นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อังคาร 14 พ.ค. 2024 7:22 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 30 ต.ค. 2012 5:38 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4558
"โจรปล้นไม่เหมือนความเกียจคร้านปล้น โจรปล้นเรายังหาทรัพย์ได้
ความเกียจคร้านปล้น เท่าวันตายเราก็ไม่มีทรัพย์"


หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ = โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม


โอ้กายไม่นานหนอ บังเกิดก่อแล้วกลับกลาย
ดุจฟองแห่งน้ำหลาย แล้วแตกดับโดยฉับพลัน
สิ้นลมแห่งกายใจ ชีพบรรลัย บ่ กลับหัน
ห่อนมีสิ่งสำคัญ เพื่อประโยชน์สักนิดเดียว
ทอดทิ้งดุจท่อนฟืน กลิ่งเหนือพื้นสุธาเทียว
...ฟองช้ำเน่าดำเขียว ส่งกลิ่นฟุ้ง บ่ เว้นวาย
ดูเถิดท่านทั้งหลาย บุรุษนายคณานาง
ควรปลงปัญญาทาง ปรมัตถะอรรถธรรม
พยานปรากฏแก่ จักษุแท้ บ่ ปิดงำ
ควรคิดพินิจจำ หีบศพนั้นที่แลเห็น เอย


ทุกคนอยากมีจิตใจสงบ
แต่มักปล่อยความคิดจนฟุ้งซ่าน

ทุกคนอยากมีจิตใจดี
แต่มักไม่รู้จักการอภัยให้คนอื่น
...
ทุกคนอยากมีร่างกายแข็งแรง
แต่ก็ขี้เกียจออกกำลังกาย

ทุกคนอยากมีสุขภาพสมบูรณ์
แต่ก็ไม่รู้จักกินนอนพักผ่อนและเว้นห่างสุรายาเมา

ทุกคนอยากมีมิตรดี
แต่มักเอาแต่ใจตนเองจนเกินไป

ทุกคนอยากได้ความปลอดภัย
แต่ก็สร้างความเจ็บใจให้ชาวบ้านเป็นนิตย์

ทุกคนอยากมีเงินมีทอง
แต่กลับจับจ่ายใช้สอยฟุ่มเฟือย

ทุกคนอยากได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
แต่ก็ไม่เคยเห็นค่าของการรักษาศีล

ทุกคนอยากมีความสุข
แต่ก็ไม่รู้ตัวว่าทุกวันสั่งสมแต่เหตุแห่งความทุกข์


ครั้งนั้นอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ดูกร คฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้เป็นที่

ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ

ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางที่ชอบ นี่เป็นธรรมประการที่ ๑

อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก

ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ขอยศจงมีแก่เราพร้อมกับญาติ

พร้อมกับพวกพ้อง นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่

ชอบใจหาได้โดยยากในโลก

ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ

พวกพ้องแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม

ประการที่ ๓ อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก

ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ

พวกพ้องแล้ว เป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืนแล้ว เมื่อกายแตกตายไป

ขอเราจงไปสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ อันเป็นที่ปรารถนา

รักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก

ดูกร คฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ

หาได้โดยยากในโลก

ดูกร คฤหบดี ธรรม ๔ อย่างเป็นทางให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันเป็น

ที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก (ดังกล่าวแล้ว) นี้ ธรรม

๔ อย่างคืออะไร คือ สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) สีล-

สัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการ

บริจาค) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

ก็สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไร อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี

ศรัทธา เชื่อพระโพธิญาณของพระตถาคต ฯลฯ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

ก็สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้น

จากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจาก

มุสาวาท เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

นี้เรียกว่าสีลสัมปทา.

ก็จาคสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีใจ

ปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาคปล่อยแล้ว มีมือ

อันล้างไว้ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่ง

ปันนี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ก็ปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร ? บุคคลมีใจอันอภิชฌาวิสมโลภะครอบงำ

แล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ

ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอัน

พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อม

ทำการที่ไม่ควรทำละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจ

ที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข

ดูกร คฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลส

แห่งจิต ดังนี้แล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย ทราบ

ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

ดังนี้ แล้ว ละพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็น

อุปกิเลสแห่งจิตเสีย เมื่อใดอริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท

ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว ละอภิชฌา-

วิสมโลภะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอันเป็น

อุปกิเลสแห่งจิตเสียได้แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าผู้มีปัญญา

ใหญ่ ผู้มีปัญญามาก ผู้เห็นคลอง ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า

ปัญญาสัมปทา.

ดูกร คฤหบดี ธรรม ๔ อย่างนี้แล เป็นทางให้ได้ธรรม ๔ ประการ

อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลกนั้น

ดูกร คฤหบดี อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ ประการ

ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่

ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม กรรมที่

สมควร ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยา

บ่าว ไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดีด้วยโภคทรัพย์ที่ได้

มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อ

ไหลที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ ๑ ของอริย

สาวกนั้นเป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้

(โภคทรัพย์)โดยทางที่ควรใช้แล้ว

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมบำบัดอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดแต่ไฟก็ดี เกิด

แต่น้ำก็ดี เกิดแต่พระราชาก็ดี เกิดแต่โจรก็ดี เกิดแต่ทายาทผู้เกลียดชังกัน

ก็ดีย่อมทำตนให้สวัสดี (จากอันตรายเหล่านั้น) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา

ด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ ๒ ของ

อริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้

(โภคทรัพย์)โดยทางที่ควรใช้แล้ว

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕ คือญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ)

อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ราชพลี

(ช่วยราชการ) เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้

มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อ

ที่ ๓ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว

เป็นการใช้(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมตั้ง (บริจาค) ทักษิณาทานอย่างสูง ที่จะ

อำนวยผลดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้ง

หลายผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท มั่นคงอยู่ในขันติโสรัจจะ

ฝึกฝนตนอยู่ผู้เดียว รำงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ด้วย

โภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็น

กรรมที่สมควรข้อที่ ๔ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว

เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว

ดูกร คฤหบดี อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ นี้

ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่

ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม

ดูกร คฤหบดี โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความ

หมดเปลืองไป เว้นเสียจากกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้

เรียกว่าหมดไปโดยไม่ชอบแก่เหตุ หมดไปโดยไม่สมควร ใช้ไปโดยทาง

ที่ไม่ควรใช้ โภคทรัพย์ทั้งหลาย ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความ

หมดเปลือง ไปด้วยกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้เรียก

ว่าเปลืองไปโดยชอบแก่เหตุ เปลืองไปโดยสมควร ใช้ไปโดยทางที่ควรใช้

พระคาถา

สิ่งที่ควรบริโภคใช้สอยทั้งหลาย เรา

ได้บริโภคใช้สอยแล้ว บุคคลที่ควรเลี้ยง

ทั้งหลาย เราได้เลี้ยงแล้ว อันตราย

ทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว ทักษิณาทาน

อย่างสูง เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลี ๕ เราได้

ทำแล้ว สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล

ผู้สำรวม ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้

บำรุงแล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนพึง

ปรารถนาโภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์อันใด

ประโยชน์อันนั้น เราได้บรรลุโดยลำดับ

แล้ว กิจการอันจะไม่ทำให้เดือดร้อนใน

ภายหลัง เราได้ทำแล้ว นรชนผู้มีอันจะ

ต้องตายเป็นสภาพ ระลึกถึงความดีที่ตน

ได้ทำแล้วนี้ ย่อมตั้งอยู่ในอริยธรรม ใน

ปัจจุบันนี้เอง บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญนรชนนั้น นรชนนั้นละโลกนี้

ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.

ชื่อว่า น่าปรารถนา เพราะปฏิเสธคัดค้านธรรมที่ไม่น่าปรารถนา.

ชื่อว่า รักใคร่ เพราะก้าวเข้าไปอยู่ในใจ ชื่อว่า ชอบใจ เพราะทำใจให้

เอิบอาบซาบซ่านให้เจริญ. บทว่า ทุลฺลภา ได้แก่ ได้โดยยากอย่างยิ่ง.

บทว่า โภคา ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่บุคคลพึงบริโภค. บทว่า สห

ธมฺเมนความว่า ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นโดยธรรม อย่าเข้าไปกำจัดธรรม

แล้วเกิดขึ้นโดยอธรรมเลย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สห ธมฺเมน แปลว่า มี

เหตุ อธิบายว่าโภคสมบัติจงเกิดขึ้นกับด้วยการณ์ คือ ตำแหน่ง มีตำ

แหน่งเสนาบดีและเศรษฐีเป็นต้นนั้น ๆ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ.

บทว่า สห าติภิ ได้แก่ พร้อมกับญาติ. บทว่า สห อุปชฺฌาเยหิ

ได้แก่ พร้อมกับเพื่อนเคยเห็นและเพื่อนคบ ที่เรียกว่าอุปัชฌาย์ เพื่อช่วย

ดูแลในเรื่องสุขและทุกข์.บทว่า อกิจฺจ กโรติ ความว่า ทำการที่ไม่ควร

ทำ. บทว่า กิจฺจ อปราเธติ ความว่า เมื่อไม่ทำกิจที่ควรทำ ชื่อว่า

ละเลยกิจนั้น. บทว่า ธสติ ได้แก่ ย่อมตกไปคือย่อมเสื่อม.

บทว่า อภิชฺฌาวิสมโลภ ได้แก่ อภิชฌาวิสมโลภะ. บทว่า ปชหติ

ได้แก่ บรรเทาคือนำออกไป.

บทว่า มหาปญฺโ ได้แก่ ผู้มีปัญญามาก. บทว่า ปุถุปญฺโ

ได้แก่ ผู้มีปัญญาหนา. บทว่า อาปาถทโส ความว่า เขาเห็นอรรถนั้น ๆ

ตั้งอยู่ในคลองธรรม ย่อมมาสู่คลองที่เป็นอรรถอันสุขุมของธรรมนั้น.

บทว่า อุฏฺานกิริยาธิคเตหิ ได้แก่ ที่ได้มาด้วยความเพียร กล่าวคือ

ความขยัน. บทว่า พาหาพลปริจิเตหิ ได้แก่ ที่สะสมให้มากขึ้นด้วยกำลัง

แขน. บทว่า เสทาวกฺขิตฺเตหิ คือเหงื่อไหล. อธิบายว่า ด้วยความ

พยายามทำงานจนเหงื่อไหล. บทว่า ธมฺมิเกหิ ได้แก่ ประกอบด้วยธรรม.

บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ คือ ไม่ละเมิดกุศลกรรมบถธรรม ๑๐ ได้แล้ว. บทว่า

ปตฺตกมฺมานิ ได้แก่ กรรมที่เหมาะ กรรมอันสมควร. บทว่า สุเขติ ได้แก่

ทำเขาให้มีความสุข. บทว่า ปิเณติ ได้แก่ ย่อมทำให้เอิบอิ่มสมบูรณ์ด้วย

กำลัง.

บทว่า าน คต โหติ ได้แก่เป็นเหตุ ถามว่า เหตุนั้น เป็นอย่างไร.

ตอบว่า การงานที่พึงทำด้วยโภคะทั้งหลาย เป็นธรรมอย่างหนึ่งในปัตต

กรรม ๔ เป็นฐานที่เกิดแต่โภคทรัพย์นั่นแล. บทว่า ปตฺตคต ได้แก่ เป็น

ฐานะที่ควรที่ถึงแล้ว. บทว่า อายตนโส ปริภุตฺต ได้แก่ บริโภคแล้ว

โดยเหตุนั่นแล ก็เกิดแต่โภคทรัพย์. บทว่า ปริโยธาย วตฺตติ ได้แก่

ย่อมปิดไว้. อริยสาวกบริจาคทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่การดับไฟที่ไหนเรือน

เป็นต้น ย่อมปิดกั้นทางแห่งอันตรายเหล่านั้นเหมือนอย่างเมื่อคราว

อันตรายทั้งหลายเกิดขึ้นแต่ไฟเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า โสตฺถึ อตฺตาน

กโรติ ความว่า ย่อมทำตนให้ปลอดภัยไม่มีอันตราย. บทว่า าติพลึ

คือ สงเคราะห์ญาติ. บทว่า อติถิพลึ คือต้อนรับแขก. บทว่า ปุพฺพ

เปตพลึ คือทำบุญอุทิศให้ญาติผู้ตาย. บทว่า ราชพลึ คือส่วนที่ความ

แด่พระราชา. บทว่า เทวตาพลึคือทำบุญอุทิศให้เทวดา. บทว่า าติพลึ

ป็นต้นนั้นทั้งหมด เป็นชื่อของทานที่พึงให้ตามสมควรแก่บุคคลนั้น ๆ.

บทว่า ขนฺติโสรจฺเจ นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่นอยู่ในอธิวาสนขันติ

และในความเป็นผู้มีศีลอันดี. บทว่า เอกมตฺตาน ทเมนฺติ ความว่า

ย่อมฝึกอัตภาพของตนอย่างเดียว ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ

ความว่า ย่อมสงบจิตของตนด้วยความสงบกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพา

เปนฺติ ความว่าย่อมดับด้วยการดับกิเลส. ในบทว่า อุทฺธคฺคิก เป็นต้น

ทักษิณาชื่อว่าอุทธัคคิกา เพราะมีผลในเบื้องบนด้วยสามารถให้ผลใน

ภูมิสูง ๆ ขึ้นรูป.ทักษิณาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์ เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า โสวัคคิกาเพราะให้เกิดอุปบัติในสวรรค์นั้น ชื่อว่า สุขวิปากา

เพราะมีสุขเป็นวิบากในที่เกิดแล้ว. ชื่อว่า สัคคสังวัตตนิกา เพราะทำ

อารมณ์อันดีคือของวิเศษ ๑๐มีวรรณทิพย์เป็นต้นให้เกิด อธิบายว่า ย่อม

ตั้งทักษิณาเช่นนั้นไว้.

บทว่า อริยธมฺเม ิโต คือตั้งอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม. บทว่า

เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ความว่า นรชนนั้น ไปปรโลกถือปฏิสนธิแล้ว

ย่อมบันเทิงในสวรรค์. คฤหัสถ์ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันและสกทาคามี หรือ

อนาคามีก็ตาม ปฏิปทานี้ย่อมได้เหมือนกันทุกคนแล.



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO