตนั้นแลบ่อย ๆ ก็เมื่อนางปฏิบัติแล้ว

อย่างนี้ ไม่นานนัก อนิจจลักษณะก็ปรากฏ และแม้ทุกขลักษณะและอนัตต-

ลักษณะ ก็ปรากฏโดยทำนองนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น ภพแม้ทั้งสามก็ปรากฏแก่นางดุจถูกไฟไหม้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรู้นางผู้กำลังเห็นแจ้งอย่างนั้น ประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎีเทียว

ทรงเปล่งแสงสว่าง นางเห็นแสงสว่างนั้นนึกว่า นี้อะไร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดุจประทับนั่งข้าง ๆ แล้ว ลุกขึ้นยืนประคองอัญชลี ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงทราบว่านางมี สัปปายะ จึงตรัสคาถานี้ ด้วยอำนาจแห่ง

พระธรรมเทศนา.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดแลชื่อว่าดำรงตนไว้ เพราะไม่มีความ

เจริญ และความเสื่อม เพราะความเป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตา และเพราะความ

เป็นผู้มีวิมุตติอันไม่กำเริบ และเพราะไม่มีการเข้าไปสู่ระหว่างภพ เพราะความ

เป็นผู้สิ้นชาติและสังสารหมดแล้ว ชื่อว่า ซื่อตรงดุจกระสวย เพราะละความ

คดทางกาย วาจา และใจได้แล้ว หรือ เพราะไม่มีการลุอคติ ชื่อว่า เกลียดชัง

แต่กรรมที่เป็นบาป คือ เกลียดชังกรรมทั้งหลายที่เป็นบาป ดุจเกลียดคูถ และ

มูตร ฉะนั้น เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ อธิบายว่า ย่อม

ละอาย. จริงอยู่ โดยการแยกประโยค ตติยาวิภัตติ ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ

ย่อมสำเร็จในศัพทศาสตร์.

บทว่า วีมสมาโน วิสม สมญฺจ ความว่า พิจารณาเห็น คือ

ใคร่ครวญกรรมที่ไม่เสมอมีความไม่เสมอทางกายเป็นต้น และกรรมที่เสมอมี

ความเสมอทางกายเป็นต้น ด้วยมรรคปัญญา โดยให้สำเร็จปหานกิจและภาวนา-

กิจ นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นผู้สิ้นอาสวะแล้วว่า เป็นมุนี มีอธิบาย

อย่างไร มีอธิบายว่า ผู้ใดแลพิจารณาเห็นกรรมทั้งที่ไม่เสมอและที่เสมอ ด้วย

มรรคปัญญา โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว เป็นผู้ดำรงตนไว้ ผู้นั้นเป็นผู้ตรงดุจ

กระสวยอย่างนี้ ไม่ถึงการล่วงละเมิดอะไร ๆ ชื่อว่า ย่อมเกลียดชังแต่กรรม

ที่เป็นบาป นักปราชญ์ย่อมประกาศผู้นั้นว่า เป็นนุนี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงมุนีผู้ขีณาสพว่า เป็นเช่นนี้ จึงตรัสคาถา ด้วยอดคือพระ-

อรหัต ในที่สุดเทศนา ธิดาเศรษฐีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
คาถาว่า โย สญฺตตฺโต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี ช่างหูก

คนหนึ่งในนครอาฬวี สั่งธิดาผู้มีอายุ ๗ ปี ว่า ดูก่อนแม่ เมื่อวันวาน กระสวย

ยังเหลืออยู่ เจ้ากรอหลอดด้ายให้เพียงพอแล้ว พึงไปสู่โรงทอผ้าโดยเร็ว อย่า

ประพฤติชักช้านัก นางรับคำว่า ดีละ ช่างหูกนั้นไปสู่โรงงานแล้ว ยืนเลือก

เส้นด้ายอยู่ ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากมหากรุณาสมาบัติแล้ว

ตรวจดูโลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ของทาริกานั้น และธรรมาภิ-

สมัย ของสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ในเวลาจบเทศนา ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่

เช้าเทียว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าสู่พระนคร มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วคิดว่า ในวันนี้ จะพึงมีใครที่จะทรงอนุเคราะห์แน่แท้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปแต่เช้าตรู่ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ทางซึ่งนางทาริกากำลังไปสู่สำนักของบิดา.

ชาวนครทั้งหลายปัดกวาดประเทศนั้น ปราบพื้น โปรยดอกไม้ ผูก

เพดาน ปูอาสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูแล้ว หมู่มหาชน

ยืนแวดล้อม ทาริกานั้นถึงประเทศนั้นแล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันมหาชน

แวดล้อมแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกทาริกา

นั้นมาแล้ว จึงตรัสว่า แน่ะทาริกา เจ้ามาจากไหน ?

ทา. ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เจ้าจักไปไหน ?

ทา. ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ไม่ทราบหรือ ?

ทา. ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ทราบหรือ ?

ทา. ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

มนุษย์ทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว ก็โพนทะนาว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญ

ทาริกานี้ แม้มาจากเรือนของตน ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม ก็ทูลว่า

ไม่ทราบ และแม้กำลังไปสู่โรงงานทอผ้า ก็ทูลว่า ไม่ทราบ ถูกตรัสว่า ไม่ทราบ

หรือ ก็ทูลว่า ทราบ ถูกตรัสว่า ทราบหรือ ก็ทูลว่า ไม่ทราบ ย่อมทำคำพูด

ทั้งปวงขัดแย้งกันทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทำเนื้อความนั้นให้

ปรากฏแก่มนุษย์ทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า เราถามอย่างไร ? เจ้าตอบอย่างไร ?

นางกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ

ใครๆ ย่อมไม่รู้ดิฉันว่า ดิฉันมาจากเรือนไปสู่โรงงานทอผ้า ก็หามิได้ โดยที่แท้

พระองค์ตรัสถามดิฉัน ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิว่า มาจากไหน ตรัสถามด้วย

อำนาจแห่งจุติว่า จักไปไหน และดิฉันไม่ทราบว่า มาจากไหน จากนรก หรือ

จากเทวโลก เพราะดิฉันไม่ทราบว่า จักไปแม้ที่ไหน นรก หรือ เทวโลก

เพราะฉะนั้น จึงทูลว่า ไม่ทราบ แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงมรณะ

จึงตรัสถามดิฉันว่า ไม่ทราบหรือ และดิฉันทราบว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต้อง

ตายแน่นอน ด้วยเหตุนั้น จึงทูลว่า ทราบ ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายถึงกาลมรณะ จึงตรัสถามดิฉันว่า ทราบหรือ ? และดิฉันไม่ทราบว่า

จักตายเมื่อไร ในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงทูลว่า ไม่ทราบ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาปัญหาที่ทาริกานั้นวิสัชนาแล้ว ๆ ว่า

ดีละ ดีแล้ว ฝ่ายหมู่มหาชนได้ให้สาธุการถึงพันครั้งว่า ทาริกานี้เป็นบัณฑิต

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ทาริกามีสัปปายะ เมื่อจะทรงแสดง

พระธรรม จึงตรัสคาถานี้ว่า

โลกนี้มืด ในโลกนี้น้อยคนนักย่อม

เห็นแจ้ง น้อยคนไปสู่สวรรค์ ดุจนกติดข่าย

น้อยตัวที่จะหลุดจากข่าย ฉะนั้น ดังนี้.

ในเวลาจบคาถา ทาริกานั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สัตว์ ๘๔,๐๐๐

ได้ธรรมาภิสมัย.

นางทาริกานั้นไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปสู่สำนักบิดา บิดาเห็น

นาง จึงโกรธว่า มาช้านัก จึงใส่กระสวยอย่างแรง กระสวยพุ่งไปทิ่มท้องของ

ทาริกา นางได้ทำกาละในที่นั้นนั่นแล เขาเห็นแล้ว พิจารณาดูว่า เราไม่ได้

ประหารธิดาของเรา โดยที่แท้ กระสวยพุ่งออกมาโดยแรงไปทิ่มท้องของธิดานี้

เธอยังเป็นอยู่หรือไม่หนอ เห็นนางตายแล้ว จึงคิดว่า มนุษย์ทั้งหลายรู้เราว่า

คนนี้ฆ่าธิดา ก็จะพึงเล่าลือเปิดเผย ด้วยเหตุนั้น แม้พระราชาก็จะพึงลงอาชญา

อย่างหนัก เอาเถิด เราจักหลบหนีไปก่อน.

เขาหลบหนีเพราะกลัวอาชญา ไปถึงโอกาสเป็นที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย

ผู้เรียนกรรมฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว อยู่ในป่า และเข้าไปหา

ภิกษุเหล่านั้น ไหว้แล้ว ขอบรรพชา ภิกษุเหล่านั้นให้เธอบวชแล้ว ให้

กรรมฐานเกี่ยวด้วยหมวดห้ามีหนังเป็นที่สุด เธอเรียนกรรมฐานนั้น เพียร

พยายาม ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต และภิกษุเหล่านั้น เป็นอาจารย์และ

อุปัชฌาย์ของเธอ ลำดับนั้น ในมหาปวารณา ภิกษุทั้งหมดนั่นแล ได้ไปสู่

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า จักปวารณาวิสุทธิปวารณา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นปวารณาเสด็จออกพรรษาแล้ว มีพระภิกษุสงฆ์

แวดล้อม เสด็จเที่ยวจาริกในคามและนิคมเป็นต้น เสด็จไปสู่เมืองอาฬวีโดย

ลำดับ ก็มนุษย์ทั้งหลายในเมืองอาฬวีนั้น นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำ

ทานทั้งหลาย เห็นภิกษุนั้นแล้ว พากันกล่าวเสียดสีว่า ท่านฆ่าธิดาแล้ว บัดนี้

มาเพื่อฆ่าใคร ดังนี้ เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว ในเวลาบำรุง

เข้าไปเฝ้าแล้ว ทูลเรื่องนั่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ไม่ได้ฆ่าธิดา ธิดานั้นตายตามกรรมของตน เมื่อ

จะทรงประกาศความที่ภิกษุนั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพ อันมนุษย์ทั้งหลายรู้ได้ยาก

จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดสำรวมตน ด้วยการสำรวมศีล ในกรรม-

ทวารทั้งสาม ย่อมไม่ทำบาปมีการเบียดเบียนเป็นต้น ด้วยกาย หรือด้วยวาจา

หรือด้วยใจ ก็เป็นหนุ่มคือตั้งอยู่ในวัยหนุ่ม หรือปูนกลาง คือตั้งอยู่ในวัยกลาง

เป็นเถระตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย โดยนัยนั่นแล ไม่ทำบาปนั้นแม้ในกาลไหน ๆ

เพราะเหตุไร เพราะมีตนสำรวมแล้ว อธิบายว่า เพราะมีจิตห่างจากบาปทั้งปวง

ด้วยวิรัติอันยอดเยี่ยม.

บัดนี้ พึงทราบโยชนาและอธิบายแห่งบทเหล่านี้ว่า มุนิ อโรสเนยฺโย

น โส โรเสติ กิญฺจิ ดังนี้ :

ผู้นั้น เป็นมุนีผู้ขีณาสพ ไม่โกรธง่าย คือ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อว่าร้าย

คือ เพื่อกระทบ เพื่อเบียดเบียนด้วยกายหรือด้วยวาจา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า

ผู้ฆ่าธิดา หรือว่าเป็นช่างหูก เพราะแม้เขาไม่ว่าร้ายใคร ๆ คือ ไม่กล่าวร้าย

อะไร ๆ คือ ไม่กระทบ ไม่เบียดเบียนว่า เราฆ่าธิดาของเรา ท่านฆ่าหรือผู้

เช่นกับท่านฆ่าเป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นแม้อันบุคคลไม่พึงว่าร้าย โดยที่แท้

เป็นผู้อันบุคคลพึงนอบน้อมทีเดียว โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า จงหยุดเถิด นาค

ท่านอย่าฆ่านาค จงทำการนอบน้อมแก่นาค* ดังนี้.

ในบาทคาถาว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ นี้ พึงทราบการ

จำแนกบทอย่างนี้ว่า นักปราชญ์เท่านั้น ย่อมประกาศผู้แม้นั้นว่า เป็นมุนี ก็ใน

บาทคาถานั่นมีอธิบายว่า มนุษย์ผู้พาลเหล่านั้นไม่รู้ผู้นั้นว่า ผู้นี้ไม่ควรว่าร้าย

ดังนี้ ย่อมว่าร้าย ส่วนมนุษย์เหล่าใดเป็นนักปราชญ์ มนุษย์ผู้เป็นนักปราชญ์

เหล่านั้นเทียว ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนี คือ ย่อมรู้ว่า ผู้นี้เป็นมุนี

ผู้ขีณาสพดังนี้แล.



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO