นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 3:50 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ชวนจิต
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 19 พ.ค. 2010 11:25 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4548
ตามหลักคำสอนเมื่อกล่าวถึงผลของกรรม หมายถึงวิบากจิตและกัมมชรูป จิตประเภท

อื่นๆ คือ ขณะที่เป็นอกุศล ขณะที่เป็นกุศล และกิริยา ไม่ใช่ผลของกรรม ดังนั้น

ตามคำถาม คนเกลียดชังกัน ไม่ใช่ผลของกรรม ขณะที่เราไม่สบายใจ ก็ไม่ใช่ผลของ

กรรมไม่ใช่วิบาก เป็นความคิด ส่วนจิตที่เห็น จิตได้ยิน เป็นผลของกรรม ถ้าเห็น ได้ยิน

ในสิ่งที่ไม่ดี เป็นผลของอกุศลกรรม ถ้าเห็นได้ยินในสิ่งที่ดี เป็นผลของกุศลกรรมครับ

ข้อความตอนหนึ่งจากอนนุโสจิยชาดกมีว่า

เมื่อวัยเสื่อมไปอย่างนั้นหนอ ในตน

ซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ ต้องมีความ

พลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัยหมู่สัตว์

ที่ยังเหลืออยู่ ควรมีเมตตาเอ็นดูกัน ส่วนที่

ตายไปแล้ว ไม่ควรจะต้องเศร้าโศกถึง.

ทุก ๆ คนกำลังเดินทางอยู่ จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้า เมื่อไรที่สิ้นสุดการเดินทางของ

ชาตินี้ ก็เพราะกรรมใดกรรมหนึ่งในอดีตให้ผลตายจากชาตินี้ไปปฏิสนธิในภพใหม่ชาติ

ใหม่...... จากชาติใหม่ไปสู่ชาติต่อ ๆ ไปไม่สิ้นสุดการเดินทาง และจะไม่ถึงที่สุดของ

การเดินทางในสังสารวัฏฏ์ได้โดยไม่อบรมเจริญปัญญา รู้ลักษณะสภาพธรรมตามความ

เป็นจริง ขัดเกลากิเลสจนกว่ากิเลสหมดสิ้นเป็นสมุจเฉทเป็นพระอรหันต์ ท่านไม่ต้อง

เดินทางอีกต่อไป เพราะท่านรู้แจ้งโลกถึงที่สุดโลกได้แล้ว และการที่จะถึงที่สุดโลกได้

ก็ไม่ใช่ด้วยการเดินทาง แต่ด้วยการอบรมเจริญสติปัฏฐาน และการอบรมเจริญกุศลทุก

ประการ ไม่ว่ากุศลจะเล็กน้อยเท่าไรก็ไม่ควรละเลย ค่อย ๆ สะสมไว้เป็นอุปนิสัย เพราะ

กุศลแม้เพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผลนั้นไม่มี เพราะอวิชชาคือความไม่รู้เป็นภัยใหญ่เป็น

เหตุให้กระทำกรรมชั่วบ้างดีบ้าง ทำให้ต้องเดินทางไกลอยู่ในสังสารวัฏฏ์ เกิดในทุคติ-

ภูมิบ้าง ในสุคติภูมิบ้างซึ่งเป็นเพียงที่พักชั่วคราวเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ย่างเท้าของข้าพระองค์เห็นปานนี้ ประดุจจากมหาสมุทรด้านทิศบูรพา ก้าวถึง

มหาสมุทรด้านทิศประจิม ข้าพระองค์มาประสงค์อยู่แต่เพียงว่า เราจักบรรลุ


ถึงที่สุดของโลกด้วยการเดินทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประกอบ


ด้วยความเร็วขนาดนี้ ด้วยย่างเท้าขนาดนี้ เว้นจากการกิน การขบเคี้ยว และ


การลิ้มรสอาหาร เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ. เว้นจากระงับความ


เหน็ดเหนื่อยด้วยการหลับนอน มีอายุถึงร้อยปี ดำรงชีพอยู่ถึงร้อยปี เดินทาง


ตลอดร้อยปี ก็ยังไม่ถึงที่สุดของโลกได้ แต่มาทำกาลกิริยาเสียในระหว่าง น่า-


อัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้วว่า ผู้มีอายุ ณ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตายไม่จุติ ไม่อุปบัติ

เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็นควรบรรลุ ด้วยการ

เดินทาง.

[๒๙๘] พ. ดูก่อนผู้มีอายุ ณ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น


ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง ก็ถ้าหากเรายังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะ


ไม่กล่าวถึงการกระทำที่สุดทุกข์ก็แต่ว่าเราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก การดับ

ของโลกและทางให้ถึงความดับโลก ในเรือนร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้และพร้อม

ทั้งสัญญาพร้อมทั้งใจครอง.แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วย

การเดินทาง และเพราะที่ยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไปจากทุกข์.

เหตุนั้นแล คนมีปัญญาดี รู้แจ้งโลก ถึงที่สุดโลกได้ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

เป็นผู้สงบแล้ว จึงไม่หวังโลกนี้และโลกอื่น.

อรรถกถาโรหิตัสสสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้า๓๖๗

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า

"ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล-

อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วใน-

ธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตทฺธิโน ได้แก่ ผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว. ชื่อว่า

ทางไกลมี ๒ อย่าง คือ ทางไกลคือกันดาร ทางไกลคือวัฏฏะ, บรรดาทางไกล ๒

อย่างนั้น ผู้เดินทางกันดาร ยังไม่ถึงที่ที่ตนปรารถนาเพียงใด ก็ชื่อว่าผู้เดิน

ทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น, แต่เมื่อทางไกลนั้นอันเขาถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทาง

ไกลอันถึงแล้ว, ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายแม้ผู้อาศัยวัฏฏะ ยังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด; ก็ชื่อ

ว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า

เพราะความที่วัฏฏะอันตนยังให้สิ้นไปไม่ได้. แม้พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบัน

เป็นต้น ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเหมือนกัน. ส่วนพระขีณาสพ(ผู้สิ้นอาสวะ,พระอรหันต์)

ยังวัฏฏะให้สิ้นไปได้แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว.

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี
[๔๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวรัฐอาฬวี
สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่องอุปกรณ์อันตนขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตนเอง ใหญ่
ไม่มีกำหนด กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ เธอต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลาย
จงให้บุรุษ จงให้แรงบุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว
จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน
ดังนี้เป็นต้น ประชาชนที่ถูกเบียดเบียนด้วยการวิงวอนด้วยการขอ พอเห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว
หวาดบ้าง สะดุ้งบ้าง หนีไปเสียบ้าง เดินเลี่ยงไปเสียทางอื่นบ้าง เมินหน้าเสียบ้าง ปิดประตู
เสียบ้าง แม้พบแม่โคเข้าก็หนี สำคัญว่าพวกภิกษุ.
[๔๙๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ แล้วออกเดินทาง
มุ่งไปรัฐอาฬวี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับถึงรัฐอาฬวีแล้ว ทราบว่าท่านพักอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐ-
*อาฬวีนั้น ครั้นเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ในรัฐอาฬวี ประชาชนเห็นท่านพระมหากัสสปแล้วหวาดบ้าง สะดุ้งบ้าง หลบหนีไปบ้าง เดิน-
*เลี่ยงไปทางอื่นบ้าง เมินหน้าบ้าง ปิดประตูบ้านบ้าง ครั้นท่านพระมหากัสสปเที่ยวบิณฑบาตไปใน
รัฐอาฬวี เวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ท่านทั้งหลาย
เมื่อก่อนรัฐอาฬวีนี้มีอาหารบริบูรณ์ หาบิณฑบาตได้ง่าย ภิกษุสงฆ์ครองชีพด้วยการถือบาตรแสวงหา
ก็ทำได้ง่าย มาบัดนี้รัฐอาฬวีอัตคัดอาหาร หาบิณฑบาตได้ยาก ภิกษุสงฆ์จะครองชีพด้วยการถือ
บาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้รัฐอาฬวีนี้เป็นดั่งนี้ จึงภิกษุเหล่านั้น
กราบเรียนเรื่องนั้นให้ท่านพระมหากัสสปทราบแล้ว.
[๔๙๖] คราวนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว
เสด็จจาริกโดยหนทางอันจะไปสู่รัฐอาฬวี เมื่อเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงรัฐอาฬวีแล้ว
ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐอาฬวีนั้น จึงท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้า ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุชาวรัฐอาฬวีว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ
ให้สร้างกุฎี ซึ่งมีเครื่องอุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตนเอง
ใหญ่ไม่มีกำหนด กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า
ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้แรงบุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง
จงให้จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง จงให้
หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น ประชาชนที่ถูกเบียดเบียนด้วยการวิงวอน ด้วยการขอ
พอเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า บ้างก็หวาด บ้างก็สะดุ้ง บ้างก็หลบหนีไป บ้างก็เลี่ยงไปทางอื่น บ้างก็
เมินหน้า บ้างก็ปิดประตูบ้าน แม้พบแม่โคก็หลบหนี สำคัญว่าพวกภิกษุ ดังนี้ จริงหรือ?
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ให้
สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่องอุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตน ใหญ่ไม่มี
กำหนดเล่า กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่าน
ทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้แรงบุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้
จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้า-
*สามัญ จงให้ดิน ดั่งนี้เป็นต้น ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ
เพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-
เรื่องฤาษีสองพี่น้อง
[๔๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีสองพี่น้องเข้าอาศัยแม่น้ำคงคาสำนักอยู่
ครั้งนั้น มณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้าไปหาฤาษีผู้น้อง ครั้นแล้ววงด้วยขนด ๗ รอบ
แผ่พังพานใหญ่อยู่บนศีรษะ เพราะความกลัวนาคราชนั้น ฤาษีผู้น้องได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิว
พรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ฤาษีผู้พี่เห็นฤาษีผู้น้องซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น จึงได้ไต่ถามว่า เหตุไรเธอจึงซูบผอม
เศร้าหมองมีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น
น. ท่านพี่ มณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคา เข้ามาหาข้าพเจ้า ณ สถานที่นี้ ครั้นแล้ว
วงข้าพเจ้าด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่บนศีรษะ เพราะความกลัวนาคราชนั้น ข้าพเจ้าจึงได้
ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น
พ. ท่านต้องการไม่ให้นาคราชนั้นมาหรือ
น. ข้าพเจ้าต้องการไม่ให้นาคราชนั้นมา
พ. ท่านเห็นนาคราชนั้นมีอะไรบ้าง
น. ข้าพเจ้าเห็นมีแก้วมณีประดับอยู่ที่คอ
พ. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขอแก้วมณีกะนาคราชนั้นว่า ท่านจงให้แก้วมณีแก่ข้าพเจ้าๆ
ต้องการแก้วมณี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นมณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้าไปหาฤาษีผู้น้อง หยุดอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ฤาษีผู้น้องได้กล่าวขอแก้วมณี กะมณีกัณฐนาคราชว่า ขอท่านจงให้
แก้วมณีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการแก้วมณี จึงมณีกัณฐนาคราชรำพึงว่า ภิกษุขอแก้วมณี ภิกษุ
ต้องการแก้วมณี แล้วได้รีบกลับไป แม้ครั้งที่สอง มณีกัณฐนาคราชขึ้นจากแม่น้ำคงคาเข้าไปหาฤาษี
ผู้น้องๆ เห็นมณีกัณฐนาคราชมาแต่ไกล ได้กล่าวขอแก้วมณี กะมณีกัณฐนาคราชว่า ขอท่านจงให้
แก้วมณีแก่ข้าพเจ้าๆ ต้องการแก้วมณี จึงมณีกัณฐนาคราชรำพึงว่า ภิกษุขอแก้วมณี ภิกษุต้องการ
แก้วมณี แล้วได้กลับแต่ที่ไกลนั้นเทียว แม้ครั้งที่สามมณีกัณฐนาคราชกำลังจะขึ้นจากแม่น้ำคงคา
ฤาษีผู้น้องได้เห็นมณีกัณฐนาคราชกำลังโผล่ขึ้นจากแม่น้ำคงคา ก็ได้กล่าวขอแก้วมณี กะมณีกัณฐ-
*นาคราชว่า ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ข้าพเจ้าๆ ต้องการแก้วมณี ขณะนั้นมณีกัณฐนาคราชได้กล่าว
ตอบฤาษี ผู้น้องด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-
ข้าวน้ำ ที่ดียิ่ง มากหลาย บังเกิดแก่ข้าพเจ้า
เพราะเหตุแห่งแก้วมณีดวงนี้
ข้าพเจ้าจะให้แก้วนั้นแก่ท่านไม่ได้ ท่านเป็นคนขอจัด
ข้าพเจ้าจักไม่มาสู่อาศรมของท่านอีกแล้ว
ท่านขอแก้วกะข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าสะดุ้งกลัว
ดังคนหนุ่มถือดาบซึ่งลับดีแล้วบนหินลับ
ข้าพเจ้าจักไม่ให้แก้วนั้นแก่ท่านๆ เป็นคนขอจัด
ข้าพเจ้าจักไม่มาสู่อาศรมของท่านอีกแล้ว
ครั้งนั้นมณีกัณฐนาคราชได้หลีกไป พลางรำพึงว่า ภิกษุขอแก้วมณี ภิกษุต้องการแก้วมณี
ได้หลีกไปอย่างนั้นแล้ว ไม่กลับมาอีก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาฤาษีผู้น้องได้ซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นยิ่งกว่าเก่า เพราะไม่ได้เห็นนาคราชผู้น่าดูนั้น
ฤาษีผู้พี่ได้เห็นฤาษีผู้น้องซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วย
เอ็นยิ่งกว่าเก่าจึงได้ถามดูว่า เพราะเหตุไรท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลือง
ขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นยิ่งกว่าเก่า ฤาษีผู้น้องตอบว่า เพราะไม่ได้เห็นนาคราชผู้น่าดูนั้น จึงฤาษี
ผู้พี่ได้กล่าวกะฤาษีผู้น้องด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-
บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นที่รักของเขา ไม่ควรขอสิ่งนั้น
อนึ่ง คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง ก็เพราะขอจัด
นาคที่ถูกพราหมณ์ขอแก้วมณี
จึงไม่มาให้พราหมณ์นั้นเห็นอีกเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การวิงวอน การขอ ไม่เป็นที่พอใจของสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นแล้ว
ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่มนุษย์เล่า.
เรื่องนกฝูงใหญ่
[๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง แถบ
ภูเขาหิมพานต์ ณ สถานที่ไม่ห่างไพรสณฑ์นั้นมีหนองน้ำใหญ่ ครั้งนั้นนกฝูงใหญ่ กลางวันเที่ยว
หาอาหารที่หนองน้ำนั้น เวลาเย็นเข้าอาศัยไพรสณฑ์นั้นสำนักอยู่ ภิกษุนั้นรำคาญเพราะเสียงนกฝูง
นั้น จึงเข้าไปหาเรา ครั้นกราบไหว้เราแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราได้ถามภิกษุนั้นว่า
ดูกรภิกษุ ยังพอทนอยู่หรือ ยังพอครองอยู่หรือ เธอเดินทางมาด้วยความลำบากน้อยหรือ ก็นี่
เธอมาจากไหนเล่า
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ยังพอทนอยู่ ยังพอครองอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเดินทาง
มาด้วยความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า มีไพรสณฑ์ใหญ่อยู่แถบภูเขาหิมพานต์ ณ สถานที่ไม่
ห่างไพรสณฑ์นั้นแล ๑- มีหนองน้ำใหญ่ ครั้นเวลากลางวัน นกฝูงใหญ่เที่ยวหาอาหารที่หนองน้ำนั้น
เวลาเย็นก็เข้าอาศัยไพรสณฑ์นั้นสำนักอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าถูกเสียงนกฝูงนั้นรบกวน จึงหนีมาจาก
ไพรสณฑ์นั้น พระพุทธเจ้าข้า
ร. ดูกรภิกษุ ก็เธอต้องการจะไม่ให้นกฝูงนั้นมาหรือ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าต้องการไม่ให้นกฝูงนั้นมา พระพุทธเจ้าข้า
ร. ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงกลับไปที่ไพรสณฑ์นั้น เข้าอาศัยไพรสณฑ์นั้นแล้ว ใน
ปฐมยามแห่งราตรี จงประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่นกผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลายที่อาศัยอยู่
ในไพรสณฑ์นี้มีประมาณเท่าใด จงฟังเราๆ ต้องการขน นกทั้งหลายจงให้ขนแก่เรานกละหนึ่งขน
ในมัชฌิมยามแห่งราตรีก็จงประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่นกผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลายที่อาศัยอยู่ใน
ไพรสณฑ์นี้ มีประมาณเท่าใด จงฟังเราๆ ต้องการขน นกทั้งหลายจงให้ขนแก่เรานกละหนึ่งขน
ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็จงประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่นกผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลายที่อาศัย
อยู่ในไพรสณฑ์นี้ มีประมาณเท่าใด จงฟังเราๆ ต้องการขน นกทั้งหลายจงให้ขนแก่เรานกละ
หนึ่งขน จึงภิกษุรูปนั้นกลับไปที่ไพรสณฑ์นั้น เข้าอาศัยไพรสณฑ์นั้นแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี
ประกาศ ๓ ครั้งว่าดังนี้ แน่นกผู้เจริญทั้งหลาย ... ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ประกาศ ๓ ครั้งว่าดังนี้
แน่นกผู้เจริญทั้งหลาย ... ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ประกาศ ๓ ครั้ง ว่าดังนี้ แน่นกผู้เจริญทั้งหลาย ...
ครั้นนกฝูงนั้นทราบว่า ภิกษุขอขน ภิกษุต้องการขนดังนี้ ได้หลีกไปจากไพรสณฑ์นั้น ได้หลีกไป
อย่างนั้นเทียว ไม่กลับมาอีก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการวิงวอน การขอ จักไม่ได้เป็นที่พึงใจของพวกสัตว์ดิรัจฉาน
เหล่านั้นแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึงหมู่สัตว์ที่เกิดมาเป็นมนุษย์.
เรื่องรัฐบาลกุลบุตร
[๔๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บิดาของรัฐบาลกุลบุตรได้กล่าวถามรัฐบาล
กุลบุตรด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-
แน่ะพ่อรัฐบาล เออก็คนเป็นอันมากที่พากันมาขอเรา เราไม่รู้จัก ไฉนเจ้าไม่
ขอเรา
รัฐบาลกุลบุตรได้กล่าวตอบบิดาด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-
คนผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ
ฝ่ายคนผู้ถูกขอ เมื่อไม่ให้ ก็ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ขอท่าน
ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นที่เกลียดชังของท่านเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัฐบาลกุลบุตรนั้นยังได้กล่าวตอบอย่างนี้กะบิดาของตนแล้ว ก็จะป่วย
กล่าวไปไยเล่าถึงคนอื่นต่อคนอื่น.
[๕๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โภคสมบัติของคฤหัสถ์รวบรวมได้ยาก แม้ได้มาแล้วก็ยังยาก
ที่จะตามรักษา ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อโภคสมบัตินั้นอันพวกคฤหัสถ์รวบรวมได้ยาก แม้เขา
ได้มาแล้วก็ยังยากที่จะตามรักษาอย่างนี้ พวกเธอได้มีการวิงวอน มีการขอเขาบ่อยครั้ง หลายคราว
แล้วว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้คน จงให้แรงงาน จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน
จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้หญ้าปล้อง
จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำ
ของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น
ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่อง
นั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ ผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือ
ตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐. ๖. อนึ่ง ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการ
ขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว ๑๒ คืบ
โดยกว้างในร่วมใน ๗ คืบ ด้วยคืบสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุ
เหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอเอา
เอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่
หรือสร้างให้ล่วงประมาณเป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๑] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง คือ ขอเองซึ่งคนก็ดี แรงงานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี
มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี หญ้ามุงกระต่ายก็ดี หญ้าปล้อง
ก็ดี หญ้าสามัญก็ดี ดินก็ดี
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะ
ภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ตาม
บทว่า สร้าง คือทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม
บทว่า อันหาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครๆ อื่น ที่เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์
ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม เป็นเจ้าของ
บทว่า เฉพาะตนเอง คือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
คำว่า พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้โดยยาว ๑๒ คืบ
ด้วยคืบสุคต นั้น คือ วัดนอกฝาผนัง
คำว่า โดยกว้างในร่วมใน ๗ คืบ นั้น คือ วัดร่วมในฝาผนัง
[๕๐๒] คำว่า พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ นั้น มีพระพุทธาธิบายไว้ว่าดังนี้
ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงให้แผ้วถางพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีนั้นเสียก่อน แล้วเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตรา-
*สงค์เฉวียงเบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่นกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง ท่าน
เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ถ้าสงฆ์ทั้งหมดจะอุตสาหะไปตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีได้ ก็พึงไปตรวจดูด้วยกันทั้งหมด ถ้าไม่
อุตสาหะ ในหมู่สงฆ์นั้น ภิกษุเหล่าใดฉลาดสามารถจะรู้ได้ว่า เป็นสถานมีผู้จองไว้หรือไม่ เป็น
สถานมีชานเดินได้รอบหรือไม่ สงฆ์พึงขอสมมติภิกษุเหล่านั้นไปแทนสงฆ์
วิธีสมมติ
ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาขอสมมติให้ภิกษุตรวจดูพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้
เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่ง
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี
ของภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นผู้ใคร่จะสร้าง
กุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้ตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้าง
กุฎี สงฆ์สมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้
การสมมติภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมีชื่อนี้ เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุทั้งหลายมีชื่อนี้และมี
ชื่อนี้ อันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
วิธีแสดงพื้นที่
[๕๐๓] ภิกษุทั้งหลายผู้อันสงฆ์สมมติแล้วเหล่านั้น พึงไป ณ ที่นั้นตรวจดูพื้นที่ที่จะสร้าง
กุฎี พึงทราบว่าเป็นสถานมีผู้จองไว้ หรือเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ เป็นสถานมีชานเดินได้รอบ
หรือเป็นสถานไม่มีชานเดินได้รอบ ถ้าเป็นสถานมีผู้จองไว้ ทั้งไม่มีชานเดินได้รอบ พึงบอกว่า
อย่าสร้างลงในที่นี้ ถ้าเป็นสถานไม่มีผู้จองไว้ทั้งมีชานเดินได้รอบ พึงแจ้งแก่สงฆ์ว่า เป็นสถาน
ไม่มีผู้จองไว้ ทั้งมีชานเดินได้รอบ ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉลียงบ่า
กราบเท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเองด้วยอาการขอเอาเอง ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
นั้นขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาดผู้
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้
กรรมวาจาขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ
ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง เธอขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงแสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ใคร่จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง
เธอขอสงฆ์ให้แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎี สงฆ์แสดงพื้นที่ที่จะสร้างกุฎีแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การแสดงพื้น
ที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงพูด พื้นที่ที่จะสร้างกุฎีของภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์แสดงแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
[๕๐๔] ที่ชื่อว่า อันมีผู้จองไว้ คือ เป็นที่อาศัยของมด เป็นที่อาศัยของปลวก เป็นที่
อาศัยของหนู เป็นที่อาศัยของงู เป็นที่อาศัยของแมลงป่อง เป็นที่อาศัยของตะขาบ เป็นที่อาศัย
ของช้าง เป็นที่อาศัยของม้า เป็นที่อาศัยของราชสีห์ เป็นที่อาศัยของเสือโคร่ง เป็นที่อาศัยของ
เสือเหลือง เป็นที่อาศัยของหมี เป็นที่อาศัยของสุนัขป่า ๑- เป็นที่อาศัยของสัตว์ดิรัจฉานบางเหล่า
เป็นสถานใกล้ที่นา เป็นสถานใกล้ที่ไร่ เป็นสถานใกล้ตะแลงแกง เป็นสถานใกล้ที่ทรมานนักโทษ
เป็นสถานใกล้สุสาน เป็นสถานใกล้ที่สวน เป็นสถานใกล้ที่หลวง เป็นสถานใกล้โรงช้าง เป็น
สถานใกล้โรงม้า เป็นสถานใกล้เรือนจำ เป็นสถานใกล้โรงสุรา เป็นสถานใกล้ที่สุนัขอาศัย
เป็นสถานใกล้ถนน เป็นสถานใกล้หนทางสี่แยก เป็นสถานใกล้ที่ชุมนุมชน หรือเป็นสถาน
ใกล้ทางที่เดินไปมา นี่ชื่อว่าสถานอันมีผู้จองไว้
[๕๐๕] ที่ชื่อว่า อันหาชานรอบมิได้ คือเกวียนที่เขาเทียมวัวแล้วตามปกติ ไม่สามารถ
จะเวียนไปได้ บันไดหรือพะองไม่สามารถจะทอดเวียนไปได้ โดยรอบ นี่ชื่อว่า สถานอันหาชาน
รอบมิได้
@๑. สุนัขป่าในทะเลทราย, เสือดาวก็ว่า.
[๕๐๖] ที่ชื่อว่า อันไม่มีผู้จองไว้ คือ ไม่เป็นที่อาศัยของมด ไม่เป็นที่อาศัยของปลวก
ไม่เป็นที่อาศัยของหนู ไม่เป็นที่อาศัยของงู ไม่เป็นที่อาศัยของแมลงป่อง ไม่เป็นที่อาศัยของตะขาบ
ไม่เป็นที่อาศัยของช้าง ไม่เป็นที่อาศัยของม้า ไม่เป็นที่อาศัยของราชสีห์ ไม่เป็นที่อาศัยของ
เสือโคร่ง ไม่เป็นที่อาศัยของเสือเหลือง ไม่เป็นที่อาศัยของหมี ไม่เป็นที่อาศัยของสุนัขป่า ไม่
เป็นที่อาศัยของสัตว์ดิรัจฉานบางเหล่า ไม่เป็นสถานใกล้ที่นา ไม่เป็นสถานใกล้ที่ไร่ ไม่เป็นสถาน
ใกล้ตะแลงแกง ไม่เป็นสถานใกล้ที่ทรมานนักโทษ ไม่เป็นสถานใกล้สุสาน ไม่เป็นสถานใกล้
ที่สวน ไม่เป็นสถานใกล้ที่หลวง ไม่เป็นสถานใกล้โรงช้าง ไม่เป็นสถานใกล้โรงม้า ไม่เป็น
สถานใกล้เรือนจำ ไม่เป็นสถานใกล้โรงสุรา ไม่เป็นสถานใกล้ที่สุนัขอาศัย ไม่เป็นสถานใกล้ถนน
ไม่เป็นสถานใกล้หนทางสี่แยก ไม่เป็นสถานใกล้ที่ชุมนุมชน หรือไม่เป็นสถานใกล้ทางที่เดิน
ไปมา นี่ชื่อว่า สถานอันไม่มีผู้จองไว้.
[๕๐๗] ที่ชื่อว่า อันมีชานรอบ คือ เกวียนที่เขาเทียมวัวแล้วตามปกติสามารถจะเวียน
ไปได้ บันไดหรือพะองก็สามารถจะทอดเวียนไปได้โดยรอบ นี่ชื่อว่า สถานอันมีชานรอบ.
[๕๐๘] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง อธิบายว่า ขอเอง ซึ่งคนก็ดี แรงงานก็ดี โคก็ดี
เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี เป็นต้น
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะ
ภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ตาม
บทว่า สร้าง คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม
สองพากย์ว่า หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณ
ความว่า ไม่ขอให้สงฆ์แสดงสถานที่สร้างกุฎีด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาก็ตาม สร้างเองหรือใช้ให้
เขาสร้างให้เกินกำหนด แม้เพียงเส้นผมเดียว โดยส่วนยาวหรือโดยส่วนกว้างก็ตาม ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุกประโยคที่ทำ ยังอิฐอีกก้อนหนึ่งจะเสร็จต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้อนที่สุดเสร็จ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้นจึงตรัสเรียกว่า
สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้
[๕๐๙] ภิกษุผู้สร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๑ ตัว
พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.
สร้างเกินประมาณ
[๕๑๐] ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
กับอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติ
สังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับ
อาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตัว.
สร้างเท่าประมาณ
ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี เท่าประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.
พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ
[๕๑๑] ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ ไม่มี
ชานรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ มีผู้จองไว้ มีชานรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ ไม่มีชาน
รอบ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว กับอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ภิกษุสร้างกุฎี ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เกินประมาณ ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว.
พื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ที่ผ่านได้มีงานบวชพระจำนวน 3 รูปมีผู้มาร่วมงานหลายท่าน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย




ขอเชิญเป็นเจ้าภาพปูกระเบื้องห้องน้ำ
โทร.0850370370

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO