นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อังคาร 14 พ.ค. 2024 1:03 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 30 พ.ค. 2011 4:41 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4557
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องภาระ เป็นต้น ดังนี้

-ภาระ คือ ขันธ์ ๕ (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณ-

ขันธ์) ซึ่งจะต้องบริหาร ให้เป็นไปอยู่ตลอดเวลา

-ผู้แบกภาระ คือ บุคคล (บุคคลเป็นเพียงสมมติ) เพราะมีการเกิดขึ้นเป็นไปของ

ธรรม คือ จิต เจตสิก และ รูป จึงมีการสมมติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ มีชื่ออย่างนี้ มีโคตร

อย่างนี้ในภพนี้ก็ยึดถือหรือแบกขันธ์ ๕ ในภพนี้ เมื่อละจากโลกนี้ไป เกิดในภพใหม่

ก็ยึดถือขันธ์ ๕ ในภพใหม่อีก


-การถือภาระ คือ ตัณหาที่ทำใ้ห้เกิดในภพใหม่ มีภาระคือขันธ์เกิดขึ้นเพราะมีตัณหา

-การวางภาระ คือ การที่ตัณหา ดับหมดสิ้นโดยไม่เหลือ ไม่ต้องมีเหตุให้เกิดอีกใน

สังสารวัฏฏ์.




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๒๗ หน้า ๕๘ - ๖๑


ภารวรรคที่ ๓

๑. ภารสูตร

(ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นภาระ)

[๔๙] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ การถือ

ภาระ และ การวางภาระ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าว, ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่า ภาระคือ อุปาทานขันธ์

๕, อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา

อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร และอุปาทานขันธ์ คือ

วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ เรียกว่า ภาระ.

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน? พึงกล่าวว่า บุคคล,

บุคคลนี้นั้น คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

ผู้แบกภาระ.

[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การถือภาระ เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิด

ภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่ง

ในภพหรืออารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือภาระ.

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน ? ความที่ตัณหานั่นแล

ดับไปด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการวางภาระ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณภาษิต (ร้อย

แก้ว,ความเรียงธรรมดา) นี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ในภาย

หลัง ว่า

[๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระ

คือบุคคล การถือภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์

ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข บุคคลวาง

ภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหา

พร้อมทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.

จบ ภารสูตรที่ ๑
อรรถกถาภารสูตรที่ ๑

ในภารสูตรที่ ๑ แห่งภารวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .-

บทว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธาติสฺส วจนียํ ตัดบทเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา อิติ

อสฺส วจนียํ ความว่า เป็นข้อที่จะพึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภาโร

ความว่าอุปาทานขันธ์ ๕ ท่านกล่าวว่าเป็นภาระ. ถามว่า ด้วยอรรถว่ากระไร? แก้ว่า

ด้วยอรรถว่าเป็นภาระที่จะต้องบริหาร. จริงอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น จำต้อง

บริหารด้วยการให้ยืน ให้เดิน ให้นั่ง ให้นอน ให้อาบน้ำแต่งตัว ให้เคี้ยว ให้กิน เป็นต้น

จึงชื่อว่าเป็นภาระ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภาระ เพราะอรรถว่าเป็นภาระจะ

ต้องบริหาร.

บทว่า เอวํนาโม ได้แก่ มีชื่อเป็นต้น ว่า ติสสะ ว่า ทัตตะ. บทว่า

เอวํโคตฺโต ได้แก่ มีโคตรเป็นต้นว่า กัจจายนโคตร วัจฉายนโคตร ดังนั้น

ทรงแสดงบุคคลที่สำเร็จเพียงโวหาร ให้ชื่อว่า ภารหาระ (ผู้แบกภาระ) จริงอยู่

บุคคล ยกขันธภาระขึ้นในขณะปฏิสนธินั้นเอง แล้วให้ขันธ์นี้ อาบ บริโภค นั่ง

นอน บนเตียงและตั่งที่อ่อนนุ่มแล้วบริหาร ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๑๐๐

ปีบ้าง จนตลอดชีวิตแล้วทิ้งไปในจุติขณะ ยึดเอาขันธ์อื่น ในปฏิสนธิขณะอีก

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้แบกภาระ.

บทว่า โปโนพฺภวิกา ได้แก่ที่เกิดในภพใหม่. บทว่า นนฺทิราคสหคตา

ได้แก่ ถึงความเป็นอันเดียวกันกับนันทิราคะนั่นเอง ในที่นี้ท่านประสงค์ว่าเกิดพร้อม

กับความเป็นนันทิราคะนั้น.บทว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี ได้แก่ มีปกติยินดีในที่เกิดหรือ

ในอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นๆ. ในกามตัณหา เป็นต้น มีคำอธิบายว่า ความยินดีอัน

เป็นไปในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา, ความยินดี ในรูปภพและอรูปภพ ความติด

อยู่ในฌาน ความยินดีที่เกิดพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ นี้ชื่อว่า ภวตัณหา ความยินดีที่

เกิดพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. บทว่า ภาราทานํ ได้แก่ การถือภาระ.

จริงอยู่ บุคคลนี้ ย่อมถือภาระด้วยตัณหา.

บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนิพพานนั้นเอง.

จริงอยู่ ตัณหา มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมคลายความยินดี ย่อมดับ ย่อมละ

ขาด ย่อมสละคืน ย่อมหลุดพ้น โดยไม่มีส่วนเหลือ ก็ในพระนิพพานนี้ไม่มีอาลัย

คือกาม หรืออาลัยคือทิฏฐิ ฉะนั้น พระนิพพานจึงได้ชื่อเหล่านี้. บทว่า สมูลํ

ตณฺหํ ความว่า อวิชชา ชื่อว่า เป็นมูลของตัณหา. บทว่า อพฺพุยฺห ได้แก่ ถอนตัณหา

นั้นพร้อมทั้งราก ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ความว่า ผู้ออก

จากตัณหา จะเรียกว่า ผู้ปรินิพพานแล้ว ก็ควรแล.

จบ อรรถกถาภารสูตรที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 67

๘. อภินันทนสูตร

ว่าด้วยผลแห่งความเพลิดเพลินและไม่เพลิดเพลินในขันธ์ ๕

[๖๔] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผู้ใดเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์

เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ

สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใด

เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่า

ไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นพ้นไป

จากทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ

วิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา

กล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ได้.

จบ อภินันทนสูตรที่ ๘





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย ฟังธรรม
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO