นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 11 พ.ค. 2024 6:02 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 10 ส.ค. 2012 7:55 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4555
๖. อมราเทวีปัญหา ๔๕

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายผู้ประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งปวง อันได้เหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับด้วยบุรุษเปลี้ย' ดังนี้. และตรัสอยู่อีกว่า 'หญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าน อยู่ปราศจากสามีมานาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เสมอเปรียบด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้ว ด้วยกหาปณะพันหนึ่ง ไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งหวงอันได้เหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับด้วยบุรุษเปลี้ย' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'หญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าน อยู่ปราศจากสามีนาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เสมอเปรียบด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้วด้วยกหาปณะพันหนึ่ง ไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าหญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าหญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าง อยู่ปราศจากสามีนาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เสมอด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้วด้วยกหปณะพันหนึ่งไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้, คำที่ว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งปวง อันได้เหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับบุรุษเปลี้ย' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสแล้วว่า 'ถ้าหญิงพึงได้ขณะ หรือพึงได้โอกาสอันลับ หรือพึงได้แม้ชายประโลมเช่นนั้น หญิงทั้งหลายแม้ทั้งปวง อันใดเหตุสามอย่างแล้ว ไม่ได้ชายอื่นแล้ว พึงกระทำกรรมลามกกับด้วยบุรุษเปลี้ย' ดังนี้. และตรัสอยู่อีกว่า 'หญิงชื่ออมรา เป็นภริยาของพระมโหสถ อันพระมโหสถฝากไว้ในบ้าน อยู่ปราศจากสามีนาน นั่งในที่ลับสงัดแล้ว กระทำสามีให้เป็นผู้เปรียบเสมอด้วยพระราชา อันบุรุษอื่นประโลมแล้วด้วยกหาปณะพันหนึ่ง ไม่กระทำกรรมลามก' ดังนี้ จริง. นางอมรานั้น จะได้กหาปณะพันหนึ่ง จะต้องกระทำกรรมลามกกับบุรุษเช่นนั้น, นางอมรานั้น ไม่พึงกระทำกรรมลามกนั้น, ถ้านางจะไม่พึงได้ขณะหรือโอกาสอันลับ หรือชายผู้ประโลมเช่นนั้น. นางอมรานั้น จะคิดค้นไม่เห็นขณะ หรือโอกาสอันลับ หรือแม้ชายผู้ประโลมเช่นนั้น. นางอมรานั้น เพราะกลัวแต่ความครหาในโลกนี้ ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เพราะกลัวแต่นรกในโลกหน้า ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เพราะคิดว่า 'กรรมลามกมีวิบากเผ็ดร้อน' ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, นางอมรานั้น ไม่ละทิ้งสามีเป็นที่รัก ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เพราะกระทำสามีให้เป็นผู้หนักเมื่อประพฤติตกต่ำเคารพธรรม ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, เมื่อติดเตียนบุคคลไม่ได้เป็นอริยะ ชื่อว่าไม่เห็นขณะ, นางอมรานั้น ไม่อยากจะละเมิดเสียกิริยา ชื่อว่าไม่เห็นขณะ. นางอมรานั้น ไม่เห็นขณะ ด้วยเหตุทั้งหลายมากเห็นปานนี้, นางอมรานั้น คิดค้นแล้ว, ไม่เห็นแม้โอกาสอันลับ ไม่ได้กระทำกรรมลามกแล้ว ถ้าว่านางอมรานั้น พึงได้โอกาสลับแต่มนุษย์ทั้งหลาย, ไม่พึงได้โอกาสลับแต่อมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้, ถ้านางอมรานั้น พึงได้โอกาสลับแต่อมนุษย์ทั้งหลาย, ไม่พึงได้โอกาสลับแต่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้จิตของบุคคลอื่นโดยแท้; ถ้านางอมรานั้น พึงได้โอกาสลับ แต่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ไม่พึงได้โอกาสอันลับแต่บาปทั้งหลายด้วยตนเองโดยแท้; ไม่พึงได้โอกาสอันลับแต่อธรรม. นางอมรานั้น ไม่ได้โอกาสอันลับด้วยเหตุทั้งหลาย มีอย่างมากเห็นปานนี้แล้ว จึงไม่ได้กระทำกรรมลามกแล้ว. นางอมรานั้น คิดค้นแล้วในโลก เมื่อไม่ได้ชายผู้ประโลมเช่นนั้น ไม่ได้กระทำกรรมลามกแล้ว.
ขอถวายพระพร พระมโหสถเป็นบัณฑิต มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการ, มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการเป็นไฉน: มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการ คือ พระมโหสถเป็นผู้กล้าหนึ่ง เป็นผู้มีหิริละอายต่อบาปหนึ่ง เป็นผู้มีโอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปหนึ่ง เป็นผู้มีฝักฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยมิตรหนึ่ง เป็นผู้ทนหนึ่ง เป็นผู้มีศีลหนึ่ง เป็นผู้กล่าววาจาจริงหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความเป็นผู้สะอาดหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีความโกรธหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีมานะล่วงเกินหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีความริษยาหนึ่ง เป็นผู้มีความเพียรหนึ่ง เป็นผู้ก่อสร้างบารมีหนึ่ง เป็นผู้สงเคราะห์หนึ่ง เป็นผู้จำแนกทานหนึ่ง เป็นผู้มีถ้อยคำละเอียดหนึ่ง เป็นผู้มีความประพฤติตกต่ำหนึ่ง เป็นผู้อ่อนโยนหนึ่ง เป็นผู้ไม่โอ่อวดหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีมายาหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความรู้เกินหนึ่ง เป็นผู้มีเกียรติหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิทยาหนึ่ง เป็นผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลผู้เข้าไปอาศัยทั้งหลายหนึ่ง เป็นผู้อันชนทั้งปวงปรารถนาแล้วหนึ่ง เป็นผู้มีทรัพย์หนึ่ง เป็นผู้มียศหนึ่ง. พระมโหสถเป็นบัณฑิตมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งหลายยี่สิบแปดประการเหล่านี้. นางอมรานั้น ไม่ได้บุรุษอื่นเป็นผู้ประโลมเช่นนั้นแล้ว จึงมิได้กระทำกรรมลามกแล้ว."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๗. ขีณาสวอภายนปัญหา ๔๖

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแม้พระพุทธพจน์นี้ว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลาย ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว, ภายหลังมา พระขีณาสพห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤห มาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ละทิ้งพระชินะผู้ประเสริฐเสีย หลีกไปแล้วยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์เถระองค์เดียว. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น หลีกไปแล้ว เพราะความกลัว หรือใคร่จะยังพระทศพลให้ล้มด้วยคิดว่า 'พระทศพลจะปรากฏด้วยกรรมของตน' ดังนี้แล้ว จึงหลีกไปแล้ว หรือว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อจะเห็นปาฏิหาริย์ ไม่มีอะไรจะเปรียบ และไพบูลย์ ไม่มีอะไรจะเสมอ ของพระตถาคต จึงหลีกไปแล้ว? พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลาย ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระขีณาสพห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤห มาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ละทิ้งพระชินะผู้ประเสริฐแล้ว หลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว' ดังนี้ นั้นเป็นผิด. ถ้าว่าพระขีณาสพห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤหมา ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ละทิ้งพระชินะประเสริฐแล้ว หลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลายปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อนมาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงขยายให้แจ้งชัดเถิด"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตพระพุทธพจน์นี้แล้วว่า 'พระอรหันต์ทั้งหลาย ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว' ดังนี้. พระขีณาสพทั้งหลายห้าร้อยเห็นช้างชื่อธนปาลกะ ในเมืองราชคฤห มาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วละทิ้งพระชินะผู้ประเสริฐแล้ว หลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว. ก็และความหลีกไปนั้น จะได้หลีกไปเพราะความกลัวก็หาไม่ จะได้หลีกไปแม้เพราะความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ล้มลงก็หาไม่. ก็พระอรหันต์ทั้งหลายพึงกลัว หรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น อันพระอรหันต์ทั้งหลายเลิกถอนเสียแล้ว, เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายจึงชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่นแล้ว. ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ เมื่อสมุทรและยอดแห่งภูเขา เมื่อชนแม้ขุดอยู่ แม้ทำลายอยู่ แม้ทรงอยู่ ย่อมกลัวหรือ?
ร. "หาไม่ พระผู้เป็นเจ้า?"
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระ?"
ร. "มหาปฐวีแผ่นดินใหญ่ พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่แผ่นดินใหญ่ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร แผ่นดินใหญ่ พึงกลัวหรือสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่แผ่นดินใหญ่ ฉันใด, พระอรหันต์ทั้งหลาย พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นเทียว. ขอถวายพระพร ยอดแห่งภูเขา เมื่อชนตัดอยู่ก็ดี เมื่อทำลายอยู่ก็ดี เมื่อยอดเขานั้นตกลงเองก็ดี เมื่อชนเอาไฟเผาก็ดี ย่อมกลัวหรือ?"
ร. "ไม่กลัวเลย พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "เพราะเหตุไร ขอถวายพระพร?"
ร. "ยอดแห่งภูเขา พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้นย่อมไม่มีแก่ยอดแห่งภูเขา พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ยอดแห่งภูเขา พึงกลัวหรือพึงสะดุ้งด้วยเหตุใด เหตุนั้น ย่อมไม่มีแก่ยอดแห่งภูเขา ฉันใด, พระอรหันต์ทั้งหลายพึงกลัวหรือพึงสะดุ้งเพราะเหตุใด เหตุนั้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลายฉันนั้นนั่นเทียว; แม้ถ้าว่า ชนทั้งหลายที่นับเนื่องแล้วในหมู่สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในแสนโลกธาตุทั้งหลาย ชนทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งปวง พึงเป็นผู้มีหอกในมือ ล้อมพระอรหันต์องค์หนึ่ง จะกระทำพระอรหันต์นั้นให้สะดุ้ง ก็ไม่สามารถจะกระทำได้, ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น แม้น้อยหนึ่งของจิต ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่พึงมี มีอะไรเป็นเหตุ? ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแม้น้อยหนึ่งของจิต ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่พึงมี เพราะพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจากเหตุแห่งความกลัวและความสะดุ้งแล้ว. เออก็ ความปริวิตกแห่งจิตได้มีแล้วแก่พระขีณาสพทั้งปวงเหล่านั้นอย่างนี้ว่า 'วันนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้บวรประเสริฐ ผู้เป็นพฤษภ คือพระชินะอันประเสริฐ ได้เข้าไปสู่เมืองอันประเสริฐ ช้างชื่อธนปาลกะจักแทงที่ถนน ภิกษุผู้อุปัฏฐากจักไม่ละทิ้งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพดาล่วงเสียซึ่งเทพดา โดยไม่สงสัย ถ้าว่าเราทั้งหลายแม้ทั้งปวง จักไม่ละทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้า คุณของพระอานนท์จักไม่ปรากฏ, ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกถาในเพราะเหตุนั้นจักไม่มี, อนึ่ง คชสารจักไม่เข้าไปใกล้พระตถาคตนั่นเทียว, เอาเถิด เราทั้งหลายจักหลีกไปเสีย ความหลีกไปอย่างนี้นี่ จะเป็นอุบายเครื่องพ้นจากเครื่องผูก คือ กิเลสของหมู่ชนอันใหญ่, อนึ่ง คุณของพระอานนท์จักเป็นคุณปรากฏแล้ว;' พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น เห็นอานิสงส์อย่างนี้แล้ว จึงหลีกไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย."
ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าจำแนกดีแล้ว ข้อจำแนกปัญหานั้นสมอย่างนั้น, ความกลัวหรือความสะดุ้ง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น เห็นอานิสงส์แล้ว จึงหลีกไปยังทิศใหญ่และทิศน้อยแล."

๘. สันถวปัญหา ๔๗

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ภัยเกิดแล้วแต่สันถวะละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลาย ให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้.
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ภัยเกิดแล้วแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้ คำนั้นผิด. ถ้าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ภัยเกิดแล้วแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงขยายแก้ไขให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพระผู้มีภาคเจ้าทรงภาสิตแล้ว แม้พระพุทธพจน์นี้ว่า 'ภัยเกิดแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้.
ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ภัยเกิดแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะ ทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น เป็นเครื่องแสดงโดยสภาวะ เป็นเครื่องกล่าวเหตุไม่เหลือ เป็นเครื่องกล่าวเหตุไม่มีส่วนเหลือ เป็นเครื่องกล่าวโดยนิปริยายโดยตรง เป็นคำสมควรแก่สมณะ เป็นคำสมรูปแก่สมณะ เป็นคำเหมาะแก่สมณะ ควรแก่สมณะ เป็นโคจรของสมณะ เป็นปฏิปทาของสมณะ เป็นปฏิบัติของสมณะ.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนมฤคพญาสีหราชอยู่ในป่า เมื่อเที่ยวในไพรในป่า ไม่มีอาลัยในที่อยู่ มีที่เป็นที่อยู่อันบุคคลสังเกตไม่ได้ ย่อมนอนตามความปรารถนา ฉันใด, อันภิกษุพึงคิดว่า 'ภัยเกิดแต่สันถวะ ละอองธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแต่อารมณ์เป็นที่กำหนด, ธรรมชาติไม่มีอารมณ์เป็นที่กำหนด ธรรมชาติไม่มีสันถวะทั้งสองอย่างนั้น เป็นธรรมชาติอันมุนี คือ พระพุทธเจ้าเห็นแล้วแท้' ดังนี้. ส่วนพระพุทธพจน์ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, พระพุทธพจน์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์สองประการ จึงตรัสแล้ว, อำนาจประโยชน์สองประการ เป็นไฉน? ธรรมดาว่า วิหารทานอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง พรรณนาแล้ว อนุมัติแล้ว ชมแล้ว สรรเสริญแล้ว, ทายกทั้งหลายให้วิหารทานนั้นแล้ว จักพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย นี้เป็นอานิสงส์ในวิหารทานที่แรกก่อน.
คำที่จะพึงกล่าวยังมีอีก: ครั้นเมื่อวิหารมีอยู่ นางภิกษุมณีทั้งหลาย จักเป็นผู้อันบุคคลสังเกตได้ง่าย จักเป็นผู้อันบุคคลทั้งหลายผู้ใคร่จะพบเห็น จะเห็นพบเห็นได้โดยง่าย, นางภิกษุณีทั้งหลาย จักเป็นผู้มีการพบเห็นได้โดยยาก ในที่อยู่ไม่เป็นที่กำหนด นี้เป็นอานิสงส์ในวิหารทานที่สอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์สองประการเหล่านี้ จึงตรัสแล้วว่า 'ชายผู้บัณฑิต เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารทั้งหลายให้เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ยังภิกษุพหุสุตทั้งหลายให้อยู่ในวิหารนั้น' ดังนี้, แต่พระพุทธโอรสไม่ทำความอาลัยในที่อยู่นั้น."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๙. ภควโต อัปปาพาธปัญหา ๔๘

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตเป็นพราหมณ์ผู้ควรอันยาจกพึงขอ เป็นผู้มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีระกายมีในที่สุดไว้ เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอรักษา เป็นแพทย์ผู้เชือดลูกศร' ดังนี้. และตรัสอีกว่า ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ก็อาพาธเกิดขึ้นแล้วปรากฏอยู่ในพระสรีรกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามากครั้ง. ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่า, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเรา บรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่าพระพักกุลเถระเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาที่มีอาพาธน้อย, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีรกายมีในที่สุด ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอรักษา เป็นแพทย์เชือดลูกศร'ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคต เป็นผู้พราหมณ์ควรที่ยาจกจะพึงขอ มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีระกายอันมีในที่สุด ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอรักษา เป็นแพทย์ผู้เชือดลูกศร' ดังนี้. และตรัสแล้วว่า 'ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเราบรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ก็แหละ คำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อที่นิกายเป็นที่มา และคุณพิเศษที่บุคคลเรียนแล้ว มีในภายนอก มีอยู่ในพระองค์ ตรัสแล้ว.
ขอถวายพระพร พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ถือการยืนและจงกรมเป็นวัตรก็มีอยู่ พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้นทำวันและคืนให้น้อมล่วงไป ด้วยอันยืนและจงกรม, ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำวันและคืนให้น้อมล่วงไป ด้วยอันยืนและจงกรมและนั่งและนอน; ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้น เป็นผู้ถือการยืนและจงกรมเป็นวัตรภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้เอกยิ่งด้วยองค์นั้น. พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเอกาสนิกะ คือ ฉันหนเดียวก็มีอยู่ พระสาวกทั้งหลายเหล่านั้น ไม่บริโภคโภชนะครั้งที่สอง แม้เพราะเหตุชีวิต, ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เสวยพระกระยาหารครั้งที่สองบ้างที่สามบ้าง เพียงไร; ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดนั้นที่เป็นเอกาสนิกะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้เอกยิ่งด้วยองค์นั้น. เหตุทั้งหลายเหล่านั้น มิใช่อย่างเดียว เหตุทั้งหลายเหล่านั้น ๆ พระองค์หมายเอาองค์นั้น ๆ ตรัสแล้ว. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครยิ่งกว่า โดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา โดยวิมุตติ โดยวิมุตติญาณทัสสนะญาณเครื่องรู้เครื่องเห็นในวิมุตติ โดยญาณเป็นกำลังทั้งหลายสิบ โดยเวสารัชขะสี่ด้วยโดยพุทธธรรมสิบแปด โดยอาสารณญาณทั้งหลายหกประการด้วยก็พระองค์อาศัยญาณนั้น ในพุทธวิสัยสิ้นเชิง ตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์ควรเพื่ออันยาจกจะพึงขอ มีมืออันชำระแล้วในกาลทั้งปวง เป็นผู้ทรงสรีระกายมีในที่สุด ไม่มีใครจะยิ่งกว่าเป็นหมอรักษา เป็นแพทย์ผู้เชือดลูกศร' ดังนี้. บรรดามนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีชาติ มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีทรัพย์ มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีวิทยา มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้มีศิลป มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้กล้า มนุษย์พวกหนึ่งเป็นผู้เฉลียวฉลาด พระมหากษัตริย์องค์เดียวนั่นเทียว ข่มมนุษย์ทั้งปวงเหล่านั้น เป็นผู้สูงสุดแห่งมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ฉันใด; พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ฉันนั้นนั่นเทียวแล. ก็ท่านผู้มีอายุพักกุละ ได้เป็นผู้มีอาพาธน้อยใด ความเป็นผู้มีอาพาธน้อยนั้น ด้วยอำนาจแห่งอภินิหาร. แท้จริง เมื่ออาพาธเพราะอุทรวาตเกิดขึ้นแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
อโนมทัสสี และโรคชื่อติณบุปผกะ เกิดขึ้นแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสีด้วย แก่ภิกษุทั้งหลายหกล้านแปดแสนด้วย ส่วนพระพักกุละเป็นดาบส บำบัดพยาธินั้นเสียให้หายด้วยเภสัชทั้งหลายต่าง ๆ แล้ว จึงถึงความเป็นผู้มีอาพาธน้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ขันธบัญจกนี้ใด คือ พักกุลภิกษุ ขันธบัญจกนั้น เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของเราบรรดาที่มีอาพาธน้อย' ดังนี้. ครั้นเมื่อพยาธิเกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ยังไม่บังเกิดขึ้นแล้วบ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือธุดงค์บ้าง ไม่ทรงถือบ้างก็ดี สัตว์ไร ๆ เป็นผู้เช่นด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี. แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพดาล่วงเสียซึ่งเทพดา ได้ทรงภาสิตไว้แล้ว ในคัมภีร์สังยุตติกาย อันประเสริฐดังพระราชลัญจกรอันประเสริฐว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่หาเท้ามิได้ก็ดี สัตว์สองเท้าก็ดี และสี่เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี ที่มีรูปหรือไม่มีรูปก็ดี ที่มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ดี ที่จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี ประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

๑๐. อนุปปันนมัคคอุปปาทปัญหา ๔๙

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตได้เห็นมรรคของเก่าทางของเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในปางก่อนเสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ.' พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น, ถ้าอย่างนั้น พระพุทธพจน์ที่ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในกาลก่อน เสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ' ดังนี้ นั้นผิด. ถ้าว่าพระตถาคตตรัสแล้วว่า 'พระตถาคตได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในก่อนเสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ,' ถ้าอย่างนั้น พระพุทธพจน์ว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้กระทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น' ดังนี้ แม้นั้นก็ผิด. ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายให้แจ้งชัดเถิด."
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้. และตรัสอีกว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่า อันพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีแล้วในปางก่อน เสด็จดำเนินแล้วเนือง ๆ' ดังนี้. แม้คำทั้งสองนั้น กล่าวโดยสภาวะทีเดียว. พระตถาคตทั้งหลายแต่ปางก่อน อันตรธาน ไม่มีใครจะสั่งสอน มรรคชื่อว่าอันตรธานแล้ว, พระตถาคตนั้น เมื่อพิจารณาด้วยพระจักษุ คือ ปัญหาได้ทรงเห็นมรรคนั้น ซึ่งชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมือปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ปางก่อนได้เสด็จดำเนินเนือง ๆ แล้ว, เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นมรรคของเก่า ทางของเก่าอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายมีแล้วในปางก่อน เสด็จดำเนินเนือง ๆ แล้ว' ดังนี้. พระตถาคตทั้งหลายแต่ปางก่อน อันตรธาน ไม่มีใครจะสั่งสอน พระตถาคตได้ทรงกระทำแล้วซึ่งทางอันชำรุดทรุดโทรมแล้ว อันมือปิดแล้ว กำบังแล้ว ให้เป็นที่สัญจรในกาลนี้ เพราะเหตุใด, เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้.
ขอถวายพระพร ในโลกนี้ แก้วมณี ซ่อนอยู่ในระวางยอดภูเขาเพราะพระเจ้าจักรพรรดิอันตรธานเสีย, มณีรัตนะนั้น ย่อมเข้าถึงด้วยความปฏิบัติชอบ ของพระเจ้าจักรพรรดิองค์อื่นอีก; มณีรัตนะนั้น จะว่าพระเจ้าจักรพรรดินั้นสร้างขึ้นแล้ว คือ ให้เกิดขึ้นแล้วบ้างหรือเป็นไฉน?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า มณีรัตนะนั้นตั้งอยู่โดยปกติ, ก็แต่ว่ามณีรัตนะนั้น เกิดขึ้นแล้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดินั้น."
ถ. "ขอถวายพระพร มณีรัตนะนั้น เกิดขึ้นแล้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดินั้น ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพิจารณาด้วยจักษุ คือ ปัญญา ยังมรรคเป็นที่ไปยังพระนิพพานมีองค์แปด ตั้งอยู่โดยปกติอันพระตถาคตทั้งหลาย มีแล้วแต่ปางก่อน ทรงประพฤติสืบมาแล้วเมื่อไม่มีใครจะสั่งสอน ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจร ฉันนั้นนั่นแล; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง มารดายังบุตรมีอยู่นั่นเทียว ให้เกิดแต่กำเนิดแล้วอันโลกย่อมกล่าวว่า ชนิกา ฉันใด, พระตถาคต ทรงพิจารณาด้วยจักษุคือปัญญา ยังมรรคมีอยู่นั่นเทียว ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจรแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียว; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น' ดังนี้.
อีกประการหนึ่ง บุรุษไร ๆ เห็นภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่งที่หายไป, ชนย่อมกล่าวว่า
'ภัณฑะนั้น อันบุรุษนั้นให้เกิดขึ้นแล้ว' ฉันใด, พระตถาคต เมื่อทรงพิจารณาด้วยจักษุคือปัญญา ยังมรรคมีอยู่นั่นเทียว ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจรแล้ว ฉันนั้นนั้นแล; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้.
อีกประการหนึ่ง บุรุษไร ๆ ชำระป่าแล้ว เปิดเผยพื้นที่, ชนย่อมกล่าว่า 'พื้นนั้นของบุรุษนั้น' ก็แต่ว่าพื้นนั่นอันบุรุษนั้นมิได้ให้เป็นไปแล้ว บุรุษนั้นชื่อว่า ภูมิสามิโก เจ้าของแห่งพื้น เพราะกระทำพื้นนั้นให้เป็นเหตุ ฉันใด, พระตถาคตทรงพิจารณาด้วยจักษุคือปัญญา กระทำมรรคมีอยู่นั่นเทียว ชำรุดแล้ว ทรุดโทรมแล้ว รกแล้ว อันมืดปิดแล้ว กำบังแล้ว ไม่เป็นที่สัญจร ให้เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำมรรคนั้นให้เป็นที่สัญจรแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียวแล; เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น' ดังนี้."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้น สม
อย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."

วรรคที่หก
๑. ปฏิปทาโทสปัญหา ๕๐

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ในกาลใด พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำทุกรกิริยา, ความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม ความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้าเช่นนั้น ความผจญกิเลสเช่นนั้น ความกำจัดเสนาแห่งมฤตยูเช่นนั้น ความอดอาหารเช่นนั้น ความกระทำกิจที่กระทำได้ยากเช่นนั้น ไม่ได้มีแล้วในที่อื่น, ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ไม่ได้แล้ว ซึ่งอัสสาทะความยินดีน้อยหนึ่ง ในเพราะความบากบั่นอันใหญ่เห็นปานนั้น จึงยังจิตดวงนั้นนั่นแลให้หวนกลับแล้ว ได้ตรัสอย่างนี้ว่า 'ก็ด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ เราก็หาได้บรรลุญาณทัสสนะพิเศษ อันประเสริฐเพียงพอยิ่งกว่าธรรมของสามัญมนุษย์ไม่แล, ชะรอยมรรคาเพื่อความตรัสรู้ จะพึงเป็นทางอื่นแน่แล.' ครั้นทรงดำริตกลงพระทัยฉะนี้แล้ว จึงทรงเบื่อหน่ายจากทุกรกิริยานั้น ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณด้วยมรรคาอื่น แต่ก็ทรงพร่ำสอนชักชวนสาวกทั้งหลายด้วยปฏิปทานั้นอีกว่า 'ท่านทั้งหลาย จงปรารภความเพียร จงพากเพียร จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมฤตยูเสีย เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อเสียฉะนั้น' พระผู้เป็นเจ้านาคเสน เพราะเหตุไรเล่า พระตถาคตจึงทรงพร่ำสอน ชักชวนสาวกทั้งหลาย ในปฏิปทาที่พระองค์เองทรงเบื่อหน่าย คืนคลาย ดูหมิ่นแล้ว?"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ปฏิปทานั้นนั่นแล เป็นปฏิปทาทั้งในกาลนั้น ทั้งในกาลบัดนี้, พระโพธิสัตว์ทรงดำเนินปฏิปทานั้นนั่นแล บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว. ก็แต่ว่า พระโพธิสัตว์กระทำความเพียรเกินไป อดอาหารเสียโดยไม่มีส่วนเหลือ, ข้อที่จิตเป็นธรรมชาติทราม กำลังเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน เพราะความอดอาหารเสีย, ท่านไม่ได้อาจแล้วเพื่อบรรลุสัพพัญญุตญาณ เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติทรามกำลังนั้น, ท่านเมื่อเสพกวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าวพอประมาณ จึงได้บรรลุสัพพัญญุตญาณ ต่อกาลไม่นานเลยด้วยปฏิปทานนั้นเอง. ปฏิปทานั้นแหละ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งสัพพัญญุตญาณ ของพระตถาคตทั้งปวง.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนอาหารเป็นเครื่องอุปถัมภ์สัตว์ทั้งปวง, สัตว์ทั้งปวงได้อาศัยอาหารจึงได้เสวยความสุข ฉันใด; ปฏิปทานั้นแหละ เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งสัพพัญญุตญาณ ของพระตถาคตทั้งปวง ฉันนั้นนั่นแล. การที่พระตถาคตไม่ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณในขณะนั้น มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า มิใช่โทษของความผจญกิเลส, โดยที่แท้ เป็นโทษของความอดอาหารเท่านั้น, ปฏิปทานั้น อันธรรมดาเตรียมไว้แล้ว ทุกเมื่อ.
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ด้วยความเร็วเกินไป, เพราะความเร็วเกินไปนั้น เขาพึงเป็นผู้ชาไปแถบหนึ่ง หรือเป็นคนปลกเปลี้ย เดินไม่ได้บนพื้นแผ่นดิน, เออก็ เหตุที่เขาเดินไม่ได้นั้น เป็นโทษของมหาปฐพีหรือ มหาบพิตร?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า, มหาปฐพีเตรียมอยู่แล้วทุกเมื่อ, โทษของมหาปฐพีนั้น จะมีมาแต่ไหน, เหตุที่บุรุษนั้นเป็นผู้ชาไปแถบหนึ่งนั้น เป็นโทษของความพยายามต่างหาก."
ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, การที่พระตถาคตไม่ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณในขณะนั้น มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า มิใช่โทษของความผจญกิเลส, โดยที่แท้ เป็นโทษของความอดอาหารต่างหาก, ฉันนั้นนั่นแล, ปฏิปทานั้น อันธรรมดาเตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ.
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษพึงนุ่งผ้าสาฎกอันเศร้าหมอง, เขาไม่พึงซักผ้านั้นในน้ำ, ข้อที่ผ้าเศร้าหมองนั้น ไม่ใช่โทษของน้ำ, น้ำเตรียมอยู่ทุกเมื่อ, นั่นเป็นโทษของบุรุษต่างหาก ข้อนี้ฉันใด; การที่พระตถาคตไม่ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณในสมัยนั้น มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุริเริ่ม มิใช่โทษของความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า มิใช่โทษของความผจญกิเลส, โดยที่แท้ เป็นโทษของความอดอาหารต่างหาก, ปฏิปทานั้น อันธรรมดาเตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ ฉันนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพร่ำสอน ชักชวนสาวกทั้งหลายในปฏิปทานั้น. ปฏิปทานั้นหาโทษมิได้ อันธรรมดานั้นเตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ ด้วยประการฉะนี้แล ขอถวายพระ."
ร. "ดีละ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้น สมอย่างนั้น, ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น."




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO