นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อังคาร 07 พ.ค. 2024 12:56 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ขอน้อมนบ
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 19 ส.ค. 2010 7:39 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4550
ตามหลักพระวินัยมีว่า พระภิกษุสะสมอาหารไม่ได้ เมื่อรับวันนี้ก็ฉันได้เพียงวันนี้

ไม่เกินเที่ยงวัน จะเก็บไว้ฉันวันต่อไปไม่ได้ วันต่อไปก็ต้องไปแสวงหาอาหารอีก

ฝนจะตกหรือไม่ตกก็ต้องไป เว้นไว้แต่มีผู้นิมนต์ไว้ เพราะการดำรงชีวิตจะต้องมี

อาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย อนึ่งขณะที่ฝนตกท่านไปเที่ยวบิณฑบาต โดยกลาง

ร่ม เพื่อป้องกันจีวรเปียก ย่อมไม่ผิดพระวินัยครับ


ข้อวัตรในการเที่ยวบิณฑบาตที่เป็นไปตามพระวินัย พระภิกษุเดินไปตามลำดับ

เมื่อถึงบ้านควรยืนนิ่งสักพักหนึ่งเพื่อให้เขาเห็น ไม่ใช้เสียงใดๆ ถ้าเขานิมนต์ก็

รอ ถ้าเขาไม่นิมนต์ก็เดินต่อไป การส่งเสียงด้วยวิธีใดๆ ไม่สมควรทั้งนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

[๔๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า

จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประ

คดเอวห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย

ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละ

แวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า

หัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป

ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน

อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง

ไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่า

รีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืน

นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่

ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้ง

ไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วย

มือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ

ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง

หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย

คิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน

แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน

พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิก

ผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปใน

ละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวก

บ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึง

คลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดกลับ

บิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้น พึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุใด

กลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน

ถ้าไม้จำนงก็พึงเททิ้ง ในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัว

สัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึง

ล้างภาชนะรองของฉัน เก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน ภิกษุ

ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไป

ตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่

ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร..



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๓๗ - หน้าที่ ๔๙๕ - ๔๙๘



๑๐. สัพพลหุสสูตร

(ว่าด้วยผลแห่งปาณาติบาต เป็นต้น)



[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย

วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มา

เกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มาก

แล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบาก

แห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็น

มนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย

วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็น

มนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่ง

มุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็น

มนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณา-

วาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุส-

วาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัป-

ปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย

วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มา

เกิดเป็นมนุษย์.

จบ สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐



สัพพลุหุสสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.-

บทว่า ปาณาติปาโต ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุทำสัตว์มีปราณให้ล่วงไป.

บทว่า สพฺพลหุโส แปลว่า เพลากว่าวิบากทั้งหมด. บทว่า อปฺปายุกสํวตฺตนิโก

ความว่า เป็นผู้มีอายุน้อยเพราะกรรมวิบากนิดหน่อยนั้น หรือเมื่อพอให้ปฏิสนธิ สัตว์

ที่อยู่ในท้องมารดา หรือ สัตว์ผู้พอออกจากท้องมารดาแล้ว ย่อมย่อยยับ, ความจริง

วิบากเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นวิบากเครื่องไหลออกจากกรรมอะไร ๆ อื่น นี้เป็นทางไป

เฉพาะปาณาติบาตเท่านั้น.

บทว่า โภคพฺยสนสํวตฺตนิโก ความว่า ทรัพย์เพียงกากนิกหนึ่ง ไม่ตั้งอยู่ในมือโดย

ประการใด อทินนาทานย่อมยังความวอดวายแห่งโภคสมบัติให้เป็นไปโดยประการนั้น.

บทว่า สปตฺตเวรสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมสร้างเวรพร้อมกับศัตรู. จริงอยู่

ผู้นั้นมีศัตรูมาก อนึ่ง ผู้ใดเห็นเขาเข้าย่อมยังเวรให้เกิดในผู้นั้น ไม่ดับไป ด้วยว่า

วิบากเห็นปานนี้ เป็นวิบากเครื่องไหลออกแห่งความผิดในภัณฑะของคนอื่นที่เขารักษา

คุ้มครองไว้.

บทว่า อภตพฺภกฺขานสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ทำการกล่าวตู่ด้วยเรื่องที่ไม่เป็น

จริงให้เป็นไป. กรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดทำแล้ว ย่อมไปตกบนกระหม่อมของผู้นั้นนั่นแล.

บทว่า มิตฺเตหิ เภทนสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังความแตกจากมิตรให้เป็นไป

เขาทำบุคคลใด ๆ ให้เป็นมิตร บุคคลนั้น ๆ ย่อมแตกไป.

บทว่า อมนาปสทฺทสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังเสียงที่ไม่พอใจให้เป็นไป วาจา

ใด ๆ เป็นคำเสียดแทงหยาบคาย เผ็ดร้อน ขัดข้อง ตัดเสียซึ่งความรัก เขาได้ฟัง

แต่วาจานั้นเท่านั้นในที่ ๆ ไปแล้วไปเล่า หาได้ฟังเสียงที่น่าชอบใจไม่ เพราะวิบาก

เห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งผรุสวาจา.

บทว่า อนาเทยฺยวาจาสํวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังคำที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นไป

ถึงความเป็นผู้ที่จะถูกค้านว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงพูด ใครจะเชื่อคำท่าน นี้ชื่อ

ว่าเป็นทางไปแห่งสัมผัปปลาปะ.

บทว่า อมฺมตฺตกสํวตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไป จริงอยู่

มนุษย์เป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่าน หรือเป็นใบ้ เพราะการดื่มสุรานั้น นี้เป็นวิบากเครื่องไหล

ออกแห่งสุราปานะ.

สูตรนี้ตรัสเฉพาะวัฏฏะเท่านั้นแล.



จบ อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐.



ข้อความโดยสรุป

สัพพลหุสสูตร

(ว่าด้วยผลแห่งการฆ่าสัตว์ เป็นต้น)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลของปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เป็นต้น ดังต่อไปนี้

๑. ผลของการฆ่าสัตว์ ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น, อย่างเบาที่สุด ทำให้

เป็นคนมีอายุสั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๒. ผลของการลักทรัพย์ ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น, อย่างเบาที่สุด ทำให้

เสื่อมโภคะ เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๓. ผลของการประพฤติผิดในกาม ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น, อย่างเบาที่สุด

ทำให้เป็นผู้มีศัตรูและเวร เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๔. ผลของการพูดเท็จ ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น,อย่างเบาที่สุด ทำให้ได้รับ

การกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริง เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๕. ผลของการพูดส่อเสียด ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น,อย่างเบาที่สุด ทำให้

แตกจากมิตร เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๖. ผลของการพูดคำหยาบ ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น,อย่างเบาที่สุด ทำให้ได้

ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๗. ผลของการเพ้อเจ้อ ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น, อย่างเบาที่สุด ทำให้พูด

อะไรก็ไม่มีคนเชื่อถือ เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๘. ผลของการดื่มสุรา ทำให้เกิดในอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น (ในกรณีที่กระทำ

อกุศลกรรมบถ), อย่างเบาที่สุด ทำให้เป็นบ้า ใบ้ วิกลจริต เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์




ข้อความที่ว่าการฆ่ายุง 1 ตัว ทำให้ผู้ฆ่าต้องเกิดเป็นยุงให้เขาฆ่า 500 ชาติ ข้อความนี้

ยังไม่พบในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ผลของปาณาติบาตโปรดอ่านข้อความโดยตรง

ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 495


๑๐. สัพพลหุสสูตร

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย

วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุ

น้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 172

หม่อมฉันนั้น ตัดศีรษะแม่แพะตัวเดียว ไหม้ในนรก

ด้วยเศษผลแห่งกรรม จึงได้ถูกตัดศีรษะด้วยการนับขนแม่แพะนั้น;

พระองค์สำเร็จโทษชน มีประมาณเท่านี้ เมื่อไรจักพ้นจากทุกข์

หม่อมฉันระลึกถึงทุกข์อันใหญ่ของพระองค์ดังนี้ อย่างนั้นจึงร้องไห้"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" หม่อมฉันตัดคอแม่แพะตัวเดียว ไหม้อยู่แล้ว ( ในนรก ) ด้วยการ

นับขน( แพะ ), ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์ตัดคอของ

มนุษย์เป็นอันมาก จักกระทำอย่างไร ?"


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 58


นางจับสุนัขนั้นอย่างมั่นที่คอแล้ว จึงเอาปลายเชือกข้างหนึ่งผูกกระออมไว้

เอาปลายเชือกอีกข้างหนึ่งผูกที่คอสุนัข ผลักกระออมให้กลิ้งลงน้ำ.

สุนัขตามกระออมไปตกลงน้ำ ก็ได้ทำกาละในน้ำนั้นเอง.

นางนั้นไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เพราะวิบากของกรรมนั้น

ด้วยวิบากที่เหลือจึงถูกเขาเอากระออมเต็มด้วยทรายผูกคอถ่วงลงในน้ำ

ได้ทำกาละแล้วตลอด ๑๐๐ อัตภาพ."




พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร บุคคลเมื่อคัดค้านพระ

อภิธรรม ชื่อว่า
ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้

ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ

ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา

ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง

ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค

จักปรากฏในเภทกรวัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควร

แก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรม ตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควร

ส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคนกินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้






เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ศึกษาธรรม
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
ถวายพระธาตุให้แก่พระคุณเจ้าและผู้ปฏิบัติธรรมทั่วจังหวัด 100 กว่า ชุด

ไปปิดทองคำเปลวที่หน้าพระเจดีย์ธาตุเป็นประจำ ถวายดอกไม้บูชาหน้าพระเจดีย์ธาตุ เดินปะทักษิณเจริญวิปัสสนา รอบเจดีย์พระธาตุแบบมีสติ

ช่วยชีวิตสัตว์และที่ผ่านมาไปปล่อยปลาและหอยจำนวนหลายชีวิตกับเพื่อน

และร่วมทำบุญโดยรวบรวมไว้เพื่อทอดกฐินหลังออกพรรษา

และทำบุญสร้างสถานที่อ่านหนังสือที่วัด และได้สนทนาธรรม

ร่วมบุญถวายดอกไม้บูชาพระ เติมน้ำมันตะเกียง ไหว้พระพุทธชินราช หลวงปู่ทวด พระอุปคุต และเพื่อนๆและผมจะช่วยกันจัดเตรียมงานการกุศล

ที่จะมขึ้นในต้นเดือนกันยายน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมบุญใหญ่สร้างซุ้มครอบพระเจ้าทันใจ ให้เสร็จก่อน 13 ก.ย.

โทร.089 - 7554556


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO