นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 4:41 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ระลึกรู้
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 12 เม.ย. 2010 7:33 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ใช่ว่าเราจะห้ามจิต หรือจะดูจิต โดยไม่มี

ปัญญา จริงๆแล้วเป็นเรื่องของการค่อยๆสะสมอบรมทีละเล็กทีละน้อย โดยเริ่มตั้งแต่

การค่อยๆฟังให้เข้าใจเสียก่อนว่า คืออะไร เกิดเพราะเหตุใดจะดับได้อย่างไร มีข้อ

ปฏิบัติอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มีการศึกษาและมี

การอบรมตามลำดับ จะข้ามขั้นไม่ได้ ครับ เพราะฉะนั้นการฟังการศึกษา(ปริยัติ)

จึงเป็นลำดับที่หนึ่ง เพื่อถึงการรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ (ปฏิบัติ) จากนั้นจึงจะ

ถึงการบรรลุมรรคผลคือ ปฏิเวธได้...

อกุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจ

บังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่ละบุคคลไม่สามารถจะยับยั้งอกุศลธรรม เพราะเหตุว่า

เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้น และอาจจะมีกำลังแรงกล้าด้วย เพราะได้สะสมมานาน

แสนนานในสังสารวัฏฏ์ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมอกุศลจึงเกิดบ่อยมากในชีวิต

ประจำวัน แต่อย่างไรก็ตามสำหรับบุคคลที่ได้อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก

เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมบ่อย ๆ เนือง ๆ ถึงแม้ว่าอกุศลธรรมจะเกิดขึ้น แต่สติ

และปัญญาที่ได้สะสมอบรมมาก็สามารถจะเกิดขึ้นระลึกรู้ในลักษณะที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่-

บุคคล ไม่ใช่ตัวตนของอกุศลธรรมในขณะนั้นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าการฟังพระธรรม

การศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง

เพราะจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส จากที่เคยเต็ม

ไปด้วยกิเลสประการต่าง ๆ แต่เมื่อได้อาศัยการอบรมเจริญปัญญา โดยเริ่มจากการ

ศึกษาพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง ก็สามารถจะละคลายและดับได้อย่างเด็ดขาดใน

ที่สุด ปัญญาเท่านั้นที่จะดับกิเลสได้ ซึ่งจะต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานทีเดียวใน

การอบรมเจริญปัญญา ครับ
ตามหลักพระธรรมคำสอนแสดงว่า มโนทวารวิถีจิต หรือวิถีจิตทางใจ สามารถ

รู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง โดยนัยของอารมณ์ ๖ คือ รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑

คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ โผฏฐัพพารมณ์ ๑ และ ธัมมารมณ์ ๑ หรือจำแนก

อารมณ์โดยนัยยะ อารมณ์ ๔ ประเภท คือ กามอารมณ์ ๑ มหัคคตอารมณ์ ๑

บัญญัติอารมณ์ ๑ และโลกุตตรอารมณ์ ๑ วิถีจิตทางมโนทวารก็สามารถรู้ได้

ทุกอารมณ์ครับ
ที่ถูกควรจะกล่าวว่า " นามธรรมและรูปธรรม เกิดดับสลับกันอย่างรวด

เร็วมาก ผู้ไม่รู้ความจริง ย่อมสำคัญผิดว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน "

- จิตดับจะเรียกว่า ตาย หรือมรณะก็ได้ เช่น ขณิกมรณะ ตายชั่วขณะ

-ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นต้น เป็นลักษณะทั่วไปของสังขารธรรมทั้งหมด

คือทั้งรูปธรรมและนามธรรม แต่อายุของนามธรรมและรูปธรรมต่างกัน

คือนามธรรมเกิดดับเร็วกว่ารูปธรรม นามธรรม คือ จิต เจตสิก เกิดดับ

๑๗ ขณะ รูปธรรม เกิดดับ ๑ ขณะ นี้คือความต่างกันครับ
พระพุทธพจน์ ที่เป็นภาษาบาลีมีว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ

ในพระไตรปิฎกภาษาไทยนิยมแปลว่า เมื่อเห็นแล้วก็สักแต่ว่าเห็น และยังมี

ทวารอื่นๆ มีข้อความเหมือนกัน คือ สุตํ มุตํ วิญญาตํ เมื่อได้ยิน....เป็นต้น

ซึ่งศึกษาย่อมทราบว่า พระพุทธองค์ตรัสกับผู้ฟังที่มีปัญญามาก คือ ท่านพระ

พาหิยะ เมื่อท่านฟังจบแล้ว ท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านแทงตลอด

ในอรรถของพระธรรมที่ทรงแสดง สำหรับคำที่ว่า เห็นแล้วไม่รู้ว่าเห็น เป็น

ลักษณะของจิตผู้ไม่มีปัญญา มีจิตประกอบด้วยอวิชชา โมหะ

สรุปคือทั้ง ๒ ประโยคที่ท่านกล่าวถึง ตรงกันข้ามกัน โดยสิ้นเชิงครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

ความบางตอนจากพาหิยสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง

เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะ

ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจัก

เป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อ

รู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี

ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีใน

ระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิย-

ทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.


คำอธิบายจากอรรถกถา

แต่เมื่อพระองค์จะทรงแสดงอาการที่จะพึงศึกษา จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ เมื่อเห็นก็เป็นเพียงแต่เห็น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ได้แก่ สักว่าการ

เห็นรูปายตนะ ด้วยจักขุวิญญาณ. อธิบายว่า เธอพึงศึกษาว่า จักขุ-

วิญญาณเห็นซึ่งรูปในรูปเท่านั้น หาเห็นสภาพลักษณะมีอนิจจลักษณะ

เป็นต้นไม่ ฉันใด รูปที่เหลือจักเป็นเพียงอันเราเห็นด้วยวิญญาณที่เป็น

ไปทางจักขุทวารนั้นเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า การรู้แจ้งซึ่งรูป

ในรูปด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่า เห็นรูปในรูปที่เห็น. บทว่า มตฺตา แปลว่า

ประมาณ. ประมาณแห่งรูปนี้ที่เห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐ-

มัตตะ. อธิบายว่า จิตเป็นเพียงจักขุวิญญาณเป็นประมาณเท่านั้น. ท่าน

อธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง หลงในรูปที่มาปรากฏ

ฉันใด เราจักตั้งชวนจิตไว้โดยประมาณแห่งจักขุวิญญาณอย่างนี้ว่า ชวน-

จิตของเราจักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้น เพราะเว้นจากราคะเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็น ชื่อว่า ทิฏฐะ. จิต ๓ ดวงคือสัมปฏิจ-

ฉนจิต สันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิต ที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ

ชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ. พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จิต ๓ ดวงนี้ ย่อม

ไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เมื่อรูปม้าปรากฏ เราก็จักให้ชวน-

จิตเกิดขึ้นโดยประมาณสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ เราจะไม่ให้

ก้าวล่วงประมาณนั้นเกิดขึ้นด้วยความกำหนัดเป็นต้น ฉันนั้น. ในสุตะ

และมุตะก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บทว่า มุตํ พึงทราบคันธายตนะ รสายตนะและ

โผฏฐัพพายตนะกับด้วยวิญญาณ ซึ่งมีคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพ-

พายตนะนั้นเป็นอารมณ์. ก็ในคำว่า วิญฺญาเต วิญฺญาณมตฺตํ นี้ มีวินิจ-

ฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า วิญญาตะ ได้แก่ อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนจิต

แจ้งแล้ว. เมื่อรู้แจ้งอารมณ์นั้นก็เป็นอันชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิตรู้แจ้ง

แล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอาวัชชนจิตเป็นประมาณ. ในข้อนี้มีอธิบาย

ดังนี้ว่า อาวัชชนจิตย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เราจักพัก

จิตโดยประมาณแห่งอาวัชชนจิตเท่านั้น ไม่ยอมให้เกิดขึ้นด้วยความกำหนัด

เป็นต้น ฉันนั้น. บทว่า เอวญฺหิ เต พาหิย สิกฺขิตพฺพํ ความว่า พาหิยะ

เธอพึงศึกษาโดยคล้อยตามสิกขาทั้ง ๓ ด้วยปฏิปทานี้อย่างนี้.

ดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกอารมณ์อันแตกต่าง

โดยประเภทอารมณ์ ๖ พร้อมวิญญาณกาย ๖ อย่างย่อและตามความพอใจ

ของพาหิยะ ด้วยวิปัสสนา โดยโกุฏฐาสะทั้ง ๔ มีรูปอันตนเห็นแล้วเป็นต้น

แล้วจึงทรงแสดงญาตปริญญาและตีรณปริญญาในข้อนั้นแก่เธอ. อย่างไร ?

เพราะว่า ในข้อนี้รูปารมณ์เป็นอันชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าอันจักขุ-

วิญญาณพึงเห็น. ส่วนจักขุวิญญาณพร้อมวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวาร

นั้น ชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าเห็น. แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียง

ธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น. ในข้อนี้ ใคร ๆ จะทำเองหรือให้ผู้อื่น

ทำก็หาได้ไม่. จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ ว่า จักขุวิญาณนั้นชื่อว่า

ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้น

และดับไปบีบคั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ

เหตุนั้น ในข้อนั้น จะจัดเป็นโอกาสของธรรมมีความกำหนัดเป็นต้นแห่ง

ณฑิตได้ที่ไหน. ฯลฯ

โทษที่แท้จริง ไม่ใช่โทษที่เกิดจากสัตว์ บุคคลแต่โทษเกิดจากกิเลส เกิดจาก

ความไม่รู้ของแต่ละคน โทษของสังสารวัฏฏ์ทีมีการเวียนว่ายตายเกิดเพราะความไม่รู้

จึงโทษในสิ่งที่ไม่มีจริงคือเรื่องราว สัตว์ บุคคล หากไม่มีการเกิดก็ไม่มีทางรับวิบาก

ทางกายและทุกข์ใจได้เลย

การไม่ชอบสัตว์ บุคคลก็เท่ากับเพิ่มโทษคือกิเลสของตัวเอง อันจะเป็นเหตุให้

ไม่พ้นไปจากโทษคือสังสารวัฏฏ์คือการเวียนว่ายตายเกิดและก็ต้องมาประสบสิ่งที่เห็น

ได้ยินต่างๆและก็จมและหลงอยู่ในเรื่องราวที่ไม่มีจริงอยู่ร่ำไป ฉะนั้นผู้มีปัญญาจึงควร

พิจารณาว่า เวลาเหลือน้อยแล้วในการอบรมเจริญปัญญา
ถ้ามีการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น อย่าปล่อย อย่าละเลย ต้องพยายามทุกประการ

ที่จะระงับความวิวาทนั้น โดยพิจารณาว่า ขณะนี้มีความวิวาทไหม ถ้าไม่มีก็

อย่าให้เกิดขึ้น โดยการแสดงธรรมตรงตามธรรมวินัย เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความ

วิวาท หรือถ้ามีการวิวาทเกิดขึ้น ก็ต้องพยายามระงับที่จะไม่ให้ลุกลาม โดย

การแสดงธรรมวินัยตามที่พระผู้ที่พระภาคทรงแสดงแล้ว
พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงอธิกรณ์ ๔ คือ การวิวาท ๔ ประการ และการระงับ

อธิกรณ์ คือ อธิกรณสมถะ ๗ ตามพระธรรมวินัย โดยให้สติ ไม่ใช่ว่าให้โดยว่า

กล่าวอย่างรุนแรง แต่ว่าโดยความเมตตา โดยให้สติบุคคลที่เห็นผิด เข้าใจผิด

นอกจากให้สติแล้วก็ปลอบโยน จนกว่าจะระลึกได้ว่าผิด เพราะใครก็ตามจะรู้สึก

ตัวว่าผิด บางทียาก เพราะเป็นผู้ที่ยึดถือความเห็นของตนเองอย่างมากทีเดียว

เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะให้บุคคลอื่นรู้สึกตัวว่าผิดได้ ก็จะต้องเป็นผู้ที่มีเมตตา ให้สติ

ปลอบโยน จนกว่าบุคคลนั้นจะระลึกได้ว่าผิดแล้ว ทรงแสดงธรรม ซึ่งเป็นที่ตั้ง

แห่งความระลึกถึงกัน ๖ เพื่อสงเคราะห์กัน ไม่วิวาทกัน คือ มีกายกรรม ประกอบ

ด้วยเมตตา ในที่แจ้งและที่ลับ

ท่านที่จะเจริญความสงบ เพราะว่าไม่ควรจะเป็นแต่ผู้ที่ตั้งใจจะอบรมเจริญสติ

ปัฏฐานอย่างเดียว โดยปล่อยให้อกุศลธรรมเกิดกลุ้มรุมมากมาย แต่ควรจะเป็นผู้

ที่อบรมเจริญกุศลทุกประการ และการที่เป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานจะ

เกื้อกูลต่อสติที่จะให้เกิดกุศลทุกขั้น แม้ในขั้นของความสงบ ซึ่งท่านผู้ฟังจะต้อง

เป็นผู้ที่ระลึกได้ คือ สติเกิดรู้ว่า ท่านมีกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในที่แจ้งและ

ในที่ลับหรือไม่ บางท่านอาจจะมีกายกรรมที่ดีเฉพาะในที่แจ้ง แต่ในที่ลับอีก

อย่างหนึ่ง แต่ผู้ที่จะขัดเกลากิเลสจริง ๆ ต้องเป็นผู้ที่มีสติ สามารถที่จะระลึกได้

ว่ามีกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในที่แจ้งและในที่ลับด้วย
มีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในที่แจ้งและในที่ลับ

วจีกรรมในที่ลับจะมีไหม? ในที่แจ้งมีคำพูด ซึ่งจะพูดกับบุคคลตั้งแต่

๑ คน ๒ คน ๓ คน หลายคน แต่ในที่ลับ คิด นึก พูดในใจ เตรียมที่จะพูดกับ

บุคคลนั้นบุคคลนี้ เพราะวจีทวารโดยสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมแล้ว ได้แก่

วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ไม่ว่าจะในที่แจ้ง หรือในที่ลับ เป็นสภาพธรรมที่ตรึก

เป็นคำ เป็นเรื่องต่าง ๆ แล้วการที่จะยับยั้งไม่ให้นึกคิดถึงใคร เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่

ได้ ตราบใดที่มีสภาพการจำ การรู้ความหมายของสิ่งต่าง ๆ เป็นปัจจัยให้เกิด

การนึกคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ถึงบุคคลต่าง ๆ ซึ่งสติจะทำให้ระลึกได้ว่า ขณะที่คิดนั้น

ด้วยอกุศลหรือด้วยกุศล

เพราะฉะนั้น กายกรรมจึงมีทั้งในที่แจ้งและที่ลับ บางคนต่อหน้าในที่แจ้ง กาย-

กรรมงามมาก แต่เพียงคนนั้นหันหลังนิดเดียว เป็นที่ลับ กายกรรมก็ไม่งามแล้ว

เวลาที่โกรธ จะเห็นได้ อาจจะแสดงกิริยาอาการบางประการ ลับหลัง หรือในที่

ลับ นั่นก็เป็นกายกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเมตตาในที่ลับ แม้ว่าบางครั้งอาจจะมีใน

ที่แจ้ง ฉันใด วจีกรรมก็เช่นเดียวกัน ควรจะประกอบด้วยเมตตาทั้งในที่แจ้งและ

ในที่ลับ ขณะนั้นจึงจะเป็นกุศลโดยตลอดทั้งในที่แจ้ง หรือในที่ลับ นอกจากนั้น

แล้ว ควรจะมีมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในที่แจ้งและในที่ลับ

คำว่า " ภิกษุ " ตามหลักคำสอน มีหลายความหมาย เช่น หมายถึง

บรรพชิตบ้าง หมายถึงพระภิกษุสงฆ์บ้าง หมายถึงพระอริยะบ้าง หมายถึง

ผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏะบ้าง ส่วนในสติปัฏฐานสูตร คำว่าภิกษุ ท่านหมายถึงผู้เห็นภัย

ดังนั้นผู้ที่ศึกษาอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ว่าจะดำรงอยู่ในเพศใด ก็เรียกว่า

ภิกษุได้เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น สรุปคือพุทธบริษัททั้งสี่

อบรมเจริญสติปัฏฐานได้ แต่ในบางแห่งท่านอธิบายว่า ที่ตรัสเรียกว่า "ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย " เพราะพระภิกษุเป็นหัวหน้าพุทธบริษัท... แต่ในที่นั้นหมายถึง

พุทธบริษัททั้งสี่ สำหรับการศึกษาพระธรรมคำสอนที่ละเอียดลึกซึ้งนั้น ไม่ว่า

จะเป็นฆราวาสหรือบรรพชิตก็ควรศึกษาทั้งนั้น ถ้าเข้าใจได้ย่อมเป็นการดีครับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจรยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ

อรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ

โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ

อรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ

เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้ว

ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุ

เหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถ-

กรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์

ว่า เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้ว

ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุ

เหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถ-

กรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์

ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้ ..

ผู้ที่มีศรัทธาสูงสุดคือพระอรหันต์ เพราะท่านมีปัญญามาก ศรัทธาที่ประกอบ

ด้วยปัญญามาก และท่านไม่มีกิเลสใดๆแล้ว จึงชื่อว่ามีศรัทธาสูงสุดมีศรัทธาที่ประเสริฐ

ที่สุด ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกจะเห็นได้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายมีความเคารพ มีศรัทธา

ในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านหมดกิเลสพ้นจากกองทุกข์ได้ เพราะได้ฟังพระ

ธรรมจากพระพุทธเจ้า สำหรับการเกิดขึ้นของศรัทธาและปัญญา โดยปรมัตถธรรม

แล้ว ธรรมทั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน เมื่อใดปัญญาเกิดขึ้น

ย่อมมีศรัทธาเกิดขึ้นเสมอ แต่ในบางกาลศรัทธาเกิดขึ้นโดยไม่มีปัญญาก็ได้ โดยนัย

ของพระสูตรบางแห่ง แสดงว่าการเกิดขึ้นของศรัทธามีก่อนที่จะฟังพระธรรม เมื่อฟัง

พระธรรม พิจารณาตาม เข้าใจ ปัญญาจึงเกิดขึ้นภายหลัง ดังนี้ก็มี..


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
ฟังธรรมศึกษาธรรมทั้งวัน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ร่วมบุญใส่บาตรซื้อเครื่องมือแพทย์ให้ ร.พ. สว่างแดนดิน
โทร 089-8164343

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO