นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 11:08 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ละโลภะ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 09 พ.ค. 2010 9:47 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ตามหลักพระธรรมแสดงว่า สิ่งใดที่เป็นอารมณ์ของจิต สิ่งนั้นชื่อว่าอารมณ์

เมื่อจำแนกโดยประเภทใหญ่ๆ มี ๓ คือ ๑. รูป ๒. นาม ๓. บัญญัติ

โดยกาลมี ๓ คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน +กาลวิมุติ

โดยทวารอารมณ์มี ๖ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ + ทวารวิมุติ

และยังมีโดยนัยยะอื่นๆอีก

สำหรับจักขุวิญญาณ ตามคำถาม ควรแยกเป็นขณะว่า ขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้น

ขณะนั้นมีสีเป็นอารมณ์ จิตเห็นเป็นสภาพรู้ ไม่ใช่อารมณ์ แต่วิถีจิตทางมโนทวาร

รู้จิตเห็นเป็นอารมณ์ได้ ขณะนั้น จิตเห็น เป็นอารมณ์ครับ

จตุตถปาราชิกสิกขาบท
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
[๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ใกล้
ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ก็แลสมัยนั้น วัชชีชนบท อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มี
ข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา
ก็ทำไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพ
ฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตร
แสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พวกเราจึงจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน อยู่
จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันอำนวยกิจการ
อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็น
ผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกัน
อำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกัน
นำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาต
แก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่
จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกัน
อำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกันทำข่าวสาส์น
อันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจักกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้
ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้น
เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้
พร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกและจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเราพากันกล่าวชมอุตตริ
มนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ ประเสริฐที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตตริ
มนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน
รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี
รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้
ครั้นต่อมา ประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดี
แล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำพรรษาเพราะก่อนแต่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่
จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณสมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะ
ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา
คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยวชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น
พวกเขาไม่เคี้ยวด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิต ของลิ้มชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ลิ้มด้วยตน ไม่ให้
มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต น้ำดื่มชนิดที่
พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้
กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต จึงภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส
มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค
นั่นเป็นประเพณี ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร
หลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ป่ามหาวัน
กูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า
[๒๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลายเป็นผู้ผอมซูบซีด มี
ผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้
มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสถามภิกษุ พวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอ
ทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า
อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก
และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่
ที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วย
บิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้น ให้ทรงทราบแล้ว
ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ
ภ. ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ
พวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุ
แห่งท้องเล่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วด้วยมีดเชือดโคอันคม ยังดีกว่า
อันพวกเธอกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย
ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้คว้านท้องด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้นพึงถึงความตาย
หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย
เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้กล่าวชมอุตตริ
มนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้แลเป็นเหตุ ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ
พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้นแล้ว
ทรงกระทำธรรมมีกถารับสั่งกะภิกขุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
มหาโจร ๕ จำพวก
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก มหาโจร ๕ จำพวก
เป็นไฉน
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ
เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี
เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ
สมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในคามนิคมและ
ราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่น
เผาผลาญฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว
เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร สมัยต่อมา เธอเป็นผู้
อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์
และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่
ในโลก
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียน
ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒
มีปรากฏอยู่ในโลก
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัด
เพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่
พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์
เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อาราม
วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ
มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว
เครื่องไม้ เครื่องดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.
นิคมคาถา
ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น โภชนะนั้น
อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว ด้วยอาการแห่งคนขโมย ดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น
ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมทราม ไม่สำรวมแล้ว
ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุ
ผู้ทุศีล ผู้ไม่สำรวมแล้วบริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า การฉันก้อนข้าว
ของชาวรัฐ จะประเสริฐอะไร.
ทรงบัญญัติปฐมบัญญัติ
[๒๓๑] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา โดยอเนกปริยาย
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ
เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ
เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส
การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระปฐมบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้
ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้
ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอา
ตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน
ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ
เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ
ฉะนี้ ฯ
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญ
มรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ ครั้น
ต่อมา จิตของพวกเธอน้อมไปเพื่อความกำหนัดก็มี น้อมไปเพื่อความขัดเคืองก็มี น้อมไปเพื่อ
ความหลงก็มี จึงมีความรังเกียจว่า สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้ว แต่พวกเรา
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผล
ที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้าง
มรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่
ท่านพระอานนท์ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่เหมือนกัน
อานนท์ ข้อที่ภิกษุทั้งหลายสำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้
ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้
ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่ข้อนั้นนั่นแล เป็นอัพโพหาริก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้
ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้
ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือ
เอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้
พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก
หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ
อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์
อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง ... ใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า
ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ
ว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมทบแล้วด้วยญัตติ-
*จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
บทว่า ไม่รู้เฉพาะ คือ ไม่รู้ ไม่เห็น กุศลธรรมในตน ซึ่งไม่มี ไม่เป็นจริง
ไม่ปรากฏ ว่าข้าพเจ้ามีกุศลธรรม
บทว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
มรรคภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
บทว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้ามาในตน หรือน้อมตน
เข้าไปในกุศลธรรมเหล่านั้น
บทว่า ความรู้ ได้แก่ วิชชา ๓
บทว่า ความเห็น โดยอธิบายว่า อันใดเป็นความรู้ อันนั้นเป็นความเห็น อันใด
เป็นความเห็น อันนั้นเป็นความรู้
บทว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ความว่า ข้าพเจ้ารู้ธรรมเหล่านี้
ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านี้ อนึ่ง ข้าพเจ้ามีธรรมเหล่านี้ และข้าพเจ้าเห็นชัดในธรรมเหล่านี้.
[๒๓๔] บทว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น คือ เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งที่ภิกษุกล่าวอวดนั้น
ผ่านไปแล้ว
บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตาม คือ มีบุคคลเชื่อในสิ่งที่ภิกษุปฏิญาณแล้ว โดยถามว่า
ท่านบรรลุอะไร ได้บรรลุด้วยวิธีไร เมื่อไร ที่ไหน ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ ท่านได้ธรรม
หมวดไหน
บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใครๆ พูดถึง
บทว่า ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความอยากอันลามก อันความอยากครอบงำ
แล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก
บทว่า มุ่งความหมดจด คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ หรือประสงค์จะเป็นอุบาสก
หรือประสงค์จะเป็นอารามิก หรือประสงค์จะเป็นสามเณร
คำว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้
กล่าวว่าเห็น ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้า
ไม่มีธรรมเหล่านั้น และข้าพเจ้าไม่เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
คำว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ ความว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ พูดเท็จ
พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดแล้ว
บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้บรรลุ.
[๒๓๕] บทว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบถึงภิกษุรูปก่อนๆ
บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก ชื่อแม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม
อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาสได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศ
ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุ
นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ๑. ฌาน ๒. วิโมกข์ ๓. สมาธิ
๔. สมาบัติ ๕. ญาณทัสสนะ ๖. มัคคภาวนา ๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล ๘. การละ
กิเลส ๙. ความเปิดจิต ๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่ง
สกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิด
จิตจากโมหะ
ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.
สุทธิกะฌาน
ปฐมฌาน
[๒๓๗] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ ๓ อย่างคือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติ
ปาราชิกฯ
[๒๓๘] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๔ อย่างคือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้
ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอ
รู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพราง
ความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๓๙] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้วด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง
ต้องอาบัติปาราชิก.
[๒๔๐] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติ
ปาราชิก
[๒๔๑] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้อง
ต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๖ อย่างคือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
[๒๔๒] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่างคือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔
อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
แล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑
เบื้องต้น เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ ๗ อำพรางความจริง
ต้องอาบัติปาราชิก
[ปฐมฌานนี้นักปราชญ์ให้พิสดารแล้ว ฉันใด แม้ฌานทั้งมวลก็พึงให้พิสดาร ฉันนั้น ๑-]
ทุติยฌาน
[๒๔๓] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าทุติยฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญทุติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
@๑. คำนี้พึงเห็นว่า คัมภีร์ของชาวยุโรป รจนาไว้ในวาระสุดท้ายของฌานนอกนี้ ส่วนคัมภีร์ของชาวเรา
@คัมภีร์ของพม่า และมอญ รจนาไว้ตรงนฯ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ทุติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ตติยฌาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าตติยฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ-
*ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญตติยฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ ... อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ตติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
จตุตถฌาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานอยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ
๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าจตุตถฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ...
๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบ
ใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญจตุตถฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความ
ชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า จตุตถฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ...
๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพราง
ความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.

สุทธิกะวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์
[๒๔๔] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสุญญตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สุญญตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
อนิมิตตวิโมกข์
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอนิมิตตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อนิมิตตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอนิมิตตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อนิมิตตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าอัปปณิหิตวิโมกข์ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง
... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ
ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน กับคุณแม่
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญกสินแสงสว่าง
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ที่ผ่านมาได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน
และวันนี้มีงานบวชพระ 2 รูป
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมพิธีเททองหล่อรูปเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์พระป่ากรรมฐานครั้งที่ 2
โทร.024442812

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO