นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 06 พ.ค. 2024 12:21 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ชวนจิต
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 13 มี.ค. 2010 9:45 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ขอเรียนว่าตามพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ คือจิตและเจตสิก อาศัยกันและกัน

เกิดขึ้น จิตปราศจากเจตสิกไม่ได้ เจตสิกปราศจากจิตไม่ได้ ทุกครั้งที่จิต

เกิดขึ้นต้องมีเจตสิกอย่างน้อย ๗ ประเภทครับ

อภิธรรมต่อ
ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์ นักศึกษาได้ศึกษาจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ผ่านไปแล้ว เรื่องรูปปรมัตถ์นี้จะต่างจากจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ เพราะจิตและเจตสิกนั้นเป็นนามธรรม เป็นธรรมที่รู้อารมณ์ ส่วนรูปปรมัตถ์เป็นธรรมที่ไม่รู้อารมณ์
รูปปรมัตถ์มี ๒๘ อย่าง โดยจาแนกเป็นรูปภายในและรูปภายนอก รูปที่ต้องอาศัย และรูปที่ไม่ต้องอาศัยเป็นต้น ในรูปปรมัตถ์นี้ได้แสดงไว้ ๕ นัย คือ ๑. สมุทเทสนัย ๒. รูปวิภาคนัย ๓. รูปสมุฏฐานนัย ๔.รูปกลาปนัย ๕. รูปปวัตติกมนัย
การศึกษาพระอภิธรรมเป็นการเจริญกุศลและอบรมปัญญาไปในตัว และยังได้ช่วยรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลกอีกด้วย บุคคลใดได้รักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลก บุคคลนั้นย่อมได้ประโยชน์ ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือเห็นแจ้งพระนิพพาน
บุคคลใดได้ศึกษารูปปรมัตถ์โดยนัยทั้ง ๕ นี้แล้ว พึงพิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปปรมัตถ์นั้นว่า เป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้ การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้จึงจะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุเป็นพระอรหันต์ในภายหลังได้ ฉะนั้นนักศึกษาควรศึกษาเรื่องรูปนี้อย่างเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
คาว่า รูป มีความหมาย ๒ นัย นัยที่ ๑ กล่าวไว้ว่า รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกดับหรือเสื่อมสลายไป ประการหนึ่ง นัยที่ ๒ รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกสลายไปด้วยอานาจของความร้อนและความเย็น ซึ่งทั้งสองนัยนี้สรุปได้ว่า รูป มีธรรมชาติที่ต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป นั่นเอง
ลักษณะเฉพาะของรูป (ลักขณาทิจตุกของรูป) มี ๔ ประการ คือ
๑. รูป เป็นธรรมชาติที่ มีการแปรปรวนแตกดับ
๒. รูป ” แยกออกจากจิต (นาม) ได้
๓. รูป ” เป็นอัพยากตธรรม คือ ไม่ใช่ธรรมชาติที่เป็นกุศลหรืออกุศล
๔. รูป ” มีวิญญาณ(จิต)เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
รูปปรมัตถ์นี้มีการสงเคราะห์ไว้ ๕ นัย คือ
๑. รูปสมุทเทสนัย แสดงรูปโดยย่อเป็น ๑๑ หมวด (อ่านว่า รูป-สะ-หมุด-เท-สะ-นัย)
๒. รูปวิภาคนัย แสดงการจาแนกโดยมาติกา มีเอกมาติกา เป็นต้น (อ่านว่า รูป-วิ-ภา-คะ-นัย)
๓. รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป มีกรรม เป็นต้น (อ่านว่า รูป-สะ-หมุด-ถาน-นัย)
๔. รูปกลาปนัย แสดงหมวดหมู่แห่งรูปที่เกิดแต่กรรม เป็นต้น (อ่านว่า รูป-กะ-หลาบ-นัย)
๕. รูปปวัตติกมนัย แสดงโดยการเกิดตามลาดับแห่งรูป (อ่านว่า รูป-ปะ-วัด-ติ-กะ-มะ-นัย)
การศึกษาในชุดที่ ๕ ตอนที่ ๒ จะศึกษาเฉพาะรูปปรมัตถ์โดยนัยที่ ๑ และ ๒ นัยที่ ๑ รูปสมุทเทสนัย
แสดงรูปโดยย่อเป็น ๑๑ หมวด
รูปขันธ์ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อนับโดยความเป็นรูปธรรมแล้วมี ๒๘ รูปด้วยกัน เมื่อจัดเป็นประเภทแล้ว ประเภทใหญ่มี ๒ คือ นิปผันนรูป มี ๑๘ และ อนิปผันนรูป มี ๑๐ เมื่อนับเป็นประเภทเล็กได้ ๑๑ ประเภท ที่เรียกว่ารูปสมุทเทสนัย มีรายละเอียดดังนี้ คือ ๑. มหาภูตรูป มี ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ๒. ปสาทรูป ” ๕ คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ๓. วิสยรูป ” ๔ คือ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ๔. ภาวรูป ” ๒ คือ อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป ๕. หทยรูป ” ๑ คือ หทยรูป ๖. ชีวิตรูป ” ๑ คือ ชีวิตรูป ๗. อาหารรูป ” ๑ คือ อาหารรูป อันได้แก่ โอชาในอาหารต่าง ๆ ๘. ปริจเฉทรูป ” ๑ คือ อากาสธาตุ ๙. วิญญัติรูป ” ๒ คือ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ๑๐. วิการรูป ” ๓ คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา ๑๑. ลักขณรูป ” ๔ คือ อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา

100
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๔ ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เกิดขึ้น เรียกว่าอุปาทายรูป ๒๔ รูปทั้ง ๒๘มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่าเป็น ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ แม้ในธาตุทั้ง ๔ เองก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย เช่น ธาตุดินจะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้า ธาตุไฟ และธาตุลม มหาภูตรูป ๔ มีรายละเอียดดังนี้ คือ ธาตุดิน จัดเป็นธาตุที่เป็นประธานของธาตุ ๓ ที่เหลือ ธาตุดินมีธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน รูปใดถ้ามีธาตุดินมากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน รูปใดมีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้า เป็นต้น ภายในร่างกายของคนและสัตว์ส่วนใดที่แข็งก็จัดเป็นธาตุดิน ธาตุดินในร่างกายของคนเราก็มี ๒๐ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง หรือจะพิจารณาสิ่งมีลักษณะแข็ง เป็นของหยาบ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เหล่านี้เป็นธาตุดินทั้งสิ้น ธาตุทั้งหลายถ้าเรามีกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น ก็จะทาให้ยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นเพื่อการไถ่ถอนจากความเป็นตัวตน ก็ควรพิจารณาว่านั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา เพราะเหล่านั้นเป็นเพียงปฐวีธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคล จะทาให้คลายความยึด ความกาหนัดในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่น หรือยึดมั่นในทรัพย์สมบัติใด ๆ แม้นธาตุอื่นก็พิจารณาได้ในทานองเดียวกัน ธาตุดินมี ๔ อย่าง
๑. ดินแท้ (ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี) หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่าง ๆ ที่เราสามารถสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง เป็นต้น ๒. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี) หมายถึง ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น แผ่นดิน พื้นดิน ดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทาไร่ไถนา เป็นต้น ๓. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารปฐวี หมายถึง ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็ก ทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น ๔. ดินที่ใช้เพ่งทาให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี) หมายถึง ดินที่นามาทาเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตร เพื่อนามาเพ่งให้เกิดสมาธิใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
อาโปคือ ธาตุน้า เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะเอิบอาบ หรือมีความไหลได้ ธาตุน้านี้ เป็นธาตุที่ช่วยเพิ่มพูนธาตุอื่น ๆ ได้ เช่นผงแป้งทาขนมเมื่อผสมน้าลงไปก็ทาให้แป้งขนมนั้นเพิ่มพูนขึ้นได้ อาโป ธาตุยังเป็นธาตุที่ทาให้ธาตุอื่นเกาะกุมกันไว้ด้วย เช่นแป้งขนมนี้จัดเป็นปฐวีธาตุถ้าถูกลมพัดจะทาให้ฟุ้งกระจายได้
รูปประเภทที่หนึ่ง : มหาภูตรูป ๔

แต่เมื่อมีน้าผสมไว้ก็ช่วยเกาะกุมแป้งขนมให้เป็นก้อนเดียวกันไว้ ความยึดเกาะกุมนี้เป็นลักษณะของอาโปธาตุ หรือ เส้นผมนั้นเมื่อจัดเป็นธาตุ คือ ธาตุดิน แต่ก็มีอาโปธาตุที่ช่วยเกาะกุมให้เส้นผมเป็นเส้นอยู่ได้ ในร่างกายของเรามีอาโปธาตุมากมาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น , น้าตา เปลวมัน น้ามูก ไขข้อ น้ามูตร ถ้ารู้จักโดยความเป็นลักษณะของอาโปธาตุ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอาโปธาตุ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ก็จะทาให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใด ๆ ธาตุน้ามี มี ๔ อย่าง
๑. น้าแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป) หมายถึง ลักษณะที่ไหลเอิบอาบ หรือ เกาะกุม วัตถุ ต่าง ๆ ลักษณะของน้าจะรู้ได้ด้วยทางใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย ๒. น้าสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป) หมายถึง น้าที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้าที่ดื่ม น้าในแม่น้าลาคลอง น้าในทะเล น้าในมหาสมุทร เป็นต้น ๓. น้าที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารอาโป) หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้าจากรากต้นไม้ น้าจากใบไม้ น้าจากดอกไม้ น้าจากผลไม้ เป็นต้น ๔. น้าที่ใช้เพ่งทาให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป) หมายถึง น้าที่นามาใส่ในขัน อ่าง หรือ น้าในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
เตโชธาตุคือ ธาตุไฟ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะร้อน ธาตุไฟนี้ยังทาให้สิ่งทั้งหลายย่อยสลายได้ ทาให้ธาตุที่ประกอบร่วมกันกับตนนั้นมีความอ่อน เช่น คนตายร่างกายจะแข็งเปรียบเหมือนท่อนไม้ ไม่มีความอ่อนละมุนเหมือนคนที่มีชีวิตอยู่ ก็เพราะไม่มีเตโชธาตุที่เกิดจากกรรมมาหล่อเลี้ยง ร่างกายที่อบอุ่นอยู่นี้ก็เพราะเตโชธาตุ บางครั้งเวลาจิตใจมีความกระวนกระวายหรือเวลาร่างกายเจ็บป่วยลมหายใจก็มีความร้อนเช่นกัน ถ้าพิจารณาถึงความร้อนหรือเย็น(ความเย็นก็คือความร้อนน้อยนั่นเอง) ว่านั่นเป็นเพียงธาตุไฟ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็จะทาให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงธาตุ ธาตุไฟ มี ๔ อย่าง
๑. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช) หมายถึง ลักษณะที่ร้อน หรือ เย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่าง ๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุ เช่น ผลไม้ อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น ๒. ไฟสมมุติ (สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช) หมายถึง ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟจากแก๊สหุงต้ม เป็นต้น

๓. ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารเตโช) หมายถึง ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทาให้ร่างกายอบอุ่น ทาให้ร่างกายแก่ชรา ทาให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหารด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่ว ๆ ไป ๔. ไฟที่ใช้เพ่งทาให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช) หมายถึง ไฟที่ทาขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทาให้เกิดสมาธิหรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
วาโยธาตุคือ ธาตุลม ลักษณะของธาตุลม คือ มีความเคร่งตึง หรือ มีความพยุงไว้ ร่างกายของคนและสัตว์ก็มีความตึงเช่น ตึงที่ต้นคอ ตึงที่อวัยวะต่าง ๆ การที่เรานั่งอยู่ได้ก็เพราะวาโยธาตุในร่างกายพยุงร่างกายนี้ไว้ ถ้าเอาซากศพมานั่งไม่สามารถนั่งได้ต้องล้มไปเพราะซากศพไม่มีวาโยธาตุที่เกิดจากกรรม(และไม่มีรูปที่เกิดจากกรรมทั้งหมด)คอยทาหน้าที่พยุงไว้ ธาตุลมทาให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว ตลอดจนทาให้ร่างกายเคลื่อนไหวเดินได้พูดได้ก็เพราะธาตุลมที่อยู่ในร่างกายนี้ ธาตุลมนี้ยังทาให้เกิดการแสดงท่าทางต่าง ๆ ได้ เช่นการเดิน ยืน นั่ง นอน พูด ร้องเพลง หัวเราะ ร้องไห้ เหล่านี้เป็นการแสดงท่าทางต่าง ๆ อันเกิดจากวาโยธาตุที่อยู่ในกายเรา ถ้าพิจาณาสิ่งต่าง ๆ โดยสภาวะจริงๆ ของวาโยธาตุได้ ว่านั่นเป็นเพียงธาตุลม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็จะทาให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงธาตุ ซึ่งต้องมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงไม่สามารถตั้งอยู่ได้ วาโยธาตุ มี ๔ อย่าง
๑. ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย) หมายถึง ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ ความไหวของใบไม้นั้นคือวาโย ซึ่งต้องสังเกตและพิจารณาให้รู้จัก การไหวร่างกาย การกระพริบตา ความตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทาให้ท้องตึงจุกเสียด ความตึงของสิ่งต่าง ๆ หรือของร่างกายนั้นก็เพราะวาโยธาตุ ๒. ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย) หมายถึง ลมที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ ๓. ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารวาโย) หมายถึง ลมต่างๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่า เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้องทาให้ปวดเสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทาให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ยังหมายถึงลมภายนอกทั่ว ๆ ไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่าง ๆ ด้วย ๔. ลมที่ใช้เพ่งทาให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย) หมายถึง ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณเพื่อให้เกิดสมาธิหรือเกิดฌานโดยการ กาหนดเพ่งเอาธาตุลมที่ทาให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น หมายเหตุ ในธาตุทั้ง ๔ นี้ จะต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น จะมีธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ การจะจัดว่าสิ่งใดเป็นธาตุอะไรก็ให้พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีธาตุใดมาก

สรุป ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่รองรับธาตุอื่นทั้งหลาย เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปที่เกิดร่วมกับตน เหมือนแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้และภูเขา เป็นที่ตั้งของบ้านเรือน อาโปธาตุ เป็นธาตุที่เอิบอาบ คือ ซึมซาบอยู่ในรูปที่เกิดร่วมกันกับตน เป็นธาตุที่ทาให้เพิ่มพูน เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ทาให้ร้อน คือทาให้ธาตุ ๓ ที่เหลือนั้นอบอุ่น วาโยธาตุ เป็นธาตุที่ทาให้เคลื่อนไหว คือทาให้รูปร่างกายนี้และสิ่งอื่นเคลื่อนที่ ธาตุทั้งหลายมีลักษณะของตนๆ โดยเฉพาะ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตนเราเขา ฉะนั้นจึงควรพิจารณาลักษณะที่แท้จริงโดยความเป็นธาตุไว้ เพื่อจะได้ไม่ทุกข์กังวลกับการเสื่อมสิ้นสลายไป ทั้งยังเป็นการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องอีกด้วย

รูปประเภทที่สอง : ปสาทรูป ๕
ปสาทรูป คือ รูปที่มีความใส ความใสของปสาทรูปนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่ความใสนี้สามารถรับกระทบอารมณ์ได้ เช่น ความใสของจักขุปสาทรูปทาให้สามารถรับกระทบรูป(หรือรูปารมณ์)ได้ คาว่า ปสาท (อ่านว่า ปะ-สา-ทะ) แปลว่า ความใส
ปสาทรูปมี ๕ รูป คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป

1.จักขุปสาทรูปคือ ปสาทตา เป็นรูปที่มีความใสตั้งอยู่กลางตาดา มีขนาดเท่าหัวเหา ความใสนี้จะซึมซาบอยู่ในเยื่อตาบางๆ ทั้งเจ็ดชั้น สามารถรับภาพ(หรือรูปารมณ์)ได้ โดยปกติที่เรารู้จักตา เราก็จะรู้จักลูกตาทั้งลูกว่านั้นคือตา แต่การรู้จักตาหรือจักขุปสาทรูปในทางพระอภิธรรมมิได้มุ่งหมายให้รู้จักลูกตาทั้งลูก เพราะจักขุปสาทรูปนั้นไม่ใช่ลูกตาทั้งลูก แต่จักขุปสาทรูปจะมีสภาพความใสที่ซึมซาบอยู่ในเยื่อตา ๗ ชั้นที่อยู่ตรงกลางตาดา ความใสนี้จะทาหน้าที่รับกระทบภาพที่อยู่ตรงหน้า
จักขุปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ฉะนั้นการได้รับกระทบรูปที่ขอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็เนื่องมาจากกรรมดีและกรรมไม่ดีที่ได้กระทาแล้วในอดีต วิบากของกรรมนั้นส่งผลในปัจจุบันให้ได้เห็นรูปที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ถ้าพิจารณาความจริงอันนี้ได้ก็จะทาให้ไม่หลงดีใจได้ปลื้มกับรูปที่ดี เพราะการที่ได้เห็นรูปที่ดีที่พอใจก็เพราะกรรมดีในอดีตที่เราได้สั่งสมมาแล้ว และจะได้ไม่เสียใจ ไม่โกรธ เมื่อเห็นรูปที่ไม่ดีก็เพราะว่ากรรมไม่ดีในอดีตที่เราได้สั่งสมไว้แล้ว

2.โสตปสาทรูป
คือ ปสาทหู เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับเสียง(สัททารมณ์)ได้ มีลักษณะเหมือนวงแหวน มีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ เป็นรูปที่เกิดมาจากกรรม ดังนั้น หูจึงต้องรับเสียงทั้งที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งเป็นวิบากที่เกิดจากการทากรรมไว้แล้วในอดีต ถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงถึงผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็เพราะเหตุที่ตนได้กระทาไว้แล้วทั้งที่ดีบ้างและไม่ดีบ้าง ฉะนั้นผลจึงเป็นอย่างนี้ จะทาให้เรามีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะประสบกับวิบากกรรมใด ๆ ก็สามารถพิจารณาถึงหลักความจริงได้

3.ฆานปสาทรูป
เป็นรูปที่มีความใส สามารถรับกลิ่นต่าง ๆ (คันธารมณ์) ได้ มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ คือมีลักษณะเป็น ๒ ซีกเหมือนกีบเท้าแพะ ฆานปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จมูกจะต้องรับกลิ่นทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เช่นเดียวกัน

4.ชิวหาปสาทรูป
คือ ปสาทลิ้น เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับรสต่าง ๆ (รสารมณ์) ได้ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว ชิวหาปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จึงได้รับรสต่าง ๆ กันไป

5.กายปสาทรูป
คือ ปสาทกาย เป็นความใสของกายปสาทที่สามารถรับกระทบจากสัมผัสต่าง ๆ เรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ คือรับกระทบความแข็งความอ่อน คือ ธาตุดิน รับกระทบความเย็นความร้อน คือธาตุไฟ รับกระทบความหย่อนตึง คือ ธาตุลมได้ กายปสาท คือ ความใสจะมีอยู่ทั่วไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม ปลายเล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปนี้เป็นรูปที่เกิดจากกรรม คือวิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว ดังนั้นการได้รับความสุขความทุกข์ทางกายของคนและสัตว์จึงแตกต่างกันไป จะเห็นว่าบางคนมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่ต้องตากแดดตากลมตรากตราทางานหนัก หรือสัตว์บางตัวก็มีความสุขกายได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีก็เพราะผลของกรรมที่ได้ทาไว้แล้วเช่นกัน

รูปประเภทที่สาม : วิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗
ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป)
คาว่า วิสัย เป็นคาในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต
ดังนั้น คาว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่น ๆ)
วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น
คาว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจานวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้

1.วัณณรูป
หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่าง ๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทาหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทาให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทาให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทาให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพ
ธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทาได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้

2.สัททรูป
หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาท เสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้า เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทาให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทาให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทาให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

3.คันธารูป
หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทาให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้าหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะ เหมือนกันหมด

4.รสรูป
หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่าง ๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทาหน้าที่รู้รสต่าง ๆ ได้ รสต่าง ๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คาว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ ๑. ธรรมรส หมายถึง การทาบุญ-ทาบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม ๒. อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทาไว้แล้ว จะทาให้เกิดรสชาติ ของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสาราญใจตามมา ๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทาให้เศร้าหมอง ๔. อายตนรส หมายถึง รสต่าง ๆ ที่มากระทบกับลิ้น

โผฏฐัพพารูป
หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง-อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้านั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)
รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ (อ่านว่า อิด-ถี-ภา-วะ ปุ-ริ-สะ-ภา-วะ)
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความ
เป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความ
เป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทาให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขา
อิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น
ทากรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกาลังของการทากุศลในชาติก่อนมีกาลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกาลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกาลังของบุญกุศลที่เราได้กระทามาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทาให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน
รูปประเภทที่ห้า : หทยรูป
คาว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ)
หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ ๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่ง ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา

รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป
ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทาให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทาให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คาว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
เมื่อวานได้เจริญอาโปกสิน รักษาอาการป่วยของแม่ ให้อภัยทาน
วันนี้ได้อาราธนาศีล รักษาศีลกรวดน้ำอุทิศบุญ วันนี้และพรุ่งนี้มีการทำบุญ
เลี้ยงพระทั้งวัด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมี
ให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน จำนวน ๗๐ รูป ณ วัดเกาะวาลุการาม (วันที่ ๒ - ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓)
ณ วัดเกาะวาลุการาม ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทร 0854217528

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
:vvhpy:


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO