นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 8:40 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: วัตถุภายนอก
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 19 เม.ย. 2010 10:07 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
แสดงอริยสัจทั้งสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

โดยนัยสุญญตา คือ ความว่างจากตัวตน

ดังข้อความจากอรรถกถาตอนหนึ่งมีว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง)

ในข้อว่า โดยสุญญตาและโดยเป็นธรรมอันเดียวกันเป็นต้น นี้

พึงทราบโดยสภาพว่างก่อน. จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดทีเดียว พึง

ทราบว่า เป็นสภาพว่าง เพราะไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ทำ ไม่มีผู้ดับ ไม่มีผู้เดิน

ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า

ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่

บุคคลไร ๆ ผู้เป็นทุกข์หามีไม่ การทำมีอยู่

แต่ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่ แต่บุคคลผู้

ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่บุคคลผู้เดินหามีไม่.

อีกอย่างหนึ่ง

ความว่างในสัจจะ ๔ เหล่านั้น พึง

ทราบอย่างนี้ คือ สัจจะ ๒ บทแรกว่างจาก

ความเที่ยง ความงาม ความสุข และอัตตา

อมตบทคือพระนิพพานว่างจากอัตตา มรรค

ว่างจากความยั่งยืน ความสุข และอัตตา....

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

มหาโควินทสูตร

ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค ( มรรคมีองค์ 8 )
.............สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความ

เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแล

เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกำหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่

เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อ

พระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะ

ก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ

คลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ

พระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ

ความคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้

เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อัน

ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ

พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไป

เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ

เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่.

ภิกษุนั้นจะมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ

แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส (สัลเลข-

ธรรม) ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพ

นี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ.

ฯลฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญ

ญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่.

ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ

แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมใน

วินัยของพระอริยะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

อนึ่ง โลกุตรมรรคใด พร้อมทั้งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับ ว่าเป็น

ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็น

ทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย

วิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ

วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรง

สงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ. ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ

และสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม ๓

ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ที่เหลือ

สงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา

อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.
คำว่า "วิปัสสนา" แปลว่า เห็นแจ้ง คือเห็นแจ้งในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎถูกต้อง

ตามความเป็นจริง เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติเพื่อถึงการดับทุกข์ อันได้แก่

การเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ การเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง ซึ่งเป็นทางสายเอก ทางเดียว

เท่านั้นไม่มีทางอื่น ส่วนสมถคือการเจริญความสงบ โดยให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ทำให้จิต

สงบเป็นกุศลตามกำลังของสมาธิหรือฌาน แต่ไม่ได้ขัดเกลากิเลส เพียงแต่ข่มไว้ได้เท่านั้น

เพราะฉะนั้นในยุคที่พระธรรมวินัยยังอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ จึงเป็นโอกาสอันประเสริฐ

ที่ท่านควรจะได้ศึกษาและน้อมมาประพฤติปฏิบัติตาม เพราะเป็น "ขณะที่หาได้ยากยิ่ง" ขณะ

ใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นสงบแล้ว โดยไม่ต้องขวนขวายแสวงหาวิธีการใดๆเพื่อให้จิตสงบ

และปัญญาที่เกิดจากความเข้าใจในพระธรรม ก็จะปรุงแต่งให้เกิดโยนิโสมนสิการมากยิ่งขึ้น

โดยที่ไม่ต้องไปทำอะไรให้ผิดปกติไปจากชีวิตประจำวัน...เพราะไม่มีใครทำได้ นอกจากเหตุ

ปัจจัยปรุงแต่งเท่านั้น ดังนั้นจึงควรศึกษาเพื่อให้รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง... ศึกษา

เพื่อรู้แล้วละ ไม่ใช่เพื่อความสงบแล้วไม่รู้อะไร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน

มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่. ภิกษุนั้นจะมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือปฐม-

ฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ( สัลเลข-

ธรรม) ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่อง

อยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ.

ฯลฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้

พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง

แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่.

ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส.

ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้

เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ

แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันตวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.
ทำไมบางท่าน บอกว่า ให้เน้นวิปัสสนามากกว่าสมถะ ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าทรง

สรรเสริญทั้งสองภาวนา เพราะเป็นทางที่จะทำให้จิตสงบจากอกุศล และเจริญกุศล

ได้เช่นกัน แม้สมถะภาวนาอย่างเดียวจะไม่ทำให้ถึงนิพพาน แต่ก็มีประโยชน์เกื้อกูล

มิใช่น้อย???

กุศลอะไรดับกิเลสได้ กุศลอะไรดับกิเลสไม่ได้ สมถภาวนาดับกิเลสไม่ได้ วิปัสสนา

ดับกิเลสได้รู้ว่ากุศลขั้นใดดับกิเลสได้ แต่ไม่มีปัญญา ไม่มีเหตุปัจจัยให้กุศลขั้นนั้นเกิด

จึงเลือกให้วิปัสสนาเกิดไม่ได้ ตามใจชอบเพราะเป็นธรรม รู้ว่ากุศลขั้นทานดับกิเลสไม่

ได้ แต่เมื่อมีเหตุปัจัยที่จะให้ ก็ให้ก็บังคับไม่ได้ ทั้งๆที่รู้ว่าทานดับกิเลสไม่ได้ แต่ก็เกิด

กุศลขั้นนี้ขึ้นได้ เพราะอะไร เพราะเป็นธรรมไม่ใช่เรา บังคับไม่ได้ไม่มีใครเลือก ไม่มี

ใครเน้น เป็นธรรมทั้งนั้น สะสมสิ่งใด กุศลขั้นใดก็เป็นปัจจัยให้กุศลขั้นนั้นเกิด จะเลือก

ได้อย่างไร แต่เข้าใจตามความเป็นจริง ด้วยความเห็นถูกว่ากุศลขั้นใดดับกิเลสได้ แต่

กุศลขั้นใดจะเกิดก็ไม่มีทางบังคับได้เพราะเป็นไปตามความเข้าใจพระธรรม

กุศลควรเจริญทุกประการ แต่ถ้าบอกว่าเน้นวิปัสสนา ทำไมต้องเน้น เป็นตัวตน

ไหมที่จะเลือกทางนี้หนักกว่าทางนั้น อีกอย่าง ถ้าอย่างนั้น เวลาที่สติไม่เกิดก็แย่สิ

เพราะส่วนใหญ่ ปุถุชนมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ต้องคลุกคลีอยู่กับผู้อื่น ถ้าไม่เจริญ

เมตตาไปด้วย ไม่เจริญมรณานุสสติไปด้วย และไม่ศึกษาสมถะให้เกิดปัญญาแล้ว

เจริญประกอบไปด้วย ปรมัตถบารมีจะเต็มได้อย่างไร???

คำว่าควรเจริญกุศล ต้องรู้ว่ามีตัวตนที่จะทำหรือว่าเป็นธรรมที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งให้เห็น

ประโยชน์ของกุศลประการต่างๆเพราะขณะที่ไม่เป็นกุศลก็ไหลไปกับอกุศลเมื่อเข้าใจ

ดังนี้ ธรรมก็ทำหน้าที่เองให้เกิดสติประการต่างๆ ที่เป็นไปในทาน ศีล...วิปัสสนาโดย

ไม่ได้บังคับ ไม่ได้เลือกเพราะเกิดจากการฟังพระธรรมจนเข้าใจนั่นเอง เพียงแต่มีความ

เห็นถูกว่าเมื่อกุศลขั้นที่ไม่ใช่วิปัสสนาเกิด เช่น ทาน ศีล ก็เข้าใจตามความเป็นจริงว่า

เป็นกุศลที่ไม่สามารถดับกิเลสได้ แต่มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นและที่สำคัญ กุศลที่เป็นไป

ในทาน ศีล สมถภาวนาก็คือธรรมทั้งนั้น รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรานี่คือ

วิปัสสนาโดยมีกุศลประการต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วรู้ตามความเป็นจริงในกุศลที่เกิดขึ้นนั้น

เอง ปุถุชนก็มีปรมัตเป็นอารมณ์(ได้ยินเสียง เป็นต้น) พระอริยก็มีปรมัตเป็นอารมณ์(ได้

ยินเสียง เช่นกัน) ปุถุชนก็มีบัญญัติเป็นอารมณ์ เห็นเป็นคนนั้นคนนี้ พระอริยบุคคลก็มี

บัญญัติเป็นอารมณ์(เห็นเป็นคนนั้นคนนี้) แต่ต่างกันที่ปัญญา พระอริยเห็นถูกว่าเป็น

ธรรมไม่ใช่เรา ปุถุชนยึดถือ ปรมัตว่าเป็นอารมณ์และบัญญัติด้วย ส่วนสติเกิดและไม่

เกิดก็เป็นอนัตตาเช่นกัน และการจะเป็นบารมีได้ต้องประกอบด้วยความเห็นถูก

ไม่ใช่กุศลที่ไม่ได้ประกอบด้วยความเห็นถูก คือ เห็นถูกในการเข้าใจหนทางและโทษ

ของกิเลสและสังสารวัฏ ดังนั้นกุศลทุกประการ เป็นบารมีได้ ถ้าเข้าใจถูก แต่ไม่เลือก

และบังคับเพราะเป็นอนัตตา
อันที่จริงไม่ควรบอกว่าเน้นวิปัสสนาได้หรือไม่ ควรบอกว่า ควรเจริญทั้งสอง

ภาวนาแต่ ศึกษาพระอภิธรรมให้เข้าใจเพื่อละความไม่รู้ คลายความเห็นผิดที่ยึดถือว่ามี

ตัวตนก่อนจะได้ไม่หลงผิด คิดว่า จะอาศัยแต่สมถภาวนาเป็นบาทสู่วิปัสสนาด้วยความ

มีตัวตนเต็มๆเป็นความเห็นที่ถูกหรือไม่ อย่างไร

อย่างที่กล่าวข้างต้น เข้าใจก่อนว่าทุกอย่างเป็นธรรมและบังคับไม่ได้ ไม่มีตัวตนที่จะ

เลือก การเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมก็คือการเข้าใจอภิธรรมเบื้องต้นนั่นเอง เพราะ

อภิธรรมก็คือธรรมที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เมื่อเข้าใจว่าเลือกได้ที่จะนำเอาสมถเป็นบาท

ก็ลืมความเป็นอนัตตาและความเป็นธรรม ก็เป็นโลภะที่อยากต้องการที่จะเลือก แต่ไม่

ใช่สติที่เกิดขึ้นเอง เพราะสตินั้นเกิดจากความเข้าใจพระธรรม โดยเริ่มจากความเข้าใจ

ว่าธรรมคืออะไร
สมถภาวนาไม่ใช่หนทางดับกิเลส สูงสุดเพื่อเกิดในพรหมโลก หนทางเดียวคือวิปัสสนา

นั่นคือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ สติปัฏฐานนั่นเองแต่ไม่มีตัวตนที่จะไปเลือกแต่เกิดจาก

ความเข้าใจว่าหนทางใดดับกิเลสและธรรมนั้นเองย่อมน้อมไปในทางนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

มหาโควินทสูตร

ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค ( มรรคมีองค์ 8 )

.............สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความ

เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแล

เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกำหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่

เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อ

พระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะ

ก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ

คลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ

พระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ

ความคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้

เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อัน

ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ

พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไป

เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ

เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
รักษาอาการป่วยของแม่
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญสร้างอุโบสถ วัดประจำไม้
โทร. 0895336139


ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO