นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 4:21 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ความเพลิดเพลิน
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 28 พ.ค. 2010 10:26 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4548
คำว่า "อโคจร" หมายถึง สถานที่ที่ไม่ควรเที่ยวไป ในอรรถกถาท่านอธิบายเกี่ยวกับ

บรรพชิตโดยตรง คือเมื่อไปสถานที่ที่ไม่ควรไปจะทำให้เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์

และทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา หญิงหม้าย โรงมหรสพ

โรงสุรา หรือตามห้าง เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคท่านอธิบายไว้โดยละเอียดขอเชิญอ่าน

ข้อความโดยตรง

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 37

[ โคจร อโคจร ]

คำว่า โคจร มีนิเทศว่า โคจร ก็มี อโคจร ก็มี ใน ๒ อย่าง

นั้น อโคจรเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ก็เป็นผู้หญิงมีแพศยา

เป็นโคจร หรือมีหญิงหม้าย สาวเทื้อ บัณเฑาะก์ ภิกษุณี และ

โรงสุราเป็นโคจร เป็นผู้คลุกคลีอยู่กับพระราชา กับมหาอำมาตย์

กับเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์กับคฤหัสถ์อย่างไม่สมควร ก็หรือว่าย่อม

เสพ ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่ไม่มีศรัทธา ไม่

เลื่อมใส ที่ด่าว่าเอา ที่มุ่งสิ่งอันไม่มีประโยชน์ (ให้) มุ่งสิ่งที่ไม่

เกื้อกูล (ให้) มุ่ความไม่ผาสุก (ให้) มุ่งความไม่เกษมจากโยคะ

(ให้) แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้เรียกว่าอโคจร.

ใน ๒ อย่างนั้น โคจรเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ไม่

เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ฯ ล ฯ ไม่เป็นผู้มีโรงสุราเป็นโคจร ไม่

คลุกคลีอยู่กับพระราชา ฯ ล ฯ กับสาวกของเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์

กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ก็หรือว่าย่อมเสพ ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้

ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น (ดุจ) บ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วย

ผ้ากาสาวพัสตร์ มีกลิ่นอายฤษีเข้าออก มุ่งประโยชน์ (ให้) ฯ ล ฯ มุ่ง

ธรรมที่เกษมจากโยคะ (ให้) แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

นี้เรียกว่าโคจร

ธรรมเป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยากไปก็ได้ไป มีเหตุปัจจัยก็ไปในที่

อโคจรแต่การอบรมปัญญา เป็นการรู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ไม่ว่าที่ไหนปัญญาก็สามารถเกิดขึ้นได้เพราะมีสภาพธรรมให้รู้ หากไปแล้วมีธรรมที่มี

จริงให้รู้ไหม ธรรมทั้งหลายที่มีจริงนี่แหละครับ เป็นที่ที่สติสามารถรู้เป็นโคจรของสติ

สติปัฏฐานสามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราได้ เป็น

โคจรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า อุปนิพันธโคจร คือ สิ่งที่ผูกไว้เป็นที่เที่ยวไปของภิกษุคือ

สติปัฏฐาน 4 นั่นเองครับ ซึ่งสามารถอบรมได้ในทุกสถานที่เพราะธรรมมีอยู่แล้วใน

ชีวิตประจำวัน สติปัฏฐานจึงเป็นโคจรของภิกษุ(อุปนิพันธโคจร)

พระนาคเสนกล่าวในตอนหนึ่งว่า พึงถือองค์ ๓ แห่งงู

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ ๓ ประการ

แห่งงู เป็นไฉน"

พระนาคเสนทูลว่า "ขอถวายพระพร งูย่อมเลื้อยไปด้วยอก ฉันใด, โยคาวจรผู้

ประกอบความเพียร ก็ต้องเที่ยวอยู่ด้วยปัญญา เมื่อโยคาวรจรเที่ยวอยู่ด้วยปัญญา จิตก็

เที่ยวอยู่ในมรรคาอันนำออกไปจากภพ เว้นสิ่งที่ไม่มีเครื่องหมายเสีย ยังสิ่งที่มีเครื่อง

หมาย (ไตรลักษณญาณ) ให้เจริญ ฉันนั้น นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ต้นแห่งงู.

อนึ่ง งูเมื่อเที่ยวไป เว้นยาเสีย (หลีกเหลี่ยงไปให้พ้นต้นยา) เที่ยวไปอยู่ ฉันใด,

โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเว้นทุจริตเสียเที่ยวอยู่ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอา

องค์ที่สองแห่งงู.

อนึ่ง งูเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเดือดร้อน เศร้าโศก เสียใจ ฉันใด, โยคาวจรผู้

ประกอบความเพียร ตรึกถึงความตรึกอันชั่วแล้ว ยังความไม่ยินดีให้เกิดขึ้นแล้วก็ต้อง

เดือดร้อน เ ศร้าโศกเสียใจว่า วันแห่งเราเป็นไปล่วงแล้วด้วยความประมาท วันที่เป็น

ไปล่วงแล้วนั้น เราไม่อาจได้อีก, ฉะนี้ ฉันนั้น พึงถือเอาองค์สามแห่งงู

ธรรมะเปรียบเทียบข้างต้นเป็นเรื่องของการไม่ประมาท และเจริญสติอยู่ทุกเมื่อ

เลยครับ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด ไม่ว่าที่นั้นจะเป็นอย่างไร จะดีหรือไม่ดี เมื่อไปแล้ว อยู่แล้ว

เป็นสิ่งที่หลึกเหลี่ยงไม่ได้ แต่หาก ณ. ขณะนั้นมีธรรมะดังองค์แห่งงูแล้ว ย่อมเดินอยู่บน

ทางแห่งความหลุดพ้น ไม่ได้หลุดไปทางอื่นนะครับ



จะขออธิบายว่า สังขารในปฎิจจสมุปปาทมี ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร ๑ อปุญญาภิสังขาร ๑

อเนญชาภิสังขาร ๑

ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกามาวจรกุศลจิต และ

รูปาวจรกุศลจิต

อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต

อเนญชาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับอรูปณานกุศลจิตซึ่ง

เป็นกุศลที่มั่นคงไม่หวั่นไหว





พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

[๒๕๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร

วจีสังขาร จิตตสังขาร


ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?

กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-

ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?

อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน ?

กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น กายสังขาร เป็นไฉน ?

กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโน-

สัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร

เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ? ปุญญาภิสังขาร ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะอรรถว่า ย่อมชำระ

กรรมอันเป็นการทำของตน คือ ย่อมยังอัชฌาศัยของผู้กระทำตนนั้นให้บริบูรณ์

และยังภพอันน่าบูชาให้เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อม

ปรุงแต่งวิบาก และกฏัตตารูป. อภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) คือ บุญ

ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. สภาพที่ชื่อว่า อปุญฺโญ (อบุญ) เพราะเป็น

ปฏิปักษ์ต่อบุญ. อภิสังขารคืออบุญ ชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร. ที่ชื่อว่า

อาเนญชะ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร

เพราะอรรถว่า อภิสังขารคืออาเนญชะ (ความไม่หวั่นไหว) และสภาพที่ปรุงแต่ง

ภพอันไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า เป็นสังขาร

(การปรุงแต่ง) อันกายให้เป็นไป หรือเพราะกาย หรือเป็นไปแก่กาย แม้ใน

วจีสังขารและจิตสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในสังขารเหล่านั้น สังขาร ๓ แรก ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่ง

ปริวิมังสนสูตร จริงอยู่ ในสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า หากว่า

บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขาร (สภาพปรุงแต่ง) ที่เป็นบุญ วิญญาณก็เข้า

ถึงความเป็นบุญ หากว่า บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นอบุญ วิญญาณก็

เข้าถึงความเป็นอบุญ (บาป) หากว่า บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นอาเนญ

ชะ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอาเนญชะ ดังนี้. สังขาร ๓ ที่สอง ทรงถือเอา

ด้วยอำนาจแห่งวิภังคสูตรอันเป็นลำดับแห่งปริวิมังสนสูตรนั้น แม้กล่าวว่าทรง

ถือเอาโดยปริยายแห่งสัมมาทิฏฐิสูตร ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. เพราะในวิภังค-

สูตรนั้น ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ เหล่านี้ สังขาร ๓ เป็น

ไฉน ? กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาสังขารเหล่านั้นด้วยอำนาจแห่ง

สูตรเหล่านั้นเล่า.

ตอบว่า เพื่อแสดงบทนี้ว่า ธรรมดาพระอภิธรรมนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามิได้ทรงกระทำไว้ในบัดนี้ พวกฤาษีภายนอก หรือพวก

พระสาวก หรือพวกเทวดามิได้ภาษิตไว้ ก็พระอภิธรรมนี้เป็นภาษิต

ของพระชินเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูพุทธะ เพราะในพระอภิธรรมก็ดี

ในพระสูตรก็ดี เป็นพระบาลีแบบแผนที่ยกขึ้นแสดงออกเป็นเช่น

เดียวกันทั้งนั้น ดังนี้.

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสังขารเหล่านั้น โดยชนิดต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

คติถ กตโม ปุญฺญาภิสํขาโร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน ?

ในพระบาลีนั้น แม้เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ ตรัสโดยไม่กำหนด

ไว้ว่า เจตนาที่เป็นกุศล แต่เพราะทรงกำหนดว่า กามาวจร รูปาวจร

ดังนี้ เจตนา ๑๓ ดวง คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ ดวง และรูปาวจรกุศล-

เจตนา ๕ ดวง ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. ด้วยบททั้งหลายว่า ทานมยา

(ทานมัย) เป็นต้น ทรงแสดงความเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุแห่ง

เจตนาเหล่านั้นนั่นเอง.

ในพระบาลีนั้น เจตนา ๘ ดวงเป็นกามาพจรย่อมสำเร็จด้วยทานและ

ศีลเท่านั้น แต่เจตนาแม้ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา เปรียบเหมือนบุคคล

สาธยายธรรมคล่องแคล่ว ย่อมไม่รู้ซึ่งธรรมที่เป็นไปแม้สนธิหนึ่ง แม้สนธิ

สอง เมื่อนึกถึงจึงรู้ในภายหลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรกระทำกสิณบริกรรม

พิจารณาฌานที่เกิดคล่องแคล่ว และเมื่อมนสิการกรรมฐานที่ชำนาญก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เจตนาแม้ปราศจากญาณ ก็ย่อมสำเร็จเป็นภาวนา ด้วยเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนาแม้ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

ในเทศนานั้น เทศนานี้เป็นเทศนาโดยย่อในบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น

ว่า เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น

ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน เจตนา

ความตั้งใจ ความคิด ปรารภศีล ฯลฯ ปรารภภาวนาทำภาวนาให้เป็นใหญ่

อันใด นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

ส่วนกถานี้เป็นกถาโดยพิสดารว่า บรรดาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือ

บรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น หรือทานวัตถุ ๑๐ มีการให้ข้าวเป็นต้น

เจตนาของบุคุคลผู้ให้วัตถุนั้น ๆ ที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือ ในบุรพภาค (ส่วน

เบื้องต้น ) จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งของนั้น ๆ ๑ ในเวลาบริจาค ๒ ในการ

ระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในภายหลัง ๑ ชื่อว่า ทานมัย. ส่วนเจตนาที่เป็นไป

แก่บุคคลผู้ไปสู่วิหารผู้ตั้งใจว่า เราจักบวชเพื่อบำเพ็ญศีล ดังนี้ บวชแล้วยัง

มโนรถให้ถึงที่สุดแล้ว รำพึงอยู่ว่า เราบวชแล้วเป็นการดีหนอ ๆ ดังนี้

สำรวมพระปาฏิโมกข์ พิจารณาอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ระวังอยู่ซึ่ง

จักขุทวารเป็นต้นในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลอง และชำระอาชีวะให้หมด

จดอยู่ ชื่อว่า ศีลมัย. เจตนาที่เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้เจริญอยู่ซึ่งจักษุ

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญรูปทั้งหลาย ฯลฯ

เจริญธรรมทั้งหลาย เจริญจักขุวิญญาณ ฯลฯ เจริญมโนวิญญาณ เจริญจักขุ

สัมผัส ฯลฯ เจริญมโนสัมผัส เจริญจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญมโน

สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญรูปสัญญา ฯลฯ เจริญชรามรณะ โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยทางแห่งวิปัสสนาที่กล่าวไว้ในปฏิสัม-

ภิทามรรค ชื่อว่า ภาวนามัย ดังนี้.


ว่าด้วยอปุญญาภิสังขาร

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอปุญญาภิสังขาร ต่อไป

บทว่า อกุสลา เจตนา (อกุศลเจตนา) ได้แก่ เจตนาสัมปยุตด้วย

อกุศลจิต ๑๒ ดวง. บทว่า กามาวจรา (เป็นกามาพจร) ความว่า บรรดา

อกุศลเจตนา ๑๒ ดวงเหล่านั้น เว้นเจตนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง ที่เหลือ

ย่อมเกิดขึ้นแม้ในรูปภพและอรูปภพ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ชักปฏิสนธิมาใน

รูปภพและอรูปภพนั้น ย่อมยังวิบากให้ท่องเที่ยวไปในกามาวจร ด้วยอำนาจ

ปฏิสนธินั่นแหล่ะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นกามาพจรเท่านั้น ดังนี้.



ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขาร

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอาเนญชาภิสังขาร ต่อไป

บทว่า กุสลา เจตนา อรูปาวจรา (กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร)

ได้แก่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ๔ จริงอยู่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ๔

เหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว

และเพราะอรรถว่า ปรุงแต่งความไม่หวั่นไหว ด้วยว่าธรรม ๑๕ คือ เจตนา

ที่เป็นกุศล วิบาก กิริยาที่เกิดแต่จตุตถฌานที่เป็นรูปาวจร ๓ ดวง เจตนาที่เป็น

อรูปาวจร ๑๒ ดวง ชื่อว่า อาเนญชา เพราะอรรถว่า มั่นคง เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหว. บรรดาเจตนา ๑๕ เหล่านั้น รูปาวจรกุศลเจตนา แม้เป็นสภาพ

ไม่หวั่นไหว แต่ก็ให้เกิดรูปและอรูปที่เหมือนกับตนบ้าง ไม่เหมือนกับตนบ้าง

ให้มีความหวั่นไหวบ้าง ไม่มีความหวั่นไหวบ้าง เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า

อาเนญชาภิสังขาร ส่วนรูปาวจรวิบากเจตนาและรูปาวจรกิริยาเจตนา ย่อม

ปรุงแต่งวิบากไม่ได้ เพราะไม่มีวิบาก จึงชื่อว่า เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้

เจตนาที่เป็นอรูปาวจรวิบากและกิริยา ก็เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้ง ๑๑ ดวง จึงเป็น อาเนญชา (ความไม่

หวั่นไหว) เท่านั้น ไม่เป็นอภิสังขาร. แต่อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ ดวง

เท่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อมให้เกิดอรูป

อันไม่หวั่นไหวเช่นกับตน เหมือนเงาของสัตว์มีช้างม้าเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับ

สัตว์มีช้างม้าเป็นต้น ฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด คือ กามาวจรกุศลเจตนา

๓ ดวง ด้วยอำนาจแห่งปุญญาภิสังขาร อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง ด้วยอำนาจ

แห่งอปุญญาภิสังขาร อรูปกุศลเจตนา ๔ ดวง ด้วยอำนาจอาเนญชาภิสังขาร

ประมวลมาเป็นเจตนา ๒๙ ดวง ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดเจตนา ที่เป็นกุศลและอกุศลที่เกิดขึ้นแก่

เหล่าสัตว์หาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันประมาณมิได้ ด้วยพระสรรพัญญุต-

ญาณ ทรงแสดงเจตนาไว้ ๒๙ ดวงเท่านั้น เหมือนทรงชั่งอยู่ด้วยคันชั่งอัน

ใหญ่ และเหมือนทรงตวงใส่ไว้ในทะนานนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

อภิสังขาร ๓

๑. ปัญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือ บุญ

๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือ บาป

๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขาร คือ อเนญชา.

คำว่า ตโย สงฺขารา มีคำนิยามว่า ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงขึ้น

คือทำให้เป็นกลุ่มขึ้น ซึ่งธรรมที่เกิดร่วมกัน และธรรมที่มีผลในกาลต่อไป.

ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง. อภิสังขารคือบุญ ชื่อว่า

ปุญญาภิสังขาร.

คำว่า ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นชื่อของมหาจิตเจตนา อันเป็น

กามาวจรกุศล ๘ ดวง และเจตนาอันเป็นรูปาวจรกุศล ๕ ดวง ที่ท่านกล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า " บรรดาอภิสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ กุศล

เจตนา เป็นกามาวจร รูปาวจร สำเร็จด้วยทาน สำเร็จด้วยศีล สำเร็จ

ด้วยภาวนา". บรรดาเจตนาเหล่านั้น เฉพาะเจตนา ๘ ดวง สำเร็จด้วย

ทาน สำเร็จด้วยศีล . ทั้ง ๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา.

ฯลฯ

อภิสังขารนั้นด้วย มิใช่บุญ (เป็นบาป) ด้วย

ดังนั้น จึงชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร ( อภิสังขารอันเป็นบาป ). คำว่า

อปุญญาภิสังขารนี้เป็นชื่อของเจตนา ที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต. สมดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า "บรรดาอภิวังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ

อกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร". ที่ชื่อว่า

อาเนญชาภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง ซึ่งอรูปนั่นเองที่เป็นวิบาก ไม่

หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน สงบ. คำว่า อาเนญชาติสังขารนี้ เป็นชื่อของ

กุศลเจตนาอันเป็นอรูปาวจร ๔ ดวง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า " บรรดา

อภิสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขารคืออะไร คือกุศลเจตนา อันเป็น

อรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร".




เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่ จำนวนกว่า หลายสิบชุด
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทางและผู้ไปทำบุญที่วัด กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ศึกษาการรักษาโรค
ฟังธรรมศึกษาธรรม
และคุณแม่กับผมได้ปฏิบัติธรรมทุกวัน
วันนี้ได้สวดมนต์เป็นชั่วโมงที่วัดเนื่องในวันวิสาขบูชา และ
มีผู้มาทำบุญที่วัดและสวดมนต์หลายท่าน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมบริจาคสร้างหอฉัน วัดเจดีย์แดง จ.อยุธยา
โทร.081-9471228

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO