นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 11 พ.ค. 2024 12:39 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 02 ส.ค. 2011 5:38 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4554
ประเพณีทอดกฐิน


หลังจากวันออกพรรษาเป็นเวลา ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ หรือจำง่ายๆ ว่า ตั้งแต่วันตักบาตรเทโวจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "เทศกาลกฐิน" . . .
ประเภทของกฐิน
แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. กฐินหลวง ๒. กฐินราษฎร์
๑. กฐินหลวง มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชนชาวไทยได้นับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้ทรงรับเรื่องกฐินเป็นพระราชพิธี อย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดังกล่าว เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง ดังนั้น วัดใดก็ตามไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว ก็เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น แต่สมัยต่อมากฐินหลวงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธา เจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินและได้รับพระกรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินตามควรแก่ฐานะ กฐินหลวงปัจจุบันจึงได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์ เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น

๑.๒ กฐินต้น หมายถึง กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์

๑.๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระ ราชทานไปถวายยังวัดหลวง ที่นอกเหนือไปจากวัดสำคัญ ๑๖ วัดที่กำหนดไว้ เหตุที่มีกฐินพระราชทาน ก็เพราะปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่สมควรขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ ซึ่งกฐินดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกฐินที่หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปถวายนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
ตามระเบียบเพื่อเป็นการจองไว้ก่อนด้วย

๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปถวายตามวัดต่างๆ ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัดที่กล่าวไว้แล้ว ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามลักษณะของการทอด คือ

๒.๑ กฐินหรือมหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตนศรัทธาเป็นการเฉพาะ ผ้าที่เป็นองค์กฐินจะเป็นผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ จะเย็บแล้วหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว และนิยมถวายของอื่นๆ ที่เรียกว่า บริวารกฐิน ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วย เช่น เครื่องอุปโภค บริโภคของพระภิกษุสงฆ์ อย่างหมอน โอ่งน้ำ เตา ไม้กวาด จอบ เสียบ อาหาร ยาต่างๆ เป็นต้น

๒.๒ จุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบเร่ง เดิมเรียกแบบไทยๆ ว่า กฐินแล่น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกและกำลังมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเป็นด้าย ทอด้ายให้เป็นผ้า ตัดผ้าและเย็บผ้าเป็นจีวร ย้อมสี และต้องทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ก็ต้องกรานและอนุโมทนาในวันนั้นๆ ด้วย เรียกว่าเป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว

๒.๓ กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน ไม่จำเป็นว่าใครบริจาคมากน้อย แต่มักตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวารไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้ ซึ่งกฐินชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะนอกจากทำบุญกฐินแล้ว ยังนำปัจจัยที่เหลือไปช่วยทำนุบำรุงวัด เช่น ก่อสร้างศาสนสถาน บูรณะโบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น

๒.๔ กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร กล่าวคือในท้องถิ่นทุรกันดาร อาจจะมีวัดตกค้างไม่มีใครไปทอด จึงมีผู้มีจิตศรัทธาเสาะหาวัดอย่างนี้ แล้วนำกฐินไปทอด ซึ่งมักจะเป็นวันใกล้สิ้นเทศกาลกฐินหรือวันสุดท้าย จึงเรียกว่า กฐินตกค้าง หรืออาจเรียกว่า กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวคล้ายโจรบุก ซึ่งกฐินแบบนี้ต่างกับกฐินอื่นคือ ไม่มีการจองล่วงหน้า และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด จะทอดหลายวัดก็ได้ และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไม่ได้ทอด (กรณีไปหลายวัด) ไปจัดเป็นผ้าป่า เรียกว่า "ผ้าป่าแถมกฐิน" ก็ได้

-:ความหมายของกฐินที่เกี่ยวข้องกันดังนี้ :-
-กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง, ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ

-กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวาย นั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

-กฐิน ที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

-กฐิน ที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำ เป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4



-: ที่มาของประเพณีทอดกฐิน :-


ใน สมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก
ระยะนั้นมีฝนตกชุก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส โดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 ดือน กฐิน จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลทาน

ในปีหนึ่ง แต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว นอกจากนั้นแล้ว กฐินทานก็มีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น ได้แก่

1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือน การให้ทานอย่างอื่นไม่ได้
2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต
การให้ทานอย่างอื่น ทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขา ทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้ พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง


อานิสงส์ของการทอดกฐิน

อานิสงส์กฐินนี้ หลวงปู่ปาน แห่งวัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเคยเทศน์ และ ก็เทศน์ตามบาลี ฉะนั้น การทำบุญ จะเป็นเงินก็ตาม จะเป็นของก็ตาม ถือว่า ทุกอย่างเป็น อานิสงส์กฐิน พระสูตรตามที่ท่านกล่าวไว้ในบาลี พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า บุคคลใดตั้งใจทอดกฐินแล้วในชีวิตหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพกฐินก็ดี หรือ เป็นบริวารกฐินก็ดี (แต่ถ้าเป็นกฐินสามัคคี หมายความว่า ทุกคนจะเป็นเจ้าภาพเหมือนกันหมด) จะทำบุญน้อย จะทำบุญมาก มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ทว่าปริมาณอาจจะแตกต่างกัน

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "โภ ปุริสะ ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยตั้งใจทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้นจะได้ไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า ถ้าหมดอายุขัยของเทวดา หรือนางฟ้า เมื่อจุติ (ตาย) แล้ว เมื่อบุญหย่อนลงมา จะเกิดเป็นเทวดาเกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ก็จะลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว บุญหย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี

คำว่ามหาเศรษฐีนี่ หมายถึง การมีทรัพย์สินเงินทอง ตั้งแต่ ๘๐ โกฏิขึ้นไป (หรือ มากกว่า 800 ล้านขึ้นไป) เขาเรียกว่าเป็น มหาเศรษฐี แต่ถ้าตั้งแต่ ๔๐ โกฏิ ขึ้นไป ( หรือ มีทรัพย์ตั้งแต่ 400 ล้านขึ้นไป) เขาเรียก อนุเศรษฐี เมื่อเป็นมหาเศรษฐี แล้ว ต่อมาจะไปเกิดเป็นอนุเศรษฐี หลังจากนั้น ก็จะเป็นคหบดี ฯลฯ

ก็รวมความว่า การตั้งใจทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นอกจากจะเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีแล้ว บุคคลที่ตั้งใจทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญานก็ย่อมได้ นั่นหมายความว่า จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นมหาสาวกก็ได้ จะปรารถนานิพพาน เป็นพระอรหันต์ปกติก็ได้ ฉะนั้น การทอดกฐินแต่ละคราว ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทโปรดทราบถึงอานิสงส์ และ มีความตั้งใจในการทอดกฐิน คนที่เคยตั้งใจทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง รวมความว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่า ยากจนเข็ญใจจะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทในชาติต่อๆไปทุกชาติ

โดยสรุป อานิสงส์จากการทำบุญทอดกฐิน ถ้าจะมาเกิดเป็นมนุษย์
1. จะได้เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ มีเกียรติยศ มีชื่อเสียงที่ดีงาม
2. จะเกิดมาโดยมีร่างกายที่ได้คุณลักษณะที่งดงามสมส่วน
3. จะเกิดมามีผิวพรรณงดงาม จิตใจแจ่มใส ร่าเริงเบิกบาน
4. จะเกิดมามีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์
5. เมื่อละโลกแล้ว อย่างน้อยได้ไปบังเกิดในสวรรค์



เหตุแห่งการทอดกฐิน

เหตุที่จะเกิดการทอดกฐินขึ้นนั้น มีเรื่องว่า ภิกษุชาวเมืองปาไถยรัฐ ๓๐รูป จะมาเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้า ณ พระเชตวันแต่มาไม่ทันพรรษาจึงพักจำพรรษาเสียที่เมืองสาเกตุพอออกพรรษาแล้วก็รีบจะมาเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา เดินตรำฝนทนแดดมาตามทางที่มีเปือกตมผ้าจีวรก็เปียกชุ่มด้วยน้ำฝน จนมาถึงวัดเชตวันสมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบถึงความลำบากของภิกษุเหล่านั้นจึงทรงพุทธานุญาตให้ภิกษุเหล่าน้นรับผ้ากฐินในระยะเวลาหลักออกพรรษาไปแล้วหนึ่งเดือน จึงได้เป็นประเพณีทำกันมาจนทุกวันนี้


อานิสงค์กฐิน ตามที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ พระบรมศาสดาที่มีพระนามว่า" พระปทุมมุตตระ " เทศนาไว้ว่า

"อานิสงค์ของกฐินมีมากเป็นกรณีพิเศษ” คนถวายกฐินทาน และร่วมถวายกฐินทาน

ครั้งหนึ่งจะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาพระนิพพาน ซึ่งเป็นพระอรหันต์ก็ได้ และยิ่งกว่านั้นไซร้ ก่อนที่บรรดาผลทั้งหลายเหล่านั้น คือความเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี ความเป็นอัครสาวกก็ดี หรือพระอรหันต์ที่ดี กว่าจะมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ในขณะที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มีบารมียังไม่สูงดี ยังไม่บรรลุ-มรรคผล ได้

อานิสงค์กฐินทาน จะให้ผลดังนี้
ในอันดับแรกเมื่อตายจากความเป็นคนจะไปเกิดเป็นเทวดาและลงมาจุติเป็นเจ้าจักรพรรดิปกครองประเทศทั่วโลก มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ๕๐๐ ชาติ

เมื่อบุญแห่ง ความเป็นจักรพรรดิสิ้นไป บุญหย่อนลงมาจะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ

เมื่อบุญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์หมดไป ก็เกิดเป็นเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ

เมื่อบุญแห่งความเป็นเศรษฐีหมดไป ก็เกิดเป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ

เมื่อบุญแห่งความเป็นอนุเศรษฐีหมดไป ก็เกิดเป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ

รวมความแล้วองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตรัสไว้ว่า คนที่ทอดกฐินทานครั้งหนึ่งก็ดี หรือ ร่วม ทอดกฐินก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันหมด ก็เข้านิพพานก่อนก็ได้

คำว่า กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลตามศัพท์ว่า "กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเข้าเย็บจีวรของภิกษุ" กรอบไม้ชนิดนี้ไทยเรา เรียกว่า "สะดึง" ฉะนั้น ที่เราเรียกว่า "ผ้ากฐิน" ก็เพราะเมื่อจะต้องเย็บขึงผ้าให้ตึงด้วยไม้สะดึงนั้นจึงเย็บ ในครั้งกระโน้น เมื่อช่างเย็บไม่ชำนาญในการเย็บจีวร จึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยขึงเป็นหลักก่อนแล้วจึงเย็บ เป็นอันได้ความว่า ผ้ากฐิน ก็คือผ้าที่สำเร็จขึ้นได้เพราะอาศัยกฐิน คือ ไม้สะดึง เมื่อสำเร็จเป็นผ้ากฐินแล้ว ก็นำไปทอด แก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ๓ เดือน เรียกว่า "ทอดกฐิน" คำว่า "ทอด" คือ วางไว้ ทอดกฐิน ก็คือ นำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจถวายแก่รูปใดรูปหนึ่ง แล้วแต่พระท่านจะมอบหมายให้กันเองโดยอนุมัติของพระสงฆ์นั้น

กำหนดการทอดกฐิน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 รวม 1 เดือน ในวัดหนึ่ง ๆ จะทอดกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น การทอดกฐินจึงเป็นกาลทาน คือทานที่ถวายได้เฉพาะในกาลที่กำหนดคือ ภายใน 1 เดือนหลังออกพรรษา



วัตถุประสงค์และความสำคัญของการทอดกฐิน

1. การทอดกฐินถือเป็นการทำบุญที่มีอานิสงส์ยิ่งกว่าการทำบุญอื่น ๆ เพราะหาโอกาสทำได้ยาก ไม่เหมือนกับการทำบุญอย่างอื่น จะทำเมื่อใดก็ได้
2.เป็นการอุปถัมภ์พระสงฆ์ให้มีเครื่องใช้ ของใช้สับเปลี่ยนจากของเดิมที่ใช้มาตลอดปี
3.เป็นการเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน ได้ทำบุญสร้างกุศลร่วมกัน เพื่อสืบต่อประเพณีทางพระพุทธศาสนาให้ต่อเนื่อง
เครื่องบริวารกฐิน ที่จะถวายร่วมกันผ้ากฐิน คือ เครื่องไทยธรรม อันประกอบด้วยสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์ในวัด



ประเภทของกฐิน

1. มหากฐิน คือกฐินที่มีการเตรียมตัวมากเป็นเวลาหลายวัน เช่นกฐินสามัคคี
2. จุลกฐิน คือกฐินเร่งด่วน ในสมัยพุทธกาลหมายถึงกฐินที่ภิกษุจะต้องกรอด้าย ทอ ตัดเย็บ ย้อมให้เสร็จภายในวันเดียว แต่ปัจจุบันหมายถึงมีการบอกกล่าวและทำพิธีทอดกฐินภายในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 1 - 2 วัน

การเรียกชื่อกฐิน ในประเทศไทยนิยมเรียกชื่อกฐินตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือ
1. กฐินหลวง คือกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมวงศานุวงศ์โปรดเกล้าฯนำไปทอดที่พระอารามหลวง
2. กฐินพระราชทาน คือกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้หน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน องค์กร หรือบุคคลต่าง ๆ นำไปทอดที่พระอารามหลวง
3. กฐินสามัคคี คือกฐินที่หน่วยงานหรือเอกชนนำไปทอดถวายที่วัดราษฎร์ และมีการบอกบุญเรี่ยไรบริจาคร่วมกันมากกว่า 1 คนขึ้นไป
4. กฐินต้น คือกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดเป็นการส่วนพระองค์ที่วัดราษฎร์


ระเบียบพิธีและขั้นตอนการทอดกฐิน มีดังนี้

1. การจองกฐิน คือ การแจ้งความประสงค์ที่จะนำกฐินไปทอดยังวัดที่ต้องการ
2. แจกใบฎีกาบอกบุญแก่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเพื่อร่วมในพิธีตามวันเวลาที่กำหนด
3. เตรียมเครื่องกฐินและบริวาร
4. ในวันทอดกฐินจะมีการเฉลิมฉลองล่วงหน้า 1 วัน มีมโหรสพสมโภชอย่างเอิกเกริก ในวันพิธีทอด เมื่อเจ้าภาพและพระสงฆ์พร้อมแล้ว เจ้าภาพกราบพระ อาราธนาศีล สมาทานศีล กล่าวคำถวายกฐิน แล้วนำผ้ากฐินไปวางไว้ด้านหน้าพระคู่สวด ประเคนผ้ากฐิน พระสงฆ์สวดอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร เป็นเสร็จพิธี




พระยืนบรรยายธรรม แสดงธรรมอยู่ หากผู้ฟังไม่ได้เจ็บป่วย นั่งฟังธรรม พระผู้แสดง

ธรรม ต้องอาบัติทุกกฎเพราะ อิริยาบถของผู้แสดงและผู้ฟังไม่เหมาะสม เพราะผู้ฟังอยู่

ในอิริยาบถที่สบายกว่า พระผู้แสดงธรรม ยืนแสดงกับคนที่นั่ง เท่ากับว่าไม่เคารพพระ

ธรรมของพระพุทธเจ้าครับ หากพระยืนแสดงธรรม ผู้ที่ฟัง ยืนฟังเหมือนกัน ไม่เป็นอาบัติ

ครับ เพราะอิริยาบถเสมอกัน แต่หากพระภิกษุนั่งแสดงธรรม ส่วนผู้ฟังนั่งฟังธรรม แต่ที่

นั่งของพระต่ำกว่าของผู้ฟัง พระผู้แสดงธรรม เป็นอาบัติทุกกฎ เพราะผู้แสดงธรรมนั่งต่ำ

กว่า แสดงธรรม เท่ากับว่าไม่เคารพพระธรรม เพราะพระธรรมเป็นของเลิศ ประเสริฐครับ

แต่ถ้าพระนั่งแสดงธรรม ผู้ฟังก็นั่งแต่ที่นั่งของผู้ฟังต่ำกว่า ไม่เป็นอาบัติในข้อนี้ และถ้า

พระภิกษุนั่งแสดงธรรม ผู้ฟังยืนฟังธรรมไม่เป็นอาบัติ เพราะอิริยาบถสมควร เพราะผู้

แสดงอยู่ในอิริยยาบถที่ดี สบายกว่านั่นเองครับ
ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ เช่น ท่านพระอุทายีได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงธรรม

แก่อุบาสิกาคนหนึ่ง อบุาสิกา ใส่รองเท้า นั่งอยู่ที่สูง มีผ้าคลุมศรึีษะ ท่านก็

บอกว่าเวลาจะมีน้องหญิง คือ ขณะนั้นไม่ใช่เวลาสมควร เพราะว่าตามพระวินัย

พระภิกษุจะไม่แสดงธรรมแก่ผู้ที่นั่งบนอาสนะที่กว่า จนกว่าจะทำให้ถูกต้องจึงจะ

แสดงธรรม
อนุสัยกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตไม่ปรากฏตัวออก

มา หรือเป็นกิเลสที่มีกำลังที่ยังละไม่ได้ จะละได้ด้วยปัญญระดับมรรคจิตครับ

อนุสัย มี 7 ประการคือ

๑. กามราคานุสัย หมายถึง โลภะ ความติดข้องในกาม

๒. ปฏิฆานุสัย หมายถึง โทสะ ความโกรธ

๓. ทิฏฐานุสัย หมายถึง ความเห็นผิด

๔. วิจิกิจฉานุสัย หมายถึง ความสงสัย

๕. มานานุสัย หมายถึง ความถือตัว ความสำคัญตัว

๖. ภวราคานุสัย หมายถึง โลภะ ความติดข้องในภพ

๗. อวิชชานุสัย. หมายถึง โมหะ ความไม่รู้

อาสวะกิเลส หมายถึง อกุศลธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพหมักหมมไว้ในขันธสันดาน

เหมือนกับสุราซึ่งเป็นเครื่องหมักดองที่เก็บไว้นานๆ มีอำนาจทำให้เมาและหลงใหล

ได้ อาสวะยังเป็นสภาพที่ไหลไป ไหลไปสู่ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทาง

กาย ทางใจ สามารถไหลไปได้จนถึงภวัคคพรหม เมื่อว่าโดยภูมิ แต่เมื่อว่าโดย

ธรรม ก็ไหลไปได้จนถึงโคตรภู ทำให้สังสารวัฏฏ์เจริญสืบต่อไป

อาสวะมี ๔ อย่าง คือ ...

๑. กามาสวะ เครื่องหมักดองคือความยินดีในกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับ

โลภมูลจิต ๘ ดวง

๒. ภวาสวะ เครื่องหมักดองคือความยินดีในภพ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับ

โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ๔ ดวง

๓. ทิฏฐาสวะ เครื่องหมักดองคือความเห็นผิด ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่เกิดโลภ

ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ดวง

๔. อวิชชาสวะ เครื่องหมักดวงคือความไม่รู้ ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศล

จิตทั้ง ๑๒ ดวง

ลักษณะของเมตตา คือ การคิดนำประโยชน์ หรือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข

ลักษณะของกรุณา คือ การคิดนำประโยชน์ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

จะเห็นความแตกต่างระหว่างเมตตา กับ กรุณานะครับว่า เมตตา คือ ความหวังดีที่จะ

นำประโยชน์ ช่วยเหลือ แม้คนนั้น สัตว์นั้นจะยังไมได้ประสบทุกข์อะไรเลย แม้สัตว์นั้น

จะมีความสุขอยู่แล้ว แต่ก็มีความหวังดี ให้เข้ามีความสุขเพิ่มขึ้น หรือ มีเมตตาที่จะช่วย

เหลือนำสิ่งดีๆมาให้มากขึ้น แม้ผู้นั้น สัตว์นั้นจะยังไม่ทุกข์อะไรเลยครับ แต่กรุณา คือ

การคิดนำประโยชน์เพื่อสัตว์อื่นนั้นพ้นทุกข์ ดังนั้นขณะใดที่สัตว์นั้นเป็นทุกข์เดือดร้อน

กรุณาเจตสิกเกิดขึ้น ด้วยจิตที่เป็นกุศล ต้องการให้เขาพ้นจากทุกข์นั้น เมตตาจึงมี

ลักษณะที่ไม่ได้มีทุกข์เลย ก็ปรารถนาให้มีความสุข แต่กรุณา เมื่อสัตว์นั้นพบกับทุกข์ จึง

เกิดกรุณา สงสารให้พ้นจากทุกข์ ดังนั้นการช่วยเหลือ อาจเกิดจากเมตตาก็ได้ หรือ

กรุณาก็ได้ครับ
ความเมตตา กับ กรุณา เป็นธรรมคนละประเภท กล่าวคือ เมตตา เป็นลักษณะ

ของความมีไมตรี มีความเป็นเพื่อน ความหวังดี ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่หวังร้าย

ต่อผู้อื่น ส่วน กรุณา เป็นธรรมฝ่ายดีอีกประเภทหนึ่ง หมายถึง ความสงสาร ประสงค์

จะช่วยบุคคลอื่นให้พ้นจากทุกข์ เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ได้รับความลำบากแล้วมีการ

ช่วยเหลือ ขณะนั้นเป็นกุศลจิต ที่ประกอบด้วยกรุณา ดังข้อความที่ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๕๒๙

ที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ธรรมนี้ มีในมิตร หรือว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร.

ธรรมที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำหทัยของสาธุชนทั้งหลายให้หวั่น

ไหว ในเพราะคนอื่นมีทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อม

บำบัด หรือย่อมเบียดเบียน(ซึ่งทุกข์ของผู้อื่น) คือ ย่อมยังทุกข์ของผู้อื่นให้พินาศไป.




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ



ขอเชิญร่วมทำบญเป็นเจ้าภาพเครื่องกัณฑ์กฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๕๔
โทรศัพท์ ๐๘-๕๐๓๗-๐๓๗๐ อีเมล์ maemoh1@hotmail.com

ร่วมทำบุญจัดซื้อเครื่องกัณฑ์มหากฐินฯ ไว้ในพระอุโบสถหลังใหม่ ได้ที่
ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่เมาะ
ชื่อบัญชี
สำนักสงฆ์ฉลองราชศรัทธาราม (ก่อสร้างพระอุโบสถ)
เลขที่บัญชี
๕๐๐-๐-๑๘๐๗๕-๕



ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินสามัคคีหลวงปู่คำเป็ง ร่วมสร้างวัดมะค่างาม กำแพงเพชร
(สำนักสงฆ์มะค่างาม)
หลวงปู่เป็งชโย ฐิติปัญโญ (หลวงปู่ครูบาคำเป็ง)
สร้างศาสนสถาน ศาลา โบสถ์ และกุฎิปฏิบัติธรรม
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554




ขอเชิญร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน


ถวาย ณ วัดสันป่าสัก (ศรีภูมินทร์) ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ซึ่งปี 2554 นี้ยังไม่มีเจ้าภาพถวายกฐินจึงแจ้งมายังผู้ใจบุญทานใด

อยากจะสืบสานพระพุทธศาสนา ทำบุญใหญ่เป็นเจ้าภาพทอดกฐินปีนี้

ติดต่อ พระครูธีรเดช
083 7663388
หรือร่วมทำบุญโดยโอนเข้าบัญชีท่านโดยตรงครับ
ชื่อบัญชี พระครูธรรมธร ธีรเดช ธนาคาร กรุงไทย เลขที่ 5150088765



ขอเชิญทอดผ้าป่าข้าวสารอาหารแห้ง ถวาย 52 วัดในกาญจนบุรี ศุกร์ 5 สิงหาคม 2554 เวลา 13.00 น.

--------------------------------------------------------------------------------

034531557




ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคีวัดถ้ำผาจม
โทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๘๙ ๙๖๙ ๓๕๓๓ ประธานดำเนินการสายกรุงเทพ
ภายในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔


ขอเชิญร่วมส่งแผ่นทองหล่อพระพุทธรูปเดือนสิงหาคม
เนื่องจากข้าพเจ้าได้ไปร่วมทำบุญหล่อพระอยู่เป็นประจำ
ขออาสาเป็นสะพานบุญให้ท่านและกัลยาณมิตรทั้งหลาย
ที่อยากส่งแผ่นทองเหลืองไปร่วมหล่อพระพุทธรูปไว้ตามสถานที่ต่างๆ
เป็นพุทธานุสติ
โดยท่านสามารถส่งแผ่นทองเหลืองมาก่อนงานวันหล่อได้ที่

สุทธิมา อภิสิงห์
5 ชอยแยกศิริพจน์ 81
ถ.สุขุมวิท แขวง สวนหลวง
เขต สวนหลวง
กรุงเทพ 10250


ทำบุญบูรณะวัดปรางค์หลวง นนทบุรี ซึ่งเกิดจากปัญหาน้ำท่วมขัง เสริมดวงหนุน แก้ดวงตก
สามารถร่วมทำบุญได้ที่

ชื่อบัญชี ณัฐวัชร์ ฉัตรทองกุล

ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัสบางแค ออมทรัพย์

หมายเลขบัญชี 070-007-6235




กฐินกตัญญู สร้างพระมหาธาตุเจดีย์วัดท้องคุ้ง วัดมอบวัตถุมงคลที่ระลึกให้
สอบถามเพิ่มเติม
พระพิศิษฐ์ วิสุทโธ เบอร์โทร.087-908-1788
พระครูอนุกูลสุตกิจ เบอร์โทร.082-332-846
คุณสุนทร เกิดทอง เบอร์โทร.02-330-1600






เชิญร่วมสมทบทุนในการบูรณะวัดและสร้างห้องน้ำ

วัดป่าวิสุทธิญาณเถราวาส (วัดป่ายาง) สาขาวัดเขาสุกิม บ.เมย ต.ดงลิง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

นี้เป็นเว็ป ที่ทางเรา สร้างขึ้นมา
สอบถามเพิ่มเติมโทร 081-8626204 , 086-3778782





"กฐินโจร ถวายพระธรรมจาริก 300กว่าอาศรมฯ"
แจ้งจองได้ที่ 084-1234 681





ร่วมบุญสร้าง พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถฯ พระพุทธรูปองค์ใหญ่สูง 32 เมตร
บัญชีชื่อ "วัดชนะสงครามเพื่อโครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไท​ย"
เลขที่บัญชี 020-269664-9 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์

สอบถามได้ที่ 027877099





ขอเชิญส่งแผ่นทองร่วมหล่อพระ 31 องค์
ผู้ที่ต้องการร่วมหล่อพระในครั้งนี้ เชิญส่งแผ่นทองมาร่วมได้ โดยเขียนชื่อ-นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด ระบุมาด้วยว่าต้องการที่จะร่วมหล่อพระองค์ใดบ้าง แล้วส่งมาได้ที่

วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 57180
โทร.085-614-3764 , 081-034-4309 แฟ็กซ์. 053-163-302


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO