นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 10 พ.ค. 2024 8:30 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 06 ก.ย. 2011 4:57 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4554
แม้แต่พยัญชนะ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณา ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจจริง ๆ เพราะ

ในสังคมไทย ก็จะพบคำ ๒ คำนี้อยู่เสมอ ทั้งตอบแทน และ ทดแทน ซึ่งเมื่อว่าโดย

ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แล้ว มีดังนี้

-ตอบแทน หมายถึง การกระทำทดแทนแก่ผู้ทำก่อน ให้ทดแทนแก่ผู้ให้ก่อน เช่น

การตอบแทนบุญคุณ

-ทดแทน หมายถึง การตอบแทน หรือ การชดใช้หรือชดเชยในสิ่งที่เสียไป

ถ้าจะพิจารณา เมื่อมาต่อกับคำว่า บุญคุณ แล้ว ในสังคมไทย ก็ใช้ทั้งสองคำ คือ

ทั้งตอบแทนบุญคุณ และ ทดแทนบุญคุณ ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจที่ตรงกันว่า

หมายถึงอะไร? เพราะเท่าที่เข้าใจ คือ ทั้งตอบแทนบุญคุณ และ ทดแทนบุญคุณ

ล้วนหมายถึง การกระทำความดีตอบแทนแก่บุคคลผู้ที่มีพระคุณ มี มารดาบิดา ครู

อาจารย์ เป็นต้น

สำหรับในพระไตรปิฎกแล้ว ก็จะพบคำทั้งสองคำเหมือนกัน ทั้งตอบแทน และ

ทดแทน แต่ท่านจะมุ่งหมายต่างกันบ้าง ก็คือ ทดแทน นั้นใ้ช้ในกรณีชดใช้หรือชดเชย

ในสิ่งที่เสียไป (มาจากภาษาบาลีว่า อนุกฺเขป แปลว่า ชดเชยให้,ตามเพิ่มให้, ชดใช้

ให้) ส่วนตอบแทน นั้น ตรงกัน คือ การตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำอุปการะมาก่อน ตาม

ภาษาบาลีแล้ว มาจากภาษาบาลีว่า ปฏิการ แปลว่า การกระทำตอบแทน หรือ บาง

สำนวนท่านก็แปลว่า "สนองคุณ"



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 78

๔. พหุการสูตร

ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก ๓ จำพวก

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้ เป็นผู้มี

อุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้คือใคร คือ บุคคล

(ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า ... พระธรรม ...

พระสงฆ์เป็นสรณะ บุคคล (อาจารย์) นี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล

(ศิษย์) นี้

อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด

จึงรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติ

ให้ถึงความดับทุกข์ บุคคล (อาจารย์) นี่ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล

(ศิษย์) นี้

อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด

จึงกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ บุคคล

(อาจารย์)นี่เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจะมีอุปการะมากแก่บุคคล

(ศิษย์) นี้ ยิ่งกว่าบุคคล ๓ นี่ไม่มี อนึ่ง เรากล่าวว่า บุคคล (ศิษย์) นี้

จะทำการสนองคุณแก่บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้ไม่ได้ง่ายเลย แต่เพียงด้วย

การกราบ ลุกรับ ทำอัญชลี สามีจิกรรม และคอยให้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและยาแก้ไข้.

จบพหุการสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๔๑๙

๗. ปลาสชาดก

(ว่าด้วยขุมทรัพย์ที่ฝั่งไว้ที่โคนต้นไม้)

[๕๒๖] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-

กวาวนี้ไม่มีจิต ไม่ได้ยินเสียงอะไร และไม่

รู้สึกอะไรเลย เพราะเหตุไรท่านจึงพยายาม

มิได้มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่

เสมอมา.

[๕๒๗] ต้นทองกวาวต้นใหญ่ ปรากฏไปใน

ที่ไกล ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็น

ที่อยู่อาศัยของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงนอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และ

เทพเจ้าผู้สิงอยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะ

เหตุแห่งทรัพย์.

[๕๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้าเพ่งถึงความ

กตัญญูจักทำการทดแทนคุณท่านตามอานุ-

ภาพ ความดิ้นรนของท่านผู้มาถึงสำนักของ

สัตบุรุษทั้งหลาย ไฉนจักเปล่าจากประโยชน์

เล่า.

[๕๒๙] ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้น-

มะพลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกัน

มาแต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝั่ง

ไว้ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ

ท่านจงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.

จบ ปลาสชาดกที่ ๗

อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗

พระศาสดาทรงบรรทม ณ เตียงปรินิพพาน ทรงปรารภ

พระอานันทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อเจตน

พฺราหฺมณ อสุณนฺต ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ทราบว่า ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง

แห่งราตรีวันนี้ พระศาสดาจักปรินิพพาน ก็นึกถึงตนว่า ก็เราแล

ยังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทำ แต่พระศาสดาของเราจักปรินิพพาน

การอุปัฏฐากบำรุงที่เรากระทำแก่พระศาสดามาตลอดเวลา ๒๕ ปี น่า

จักไร้ผลถูกความเศร้าโศกครอบงำ จึงเหนี่ยวไม้สลักประตูห้องน้อย

ในอุทยานร้องไห้อยู่. พระศาสดาเมื่อไม่ทรงเห็นท่านพระอานนท์ จึง

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไปไหน ครั้นได้ทรงสดับ

ดังนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้เรียกท่านมาประทานโอวาท แล้วตรัสว่า

อานนท์ เธอเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียร

เธอจักหมดอาสวะโดยเร็วพลัน เธออย่าได้คิดเสียใจไปเลย การ

อุปัฏฐากที่เธอกระทำแก่เราในบัดนี้ เพราะเหตุไรเล่าจักไร้ผล การ

อุปัฏฐากที่เธอกระทำแก่เรา แม้ในกาลที่เรายังไม่มีราคะเป็นต้น ใน

ชาติก่อนก็ยังมีผล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาต้นทองกวาว ในที่

ไม่ใกล้พระนครพาราณสี. ในกาลนั้น ชาวเมืองพาราณสี พากัน

ถือเทวดามงคล จึงขวนขวายในการทำพลีกรรมเป็นต้นเป็นนิตยกาล.

ครั้งนั้น มีพราหมณ์เข็ญใจคนหนึ่งคิดว่า แม้เราก็จักปรนนิบัติเทวดา

องค์หนึ่ง จึงทำโคนต้นทองกวาวใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งยืนต้นอยู่ในพื้นที่สูง

ให้ราบเตียนปราศจากหญ้า แล้วล้อมรั้ว เกลี่ยทรายปัดกวาด แล้ว

เจิมด้วยของหอมที่ต้นไม้ บูชาด้วยดอกไม้ ของหอมและธูป ตาม

ประทีปแล้วกล่าวว่า ท่านจงอยู่เป็นสุขสบาย แล้วทำประทักษิณ

ต้นไม้แล้วหลีกไป. เช้าตรู่วันที่สอง พราหมณ์นั้นไปถามถึงการนอน

เป็นสุขสบาย. อยู่มาวันหนึ่ง รุกขเทวดาคิดว่า พราหมณ์นี้ปฏิบัติ

เรายิ่งนัก เราจักทดลองพราหมณ์นั้นดู เขาปฏิบัติบำรุงเราด้วยเหตุ

อันใด ก็จักให้เหตุอันนั้น เมื่อพราหมณ์นั้นมาปัดกวาดโคนไม้ จึงยืน

อยู่ใกล้ ๆ ด้วยเพศของพราหมณ์แก่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-

กวาวนี้ไม่มีจิตใจ ไม่ได้ยินเสียงและไม่รู้สึก

อะไร เพราะเหตุไรท่านจึงเพียรพยายาม มิได้

มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่เสมอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุณนฺต แปลว่า ไม่ได้ยินเสียง

ได้แก่ ชื่อว่าไม่ได้ยินเสียง เพราะไม่มีเจตนาเลย. บทว่า ชาโน

แปลว่า รู้อยู่ ได้แก่ ท่านเป็นผู้รู้อยู่. บทว่า ธุว อปฺปมตฺโต

แปลว่า ไม่มีความประมาทเป็นนิจ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิตย์.

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ต้นทองกวาวใหญ่ปรากฏไปในที่ไกล

ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็นที่อยู่อาศัย

ของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง

นอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และเทพเจ้าผู้สิง

อยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูเร สุโต ความว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ต้นไม้นี้ปรากฏไปในที่ไกล มิใช่ปรากฏอยู่ในที่ใกล้ ๆ.

บทว่า พฺรหาว แปลว่า ใหญ่. บทว่า เทเส ิโต ได้แก่ ยืนต้น

อยู่ในภูมิประเทศอันสูง ราบเรียบ. บทว่า ภูตนิวาสรูโป ได้แก่

มีสภาวะเป็นที่อยู่อาศัยของเทวดา คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จักสิงอยู่

ที่ต้นทองกวาวนี้แน่. บทว่า เต จ ธนสฺส เหตุ ความว่า เรา

นอบน้อมต้นไม้นี้ และเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์ มิใช่เพราะไม่มีเหตุ.

รุกขเทวดาได้ฟังดังนั้น มีความเลื่อมใสพราหมณ์ จึงปลอบ.

โยนพราหมณ์นั้นให้เบาใจว่า พราหมณ์ เราเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่

ต้นไม้นี้ ท่านอย่ากลัวไปเลยเราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน แล้วยืนในอากาศ

ที่ประตูวิมานของตน ด้วยเทวานุภาพอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวคาถา ๒

คาถานอกนี้ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นมาเพ่งถึงความ

กตัญญู จักทำการทดแทนคุณท่านตาม

สมควรแก่อานุภาพ การที่ท่านดิ้นรนมายัง

สำนักของสัตบุรุษทั้งหลาย จะพึงเปล่า

ประโยชน์ได้อย่างไรเล่า.

ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้นมะ-

พลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกันมา

แต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝังไว้

ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ ท่าน

จงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถามุภาว ได้แก่ ตามสามารถ

คือ ตามกำลัง. บทว่า ภตญฺญุต ความว่า รู้คุณที่ท่านทำไว้แก่เรา

ชื่อว่าเพ่งถึงความกตัญญูซึ่งมีอยู่ในตนนั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่า

มาแล้ว บทว่า สต สกาเส ได้แก่ ในสำนักของสัตตบุรุษทั้งหลาย.

บทว่า โมฆา แปลว่า เปล่า. บทว่า ปริยนฺทิตานิ ความว่า

ดิ้นรนด้วยวาจาด้วยการถามถึงการนอนเป็นสุขสบาย และดิ้นรนด้วย

กายด้วยการทำการปัดกวาดเป็นต้น จักไม่เป็นผลแก่ท่านได้อย่างไร.

บทว่า โย ตินฺทุรุกฺขสฺส ความว่า รุกขเทวดายืนที่ประตูวิมาน

นั่นแหละ เหยียดมือแสดงว่า ต้นเลียบนั้นได้ตั้งอยู่เบื้องหน้าต้น

มะพลับ. ในบทว่า ปริวาริโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ที่โคนต้นเลียบนั้น ต้นเลียบนี้ชื่อว่า เขาล้อมไว้ เพราะเขาฝังทรัพย์

ไว้รอบโคนต้นไม้นั้น ชื่อว่า เขาเคยบูชายัญ เพราะทรัพย์เกิดขึ้น

แก่พวกเจ้าของตนแรก ๆ ด้วยอำนาจยัญที่เขาบูชาแล้วในกาลก่อน

ชื่อว่ายิ่งใหญ่ เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่ โดยมีหม้อขุมทรัพย์มิใช่น้อย

ชื่อว่าเขาฝังไว้ ชื่อว่าไม่มีทายาท เพราะบัดนี้ทายาททั้งหลายไม่มี.

ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ขุมทรัพย์ใหญ่นี้เราฝังไว้ โดยหม้อขุมทรัพย์

เอาคอจดคอติด ๆ กันรอบโคนต้นไม้นี้ ไม่มีเจ้าของ ท่านจงไป จงขุด

ขุมทรัพย์นั้นเอาไป.

ก็แหละเทวดานั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทแก่

พราหมณ์ว่า พราหมณ์ ท่านขุดเอาขุมทรัพย์นั้นไปจักลำบากเหน็ด

เหนื่อย ท่านจงไปเถิด เราเองจักนำขุมทรัพย์นั้นไปยังเรือนของท่าน

แล้วจักฝังไว้ ณ ที่โน้นและที่โน้น ท่านจงใช้สอยทรัพย์นั้นจนตลอด

ชีวิต จงให้ทาน รักษาศีลเถิด แล้วยังทรัพย์นั้นให้ไปประดิษฐาน

อยู่ในเรือนของพราหมณ์นั้น ด้วยอานุภาพของตน

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง

ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้

ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต - ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 357

สูตรที่ ๒



บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย



[๒๗๘] ๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทน


ไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง ทั้งสองท่านคือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึ่ง


ประดับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิต อยู่ตลอด ๑๐๐ ปี


และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ


และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง


ของเขานั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า


อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์


ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น


ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้


แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน


ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-


สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา


ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน


ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า


อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.


จบสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต - ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 358



อรรถกถาสูตรที่ ๒



บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย

ใน สูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.


บทว่า มาตุ จ ปัตุ จ ได้แก่ มารดาผู้บังเกิดเกล้า ๑ บิดาผู้บังเกิดเกล้า ๑.

บทว่า เอเกน ภิกฺขเว อเสน มาตร ปริหเรยฺย ความว่า

บุตรพึงปรนนิบัติมารดาแบกไว้บนจะงอยบ่าข้างหนึ่ง. บทว่า เอเกน


อเสน ปิตร ปริหเรยฺย ความว่า บุตรพึงปรนนิบัติบิดาแบกไว้บนจะงอย


บ่าข้างหนึ่ง. บทว่า วสฺสสตายุโก วสฺสสตาชีวี ความว่า มีอายุถึง


ทรงชีพอยู่ ๑๐๐ ปี. มีคำอธิบายว่า ถ้าบุตรคิดว่าจักตอบแทนคุณบิดา


มารดา กระวีกระวาดให้มารดานั่งบนจะงอยบ่าข้างขวา ให้บิดานั่งบน


จะงอยบ่าข้างซ้าย มีอายุถึง ๑๐๐ ปี ทรงชีพแบกอยู่ ๑๐๐ ปี. บทว่า


โส จ เนส อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน ความว่า บุตรนั้น


แลพึงบำรุงบิดามารดาผู้นั่งอยู่บนจะงอยบ่านั่นเอง ด้วยการอบกลิ่นให้


ตัวหอม เพื่อบรรเทากลิ่นเหม็น ด้วยการนวดมือเท้า เพื่อบรรเทาเมื่อยขบ

เวลาหนาวให้อาบน้ำอุ่น เวลาร้อนให้อาบน้ำเย็น ด้วยการดัดคือ ดึงมือ


และเท้าเป็นต้น . บทว่า เต จ ตตฺเถว ความว่า บิดามารดาทั้งสองก็นั่ง


ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่บนนั้นแหละ คือบนจะงอยบ่าทั้งสองของบุตรนั้น.


บทว่า น เตฺวว ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการ


ปรนนิบัติถึงเพียงนี้ จะเป็นอันบุตรนั้นได้ทำคุณหรือได้ตอบแทนคุณแก่


บิดามารดาแล้ว หามิได้เลย. บทว่า อิสฺสราธิปจฺเจ รชฺเช พระผู่มีพระ-


ภาคเจ้าตรัสหมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทีเดียว. บทว่า อาปาหกา


แปลว่า เป็นผู้ให้เติบโต เป็นผู้ดูแล. เพราะบุตรทั้งหลาย บิดามารดา


ทำให้เติบโตและดูแลแล้ว. บทว่า โปสกา ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงดู โดยให้


มือเท้าเติบโต ให้ดื่มโลหิตในหทัย. เพราะบิดามารดาเลี้ยงบุตรอย่างดี


ประคบประหงมด้วยข้าวน้ำเป็นต้น . บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร


ความว่า ถ้าในวันที่บุตรเกิด บิดามารดาจะจับเท้าบุตรเหวี่ยงไปในป่าหรือ


ในเหว บุตรก็จะไม่ได้เห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ แต่เพราะ


ท่านไม่ทำอย่างนี้ ฟูมฟักเลี้ยงดู บุตรจึงเห็นอิฏฐารมณ์ เละอนิฏฐารมณ์


ในโลกนี้ เพราะอาศัยบิดามารดา ฉะนั้น บิดามารดาจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดง


โลกนี้แก่บุตร. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้เธอถือ. ในพระสูตรนี้นั้น


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ผสมกันทั้งโลกิยะ


และโลกุตระ ภิกษุเช่นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ พึงทราบว่า


ชื่อว่ายังบิดามารดาให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเหล่านั้น.


จบอรรถกถาสูตรที่ ๒







การอุทิศบุญ

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ

พวกพานิชเหล่านั้น ได้สดับคำของเปรตทั้งหลาย เกิดความ

สังเวช เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น จึงเอาภาชนะตักน้ำดื่มมา ให้

เขานอนลงแล้ว กรอกเข้าทางปาก. แต่นั้นน้ำที่มหาชน ลาดลง

หลายครั้ง ก็ไม่ไหลลงสู่ลำคอ เพราะพลังแห่งกรรมชั่วของเปรต

นั้น. จักกำจัดความกระหายได้ที่ไหนเล่า. พ่อค้าเหล่านั้นจึงถาม

เปรตว่า ท่านได้ความโปร่งใจอะไรบ้างไหม ? เปรตนั้นตอบว่า

ถ้าน้ำที่ชนมีประมาณเพียงนี้ กรอกเข้าไปตลอดเวลาเพียงเท่านี้

แม้เพียงสักหยดเดียวก็ไม่เข้าไปในลำคอเรา กับไหลเข้าลำคอ

ของคนอื่นไปหมด, ความหลุดพ้นไปจากกำเนิดเปรตนี้ จงอย่ามีเลย.

ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความสังเวชยิ่งนัก

พากันกล่าวว่า ก็อุบายอะไร ๆ เพื่อระงับความกระหายมีบ้างไหม ?

เปรตตอบว่า เมื่อกรรมชั่วนี้สิ้นไป เมื่อพวกญาติถวายทานแต่

พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต อุทิศทานให้แก่เรา,

เราก็จักพ้นจากความเป็นเปรตนี้ไปได้.





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO