นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อังคาร 14 พ.ค. 2024 11:02 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 16 ต.ค. 2012 5:17 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4558
ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่น-

แคว้นของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นมีนามว่าโสณะ เป็น

ผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุพึง

ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕ และ

พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่อง

ข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ

และปัญญา ของภิกษุผู้มีมานะเพียงดังว่าไม้อ้อยกขึ้นแล้ว

ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึง

ความบริบูรณ์ กิจใดที่ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจอัน

นั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อม

เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยกขึ้น

แล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติ

ด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนือง-

นิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่กิจ อาสวะของภิกษุเหล่านั้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อมีทางตรง

พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนินไป

เถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อม

ตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระ-

ศาสดาผู้มีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรม

อุปมาด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์

แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น

เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของ

เราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ ในความวิเวกแห่งจิต ในความ

ไม่เบียดเบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความสิ้น

ตัณหา และในความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้น

โดยชอบ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสม

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบ

ระงับ เสร็จกิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลา

ล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็น

อิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคล

ผู้คงที่ให้หวั่นไหวได้ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้ง

มั่นไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร ๆ เพราะ

ผู้คงที่นั้นพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.

ในเตรสกนิบาต คาถาของท่านพระโสณโกฬิวิสเถระ มีคำเริ่ม

ต้นว่า ยาหุ รฏฺเ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญในภพนั้น ๆ. ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า อโนมทัสสี พระเถระนี้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก ไปสู่วิหารกับ

อุบาสกทั้งหลาย ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ให้กระทำ

บริกรรมด้วยปูนขาว ในที่เป็นที่เสด็จจงกรมของพระศาสดา ลาดด้วย

ดอกไม้มีสีต่างๆ ให้ผูกเพดานด้วยผ้าย้อมด้วยสีต่าง ๆ ในเบื้องบน อนึ่ง

ได้สร้างศาลายาวมอบถวายแด่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เกิดในตระกูลเศรษฐี

ในหังสวดีนคร ท่านได้นามว่า สิริวัฑฒะ. ท่านเจริญวัยแล้ว ไปสู่วิหาร

กำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้

ในตำแหน่งอันเลิศ แห่งภิกษุผู้ปรารภความเพียร แม้ตนเองก็ปรารถนา



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 450

ตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แล้วตั้งความ

ปรารถนาไว้.

ฝ่ายท่านบำเพ็ญกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-

โลก เมื่อพระทศพลพระนามว่ากัสสปปรินิพพานแล้ว เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าของเราทั้งหลายยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน

กรุงพาราณสี ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว สร้างบรรณศาลาใกล้ฝั่งแม่น้ำ

คงคา อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งโดยเคารพ ด้วยปัจจัย ๔

ตลอด ๓ เดือน.

พระปัจเจกพุทธเจ้าออกพรรษาแล้ว มีบริขารครบถ้วน ไปยัง

ภูเขาคันธมาทน์. กุลบุตรแม้นั้น บำเพ็ญบุญในที่นั้นตลอดชีวิต จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในเรือนแห่งอุสภเศรษฐี

ในจัมปานคร จำเดิมแต่กาลที่ท่านถือปฏิสนธิ กองแห่งโภคะเป็นอันมาก

เจริญยิ่งแก่เศรษฐี. ในวันที่ท่านเกิด ท่านได้เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยมหา-

สักการะในนครทั้งสิ้น, เพราะเหตุที่ท่านบริจาคผ้ากัมพลแดงมีค่า ๑๐๐,๐๐๐

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลก่อน ท่านได้มีอัตภาพมีสีดังทองคำ และ

ละเอียดอ่อนยิ่งนัก ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า โสณะ,

ท่านเจริญด้วยบริวารใหญ่ พื้นฝ่ามือและฝ่าเท้าของท่าน ได้มีสีดังดอก-

ชะบา. ขนทั้งหลายวนเป็นวงดังรูปต่างหูเพชรเกิดที่ฝ่าเท้า สัมผัสอ่อน

เหมือนฝ้ายที่ชีแล้วตั้งร้อยครั้ง เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว พวกญาติได้พากัน

สร้างปราสาท ๓ หลัง อันสมควรแก่ ๓ ฤดู ให้บำรุงด้วยฟ้อนรำ. ท่าน

เสวยสมบัติใหญ่ในที่นั้น ย่อมอยู่อาศัยเหมือนเทพกุมาร.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 451

ครั้นเมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลาย บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว

ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ท่านถูก

พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้เข้าเฝ้า ท่านจึงไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วย

ชาวบ้าน ๘๐,๐๐๐ คน ไปยังสำนักพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา

ให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา เรียน

กรรมฐานในสำนักพระศาสดา อยู่ในสีตวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการคลุกคลีด้วย

หมู่ชน คิดว่า ร่างกายของเราละเอียดอ่อน เราไม่อาจบรรลุสุขได้โดย

ง่ายเลย เราควรจะทำกายให้ลำบากกระทำสมณธรรม ดังนี้แล้ว อธิษฐาน

เฉพาะที่จงกรมเท่านั้น หมั่นประกอบความเพียร แม้ฝ่าเท้าพุพองขึ้น

ได้มุ่งเพ่งเอาเวทนา กระทำความหมั่น ก็ไม่สามารถเพื่อให้คุณวิเศษเกิด

ขึ้นได้ เพราะปรารภความเพียรเกินไป จึงคิดว่า เราแม้พยายามอยู่อย่างนี้

ก็ไม่อาจให้มรรคหรือผลเกิดขึ้นได้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา

เราจะสึกบริโภคโภคะและจักบำเพ็ญบุญ.
พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของท่าน จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรง

โอวาทด้วยพระโอวาทที่เปรียบด้วยพิณ เมื่อจะทรงแสดงวิธีประกอบความ

เพียรให้สม่ำเสมอ จึงให้ชำระพระกรรมฐานแล้วเสด็จไปยังเขาคิชฌกูฏ.

ฝ่ายพระโสณเถระได้โอวาทในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดา ประกอบ

ความเพียรให้สม่ำเสมอ บำเพ็ญวิปัสสนาดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า :-

เราได้ให้ทำที่จงกรม ซึ่งทำการฉาบทาด้วยปูนขาว

ถวายแด่พระมุนีพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นเชษฐบุรุษ

ของโลก ผู้คงที่ เราได้เอาดอกไม้ต่าง ๆ สี ลาดที่จงกรม

ทำเพดานบนอากาศแล้ว ทูลเชิญพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดให้

ทรงเสวย เวลานั้น เราประนมอัญชลีถวายบังคมพระองค์

ผู้มีวัตรอันงาม แล้วมอบถวายศาลารายแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดายอดเยี่ยมแห่ง

โลก พระจักษุ ทรงรู้ความดำริของเรา จึงอนุเคราะห์รับ

ไว้ พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในโลก พร้อม

ทั้งเทวโลก ครั้นทรงรับแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง

ภิกษุสงฆ์แล้ว ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีจิตโสมนัส

ได้ถวายศาลารายแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง

จักปรากฏแก่ผู้นี้พร้อมเพรียงด้วยบุญกรรม ในเวลา

ใกล้ตาย ผู้นี้จักไปสู่เทวโลกด้วยยานนั้น เทวดา

ทั้งหลายจักพลอยบันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี

วิมานอันควรค่ามาก เป็นวิมานประเสริฐฉาบทาด้วยต้น

แก้ว ประกอบด้วยปราสาทอันประเสริฐ จักครอบงำ

วิมานอื่น ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป

จักได้เป็นท้าวเทวราชตลอด ๒๕ กัป และจักได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิตลอด ๗๗ กัป พระเจ้าจักรพรรดินั้น

แม้ทั้งหมดมีพระนามเดียวกันว่า ยโสธร ผู้นี้ได้เสวย

สมบัติทั้งสองแล้ว ก่อสร้างสั่งสมบุญ จักได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิใน ๒๘ กัป [อีก] แม้ในภพนั้น จักมีวิมาน




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 453

อันประเสริฐ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ผู้นี้จักครอง

บุรี มีเสียง ๑๐ อย่างต่าง ๆ กัน ในกัปจะนับประมาณ

มิได้แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระราชารักษาแผ่นดิน มี

ฤทธิ์มาก มีพระนามชื่อว่า โอกกากะ อยู่ในแว่นแคว้น

นางกษัตริย์ผู้มีวัยอันประเสริฐ มีชาติสูงกว่าหญิง ๖ หมื่น

ทั้งหมด จักประสูติเป็นพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๘

พระองค์ ครั้นประสูติพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๙

พระองค์แล้ว จักสิ้นพระชนม์ พระเจ้าโอกกากราชจักทรง

อภิเษกนางกัญญาผู้เป็นที่รัก กำลังรุ่น เป็นมเหสี พระนาง

จักยังพระเจ้าโอกกากราชให้โปรดปรานแล้วได้พร ครั้น

พระนางได้พรแล้ว จักให้ขับไล่พระราชบุตรและพระราช-

บุตรี พระราชบุตรและพระราชบุตรีทั้งหมดนั้นถูกขับไล่

แล้ว จักไปยังภูเขา เพราะกลัวความปะปนด้วยชาติ

พระราชบุตรทั้งหมดจะสมสู่กับพระกนิษฐภคินี ส่วน

พระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งจักเป็นที่เคารพ. เพราะเป็น

โรคพยาธิ กษัตริย์ทั้งหลาย นำ (พระพี่นาง) ไปประทับ

ในโพรงใต้ดิน ชาติของเราอย่าปะปนเลย. กษัตริย์องค์หนึ่ง

(โกลิยะ) จึงทรงนำมาแล้ว จักสมสู่กับพระเชษฐภคินีนั้น

ตั้งแต่นั้น ความปะปนแห่งสกุลโอกกากะได้มีแล้ว

พระโอรสของกษัตริย์เหล่านั้นจักมีพระนามว่าโกลิยะ โดย

ชาติ จักได้เสวยโภคสมบัติ อันเป็นของมนุษย์มิใช่น้อย
ในภพนั้น ผู้นี้เคลื่อนจากกายนั้นแล้วจักไปสู่เทวโลก แม้

ในเทวโลกนั้น จักได้วิมานอันประเสริฐ เป็นที่รื่นรมย์ใจ

ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลกมาสู่

ความเป็นมนุษย์ จักมีชื่อว่าโสณะ จักปรารภความเพียร

มีใจแน่วแน่ ตั้งความเพียร ในศาสนาของพระศาสดา

กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตร ผู้ประเสริฐ

ผู้รู้วิเศษ เป็นมหาวีระ ทรงเห็นคุณอนันต์ จักตั้งไว้ใน

ตำแหน่งเลิศ เมื่อฝนตกในที่ประมาณ ๔ นิ้ว หญ้า

ประมาณ ๔ นิ้ว ลมซัด เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่

ซึ่งทรงประกอบความเพียร ความถึงที่สุดไม่มียิ่งขึ้นไป

กว่านั้น เรามีตนฝึกแล้ว ในการฝึกอันอุดม เราตั้งจิตไว้

ดีแล้ว เราปลงภาระทั้งปวงลงแล้ว เป็นผู้มีอาสวะดับแล้ว

พระอังคีรสมหานาค มีพระชาติสูงดังพระยาไกรสร

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอต-

ทัคคสถาน คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘

และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา

เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน จึงได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจอุทาน และด้วยอำนาจการพยากรณ์พระ-

อรหัตผลว่า

ผู้ใดเป็นผู้สำเร็จความปรารถนา เป็นผู้สูงสุดในแว่น-

แคว้นของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นนั่นมีนามว่าโสณะ

เป็นผู้เยี่ยมในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ภิกษุ

พึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องบน ๕

และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่อง

ข้อง ๕ ท่านเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ศีล สมาธิ และ

ปัญญา ของภิกษุผู้มีนานะเพียงดังว่าไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว

ผู้ประมาท ยินดีในอายตนะอันมีในภายนอก ย่อมไม่ถึง

ความบริบูรณ์ กิจใดที่ควรทำ ภิกษุเหล่านี้มาละทิ้งกิจ

อันนั้นเสีย แต่มาทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายย่อม

เจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีมานะเพียงดังไม้อ้ออันยกขึ้น

แล้ว เป็นผู้ประมาท ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติ

ด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นกระทำกรรมที่ควรทำเนือง-

นิตย์ ย่อมไม่เสพกรรมมิใช่กิจ อาสวะของภิกษุเหล่านั้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นสูญ เมื่อมีทางตรง

พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงดำเนิน

ไปเถิด อย่าพากันกลับ จงตักเตือนตนด้วยตนเอง พึง

น้อมตนเข้าไปสู่นิพพาน เมื่อเราปรารภความเพียร พระ-

ศาสดาผู้มีจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรมอุปมา

ด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว

ยินดีอยู่ในพระศาสนา ยังสมถภาวนาให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุ




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 456

ประโยชน์อันสูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ แล้ว คำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว จิตของเราผู้น้อมไป

ในเนกขัมมะ ในความวิเวกแห่งจิต ในความไม่เบียด-

เบียน ในความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ในความสิ้นตัณหา

และความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ

เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ การสั่งสมย่อมไม่มี

แก่ภิกษุนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตรักสงบ เสร็จ

กิจแล้ว กิจอื่นที่จะพึงทำอีกไม่มี ภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่ง

ทึบ ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์ ย่อมไม่ทำจิตของบุคคลผู้คงที่ให้หวั่น-

ไหวได้ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร ๆ เพราะผู้คงที่นั้นพิจารณา

เห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น.




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO