นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 3:50 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: อนุปุพพิกถา
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 28 มี.ค. 2010 9:57 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
อสุภะ ๑๐ อสุภะ หมายถึง ไม่สวยงาม มุ่งหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคนที่ตายไป การเจริญอสุภกรรมฐานคือ การพิจารณาซากศพในลักษณะต่างๆกัน ๑๐ ลักษณะ ให้เห็นความน่าเกลียดไม่สวยงาม โดยจะพิจารณาซากศพอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ใน ๑๐ ลักษณะ ได้แก่ ๑. อุทธุมาตกะ ซากศพที่ขึ้นอืดพอง (อ่านว่า อุด-ทุ-มา-ตะ-กะ) ๒. วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้า (อ่านว่า วิ-นี-ละ-กะ) ๓. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้าเหลือง แตกปริ (อ่านว่า วิ-ปุบ-พะ-กะ) ๔. วิจฉิททกะ ซากศพที่ถูกฟันขาดออกจากกันเป็น ๒ ท่อน (อ่านว่า วิด-ฉิด-ทะ-กะ)

๕. วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์ เช่น สุนัข กา แร้ง ทึ้งแย่ง (อ่านว่า วิก-ขา-ยิ-ตะ-กะ) ๖. วิกขิตตกะ ซากศพที่กระจายเรี่ยราด ศีรษะ มือ เท้า อยู่คนละทาง (วิก-ขิด-ตะ-กะ) ๗. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกสับฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอก (หะ-ตะ-วิก-ขิด-ตะ-กะ) ๘. โลหิตกะ ซากศพที่มีเลือดไหลอาบ (อ่านว่า โล-หิ-ตะ-กะ) ๙. ปุฬุวกะ ซากศพที่มีหนอนไชอยู่ทั่วร่าง (อ่านว่า ปุ-ลุ-วะ-กะ) ๑๐. อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่กระดูก (อ่านว่า อัด-ถิ-กะ) การพิจารณาซากศพหรือเจริญอสุภกรรมฐานทุกชนิด ผู้ปฏิบัติต้องยืนอยู่เหนือลม อย่ายืนใต้ลม เพราะกลิ่นเน่าเหม็นของศพจะรบกวน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก อย่ายืนใกล้หรือไกลเกินไป ต้องยืนในระยะให้เห็นซากศพชัดเจนทั้งร่าง ควรยืนกลางลาตัวศพ อย่ายืน ด้านศีรษะหรือปลายเท้าของศพ ศพที่ใช้พิจารณาควรเป็นเพศเดียวกับผู้พิจารณา เช่น ผู้พิจารณาหรือเจริญอสุภกรรมฐานเป็นหญิง ก็ใช้ศพหญิง เป็นชายก็ใช้ศพชายในการพิจารณา นอกจากจะพิจารณาศพในแนววิปัสสนาจึงจะใช้ศพเพศใดก็ได้ เช่นในกรณีของพระกุลลเถระ ที่หลงรูปโฉมนางสิริมาหญิงงามเมือง ครั้นนางสิริมาสิ้นชีวิตลง พระพุทธเจ้าทรงให้พระกุลลเถระผู้มีราคจริตพิจารณาศพของนางสิริมา ที่พระภิกษุหนุ่มหลงรักจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ จนมองเห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ่ายถอนความลุ่มหลงรักใคร่ได้ในที่สุด การเจริญอสุภกรรมฐาน เป็นไปได้ทั้งในแง่สมถกรรมฐาน และวิปัสสนา-กรรมฐาน หากเจริญในแง่สมถะ ก็ให้เห็นความเป็นสิ่งที่น่าเกลียดไม่สวยงาม ปฏิบัติแล้วทาให้ฌานเกิดขึ้นได้ ส่วนในแง่วิปัสสนาให้พิจารณาความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือไตรลักษณ์ คือ ให้เห็นว่าตัวของเราก็เป็นสิ่งไม่เที่ยงเหมือนซากศพที่นอนอยู่ต่อหน้านั้นเช่นกัน เพียงแต่ศพนี้ ชายนี้ หญิงนี้ ตายก่อนเราเท่านั้น ชีวิตร่างกายของเราแม้จะผ่านทุกข์ทรมาน ได้รับความยากลาบากต่างๆนานามาเพียงใด ก็ไม่ทุกข์เท่าตอนที่จะตายร่างกายแตกดับ ในขณะนั้นจะทุกข์ที่สุด คือทุกข์จนทนอยู่ไม่ได้ต้องตายไปเช่นศพนี้ ดังพุทธดารัสที่ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และพิจารณาศพที่อยู่ตรงหน้าของเรานี้ว่า เมื่อศพนี้ยังมีชีวิตอยู่ เขาหรือเธอผู้นี้ไม่เคยปรารถนาที่จะตาย ไม่เคยต้องการจะเจ็บป่วยหรือแก่เฒ่า แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเป็นไปเช่นนี้ ใจปรารถนาแต่กายไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่อาจบังคับบัญชาได้ เขาหรือเธอก็ไม่ใช่เจ้าของร่างกายนี้โดยแท้จริง เพราะหากเป็นเจ้าของร่างกายนี้ก็ต้องไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ตามคาสั่งตามบัญชา แม้ร่างกายของเราเองก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา รูปนาม ทั้งหลายเป็นอนัตตา เมื่อสังขารร่างกายเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) จะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร ส่วนการพิจารณาซากศพโดยนัยของสมถะต้องพิจารณาศพโดยอาการ ๖ และอาการ ๕ พิจารณาซากศพโดยอาการ ๖

๑. พิจารณาสี โดยกาหนดดูว่า ศพนี้เป็นคนผิวสีอะไร ดา ขาว หรือผิวเหลือง

๒. พิจารณาวัย โดยกาหนดดูว่า ศพนี้เป็นเด็ก วัยกลางคนหรือคนชรา โดยไม่ต้องสนใจว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย



๓. พิจารณาสัณฐาน โดยกาหนดดูว่า นี่คือศีรษะ คอ แขน มือ ท้อง อก เอว แข้ง ขา เท้า เป็นต้น

๔. พิจารณาทิศ โดยกาหนดว่าตั้งแต่สะดือขึ้นไปจนถึงศีรษะเป็นส่วนบน จากใต้สะดือลงมาเป็นส่วนล่าง หรืออีกนัยหนึ่ง คือให้รู้ว่าเรายืนอยู่ทางทิศนี้ ซากศพอยู่ทางทิศนี้

๕. พิจารณาที่ตั้ง โดยกาหนดว่า มืออยู่ตรงนี้ เท้าอยู่ตรงนี้ ศีรษะอยู่ตรงนี้ เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่งให้รู้ว่าเรายืนอยู่ตรงนี้ ศพอยู่ตรงนั้น

๖. พิจารณาขอบเขต ให้รู้ว่าเบื้องต่าสุดของซากศพคือพื้นเท้า เบื้องบนสุดเพียงปลายผม ทั่วตัวสุดแค่ผิวหนัง เต็มไปด้วยของเน่าเหม็น ๓๒ อย่าง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น

พิจารณาโดยอาการ ๕

๑. ดูส่วนต่อหรือที่ต่อ ให้รู้ว่าในสรีระร่างของศพมีส่วนต่อใหญ่ๆอยู่ ๑๔ แห่ง คือมือขวามีที่ต่อ ๓ แห่ง มือซ้ายมีที่ต่อ ๓ แห่ง เท้าขวามีที่ต่อ ๓ แห่ง เท้าซ้ายมีที่ต่อ ๓ แห่ง คอมีที่ต่อ ๑ แห่งและเอวมีที่ต่อ ๑ แห่ง

๒. ให้ดูช่อง เช่น ช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ศพหลับตาหรือลืมตา อ้าปากหรือหุบปาก

๓. ให้ดูหลุม หรือส่วนที่เว้าลงไป พิจารณาว่าเป็นหลุมตา หลุมคอ เป็นต้น

๔. ให้ดูที่ดอน หรือส่วนที่นูนขึ้น โดยให้กาหนดรู้ว่าส่วนนูนนี้ คือหัวเข่า คือหน้าผาก หน้าอก เป็นต้น

๕. ให้ดูทั่วไป รอบๆ ด้านของศพ ส่วนใดปรากฏชัดตามลักษณะของศพ เช่นความพองอืดปรากฏชัด ก็บริกรรมว่า อุทธุมาตกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพพองอืดนี้น่าเกลียด น่าขยะแขยง) หรือเห็นศพที่มีสีเขียวคล้าปรากฏชัด ก็บริกรรมว่า วินีลกะ ปฏิกูละ ๆ ๆ (ศพวินีลกะ หรือศพเขียวคล้านี้ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ศพลักษณะอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ในขณะบริกรรมก็ให้ตั้งจิตกาหนดลงที่ลักษณะตรงส่วนนั้นๆ ของศพ

วิธีการเจริญอสุภะ ๑๐

๑. อุทธุมาตกอสุภะ

พิจารณาความน่าเกลียดของศพว่าพองอืด พร้อมบริกรรมว่า อุทธุมาตกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพที่พองอืดนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) บริกรรมซ้าแล้วซ้าเล่า ลืมตาดูและหลับตาพิจารณาสลับไปเช่นนี้ ถ้าเมื่อใดหลับตาแล้วปรากฏภาพซากศพนั้น เหมือนเมื่อลืมตาก็จะได้อุคคห-นิมิต อุคคหนิมิตเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจ จะเห็นเป็นซากศพที่น่าเกลียดน่ากลัว ชวนให้ขยะแขยงสะอิดสะเอียน เมื่อปฏิบัติต่อไปก็จะได้ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นภาพคนอ้วนพีล่าสันนอนนิ่งอยู่ ปฐมฌานก็จะเกิดขึ้น ศพที่ขึ้นอืดเป็นกรรมฐานที่หาเจริญได้ยากกว่าอสุภกรรมฐานอื่น ๆ เพราะศพที่พองอืดจะมีอาการพองเพียง ๑ หรือ ๒ วัน ก็จะแปรสภาพเป็นเขียวคล้า มีน้าเหลืองไหลเยิ้มต่อไป หากขณะที่เจริญอุทธุมาตกอสุภะแล้วยังไม่ได้อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต แต่ศพแปรสภาพไปแล้วก็ต้องไปหาศพใหม่ที่พองอืด

๒. วินีลกอสุภะ



พิจารณาซากศพที่มีสีเขียวคล้า บริกรรมว่า วินีลกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพที่มีสีเขียว น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ซ้าแล้วซ้าเล่า จนได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตของวินีลกอสุภะ คือลักษณะของศพมีสีเขียวคล้า ส่วนปฏิภาคนิมิตจะไม่น่าเกลียดน่ากลัว จะเหมือนรูปปั้นมีสีแดง สีขาว สีเขียวเจือกัน

๓. วิปุพพกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่มีน้าเหลืองแตกปริ บริกรรมว่า วิปุพพกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพวิปุพพกะ มีน้าเหลืองไหลนี้ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) บริกรรมซ้าๆ อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นจะเป็นเหมือนตัวศพนั้น ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเป็นเหมือนรูปปั้นนอนนิ่งไม่มีน้าเหลืองไหล

๔. วิจฉิททกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่ถูกฟันขาดเป็น ๒ ท่อน ถ้าศพที่จะพิจารณานั้น กระเด็นอยู่ห่างกันเกินไปให้นาส่วนที่ขาดมาวางใกล้ให้ต่อกันห่างกันประมาณ ๑ องคุลี แล้วบริกรรมว่า วิจฉิททกะ ปฏิกูละๆๆ (ศพ วิจฉิททกะ ถูกฟันขาด ๒ ท่อนนี้น่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตปรากฏเป็นภาพศพขาด ๒ ท่อนนั่นเอง ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเป็นศพสภาพเรียบร้อยนอนแน่นิ่งอยู่

๕. วิกขายิตกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่ถูกสัตว์ทึ้งแย่งเรี่ยราด บริกรรมว่า วิกขายิตกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพวิกขายิกตะนี้ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นจะเหมือนที่พิจารณา ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเป็นสภาพเหมือนกับรูปปั้นที่ใสสะอาด เรียบร้อย วางไว้นิ่งอยู่เป็นท่อนเดียวกัน

๖. วิกขิตตกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่กระจาย อวัยวะกระเด็นไปคนละทิศละทาง ต้องนาส่วนที่กระจายในที่ต่างๆ มากองไว้ในที่เดียวกัน กาหนดบริกรรมว่า วิกขิตตกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพวิกขิตตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตเหมือนซากศพที่เห็นปรากฏแก่สายตา ปฏิภาคนิมิตจะเห็นว่า อสุภะมีความสมบูรณ์ตลอดกาย

๗. หตวิกขิตตกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่ถูกสับฟันด้วยมีด บริกรรมว่า หตวิกขิตตกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพหตวิกขิตตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้น เป็นสภาพศพที่เป็นริ้วรอยเพราะถูกฟัน ปฏิภาคนิมิตจะเป็นศพที่เรียบร้อย สมบูรณ์

๘. โลหิตกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่มีเลือดไหล บริกรรมว่า โลหิตกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพโลหิตกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตจะเป็นสภาพศพที่เลือดไหล บางครั้งก็จะเหมือนผ้าแดงต้องลมพัดไหวๆ อยู่ ส่วนปฏิภาคนิมิต จะเห็นซากศพเหมือนรูปปั้นกามะหยี่สีแดง

๙. ปุฬุวกอสุภะ



พิจารณาซากศพที่มีหนอนคลาคล่าชอนไชอยู่ บริกรรมว่า ปุฬุวกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพปุฬุวกะนี้ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตจะเห็นเป็นศพที่หมู่หนอนคลานไต่ไปมา แต่ปฏิภาคนิมิต จะเห็นเป็นสภาพศพที่เรียบร้อยเหมือนกองข้าวสาลีสีขาวกองอยู่

๑๐. อัฏฐิกอสุภะ

พิจารณาซากศพที่เหลือแต่กระดูก บริกรรมว่า อัฏฐิกะ ปฏิกูละ ๆๆ (ศพอัฏฐิกะนี้ เป็นของน่าเกลียด ) การพิจารณาจะพิจารณากระดูกที่ติดกันหมดทั้งร่างก็ได้ หรือจะพิจารณากระดูกที่มีลักษณะเป็นท่อนๆ เป็นชิ้นๆ ก็ได้ อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้น ก็สุดแต่ว่าจะพิจารณากระดูกในลักษณะใด ถ้าพิจารณาทั้งร่าง อุคคหนิมิตก็จะปรากฏกระดูกทั้งร่าง ถ้าพิจารณาเป็นท่อน อุคคหนิมิตก็จะปรากฏกระดูกเป็นท่อนแต่ปฏิภาคนิมิตจะเหมือนกันคือ เป็นร่างกายที่สมบูรณ์ อัฏฐิกอสุภะ หรือ ซากศพที่เป็นกระดูก สามารถนามาพิจารณาเป็นอารมณ์กรรมฐานมีอยู่ ๕ อย่าง คือ

๑. ร่างกระดูกที่ยังมีเนื้อ เลือด เส้นเอ็นรัดรึงเป็นรูปร่างอยู่

๒. ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อ แปดเปื้อนด้วยเลือด ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัดอยู่

๓. ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัดอยู่

๔. กระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นรัดรึงแล้ว กระจัดกระจายทั่วไป

๕. กระดูกเป็นท่อนมีสีขาวดังสีสังข์

การเจริญอสุภกรรมฐานนั้น สาหรับผู้ที่มีนิสัยขลาดกลัวหรือกลัวผี เมื่อเกิดอุคคหนิมิต และขาดอาจารย์คอยควบคุมสอนการปฏิบัติ หรือผู้ปฏิบัติศึกษาไม่ดี ไม่เข้าใจในรูปแบบหรือลักษณะของนิมิตนั้นๆอย่างแท้จริง ก็อาจเข้าใจผิดว่าตนเองถูกผีหลอก เกิดเจ็บป่วยได้ จึงควรทาความเข้าใจในการปฏิบัติให้ดี บางทีก่อนที่อุคคหนิมิตจะเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติอาจนึกคิดไปว่าศพนี้จะลุกขึ้นนั่ง จะลุกขึ้นยืน ควรมีเพื่อนไปร่วมปฏิบัติด้วย และให้ทาความเข้าใจว่าศพนั้นที่จริงไม่ต่างกับท่อนไม้ ไม่มีวิญญาณครอง ไม่มีจิตใจ จะลุกขึ้นมาหลอกหลอนไม่ได้ เป็นเพราะใจของเราคิดไปเอง วาดภาพไปเอง ในบางกรณีที่ศพยังใหม่ยังสดอยู่ เส้นเอ็นยึดทาให้ลุกขึ้น ก็เป็นไปโดยธรรมชาติ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้ใช้ไม้ตีให้ล้มลง การพิจารณาอสุภะนั้น นอกจากพิจารณาซากศพ หรือร่างกายที่ปราศจากชีวิต ๑๐ ประการดังกล่าวแล้ว ยังสามารถพิจารณาความเป็นอสุภะ หรือความไม่สวยงามในร่างกายของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน โดยจะพิจารณาร่างกายของตนเอง หรือผู้อื่นก็ได้ดังต่อไปนี้

๑. พิจารณาเมื่อร่างกาย หรือ อวัยวะบวมขึ้น ให้พิจารณาโดยความเป็นอุทธุมาตกะ (พองอืด)

๒. พิจารณาเมื่ออวัยวะเป็นแผล ฝี มีหนองไหลออกมา ให้พิจารณาโดยความเป็น วิปุพพกะ (น้าเหลืองไหล แผลแตกปริ)

๓. พิจารณาเมื่อ แขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะขาดด้วน เพราะอุบัติเหตุ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ให้พิจารณาโดยความเป็นวิจฉิททกะ (อวัยวะขาดเป็นท่อน)



๔. พิจารณาเมื่อมีโลหิตเปรอะเปื้อนร่างกาย ให้พิจารณาโดยความเป็นโลหิตกะ (เลือดไหล)

๕. พิจารณาขณะที่แลเห็นฟัน ให้พิจารณาโดยความเป็นอัฏฐิกะ (กระดูก)

หากจะพิจารณาไปแล้วความเป็นอสุภะหรือไม่สวยงาม ไม่ได้เป็นเฉพาะเมื่อตายลงหรือเป็นซากศพเท่านั้น ร่างกายที่มีชีวิตอยู่นี้หากพิจารณาให้ดีก็ไม่ใช่สิ่งสวยงาม แต่เพราะการตบแต่งประดับประดา และความหลงผิดทาให้คิดไปว่าเป็นของสวยงาม น่ารัก น่าใคร่ จึงเกิดความยึดมั่นถือมั่น หวงแหน การเจริญอสุภะ สามารถให้บรรลุฌานขั้นปฐมฌานเท่านั้น การพิจารณาอสุภะในซากศพ จะมีความน่ากลัว อุคคหนิมิตจะเกิดได้เร็วกว่าการพิจารณาอสุภะในคนที่ยังมีชีวิตอยู่ การเจริญอสุภ-กรรมฐานทาให้ได้ปฐมฌาน หรือฌานเบื้องต้น หากต้องการจะได้ทุติยฌานต่อไปให้เปลี่ยนไปเพ่งสีที่ปรากฏชัดที่ศพ เช่น เพ่งสีแดงของเลือดที่ไหล จัดเป็นวรรณกสิณ หรือกสิณสี พร้อมบริกรรมว่าแดงๆ หรือศพสีเขียวก็เพ่งสีเขียว บริกรรมว่าเขียว ๆ ตามวิธีการของวรรณกสิณ ก็จะได้บรรลุทุติยฌาน อานิสงส์ของการเจริญอสุภกรรมฐาน ได้แก่

๑. มีสติ

๒. มองเห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย (อนิจจสัญญา)

๓. มองเห็นความตายว่าจะบังเกิดกับทุกคน (มรณสัญญา)

๔. มีความรังเกียจในร่างกาย

๕. ทาให้กามตัณหาไม่ครอบงา

๖. กาจัดความยึดมั่นถือมั่นในรูป

๗. กาจัดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งน่าเพลิดเพลิน (อิฏฐารมณ์)

๘. อยู่เป็นสุข

๙. เข้าถึงอมตธรรม คือ พระนิพพาน เฉพาะสาหรับผู้ที่เจริญสมถะจนได้ฌาน แล้วเอาฌานเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์



อนุสสติ ๑๐

อนุสสติ หมายความว่า การระลึกเนืองๆ เป็นการระลึกถึงอยู่เนืองๆ เสมอๆ คือมีสติระลึกถึงใน ๑๐ ประการ คือ

๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์

๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์

๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษาเป็นอารมณ์

๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคเป็นอารมณ์

๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณธรรมของเทวดาเป็นอารมณ์

๗. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์

๘. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์

๙. กายคตาสติ ระลึกถึงลักษณะอาการของร่างกายส่วนต่างๆ

เป็นอารมณ์

๑๐. อานาปานสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์

พุทธานุสสติ คือ การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเนืองๆ องค์ธรรม (สภาพธรรมที่ทาหน้าที่ระลึก) ได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ วิธีการปฏิบัติ การระลึกนั้นจะระลึกเป็นภาษาไทยหรือภาษาบาลีก็ได้ แต่ที่สาคัญก็คือต้องเข้าใจและรู้ถึงความหมายนั้นๆ สาหรับผู้ปฏิบัติใหม่ควรไปสู่สถานที่สงัด รักษาจิตไว้ให้มั่นคง ไม่ถูกรบกวน จิตไม่ฟุ้งซ่าน พระพุทธคุณมี ๙ ประการ ระลึกในบทพระพุทธคุณเป็นภาษาบาลี ดังนี้ อิติปิ โส ภควา , อรหัง , สัมมาสัมพุทโธ , วิชชาจรณสัมปันโน , สุคโต , โลกวิทู , อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ , สัตถา เทวมนุสสานัง , พุทโธ , ภควา ฯ หรือระลึกเป็นภาษาไทย ดังนี้คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น :- พระพุทธคุณประการที่ ๑ ผู้เป็นพระอรหันต์ (อรหัง) เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส ๑,๕๐๐ อย่างเด็ดขาด มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสงดงาม เป็นผู้ควรได้รับการสักการบูชาเป็นพิเศษจากมวลมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลาย พระพุทธคุณประการที่ ๒ ผู้ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ (สัมมาสัมพุทโธ) เพราะทรงฆ่าอวิชชา เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เญยยธรรม ๕ ประการ คือ สังขาร วิการ ลักขณะ นิพพาน บัญญัติ ด้วยอานาจแห่งพระสัพพัญญุตญาณโดยลาพังพระองค์เองอย่างถูกถ้วน พระพุทธคุณประการที่ ๓ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (วิชชาจรณสัมปันโน)

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และการปฏิบัติอย่างประเสริฐ คือ วิชชาและจรณะ วิชชา หมายถึง ความรู้ จรณะ หมายถึง ความประพฤต



คาว่า วิชชา มีวิชชา ๓ และวิชชา ๘ วิชชา ๓ ได้แก่

๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๒. จุตูปปาตญาณ (หรือ ทิพยจักขุญาณ) รู้การตายและเกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

๓. อาสวักขยญาณ รู้ในธรรมที่สิ้นอาสวะ

วิชชา ๘ ได้แก่

๑. วิปัสสนาญาณ ปัญญาที่สามารถรู้แจ้งรูปนามทั้งปวงที่มีสภาพเป็น

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๒. อิทธิวิธญาณ ปัญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

๓. มโนมยิทธิญาณ ปัญญาที่สามารถเนรมิตร่างกายอื่นๆ ให้เกิดขึ้นภายในร่างกายของตน

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตได้

๕. เจโตปริยญาณ ปัญญาที่สามารถรู้จิตใจของบุคคลอื่นๆได้อย่างถี่ถ้วน

๖. ทิพพจักขุญาณ ปัญญาที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ห่างไกล หรือเล็กที่สุดได้

อย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าจะอยู่ในที่แจ้ง หรือ ลี้ลับกาบังไว้ อย่างมิดชิดประการใดๆ ก็ตาม ย่อมสามารถเห็นได้เป็นอย่างดี เหมือนกับตาของเทวดาและพรหมทั้งหลาย

๗. ทิพพโสตญาณ ปัญญาที่สามารถได้ยินเสียงในที่ห่างไกล หรือเบาที่สุด

เหมือนกับหูของเทวดาและพรหมทั้งหลาย

๘. อาสวักขยญาณ ปัญญาที่สามารถทาลายกิเลสอาสวะให้หมดไปโดยสิ้นเชิง

จรณะ หมายความว่า ความประพฤติ จรณะ มี ๑๕ คือ

๑. ศรัทธา เชื่อต่อการงานของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นบุญก็มี เป็นบาปก็มี และจะได้รับผลของ บุญ บาป นั้นอย่างแน่แท้ เชื่อในคุณของพระรัตนตรัยว่ามีจริง เชื่อว่าเคยเกิดมาแล้วในภพก่อนๆ

๒. สติ มีการระลึกอยู่ในการงานที่เป็นฝ่ายดี

๓. หิริ มีความละอายในการงานอันเป็นทุจริตทุราชีพ

๔. โอตตัปปะ มีความสะดุ้งกลัวในการงานที่เป็นทุจริตทุราชีพ

๕. วิริยะ มีความขยันในการงานที่เป็นฝ่ายดี

๖. สุตะ เคยฟัง เคยเห็นมามาก

๗. ปัญญา การเฉลียวฉลาดในกิจการทั้งปวง

๘. โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค

๙. ชาคริยานุโยค ตื่นไวในยามหลับ หรือ มีการหลับนอนน้อย

๑๐. ศีล มีศีลสมบูรณ์

๑๑. อินทรียสังวร การสารวมในทวาร ๖

๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๕

๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๓

๑๔. ตติยฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒

๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่มีองค์ฌาน ๒

พระพุทธคุณประการที่ ๔ เสด็จไปดีแล้ว (สุคโต) เพราะทรงบรรลุหนทางที่ดี เพราะจะไม่เสด็จกลับมา(สู่โลกนี้)อีก เพราะทรงบรรลุความดับโดยไม่มีภาวะเหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสทั้งหมดสิ้นพร้อมขันธ์ ๕) เพราะคาสอนของพระพุทธองค์ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะคาสอนของพระพุทธองค์ไม่มากไม่น้อยเกินไป ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงได้รับพระนามว่า สุคโต พระพุทธคุณประการที่ ๕ ทรงรู้แจ้งโลก (โลกวิทู) โลก มี ๓ คือ ๑. สัตตโลก (โลกคือ หมู่สัตว์) ๒. สังขารโลก (โลกคือ สังขาร) ๓. โอกาสโลก (โลกคือ ที่ตั้ง) สัตตโลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งสัตตโลกตลอดเวลาที่บาเพ็ญพุทธกิจ ที่ว่าทรงรู้แจ้งสัตตโลก คือ ทรงรู้แจ้งความปรารถนาต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้ความต่างกันแห่งอินทรีย์ของหมู่สัตว์ สังขารโลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งกรรมทุกอย่าง ทรงรู้แจ้งกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ทรงรู้แจ้งขันธ์ อายตนะ ธาตุ พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งในธรรมทุกประการ

โอกาสโลก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า จักรวาลหนึ่งกว้างยาว ประมาณ ๑,๒๐๓.๔๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบ ประมาณ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ ในจักรวาลมีแผ่นดินหนาประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ บนแผ่นดินมีน้าตั้งอยู่บนลมรองรับไว้โดยความหนาประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ มีลมรองรับให้จักรวาลนี้ลอยอยู่ได้ ประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นต้น พระพุทธคุณประการที่ ๖ เป็นสารถีฝึกบุรุษผู้ควรฝึกที่ยอดเยี่ยม (อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ) คาว่า “ยอดเยี่ยม” (อนุตตโร) เพราะไม่มีใครเหนือกว่าในโลก เพราะปราศจากคนที่เสมอ เพราะทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะหาใครเทียบไม่ได้ และเพราะไม่มีบุคคลอื่นยอดเยี่ยมกว่า คาว่า “เป็นสารถีฝึกบุรุษผู้ควรฝึก” (ปุริสทัมมสารถิ) บุคคลมี ๓ จาพวก คือ

๑. บุคคลฟังธรรมแล้วสามารถอธิบายธรรมนั้นได้

๒. บุคคลอธิบายหลักแห่งเหตุและปัจจัยได้

๓. บุคคลทาให้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณชัดแจ้ง

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงรู้แจ้งอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางแห่งความหลุดพ้นแล้ว ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์(บุคคล)ทั้งหลาย ทรงฝึกมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย แม้แต่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย โดยวิธีการต่างๆ ทั้งปลอบโยน ทรมาน ยกย่อง ตามควร ตามความเหมาะสมแก่อัธยาศัยของสัตว์นั้นๆ พระพุทธคุณประการที่ ๗ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ (สัตถา เทวมนุสสานัง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่าสอนเวไนยสัตว์ ด้วยประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน ตามสมควร พระพุทธคุณประการที่ ๘ ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม (พุทโธ) พระผู้มีพระภาคทรงรู้อะไรๆ ที่ควรรู้ ซึ่งมีอยู่อย่างทั่วถ้วน ด้วยอานาจพุทธญาณ ๑๘ คือ

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้อดีตทั้งปวง

๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้อนาคตทั้งปวง

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งรู้ปัจจุบันทั้งปวง

๔. กายกรรมทั้งหมด ที่ดาเนินไปด้วยญาณและปรากฏสอดคล้องกับญาณนั้น

๕. วจีกรรมทั้งหมด ที่ดาเนินไปด้วยญาณและปรากฏสอดคล้องกับญาณนั้น

๖. มโนกรรมทั้งหมด ที่ดาเนินไปด้วยญาณและปรากฏสอดคล้องกับญาณนั้น

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบาเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งฉันทะ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบาเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งวิริยะ

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบาเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งสติ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบาเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งสมาธิ

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบาเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งปัญญา

๑๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบาเพ็ญพุทธธรรม คือ ความไม่เสื่อมแห่งวิมุตติ

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีความไม่มีการเล่น ท่าทางของพระองค์มีลักษณะผึ่งผาย ไม่มีอะไรที่ไม่สมควรในกิจกรรมของพระองค์

๑๔. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความหลอกลวง

๑๕. ไม่มีอะไรที่พระญาณของพระองค์ไม่สามารถรับรู้ได้

๑๖. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความหุนหันพลันแล่น

๑๗. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีสภาพที่ไม่รู้

๑๘. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีสภาพแห่งอุเบกขาที่ปรากฏโดยพระองค์ไม่รู้

พระพุทธคุณประการที่ ๙ ภควา เพราะพระพุทธองค์ได้รับการยกย่องจากชาวโลก เพราะบรรลุอริยสัจ เพราะทรงเป็นผู้ควรแก่ของถวาย เพราะจะทาให้ผู้ถวายได้รับความดีสูงสุด เพราะพระพุทธองค์ทรงเป็นเจ้าของมรรคสัจ ผู้เจริญพุทธานุสสติย่อมเป็นผู้ที่ขัดเกลาจิตใจไม่ให้ราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุมได้ เพราะจิตใจมุ่งตรงต่อพระพุทธเจ้า จิตของผู้มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นสมาธิได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น เพราะการระลึกพุทธคุณมีมากประการ สมาธิจึงไม่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวได้ จึงไม่ถึงอัปปนาสมาธิ

อานิสงส์ของพุทธานุสติ ผู้ที่เจริญพุทธานุสติ จะได้รับอานิสงส์ดังนี้ คือ

๑. ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยาเกรงในพระศาสดา

๒. มีความไพบูลย์แห่งศรัทธา

๓. มีความไพบูลย์แห่งสติ

๔. มีความไพบูลย์แห่งปัญญา

๕. มีความปีติปราโมทย์

๖. สามารถอดกลั้นทุกข์ได้

๗. ทนความกลัวในอารมณ์ที่น่ากลัวได้

๘. มีความรู้สึกเสมือนว่าได้อยู่ใกล้พระศาสดา

๙. ร่างกายของผู้เจริญพุทธานุสสติอย่างดีแล้ว ย่อมเป็นของที่ควรแก่การบูชาของมนุษย์ และเทวดาประดุจดังเรือนเจดีย์

๑๐. จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

๑๑. แม้ประสบกับสิ่งที่จะทาให้ล่วงละเมิด หรือทาความผิดได้ ก็จะเกิดหิริโอตตัปปะ มีความ

กลัวและละอายต่อบาป ประดุจว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่ตรงหน้า

๑๒. หากยังไม่สามารถสาเร็จมรรคผลนิพพาน ก็จะไปสู่สุคติ

การเจริญพุทธานุสติ ให้เห็นคุณของพระพุทธเจ้านั้นไม่ควรพร่าบ่นแต่ปาก แต่ควรนึกถึงเนื้อความ ความหมายของพุทธคุณ อย่ามุ่งถือตามตัวอักษรหรือพยัญชนะ จะทาให้ไม่เห็นพุทธคุณ การระลึก จะระลึกทุกบท หรือบทใดบทหนึ่งก็ได้ ปุถุชนทั่วไปมีความเข้าใจพุทธคุณได้น้อย มักจะใช้พุทธคุณเป็นคาถาเพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์มากกว่าจะระลึกถึงด้วยความเคารพ เช่น ใช้บทสวด อิติปิ โส เดินหน้าถอยหลัง หรือใช้หัวใจ อิติปิ โส เป็นคาถาในการปลุกเสกทาพิธี หรือทาให้ขลัง เป็นต้น ผู้ที่จะมองเห็นพุทธคุณโดยชัดแจ้ง ก็คือพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เพราะเป็นผู้เห็นธรรมเข้าถึงซึ่งธรรมโดยการปฏิบัติเอง ปุถุชนทั่วไปถ้าต้องการให้ซาบซึ้งในพระพุทธคุณก็ต้องศึกษาทั้งปริยัติ (ทฤษฎี) และปฏิบัติ เพื่อจะได้เข้าถึงข้อธรรมที่ทรงแสดงทั้งศีล สมาธิ ปัญญา จะศึกษาโดยไม่ปฏิบัติไม่ได้ ควรระลึกไว้ว่าพระอริยบุคคล ผู้บรรลุมรรคผล ท่านก็เคยเป็นปุถุชนมาก่อน แต่เพราะได้ศึกษา ได้ปฏิบัติธรรมตามคาสอนของพระพุทธองค์จึงได้เห็นแจ้งปรากฏชัดในพระพุทธคุณ จบ พุทธานุสสติ



เอาไว้เท่านี้ก่อนครับส่วนวิธีฝึกอนุสติและกรรมฐานที่เหลือ

เดี๋ยวจะไว้ในครั้งต่อไปครับ



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทานรักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา คุณแม่ได้ปฏิบัติธรรมเป็นเวลานานได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ และเมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของคุณย่า

และรักษาอาการป่วยของคุณแม่ วันนี้ก็ได้ไปเยี่ยมคุณย่าและรักษาอาการป่วย ของคุณย่า วันนี้และเมื่อวานนี้คุณแม่และคุณพ่อได้ไปช่วยงานบวช

และได้จัดเลี้ยงอาหารฟรีแก่คนในหมู่บ้านขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมสร้างพระแก้วมรกตจำลอง สาขาวัดป่าขันติธรรม

โทร 045818199

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: อนุปุพพิกถา
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 28 มี.ค. 2010 11:34 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 12:00 pm
โพสต์: 488
อนุโมทนา สาธุ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO