นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 6:52 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ความยึดมั่น
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 26 เม.ย. 2010 10:22 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ความเป็นพาลคือการไม่รู้ความจริง ขณะที่เป็นอกุศลจิตไม่รู้ความจริง ไม่รู้ว่าสิ่งใดถูก

สิ่งใดผิด พาลจึงไม่ได้ห่างไกลตัวเลย คือที่กำลังมีในขณะนี้ ขณะที่ไม่รู้ความจริง ขณะ

ที่เป็นอกุศลธรรม พาลจึงเป็นเพียงการสมมติขึ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงคืออกุศลจิต

อกุศลเจตสิกและอกุศลธรรม จะหาพาลจากที่ไหนก็จากใจของแต่ละคน แล้วเราควร

จะไล่พาลใครดี ?
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จอง

เวร ทรงสอนให้มีเมตตาในบุคคลอื่น การไล่คนพาลจึงไม่ใช่การไล่คนอื่น แต่ไล่พาล

คืออกุศลธรรมของตนเองที่มีอยู่

โลกย่อมดำเนินไปอยู่แล้วเป็นปกติ เข้าใจว่าผิดปกติเพราะหลงในเรื่องราวและยึดถือ

ว่ามีเรา มีสีตว์ บุคคล ไม่มีใครจัดการอะไรได้ เราลืมความเป็นอนัตตาและจะเป็นผู้-

จัดการโลก แต่ลืมประโยชน์สูงสุดคือความเข้าใจพระธรรมและการขัดเกลากิเลสทุก

ประการ หากมีความเห็นถูกจริงๆแล้วจะไม่สำคัญว่ามีสัตว์ บุคคลที่เป็นคนพาล แต่เป็น

เพียงสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละจิต จึงไม่มีสัตว์

บุคคลที่จะไปไล่ ประโยชน์คือ ไล่พาลที่มีในใจของแต่ละคน ความถูกต้องจึงไม่ต้อง

ไปหาที่อื่น หาที่ใจของแต่ละคน แค่นี้ก็เบาด้วยความเข้าใจพระธรรมครับ
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑ - หน้าที่ 20

[แก้พาลศัพท์]

[๑๗] ส่วนความพิสดารในคาถาที่ ๑ นี้ ดังต่อไปนี้ :-

การไม่คบ ความไม่มีคนพาลนั้นเป็นเพื่อน ความไม่เข้าพวกด้วย

คนพาลนั้น ชื่อว่าการไม่เสพ. สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ประกอบด้วย

อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า คนพาล. อีกประการ

หนึ่ง ครูทั้ง ๖ นี้ คือปรูณ กัสสป, มักขลิ โคสาล, นิครนถ นาฏบุตร

สญชัย เวลัฏฐบุตร, ปกุทธ กัจจายนะ, อชิต เกสกัมพล, และปาป-

บุคคลเหล่าอื่นจากครูทั้ง ๖ นั้น มีพระเทวทัตและโกกาลิกภิกษุเป็นต้น

พึงทราบว่า "คนพาล." จริงอยู่ คนเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า

คนพาล เพราะไม่เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นอยู่

ด้วยอาการสักว่าหายใจ. ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถา*ท่านจึงกล่าวว่า

"ชนเหล่าใด เป็นอยู่ อธิบายว่า ดำรงชีพอยู่ ด้วยอาการสักว่าลม

หายใจเข้าออก หาใช่เป็นอยู่ด้วยปัญญาอันประเสริฐไม่ เหตุนั้น ชน

เหล่านั้น จึงชื่อว่า พาล. " แม้ในสัททนีติปกรณ์ ท่านก็กล่าวไว้ว่า

"พาล ธาตุ เป็นไปในอรรถว่า ปราณ. ปราณ ก็คือความเป็นอยู่และ

การหายใจ; ผู้ใด ย่อมเป็นอยู่ คือยังหายในเข้าและหายใจเข้าออกอยู่

มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดำรงชีพอยู่ ด้วยอาการสักว่าหายใจเข้าออก

หาเป็นอยู่ด้วยปัญญาอันประเสริฐไม่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า พาล"


มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑ - หน้าที่ 21

[ลักษณะคนพาล]

ส่วนลักษณะคนพาล พึงทราบด้วยอำนาจทุจริต มีความคิด

เรื่องที่คิดชั่วเป็นต้น. จริงอยู่ คนพาล แม้เมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่อง

ที่คิดชั่ว ด้วยอำนาจอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ ถ่ายเดียว,

แม้เมื่อพูด ก็พูดจำเพาะแต่คำที่พูดชั่ว ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสวาท

เป็นต้น, แม้เมื่อทำ ก็ทำจำเพาะแต่กรรมที่ทำชั่ว ด้วยสามารถกายทุจริต

มีปาณาติบาตเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ทุจริตทั้งหลายมีความคิดเรื่องที่

คิดชั่วเป็นต้นของเขา ท่านจึงเรียกว่า พาลลักษณะ เพราะคนพาลเป็น

เหตุอันบุคคลกำหนด คือรู้กันได้, เรียกว่าพาลนิมิต เพราะเป็นเหตุ

แห่งการหมายรู้คนพาล, และเรียกว่าพาลาปทาน เพราะคนพาลประพฤติ

ไม่ขาด. ด้วยเหตุนั้น ในพาลบัณฑิตสูตร* ในอุปริปัณณาสก์

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะ พาลนิมิต

พาลาปทานของคนพาล ๓ ประการเหล่านี้. ๓ ประการอะไรบ้าง ?

ภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดชั่ว พูดแต่

คำที่พูดชั่ว ทำแต่กรรมที่ทำชั่ว."



[แก้พาลศัพท์อีกนัยหนึ่ง]

ชนจำพวกใด ตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ ถือเอาแต่สิ่งอันมิใช่

ประโยชน์ทั้ง ๒, ชนจำพวกนั้น ชื่อว่าพาล. ความจริง ท่านเรียกชน

จำพวกนั้นว่าพาล ก็เพราะถือเอาสิ่งอันมิใช่ประโยชน์ทั้ง ๒ และเรียก

ว่าพาล ก็เพราะตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒. กิริยาศัพท์ว่า ว่าพาล " ลนฺติ"

นั้น จัดเข้าในหมวดธาตุมีภูธาตุเป็นต้น โดยข้อบังคับว่า ลา ธาตุ

มี ทฺวิ ศัพท์เป็นบทเคียง เป็นไปในความถือ. กิริยาศัพท์ว่า ลุนนฺติ

นั้น จัดเข้าในหมวดธาตุมีกี่ธาตุเป็นต้น โดยข้อบังคับว่า ลุธาตุ (มี

ทฺวิ ศัพท์เป็นบทเคียง) เป็นไปในความตัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 148

เรื่องนางสิริมา [๑๑๙]

" พึงชำนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ, พึง

ชนะคนไม่ดี ด้วยความดี. พึงชนะคนตระหนี่ ด้วย

การให้ปัน, พึงชนะคนพูดพล่อย ๆ ด้วยคำจริง. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 65

เวรไม่ระงับด้วยผูกเวร

"ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า 'ผู้โน้น

ได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้น

ได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่

ระงับได้, ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น

ไว้ว่า 'ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ติเรา ผู้โน้นได้ชนะ

เราผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่า

นั้นย่อมระงับได้."

การชนะกิเลสคือชนะกิเลสตัวเองนั่นเอง เช่น เราเคยขี้โกรธและเป็นคน

ผูกโกรธ ยังไม่ลืมเรื่องนั้น หรือเล่าเรื่องที่เรายังโกรธให้คนอื่นฟัง ก็อดทนมากขึ้นที่จะ

ไม่ผูกโกรธและมีเมตตากัน เพราะทุกอย่างเป็นเพียงธรรมที่ปรากฏทางตา หู..ใจเท่านั้น

และเห็นใจมีเมตตากันมากขึ้นอันเนื่องมาจากการฟังพระธรรม พระธรรมนั้นแหละจะ

ช่วยขัดเกลาให้เราเป็นคนที่มีเมตตามากขึ้น ชนะกิเลสของตนเอง ค่อยๆ อบรมไปด้วย

การฟังพระธรรม ที่สำคัญนะ ไม่มีตัวตนที่บังคับให้มีเมตตา หรือชนะกิเลสตัวเองแต่เกิด

จากการฟังพระธรรมจนเข้าใจนั่นเอง ธรรมให้ชนะกิเลสของตนเองให้มีเมตตากับคนอื่น

มากขึ้นครับ ...มีเมตตากันนะ
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ข้อความบางตอนจาก กกจูปมสูตร

ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ติเตียนตัวเธอเอง ต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอ

พึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะแม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว จัก

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน เธอพึง

ศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆประหารเธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อน

ดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตรา ผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และ

วิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปร

ปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่วจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ แลจักเป็นผู้มีเมตตา

จิต ไม่มีโทสะภายใน ผัคคุนะเธอพึงศึกษาอย่างนี้ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ข้อความบางตอนจาก กกจูปมสูตร
พ. .....ถ้าแม้ภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น

เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว จัก

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน เธอ

พึงศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ประหารภิกษุณีเหล่านั้น

ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตราต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น

เธอพึงละความพอใจและวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่วจักอนุ-

เคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิตไม่มีโทสะภายใน เธอพึง

ศึกษาอย่างนี้แล

นำมาให้พิจารณา เรื่องพระเจ้ามหานามศากยะ

ผู้เป็นพระสกทาคามี...พอดีอ่านเจอเลยนำมาให้พิจารณาครับ(เรื่องการฆ่าตัวตาย)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 37

ศากยวงศ์ อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น รับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ใน

เวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า " เราจักเสวยอาหารเช้า" ดังนี้แล้ว

ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง, เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว, รับสั่งให้

เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า " เราจักเสวยร่วมกัน."

แต่กษัตริย์ทั้งหลาย ถึงจะสละชีวิต ก็ไม่ยอมเสวยร่วมกับบุตรนาง

ทาสี; เพราะฉะนั้น ท้าวมหานามทอดพระเนตรเห็นสระ ๆ หนึ่งจึงตรัสว่า

เรามีร่างกายอันสกปรก, พ่อ เราจักอาบน้ำ."

พระเจ้าวิฑูฑภะตรัสว่า " ดีละ พระเจ้าตา เชิญพระเจ้าตาอาบเถิด."

ท้าวมหานามทรงดำริว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะนี้ จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม,

การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม

สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผม ขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ.
ด้วยเดชแห่งคุณของท้าวมหานามนั้น นาคภพก็แสดงอาการร้อน.

พระยานาคใคร่ครวญว่า " เรื่องอะไรกันหนอ ?" เห็นแล้วจึงมาสู่สำนัก

ของท้าวมหานามนั้น ให้ท้าวมหานามประทับบนพังพาน แล้วเชิญเสด็จ

เข้าไปสู่นาคภพ. ท้าวมหานามนั้นอยู่ในนาคภพนั้นนั่นแล สิ้น ๑๒ ปี.

ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะประทับนั่งคอยอยู่ ด้วยทรงดำริว่า "พระเจ้า

ตาของเราจักมาในบัดนี้ ; เมื่อท้าวมหานามนั้นชักช้าอยู่, จึงรับสั่งให้ค้น

ในสระ. ตรวจดูแม้ระหว่างบุรุษด้วยแสงประทีป ไม่เห็นแล้วก็เสด็จหลีก

ไป ด้วยทรงดำริว่า " พระเจ้าตาจักเสด็จไปแล้ว."


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 495

อรรถกถาโลณกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโลณกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยถา ยถาย ตัดบทเป็น ยถา ยถา อย. บทว่า ตถา

ตถา ต ได้แก่ ตถา ตถา ต กมฺม. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า บุคคลทำกรรมไว้โดยประการใด ๆ ก็จะเสวยวิบาก (ผล) ของ

กรรมนั้นโดยประการนั้นๆ เพราะว่าใครๆไม่สามารถที่จะไม่เสวยวิบากของกรรม

ที่ทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลทำกรรมไว้เท่าใด ก็จะเสวยวิบากของกรรม

เท่านั้นทีเดียว. บทว่า เอว สนฺต คือ เอว สนฺเต แปลว่า เมื่อเป็น

อย่างนี้. บทว่า พฺรหฺมจริยวาโส น โหติ ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมใด

ที่ทำไว้ก่อนการทำมรรคให้เกิดมี เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นอันตนจะต้อง

เสวยเป็นแน่แท้ พรหมจรรย์แม้อยู่จบแล้ว ก็ไม่เป็นอันอยู่เลย. บทว่า

โอกาโส น ปญฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า ก็

เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ การประมวลกรรม และการเสวยผลของกรรม

ยังคงมีอยู่ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ โดยเหตุโดยนัยชื่อว่า

ไม่ปรากฏ. บทว่า ยถา ยถา เวทนิย ได้แก่ อันตนพึงเสวยโดยอาการ

ใด ๆ. บทว่า ตถา ตถาสฺส วิปาก ปฏิสเวทิยติ ความว่า เสวยวิบาก

ของกรรมนั้นโดยอาการนั้น ๆ.

มีคำอธิบายดังนี้ว่า ในชวนจิตทั้ง ๗ กรรมในชวนจิตที่ ๑ นั้นใด

เมื่อมีปัจจัย ก็ได้วาระที่จะให้ผลทันที กรรมนั้นจัดเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม ส่วนกรรมในชวนจิตที่ ๗ อันใด

กรรมนั้นเมื่อมีปัจจัย ก็จะเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่า

เป็นอโหสิกรรม และกรรมในชวนจิตทั้ง ๕ ในท่ามกลางอันใด กรรมนั้น

ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ตราบเท่าที่ยังท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ บุรุษ

(บุคคล) นี้ทำกรรมนั้นไว้จะพึงเสวยได้ โดยอาการใด ๆ ในบรรดาอาการ

เหล่านี้ ก็จะเสวยวิบากของกรรมนั้นโดยอาการนั้น ๆ ทีเดียว. แท้จริง ท่าน

กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า กรรมที่ได้วาระให้ผลแล้วเท่านั้น ชื่อว่า ยถาเวทนิย-

กรรม. บทว่า เอว สนต ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยวาโส โหติ ความว่า

คำที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่ามีการอยู่พรหมจรรย์ที่ทำกรรมให้สิ้นไป เพราะกรรมที่

จะต้องทำให้สิ้นไป ยังมีอยู่ดังนี้ เป็นอันกล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว.

บทว่า โอกาโส ปญฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย

ความว่า เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่เกิดวัฏทุกข์ต่อไปในภพนั้น ๆ

เพราะอภิสัขารวิญญาณดับไปด้วยมรรคนั้น ๆ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุด

แห่งทุกข์ด้วยดีจึงปรากฏ.

ยถาเวทนิยกรรม

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสภาพแห่งยถาเวทนิยกรรมนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อปฺปมตฺตก ได้แก่ ปริตตกรรม คือ กรรมนิดหน่อย กรรมเบา

กรรมเล็กน้อย กรรมลามก. บทว่า ตาทิสเยว ได้แก่ วิบากที่เห็นสมด้วย

กับกรรมนั้นแล. บทว่า ทิฏฺธมฺมเวทนิย ความว่า ในกรรมนั้นแล มี

อธิบายว่า กรรมที่จะพึงให้ผล เมื่อได้วาระที่จะให้ผลในปัจจุบัน ก็จะกลาย

เป็นทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม. บทว่า นาณุปิ ขายติ ความว่า (กรรมเล็กน้อย

นั้น) ไม่ปรากฏแม้ (เพียง) เล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒ อธิบายว่า ไม่ให้ผล

แม้เพียงเล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒. บทว่า พหุเทว ความว่า ส่วนกรรมที่มาก

จักให้ผลได้อย่างไรเล่า ?๑

ปุถุชนผู้เว้นจากภาวนา (เจริญสติปัฏฐาน) ในกาย เป็นผู้มีปกติไป

สู่วัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า อภาวิตกาโย เป็นต้น.

บทว่า ปริตฺโต ได้แก่ มีคุณนิดหน่อย. บทว่า อปฺปาตุโม ความว่า

อัตภาพเรียกว่า อาตุมะ ปุถุชนชื่อว่ามีอัตภาพเล็กน้อยโดยแท้ เพราะแม้เมื่อ

อัตภาพนั้นจะใหญ่ แต่ก็มีคุณเล็กน้อย. บทว่า อปฺปทุกฺขวิหารี ความว่า

มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยวิบากเล็กน้อย. พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงด้วยบทว่า ภาวิตกาโย เป็นต้น. อธิบายว่า พระขีณาสพนั้น ชื่อว่า

มีกายอบรมแล้ว ด้วยภาวนากล่าวคือกายานุปัสสนา หรือชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว

เพราะเจริญกายานุปัสสนา. บทว่า ภาวิตสีโล แปลว่า เจริญศีล. แม้ใน

สองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพ ชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว ด้วยอบรม

ปัญจทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรียสังวรศีล ด้วยบทว่า ภาวิตกาโย

นี้ ตรัสศีล ๓ ที่เหลือด้วยบทว่า ภาวิตสีโล นี้. บทว่า อปริตฺโต คือ

มีคุณมิใช่เล็กน้อย. บทว่า มหตฺตา คือ พระขีณาสพชื่อว่า มีอัตภาพใหญ่

เพราะแม้จะมีอัตภาพเล็กน้อย แต่ก็มีคุณมาก. ก็บทว่า อปฺปมาณวิหารี นี้

เป็นชื่อของพระขีณาสพโดยแท้ อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นชื่อว่า อัปปมาณ-

วิหารี (มีปกติอยู่ด้วยคุณธรรมอันหาประมาณมิได้) เพราะไม่มีกิเลสมีราคะ

เป็นต้นที่ทำให้มีประมาณ (คือจำกัดขอบเขตของคุณธรรม). บทว่า ปริตฺเต

แปลว่า เล็กน้อย. บทว่า อุทกมลฺลเก แปลว่า ในขันน้ำ.

บทว่า โอรพฺภิโก แปลว่า เจ้าของแกะ. บทว่า โอรพฺภฆาตโก

แปลว่า คนฆ่าแกะ. บทว่า ชาเปตุ วา ได้แก่ เพื่อทำให้เสื่อมด้วยความ

เสื่อมทรัพย์. ปาฐะว่า ฌาเปตุ ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างเดียวกันนี้แล.

บทว่า ยถาปจฺจย วา กาตุ ความว่า เพื่อทำได้ตามปรารถนา. บทว่า

อุรพฺภธน ได้แก่ ราคาค่าตัวแกะ. ก็เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น ถ้า

ปรารถนาก็จะให้ราคาแกะนั้น ถ้าไม่ปรารถนาก็จะให้จับคอลากออกไป.

บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ (นิพพาน) ไว้ในสูตรนี้แล.

จบอรรถกถาโลณกสูตรที่ ๙

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ทำบุญเลี้ยงพระทั้ง วัดซึ่งมีผู้มาร่วมงานเยอะมาก
เมื่อเช้านี้ได้สวดมนต์ และคุณแม่ก็มาสวดมนต์ด้วย
และทุกวันได้ให้อาหารสัตว์เป็นจำนวนมากทุกวัน
และคุณป้าข้างบ้านได้ไปทำบุญเลี้ยงพระทั้งวัดที่ภาคอีสาน 3 วันเต็ม
และวันนี้ก็มีงานบุญเลี้ยงพระทั้งวัดซึ่งปลื้มปิติมากครับ
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมสร้างมหามณฑปครอยรอยพระพุทธบาท

โทร 0846831608


ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO