นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 12:51 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ทุกขอริยสัจจ์
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 04 พ.ค. 2010 9:42 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ทนด้วยกุศลจิต ทนด้วยความเข้าใจ อดทนเพราะเห็นประโยชน์คือกุศลจิต ไม่มี

ทางที่จะแก้ความรุนแรงด้วยความรุนแรง เมื่อพื้นสกปรก จะใช้ผ้าสกปรกทำให้พื้น

สะอาดไม่ได้ พระธรรมของพระพุทธเจ้าจึงเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียน มีเมตตา อดทน

ด้วยกุศล ไม่มีอะไรสำคัญกว่าจิตของตนคือการรักษาจิต อาจจะเห็นว่าเหตุการณ์สำคัญ

มากในปัจจุบัน แต่อีกไม่นานก็ลืมหมดแล้ว เหมือนกับชาติที่แล้วที่เราลืมมาหมด ทั้งๆที่

ชาติที่แล้วอาจจะสำคัญผิดคิดว่ามีเรื่องที่สำคัญมากกว่านี้

ทุกอย่างก็คิดเท่านั้น เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ประโยชน์จริงๆของชีวิตคือ

การอบรมปัญญาและรักษาจิตของตนเอง ขออนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

[๘๗๔] มาตลีเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นโทษในความอดทนนี้แล เมื่อใด คนพาลย่อม

สำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญา

ทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.
[๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือหาไม่ก็ตามที

ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใด

แลเป็นคนมีกำลังอดกลั้นต่อคนผู้ทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต ทั้ง

หลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลจำต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้ง

หลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่างคนพาลว่ามิใช่กำลัง
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้ง

สองฝ่ายคือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษา

ประโยชน์ ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้.





อนาปัตติวาร
[๔๗] ภิกษุไม่รู้สึกตัว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ.
สันถตภาณวาร จบ.
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๔๘] เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุวัชชีบุตร ๑ เรื่อง
เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่อง
@๑. ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางปัสสาวมรรคเป็นต้น แล้วถอนออกทางแผลใกล้ต่อมรรคนั้น.
@๒. ยังองค์กำเนิดให้เข้าทางแผลใกล้ต่อมรรคแล้วถอนออกทางมรรค.
@๓. บรรดาสองแผลที่เจือกัน ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางแผลหนึ่งแล้วถอนออกทางแผลที่สอง.
@ป.ส. หน้า ๓๑๗
เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา ๑ เรื่อง เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง
เรื่องมารดา ๑ เรื่อง เรื่องธิดา ๑ เรื่อง
เรื่องพี่น้องหญิง ๑ เรื่อง เรื่องภรรยา ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุหลังอ่อน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาว ๑ เรื่อง
เรื่องแผล ๒ เรื่อง เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่อง
เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชื่อสุนทระ ๑ เรื่อง
เรื่องสตรี ๔ เรื่อง เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง
เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง เรื่องนาคตัวเมีย ๑ เรื่อง
เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุอินทรีย์พิการ ๑ เรื่อง
เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวมัลละเมืองเวสาลี ๓ เรื่อง
เรื่องเปิดประตูนอน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน ๑ เรื่อง
เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง
เรื่องภิกษุณี ๑ เรื่อง เรื่องสิกขมานา ๑ เรื่อง
เรื่องสามเณรี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง
เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องสตรีคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง
เรื่องให้ผลัดกัน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุผู้เฒ่า ๑ เรื่อง
เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง.
เรื่องลิงตัวเมีย
[๔๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมีย แล้วมีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
[๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีหลายรูปด้วยกัน ไม่บอกคืนสิกขา
ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม พวกเธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์
[๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว
ปลอมเป็นคฤหัสถ์เสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเปลือยกาย
[๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว
เปลือยกายเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง
[๕๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้
แล้วนุ่งคากรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง
เปลือกไม้กรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง
ผลไม้กรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง
ผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผมเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่งผ้า
กัมพลทำด้วยขนหางสัตว์เสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่งผ้า
ทำด้วยขนปีกนกเค้าเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง
หนังเสือเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องเด็กหญิง
[๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เห็นเด็กหญิงนอน
อยู่บนตั่ง เกิดความกำหนัด จึงสอดนิ้วแม่มือเข้าไปในองค์กำเนิดเด็กหญิงๆ นั้นตาย เธอได้
มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา
[๕๕] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในภิกษุณี ชื่ออุปปลวัณณา เมื่อ
ภิกษุณีอุปปลวัณณา เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต จึงเข้าไปซ่อนอยู่ในกุฎี เวลาปัจฉาภัตรภิกษุณี
อุปปลวัณณากลับจากบิณฑบาต ล้างเท้าแล้วเข้ากุฎีนั่งบนเตียง มาณพนั้นจึงเข้าปลุกปล้ำประทุษร้าย
ภิกษุณีอุปปลวัณณา นางจึงแจ้งเหตุนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี
ผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง
[๕๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์
เดิมนั้นแหละ อุปสมบทเดิมนั้นแหละ พรรษาก็เหล่านั้น และให้อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย
อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุณีทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้นใน
สำนักภิกษุณีทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ
เพราะอาบัติเหล่านั้น
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เพศชายปรากฏแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์เดิมนั้นแหละ
อุปสมบทเดิมนั้นแหละ พรรษาก็เหล่านั้น และให้อยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย อาบัติเหล่าใด
ของภิกษุณีทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้น ในสำนักภิกษุ
ทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุณีทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติเพราะอาบัติ
เหล่านั้น.
เรื่องมารดา
[๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว
เสพเมถุนธรรมในมารดา เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องธิดา
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วเสพ-
*เมถุนธรรมในธิดา เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องพี่น้องหญิง
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วเสพ-
*เมถุนธรรมในพี่น้องหญิง เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภรรยา
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่า เธอได้มีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน
[๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีหลังอ่อน เธอถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้
อมองค์กำเนิดของตนด้วยปาก เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาว
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีองค์กำเนิดยาว เธอถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว
ได้สอดองค์กำเนิดของตนเข้าสู่วัจจมรรคของตน เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องแผล ๒ เรื่อง
[๕๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมีแผลอยู่ใกล้องค์
กำเนิด ภิกษุนั้นคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ จึงสอดองค์กำเนิดของตน เข้าใน
องค์กำเนิดของศพ แล้วถอนออกทางแผล เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมีแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด
ภิกษุนั้นคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ จึงสอดองค์กำเนิดของตนเข้าในแผล แล้วถอน
ออกทางองค์กำเนิดของศพ เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องรูปปั้น
[๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิตแห่งรูปปั้นด้วย
องค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องตุ๊กตาไม้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิตแห่งตุ๊กตาไม้ด้วยองค์
กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องภิกษุชื่อสุนทระ
[๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อสุนทระ บวชจากกรุงราชคฤห์ แล้วเดินไปตามถนน
สตรีผู้หนึ่งเห็นท่านแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า นิมนต์หยุดประเดี๋ยวก่อน ดิฉันจักไหว้ นางไหว้
พลางเลิกผ้าอันตรวาสกขึ้นแล้ว ได้อมองค์กำเนิดด้วยปาก เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่าถาม เธอยินดีหรือ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสตรี ๔ เรื่อง
[๖๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่าท่านเจ้าขา นิมนต์
มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามเอง ท่านไม่ต้องพยายาม โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มา
เสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามเอง ดิฉันจักไม่พยายาม โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มา
เสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามภายใน แล้วปล่อยสุกกะภายนอก
โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพ
เมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามภายนอก แล้วปล่อยสุกกะ
ภายใน โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง
[๖๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งยังไม่ถูกสัตว์กัด ได้เสพ
เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งยังไม่ถูกสัตว์กัดโดย ได้เสพ
เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งถูกสัตว์กัดโดยมาก ได้เสพ
เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด ได้สอดองค์
กำเนิดเข้าไปกระทบในปากที่อ้า แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด ได้สอดองค์กำเนิด
เข้าไปในปากที่อ้า ไม่ให้กระทบ แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องกระดูก
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในสตรีผู้หนึ่ง สตรีนั้นถึงแก่กรรมแล้ว
เขาทิ้งไว้ในป่าช้า กระดูกเกลื่อนกลาด ภายหลังภิกษุนั้นไปป่าช้า เก็บกระดูกคุมกันเข้าแล้ว
จดองค์กำเนิดลงที่นิมิต เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องนาคตัวเมีย
[๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในนาคตัวเมีย แล้วมีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว.
เรื่องนางยักษิณี
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในนางยักษิณี แล้วมีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องหญิงเปรต
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรต แล้วมีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องบัณเฑาะก์
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในบัณเฑาะก์ แล้วมีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ
[๖๕] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีอินทรีย์พิการ เธอคิดว่า เราไม่รู้สึกสุขหรือ
ทุกข์ อาบัติจักไม่มีแก่เรา จึงเสพเมถุนธรรม แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น
รู้สึกก็ตาม ไม่รู้สึกก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องจับต้อง
[๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักเสพเมถุนธรรมในสตรี ครั้นจับต้อง
ตัวเข้าเท่านั้น ก็เกิดความกินแหนง เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะจำวัดหลับ
[๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักกลางวันในป่าชาติยาวัน แขวงเมือง
ภัททิยะ จำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อยของภิกษุนั้นถูกลมรำเพยให้ตึงตัว สตรีผู้หนึ่งพบเข้าแล้ว
ได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความประสงค์ แล้วหลีกไป ภิกษุเห็นองค์กำเนิด
เปรอะเปื้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ๑ ปวดอุจจาระ ๑ ปวดปัสสาวะ ๑
ถูกลมรำเพย ๑ ถูกบุ้งขน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยอาการ
๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดของภิกษุนั้น พึงเป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยความกำหนัดใด
ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง
[๖๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักกลางวันในป่าอันธวัน แขวง
เมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยา
ที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจ
ว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอจึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน แขวงเมืองสาวัตถี
จำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงแพะคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่เข้าไป
ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงแล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน แขวงเมืองสาวัตถี
จำวัดหลับอยู่ สตรีหาฟืนคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่รังเกียจว่า
เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน แขวงเมือง
สาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีขนโคมัยคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยา
ที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความ
รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องภิกษุชาวมัลละเมืองเวสาลี ๓ เรื่อง
[๖๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวัน แขวงเมือง
เวสาลี จำวัดหลับอยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความ
ประสงค์ แล้วยืนหัวเราะอยู่ใกล้ๆ ภิกษุนั้นตื่นขึ้นแล้วได้ถามสตรีนั้นว่า นี่เป็นการกระทำของ
เธอหรือ?
สตรีนั้นบอกว่า เจ้าค่ะ เป็นการกระทำของดิฉัน
ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุ เธอรู้สึกตัวหรือ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้สึกตัว ไม่ต้องอาบัติ
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวัน แขวงเมือง
เวสาลี จำวัดหลับพิงต้นไม้อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นรีบลุกขึ้น
ทันที แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ
เธอยินดีหรือ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวันแขวงเมืองเวสาลี
จำวัดหลับพิงต้นไม้อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยันให้กลิ้งไป แล้ว
มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ
เธอยินดีหรือ?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องภิกษุเปิดประตูนอน
[๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ณ กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน
แขวงเมืองเวสาลี เปิดประตูจำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อยของเธอ ถูกลมรำเพยให้ตึงตัว
ครั้งนั้น สตรีหลายคนถือของหอมและดอกไม้ไปสู่อาราม มุ่งตรงไปยังวิหาร พบภิกษุนั้น แล้ว
ได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความประสงค์ แล้วกล่าวว่าภิกษุนี้เป็นบุรุษองอาจนัก
แล้วถือของหอมและดอกไม้กลับไป
ภิกษุเห็นองค์กำเนิดเปรอะเปื้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดย่อมเป็นอวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ๑ ปวด
อุจจาระ ๑ ปวดปัสสาวะ ๑ ถูกลมรำเพย ๑ ถูกบุ้งขน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดเป็น
อวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล องค์กำเนิดของภิกษุนั้น พึงใช้การได้ด้วยความกำหนัด
ใด ข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูก่อนจึงจะพักผ่อนได้.
เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน
[๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมใน
ภรรยาเก่า แล้วคิดว่า เราไม่เป็นสมณะ จักสึกละ แล้วเดินทางไปสู่เมืองภารุกัจฉะ พบท่าน
พระอุบาลีในระหว่างทาง จึงกราบเรียนเรื่องนั้นให้ทราบ ท่านพระอุบาลีกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส
อาบัติไม่มีเพราะความฝัน.
เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง
[๗๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความ
เลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ
นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติจัก
ไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง โดยวิธีนี้อาบัติจัก
ไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ซอกรักแร้ โดยวิธีนี้อาบัติจัก
ไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน โดย
วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องบัญญัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง
[๗๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธาในเมืองสาวัตถีเป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติ
จักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
[๗๔] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใส
ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน
อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ
แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง โดยวิธีนี้อาบัติจัก
ไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน
อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ใกล้รักแร้ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน
อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ
แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน
อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง
อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ
ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน
อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ
แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี
แก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน
อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ
แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร
นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน โดยวิธีนี้
อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน
ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุณี
[๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดใน
นางภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสอง
ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสิกขมานา
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดให้นางสิกขมานา
เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้อง
อาบัติ.
เรื่องสามเณรี
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดในสามเณรี
เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องหญิงแพศยา
[๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในหญิง
แพศยา ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องบัณเฑาะก์
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในบัณเฑาะก์
ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องสตรีคฤหัสถ์
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในสตรีคฤหัสถ์
ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องให้ผลัดกัน
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในกันและกัน
เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องภิกษุผู้เฒ่า
[๗๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้เฒ่ารูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมภรรยาเก่า นางได้จับบังคับว่า
ท่านจงมาสึกเสียเถิด ภิกษุนั้นถอยหลังล้มหงาย นางจึงขึ้นคร่อมองค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอยินดีหรือเปล่า?
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องลูกเนื้อ
[๗๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ลูกเนื้อมาสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของเธอแล้ว
ได้อมองค์กำเนิดพลางดื่มปัสสาวะ ภิกษุนั้นยินดีแล้วได้มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ.
ทุติยปาราชิกสิกขาบท
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร
[๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏเขตพระนคร
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปซึ่งเคยเห็นกันเคยคบหากันมา ทำกุฎีมุงบังด้วยหญ้า ณ
เชิงภูเขาอิสิคิลิแล้วอยู่จำพรรษา แม้ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ก็ได้ทำกุฎีมุงด้วยหญ้าแล้วอยู่
จำพรรษา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้า เก็บหญ้า
และตัวไม้ไว้ แล้วหลีกไปสู่จาริกในชนบท ส่วนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรอยู่ ณ ที่นั่นเอง
ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ขณะเมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรเข้าไปบ้านเพื่อ
บิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและไม้ไป
แม้ครั้งที่สอง ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เที่ยวหาหญ้า และไม้มาทำกุฎีมุงบัง
ด้วยหญ้าอีก เมื่อท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต แม้ครั้งที่สอง
คนหาบหญ้า คนหาฟืน ก็ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสียแล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป
แม้ครั้งที่สาม ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ก็ได้เที่ยวหาหญ้าและไม้มาทำกุฎีมุงบังด้วย
หญ้าอีก เมื่อท่านธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต แม้ครั้งที่สาม คนหาบหญ้า
คนหาฟืน ก็ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสียแล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปอีก
หลังจากนั้น ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้มีความคิดว่า เมื่อเราเข้าไปบ้านเพื่อ
บิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบังด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึง
สามครั้งแล้ว ก็เรานี่แหละ เป็นผู้ได้ศึกษามาดีแล้วไม่บกพร่อง เป็นผู้สำเร็จศิลปะในการช่างหม้อ
เสมอด้วยอาจารย์ของตน มิฉะนั้นเราพึงขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วนเสียเอง จึงท่านพระธนิ-
*ยะ กุมภการบุตร ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วน ด้วยตนเอง แล้วรวบรวมหญ้าไม้และโคมัย
มาเผากุฎีนั้น กุฎีนั้นงดงาม น่าดู น่าชม มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง มีเสียงเหมือนเสียงกระดึง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ทอด
พระเนตรเห็นกุฎีนั้นงดงามน่าดูน่าชมมีสีแดง ครั้นแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นั่นอะไร งดงาม น่าดู น่าชม มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง ครั้นภิกษุเหล่านั้น กราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว พระพุทธองค์ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษนั้น
จึงได้ขยำโคลน ทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วน ด้วยตนเองเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอ็นดู ความ
อนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์ มิได้มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย พวกเธอจงไปทำลายกุฎีนั้น
พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย อันภิกษุไม่ควรทำกุฎีที่สำเร็จ
ด้วยดินล้วน ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว พากันไปที่กุฎีนั้น ครั้งถึงแล้วได้ทำลายกุฎีนั้นเสีย ท่าน
พระธนิยะ กุมภการบุตร จึงถามภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโส พวกท่านทำลายกุฎีของผม เพื่ออะไร?
ภิ. พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำลาย ขอรับ.
ธ. ทำลายเถิด ขอรับ ถ้าพระผู้มีพระภาคผู้ธรรมสามีรับสั่งให้ทำลาย.
[๘๐] กาลต่อมา ความดำรินี้ได้มีแก่ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า เมื่อเราเข้าไปบ้าน
เพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึง
สามครั้งแล้ว แม้กุฎีดินล้วนที่เราทำไว้นั้น พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งให้ทำลายเสีย ก็เจ้าพนักงาน
รักษาไม้ที่ชอบพอกับเรามีอยู่ ไฉนหนอเราพึงขอไม้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้มาทำกุฎีไม้ จึงท่านพระ-
*ธนิยะ กุมภการบุตร เข้าไปหาเจ้าพนักงานรักษาไม้ ครั้นแล้วได้บอกเรื่องนี้ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้
ว่า ขอเจริญพร เมื่ออาตมาเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีมุงบัง
ด้วยหญ้าเสีย แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึงสามครั้ง แม้กุฎีดินล้วนที่อาตมาทำไว้นั้นพระผู้มี
พระภาคก็รับสั่งให้ทำลายเสียแล้ว ขอท่านจงให้ไม้แก่อาตมาๆ ประสงค์จะทำกุฎีไม้.
จ. ไม้ที่กระผมจะพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าได้นั้น ไม่มี ขอรับ มีแต่ไม้ของหลวงที่
สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย ถ้าพระเจ้าแผ่นดินรับสั่ง
ให้พระราชทานไม้เหล่านั้น ขอท่านจงให้คนขนไปเถิดขอรับ.
ธ. ขอเจริญพร ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแล้ว.
ลำดับนั้น เจ้าพนักงานรักษาไม้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านั้นแล
เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม
พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเลื่อมใสในพระสมณะเหล่านี้ยิ่งนัก ท่านพระธนิยะนี้ย่อมไม่บังอาจเพื่อจะ
กล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้พระราชทาน ว่าพระราชทานแล้ว จึงได้เรียนต่อท่าน
พระธนิยะ กุมภการบุตรว่า นิมนต์ให้คนขนไปเถิด ขอรับ จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร สั่งให้
ตัดไม้เหล่านั้นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่บรรทุกเกวียนไป ทำกุฎีไม้แล้ว.
วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
[๘๑] ต่อจากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐไปตรวจราชการในกรุง
ราชคฤห์ ได้เข้าไปหาเจ้าพนักงานรักษาไม้ ครั้นแล้วได้พูดถึงเรื่องนี้ ต่อเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า
พนาย ไม้ของหลวงที่รักษาไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย
เหล่านั้น อยู่ ณ ที่ไหน?
เจ้าพนักงานรักษาไม้เรียนว่า ใต้เท้าขอรับ ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทาน
แก่ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ไปแล้ว.
ทันใดนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ เกิดความไม่พอใจว่า ไฉน
พระเจ้าแผ่นดินจึงได้พระราชทานไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเก็บไว้เพื่อ
ใช้ในคราวมีอันตรายแก่พระธนิยะ กุมภการบุตร ไปเล่า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราช กราบทูลว่า ได้ทราบเกล้าว่า ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร
ซึ่งเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย พระองค์พระราชทานแก่พระธนิยะ กุมภการบุตรไปแล้ว
จริงหรือพระพุทธเจ้าข้า?
พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามว่า ใครพูดอย่างนั้น?
ว. เจ้าพนักงานรักษาไม้พูด พระพุทธเจ้าข้า.
พ. พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้คนไปนำเจ้าพนักงานรักษาไม้มา.
จึงวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐ สั่งให้เจ้าหน้าที่จองจำเจ้าพนักงานรักษา
ไม้นำมา
[๘๒] ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เห็นเจ้าพนักงานรักษาไม้ถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำ
ไป จึงไต่ถามเจ้าพนักงานรักษาไม้ว่า เจริญพร ท่านถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำไป ด้วยเรื่องอะไร?
เจ้าพนักงานรักษาไม้ตอบว่า เรื่องไม้เหล่านั้น ขอรับ.
ธ. ไปเถิด ท่าน แม้อาตมาก็จะไป.
จ. ใต้เท้าควรไป ขอรับ ก่อนที่กระผมจะถูกประหาร.
จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอม
เสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราช เสด็จเข้าไปหาท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามท่านพระธนิยะกุมภการบุตรถึงเรื่องไม้นั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ทราบว่าไม้
ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเขาเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย โยมได้
ถวายแก่พระคุณเจ้า จริงหรือ?
ธ. จริงอย่างนั้น ขอถวายพระพร.
พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกิจมาก มีกรณียะมาก แม้ถวายแล้ว
ก็ระลึกไม่ได้ ขอพระคุณเจ้าโปรดเตือนให้โยมระลึกได้.
ธ. ขอถวายพระพร พระองค์ทรงระลึกได้ไหม ครั้งพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ใหม่ๆ
ได้ทรงเปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่า หญ้า ไม้ และน้ำข้าพเจ้าถวายแล้วแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ขอสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายโปรดใช้สอยเถิด.
พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมระลึกได้ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความละอาย
มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา มีอยู่ ความรังเกียจแม้ในเหตุเล็กน้อยจะเกิดแก่สมณะและพราหมณ์
เหล่านั้น คำที่กล่าวนั้น โยมหมายถึงการนำหญ้าไม้และน้ำของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น แต่ว่า
หญ้าไม้และน้ำนั้นแลอยู่ในป่า ไม่มีใครหวงแหน พระคุณเจ้านั้น ย่อมสำคัญเพื่อจะนำไม้ที่เขา
ไม่ได้ให้ไปด้วยเลศนั้น พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยม จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศ ซึ่งสมณะ
หรือพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด พระคุณเจ้า รอดตัวเพราะบรรพชาเพศแล้วแต่อย่าได้
ทำอย่างนั้นอีก.
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
[๘๓] คนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ ไม่
ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ
ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มี
แก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์ย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นสมณะของ
พระสมณะเหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็น
สมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่
ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้
ปราศจากความเป็นพราหมณ์แล้ว แม้พระเจ้าแผ่นดิน พระสมณะเหล่านี้ยังหลอกลวงได้ ไฉนจัก
ไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า ดูกรธนิยะ ข่าวว่า เธอ
ได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป จริงหรือ?
ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถือเอาไม้
ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเปล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อม
ใสแล้ว
ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่งอยู่ไม่ห่างพระผู้มี
พระภาค จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิตเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์
ประมาณเท่าไรหนอ?
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกิน
บาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร โดยเอนกปริยายแล้ว
จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก
ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน
เลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่เหมาะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำ
ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม-
*ใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระปฐมบัญญัติ
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็น
ขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศ
เสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย
ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ
ไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ.


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ที่ผ่านมาได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน
และมีงานถวายเลี้ยงพระทั้งวัด และงานบวชพระ 1 รูป
และเมื่อเช้าได้เดินจงกรม นั่งสมาธิ
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมผ้าป่าในโครงงานอบรมปฎิบัติธรรมระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน(บวร)

สิ่งที่ต้องเริ่มก่อสร้างมีดังต่อไปนี้

1.ศาลาปฎิบัติธรรม 2 หลัง
2.ห้องน้ำ 20 ห้อง
3.พระพุทธรูปใหญ่(สมเด็จองค์ปฐม)เชิงเขาบัวสูง 2 เมตรหน้าตัก 5 เมตร
สูง 7 เมตร ฐานพระ สูง 9 เมตร เป็นศาลาหรือใช้เป็นโบสถ์ทำ สังฆกรรมได้

4. สร้างลานปฏิบัติธรรมเนื้อที่ 1 ไร่
5. สร้างทางเดินจงกรม
6. ค่าอาหารและน้ำปานะ
โทร. 084-419-0553

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO