นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 2:32 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: โลกธรรม 8
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 06 พ.ค. 2010 9:06 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
โพชฌงค์ ๗

สตฺต ( เจ็ด ) + พุชฺฌ ( การตรัสรู้ ) + องฺค ( ส่วนประกอบ , องค์ )

สภาพธรรมที่เป็นองค์ของการตรัสรู้ ๗ อย่าง หมายถึง การอบรมวิปัสสนาภาวนา

จนสภาพธรรม ๗ อย่างมีกำลังมาก ใกล้ต่อการตรัสรู้ องค์ของการตรัสรู้ ๗ อย่าง

ได้แก่ ... ๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อปัญญาที่เกิดพร้อมสติ ซึ่งระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูป-

ธรรมสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นแล้ว ก็ประกอบด้วยโพชฌงค์ ๗ คือ

องค์ธรรมของการตรัสรู้อริยสัจจธรรม โพชฌงค์ ๗ คือ ...

๑. สติสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ สติเจตสิก

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ปัญญาเจตสิก

๓. วิริยสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ วิริยเจตสิก

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ปีติเจตสิก

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ กายปัสสัทธิเจตสิกและจิต-

ตปัสสัทธิเจตสิก

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ เอกัคคตาเจตสิก

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 185

ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของ

ผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ

เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ

ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะ

หลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฎฐานะ

ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร

ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉท-

ทิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส

ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็น

โลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม

ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำ

นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗

ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์

แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า

ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนา

และองค์แห่งรถเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้.

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ชวนกันไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม ได้ลัก
ห่อผ้าของช่างย้อม นำมาสู่อารามแล้วแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลายพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
พวกท่านเป็นผู้มีบุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวกท่านมาก
ฉ. ท่านทั้งหลาย บุญของพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม
แล้วได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเดี๋ยวนี้
ภ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไรพวกท่านจึงได้ลักห่อผ้า
ของช่างย้อมมา.
ฉ. จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่สิกขาบทนั้นแล พระองค์
ทรงบัญญัติเพราะในเขตบ้าน มิได้ทรงบัญญัติไปถึงในป่า.
ภิ. ท่านทั้งหลาย พระบัญญัตินั้นย่อมเป็นได้เหมือนกันทั้งนั้นมิใช่หรือ การกระทำของ
พวกท่านนั้นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกท่าน
จึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวกท่านนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ
พวกท่านนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น
ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นภิกษุเหล่านั้น ติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายแล้ว
ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ
ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม แล้วลักห่อผ้าของช่างย้อมมา จริงหรือ?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ลักห่อผ้า
ของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้วโดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอ
นั้นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนยังที่ไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบาง
พวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็น
คนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้ง
หลายแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคล
ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระ-
*วินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ด้วย ส่วนแห่งความ
เป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้ว ประหารเสีย-
*บ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล
เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็น
ปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก
หาสังวาสมิได้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น
เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ
โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้ว ด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสาระธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะว่า อรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง
กันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่า-
*นั้น ภิกษุนี้ใด ทั้งสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควร
แก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
ประเทศที่ชื่อว่า บ้าน มีอธิบายว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียวก็ดี มีกระท่อม ๒ หลังก็ดี
มีกระท่อม ๓ หลังก็ดี มีกระท่อม ๔ หลังก็ดี มีคนอยู่ก็ดี ไม่มีคนอยู่ก็ดี แม้ที่เขาล้อมไว้ก็ดี
แม้ที่เขาไม่ได้ล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขาสร้างดุจเป็นที่โคจรเป็นต้นก็ดี แม้หมู่เกวียนหรือต่างที่อาศัยอยู่
เกิน ๔ เดือนก็ดี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บ้าน
ที่ชื่อว่า อุปจารบ้าน กำหนดเอาที่ ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ เสาเขื่อนแห่งบ้าน
ที่ล้อม โยนก้อนดินไปตก หรือกำหนดเอาที่ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ อุปจารเรือนแห่งบ้าน
ที่ไม่ได้ล้อม โยนก้อนดินไปตก
ที่ชื่อว่า ป่า มีอธิบายว่า สถานที่ที่เว้นบ้านและอุปจารบ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้
ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิอยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่า
ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
บทว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่มีจิตคิดขโมย คือมีจิตคิดลัก.
[๘๖] บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อน
รากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
[๘๗] ที่ชื่อว่า เห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี
ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครองประเทศ ท่านผู้
ปกครองมณฑล นายอำเภอ ผู้พิพากษา มหาอำมาตย์ หรือท่านผู้สั่งประหารและจองจำได้
ท่านเหล่านี้ ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย
ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า
๕ มาสกก็ดี ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ผู้นั้นชื่อว่า โจร
บทว่า ประหารเสียบ้าง คือ ประหารด้วยมือหรือด้วยเท้า ด้วยแส้หรือด้วยหวาย
ด้วยไม้ค้อนสั้นหรือด้วยดาบ
บทว่า จองจำไว้บ้าง คือ ผูกล่ามไว้ด้วยเครื่องมัดคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา
โซ่ตรวน หรือด้วยเขตจำกัดคือเรือน จังหวัด หมู่บ้าน ตำบลบ้าน หรือให้บุรุษควบคุม
บทว่า เนรเทศเสียบ้าง คือ ขับไล่เสียจากหมู่บ้าน ตำบลบ้าน จังหวัด มณฑล
หรือประเทศ
คำว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย นี้เป็นคำ-
*บริภาษ.
[๘๘] ที่ชื่อว่า เห็นปานนั้น คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่า-
*หนึ่งบาทก็ดี
บทว่า ถือเอา คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลย
เขตหมาย.
[๘๙] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุรูปก่อน
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเป็นของ-
*เขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ถือเอาทรัพย์อันเขาไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความ
เป็นขโมย หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็น
เชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทส
ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกันนั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น
เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
มาติกา
[๙๐] ทรัพย์อยู่ในดิน ทรัพย์ตั้งอยู่บนดิน
ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง
ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ เรือ และทรัพย์อยู่ในเรือ
ยาน และทรัพย์อยู่ในยาน ทรัพย์ที่ตนนำไป
สวน และทรัพย์อยู่ในสวน ทรัพย์อยู่ในวัด
นา และทรัพย์อยู่ในนา พื้นที่และทรัพย์อยู่ในพื้นที่
ทรัพย์อยู่ในบ้าน ป่า และทรัพย์อยู่ในป่า
น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต
สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์มีเท้ามาก
ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต.
ภุมมัฏฐวิภาค
[๙๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือ
ตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือเถาวัลย์ ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ขุดก็ตาม คุ้ยก็ตาม โกยขึ้นก็ตาม ซึ่งดินร่วนต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำหม้อให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำหม้อให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป ถูกต้องทรัพย์ควรแก่ค่า ๕ มาสก หรือเกิน
กว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย กระทำให้ทรัพย์อยู่ในภาชนะ
ของตนก็ตาม ตัดขาดด้วยกำมือก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยมีจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้ายก็ดี สังวาลก็ดี สร้อยคอก็ดี เข็มขัดก็ดี
ผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย จับที่สุดยกขึ้น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อ โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใสก็ดี น้ำมันก็ดี น้ำผึ้งก็ดี น้ำอ้อยก็ดี ควรแก่ค่า ๕ มาสก
หรือเกินกว่า ๕ มาสก ด้วยประโยคอันเดียว ต้องอาบัติปาราชิก ทำลายเสียก็ดี ทำให้หกล้นก็ดี
เผาเสียก็ดี ทำให้บริโภคไม่ได้ก็ดี ในที่นั้นเองต้องอาบัติทุกกฏ.
ถลัฏฐวิภาค
[๙๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้น ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนพื้น เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้อง
อาบัติปาราชิก.
อากาสัฏฐวิภาค
[๙๓] ชื่อว่า ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศคือนกยูง นกคับแค
นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพก หรือเงินทองที่ขาดหลุดตกลง
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ลอยอยู่ในอากาศ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดีเดินไปก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ หยุดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
เวหาสัฏฐวิภาค
[๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ได้ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น ทรัพย์ที่คล้อง
ไว้บนเตียงหรือตั่ง ที่ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเตียง เดือยที่ฝาบันไดแก้ว หรือต้นไม้ โดยที่สุด
แม้บนเชิงรองบาตร
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.
อุทกัฏฐวิภาค
[๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ดำลงก็ดี โผล่ขึ้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เง่าบัว ปลา หรือเต่า ที่เกิดใน
น้ำนั้น มีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
นาวัฏฐวิภาค
[๙๖] ที่ว่า เรือ ได้แก่พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในเรือ ได้แก่ทรัพย์
ที่เขาเก็บไว้ในเรือ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ แก้เครื่องผูก
แล้วลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ลอยขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี
ขวางน้ำไปก็ดี โดยที่สุด แม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.
ยานัฏฐวิภาค
[๙๗] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในยาน
ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ภารัฏฐวิภาค
[๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ภาระบนศีรษะ ภาระที่คอ ภาระที่สะเอว ภาระ
ที่หิ้วไป
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ลดลงสู่คอ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่คอ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ลดลง
สู่สะเอว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถือไปด้วยมือ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตวางภาระที่มือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก มีไถยจิตถือเอาจากพื้น ต้อง
อาบัติปาราชิก.
อารามัฏฐวิภาค
[๙๙] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่สวนไม้ดอก สวนไม้ผล ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในสวน ได้แก่
ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ
๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือ ผลไม้ ซึ่งเกิดในสวนนั้น
ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
วิหารรัฏฐวิภาค
[๑๐๐] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัด โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่
ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวัด เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง
อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เขตตัฏฐวิภาค
[๑๐๑] บุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา ที่ชื่อว่า
ทรัพย์อยู่ในนา ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนา โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑
ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ ซึ่งเกิดในนานั้นได้ราคา ๕ มาสก
หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีก
ประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
วัตถุฏฐวิภาค
[๑๐๒] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วัด ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ได้แก่
ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑
แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือทำกำแพงให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีก
ประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
คามัฏฐวิภาค
[๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในบ้าน ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในบ้าน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่
ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
อรัญญัฏฐวิภาค
[๑๐๔] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในป่า ได้แก่ทรัพย์
ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่
ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำไว้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น ได้ราคา ๕ มาสก
หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.
อุทกวิภาค
[๑๐๕] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือ
ในบ่อ
ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕
มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำน้ำให้ไหลออกไป ได้ราคา
๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา ๑ มาสก หรือ
หย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทันตโปณวิภาค
[๑๐๖] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่ยังมิได้ตัด
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
วนัปปติวิภาค
[๑๐๗] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใช้สอยได้
ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีกครั้งหนึ่งจะสำเร็จ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
หรณกวิภาค
[๑๐๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ไป ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วทำทรัพย์นั้นให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตจับต้อง
ทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
อุปนิธิวิภาค
[๑๐๙] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้
ภิกษุรับของฝาก เมื่อเจ้าของกล่าวขอคืนว่า จงคืนทรัพย์ให้ข้าพเจ้า กล่าวปฏิเสธว่า ฉัน
ไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของ
ทอดธุระว่าจะไม่ให้แก่เรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สุงกฆาตวิภาค
[๑๑๐] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้ที่ภูเขาขาดบ้าง
ที่ท่าน้ำบ้าง ที่ประตูบ้านบ้าง ด้วยทรงกำหนดว่า จงเก็บภาษีแก่บุคคลผู้ผ่านเข้าไปในสถานที่นั้น
ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี ซึ่งมีราคา ๕
มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๑
ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก หลบเลี่ยง
ภาษี ต้องอาบัติทุกกฏ
ปาณวิภาค
[๑๑๑] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอามนุษย์ที่ยังมีลมหายใจ
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒
ต้องอาบัติปาราชิก.
อปทวิภาค
[๑๑๒] ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์ไม่มีเท้า ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
ทวิปทวิภาค
[๑๑๓] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ คน นก
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒
ต้องอาบัติปาราชิก.
จตุปทวิภาค
[๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๓ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๔ ต้องอาบัติปาราชิก.
พหุปทวิภาค
[๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้อง
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ย่างเท้า
ก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.
โอจรกวิภาค
[๑๑๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง อธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.
โอณิรักขวิภาค
[๑๑๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
สังวิธาวหารวิภาค
[๑๑๘] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.
สังเกตกัมมวิภาค
[๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า ท่านจงลักทรัพย์นั้น
ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเย็น ในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นได้ ตามคำนัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้น
ได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
นิมิตตกัมมวิภาค
[๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา จักยักคิ้ว
หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก
ลักทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุลักลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือ
หลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
อาณัตติกประโยค
[๑๒๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์
นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่
แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่ง ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น
แต่ลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น
จึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งบอกแก่ภิกษุ
นอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์
มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ๆ ภิกษุอื่นต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก รับคำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งเดิม
ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งนั้นไปแล้วกลับมา
บอกอีกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้ ภิกษุผู้สั่งนั้นสั่งใหม่ว่าท่านสามารถเมื่อใด จงลักทรัพย์นั้น
เมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้น
แล้ว เกิดความร้อนใจ แต่ไม่พูดให้ได้ยินดีว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้
ต้องอาบัติปาราชิก ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้น
แล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักนั้นตอบว่า ท่านสั่งผมแล้ว
ผมลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้น
แล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้รับสั่งนั้น รับคำว่าดีละ แล้วงดเสีย
ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
อาการแห่งอวหาร
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา
๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑
ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือทรัพย์
อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์
อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อย ได้ราคา ๑ มาสก
หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
อาการ ๖ อย่าง
[๑๒๓] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้
ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑
ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา
เกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่
มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๔] ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามาก
ได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์-
*มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกิน
๑ มาสก หรือหย่อน ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์
มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อนาปัตติวาร
[๑๒๕] ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ ขอยืม ๑ ทรัพย์อัน
เปรตหวงแหน ๑ ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ๑ ภิกษุ
วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ.
ปฐมภาณวาร ในอทินนาทานสิกขาบท จบ.
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๑๒๖] พระอุบาลีเถระชี้แจง เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง ๕ เรื่อง เรื่องตอบคำถามนำ ๕ เรื่อง
เรื่องลม ๒ เรื่อง เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง เรื่องไฟฟ้า ๑ เรื่อง
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง
เรื่องข้าวสุกในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง
เรื่องขนมในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง
เรื่องขนมต้ม ๑ เรื่อง เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง
เรื่องถุง ๑ เรื่อง เรื่องฟูก ๑ เรื่อง
เรื่องราวจีวร ๑ เรื่อง เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง เรื่องสำคัญว่าของตน ๒ เรื่อง
เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง เรื่องลัก ๗ เรื่อง
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง เรื่องนำมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง
เรื่องปล่อยหมู ๒ เรื่อง เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง เรื่องชวนกันลัก ๒ เรื่อง
เรื่องกำมือที่เมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ ๑ เรื่อง
เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง
เรื่องลักหญ้าของสงฆ์ ๒ เรื่อง เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง
เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง
เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง
เรื่องนางภิกษุณีชาวเมืองจัมปา ๑ เรื่อง
เรื่องนางภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์ ๑ เรื่อง
เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี ๑ เรื่อง
เรื่องทารกชาวเมืองพาราณสี ๑ เรื่อง
เรื่องเมืองโกสัมพี ๑ เรื่อง
เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ ๑ เรื่อง.
วินีตวัตถุ
เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
[๑๒๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อมผ้า ลักห่อผ้า
ของช่างย้อมไปแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
[๑๒๘] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อมเห็นผ้ามีราคา
มาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง-
*กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะ
เพียงแต่คิด
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก มี
ไถยจิตจับต้องผ้านั้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก มีไถย
จิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระผู้มีพระภาค ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก มี
ไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐานแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
๔. เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง
[๑๒๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งพบผ้าห่มที่เขา
ตากไว้ มีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้มี
ราคามาก มีไถยจิตจับต้องแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบผ้าที่เขาตากไว้ มี
ราคามาก มีไถยจิตยังผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้มี
ราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐานแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง
[๑๓๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วย
หมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วยหมาย
ใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วยหมาย
ใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วยหมาย
ใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่น จึงลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ด้วยหมาย
ใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์ของตนมาแล้ว ได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
*พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง ๕ เรื่อง
[๑๓๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระ
บนศีรษะแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
... มีไถลจิตยังภาระบนศีรษะให้ไหว ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
... มีไถยจิตลดภาระบนศีรษะลงสู่คอ ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระที่คอแล้ว
ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
*ภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
... มีไถยจิตยังภาระที่คอให้ไหว ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
... มีไถยจิตลดภาระที่คอลงสู่สะเอว ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้ว
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระที่สะเอว
แล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้
มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
... มีไถยจิตยังภาระที่สะเอวให้ไหว ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
... มีไถยจิตลดภาระที่สะเอวลงถือด้วยมือ ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตวางภาระในมือลงบน
พื้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง นำทรัพย์ของผู้อื่นไป มีไถยจิตหยิบทรัพย์นั้นขึ้นจาก
พื้นดินแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง
[๑๓๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้วเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุอีก
รูปหนึ่งได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส
จีวรของผม ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่าผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพาดจีวรไว้บนตั่ง แล้วเข้าไปสู่วิหารภิกษุอีกรูปหนึ่ง
เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมาถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส จีวรของผม
ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้
มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
*ภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้านิสีทนะไว้บนตั่ง แล้วเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุ
อีกรูปหนึ่งเก็บไว้ด้วยคิดว่า ผ้านิสีทนะนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่า
อาวุโส ผ้านิสีทนะของผม ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุ
นั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ใต้ตั่ง แล้วเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
เก็บไว้ด้วยคิดว่า บาตรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมาถามภิกษุนั้นว่า อาวุโส บาตร
ของผม ใครลักไป ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของยึดถือภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ
เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ตอบตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้วแล้วเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง
เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้ อย่าหายเสียเลย ภิกษุณีผู้เจ้าของออกมา ถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้า
จีวรของดิฉัน ใครลักไป ภิกษุณีนั้นตอบอย่างนี้ว่า ดิฉันลักไป ภิกษุณีเจ้าของ ยึดถือภิกษุณีนั้นว่า
ไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายๆ
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ
เพราะตอบตามคำถามนำ.
เรื่องลม ๒ เรื่อง
[๑๓๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฎกถูกลมบ้าหมูพัดหอบไป จึงเก็บ
ไว้ ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่เจ้าของ เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตถือเอาผ้าโพกซึ่งถูกลมบ้าหมูพัดหอบไป
ด้วยเกรงว่าเจ้าของจะเห็นเสียก่อน เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ เธอได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าคิดลัก พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องศพที่ยังสด
[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ศพสด และ
ในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่ จึงเปรตนั้น ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่าท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ถือเอาผ้า
สากฎของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อ จึงได้ถือเอาไป ทันใดศพนั้นลุกขึ้นเดินตามหลังภิกษุ
นั้นไป ภิกษุนั้นเข้าไปสู่วิหารปิดประตู ร่างศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้นทันที เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุ
ทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก
[๑๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อจีวรของสงฆ์ อันภิกษุจีวรภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมี
ไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับจีวรไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมัง-
*หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติ-
*ปาราชิกแล้ว.
เรื่องเรือนไฟ
[๑๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สำคัญผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งในเรือน
ไฟว่าของตน จึงนุ่งแล้ว ภิกษุนั้นได้ถามท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ ไฉนท่านจึงนุ่งผ้า
อันตรวาสกของผมเล่า?
ท่านพระอานนท์ตอบว่า อาวุโส ผมเข้าใจว่าของผม
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าของตน ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง
[๑๓๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดนราชสีห์
จึงใช้อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนราชสีห์
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดนเสือโคร่งจึงใช้
อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
*พระภาค ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนเสือโคร่ง
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดนเสือเหลือง จึงใช้
อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
*พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนเสือเหลือง
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดนเสือดาว จึงใช้อนุ-
*ปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้อเดนเสือดาว
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเดนสุนัขป่า จึงใช้
อนุปสัมบันให้ต้มแกงฉัน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
*พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเนื้ออันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน.
เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง
[๑๓๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อข้าวสุกของสงฆ์อันภิกษุภัตตุทเทสก์แจกอยู่ ภิกษุ
รูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อของเคี้ยวของสงฆ์อันภิกษุขัชชภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง
พูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อขนมของสงฆ์อันภิกษุปูวภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า
ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่ออ้อยของสงฆ์ อันภิกษุอุจฉุภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า
ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าดูกรภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อผลมะพลับของสงฆ์อันภิกษุผลภาชกะแจกอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง
พูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป เธอได้มีความรังเกียจว่า เรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
เรื่องข้าวสุก
[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายข้าวสุก มีไถยจิตลักข้าว
สุกไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเนื้อ
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายแกงเนื้อ มีไถยจิตลักเนื้อไป
เต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องขนม
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายขนม มีไถยจิตลักขนมไปเต็ม
บาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
*พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องน้ำตาลกรวด
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายน้ำตาลกรวด มีไถยจิตลักน้ำตาล
กรวดไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องขนมต้ม
ก็โดยสมัยนั้นแล ข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปสู่ร้านขายขนมต้ม มีไถยจิตลักขนมต้ม
ไปเต็มบาตร แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน
เมื่อคืนนี้ได้สวดมนต์ และเดินจงกรม นั่งสมาธิ
และเมื่อคืนคุณแม่ได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
และเมื่อเช้าได้เดินจงกรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ
และวันนี้พิเศษได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานที่วัด
เพื่อให้ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดได้มาสักการะบูชา
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญเป็นเจ้าภาพอุปสมบทหมู่ รุ่น ๑๑ ณ วัดเนินตอง จ.ชลบุรีในวันที่ ๑๙-๒๐ มิถุนายน
โทร.087-6777787

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO