นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 11:50 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: บุญกับความโลภ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 09 มี.ค. 2010 8:56 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ถ้าศึกษาเข้าใจแล้ว ก็ตรงกับพระธรรมคำสอนที่ทรงแสดงไว้ทั้งหมด คือ

เพื่อละอกุศล เพื่อการเจริญขึ้นของกุศล ถ้าสูงยิ่งๆขึ้นไปก็คือ เพื่อการรู้ยิ่ง

เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อออกจากสังสารวัฏฏ์ และดับทุกข์ทั้งปวงครับ

แต่ถ้ายังไม่ถึงก็ค่อยๆสะสมและอบรมกันต่อไป
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วเท่านั้น ที่จะ

เป็นที่พึ่งในชีวิตอย่างแท้จริง และจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา และมี

ความเข้าใจที่ถูกต้อง เท่านั้น (ไม่ทั่วไปแก่ทุกคน) เพราะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็น

ถูก เป็นไปเพื่อละอกุศลตามลำดับขั้น สูงสุด คือ ถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลส เป็น

พระอรหันต์ดับทุกข์โดยประการทั้งปวง, ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปแสวงหามงคลที่

ไหนเลย ขณะที่ฟังพระธรรม แล้วเข้าใจ ขณะนั้น เป็นมงคลแล้ว รวมถึงขณะที่จิตเป็น

ไปในกุศลประการต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของทาน ในเรื่องของศีล เป็นต้น ก็เป็นมงคลเช่น

เดียวกัน เพราะมงคล หมายถึง สิ่งที่นำมาซึ่งความสุข นำมาซึ่งความเจริญทั้งในโลก

นี้และโลกหน้า ครับ


ไม่ว่าจะให้ทาน รักษาศีล กี่ภพกี่ชาติ ก็ไม่สามารถออกจากวัฏฏะได้ ตราบใดก็ตาม

ที่เรายังไม่อบรมเจริญธรรมะ เจริญสติปัฏฐาน เพื่อขัดเกลาอกุศล อกุศลก็ยังมีอยู่เต็ม

ความเข้าใจถูกหรือปัญญาอันเกิดจากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมย่อมมีอุปการะ

เกื้อกูลให้เกิดกุศลประการต่างๆเพิ่มขึ้น ทำให้มีความคิดที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นว่าอะไรที่ควร

เจริญ อะไรที่ควรละ อะไรที่ควรรู้อันเกิดจากความเห็นถูกอันเกิดมาจากการฟังธรรม

สำหรับคำแนะนำนะครับ ก็ขอให้ฟังพระธรรมต่อไปครับ เพราะปัญญาก็ต้องเกิดจาก

การฟัง ที่สำคัญที่อยากจะแนะนำคือ ต้องรู้ก่อนครับว่าปัญญาต้องรู้อะไร ถ้าเราไม่รู้ตรง

นี้เป็นเบื้องต้น เราก็จะไม่มีทางละกิเลสได้ บางทีอาจเข้าใจว่าละได้ มีกุศลเกิดบ่อย แต่

เราลืมว่าการละกิเลสต้องละความเป็นเรา ละความเป็นสัตว์ บุคคล ถ้าเราไม่เข้าใจตรง

นี้ ก็เป็นเราที่มีมงคล เป็นเราที่เจริญมงคล 38 เป็นเราที่ละอกุศล ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม

และไม่สามารถละกิเลสคือความเห็นผิดได้เลย อยากจะแนะนำครับว่ า ต้องเริ่มก่อนกับ

คำว่าธรรมคืออะไร เมื่อเข้าใจจะเริ่มเป็นปัจจัยให้เห็นถูกและสามารถรู้ความจริง จนเป็น

ปัจจัยให้ดับกิเลสได้ครับ ขอให้เริ่มกับความเห็นถูกก่อนนะครับ เห็นถูกว่าเป็นธรรมไม่

ใช่เรา โดยเริ่มจากคำว่าธรรมคืออะไรครับ
ตามพระวินัยมีว่า สามเณร มีสิกขาบท ๑๐ ข้อ

สามเณร เป็นอนุปสัมบัน คือไม่ใช่พระภิกษุ สามเณรจึงไม่มีอาบัติ

แต่โดยพฤตินัย สามเณร เป็นบรรพชิต เป็นเหล่ากอของสมณะ ความประพฤติ

อภิสมาจาร และมรรยาททั้งหลาย ควรเป็นเช่นเดียวกับพระภิกษุ สิ่งใดที่บรรพชิต

ไม่ควรทำ สามเณรก็ไม่ควรทำเช่นกัน แต่บางสิ่งที่ชาวโลกไม่ติเตียน เช่น การหุงต้ม

หรือการทำกัปปิยะ เพื่อการช่วยเหลือพระภิกษุ สามเณรทำได้ ดังนั้นสิกขาบท

ของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ที่เป็นอาบัติชั่วหยาบ คือปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ หรือ

สิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ สามเณรไม่ควรก้าวล่วงครับ


สามเณรไม่มีอาบัติ แต่ถ้าสามเณรล่วงศีล ข้อ ๖ -๑๐ เช่น ฉันอาหารในยามวิกาลร้อง

เพลงแล้วตั้งใจสำรวมระวัง รักษาศีลใหม่ ก็ยังไม่ขาดจากความเป็นสามเณร ยก

เว้น ถ้าล่วงศีลข้อ ๑ - ๕ เช่น สามเณรฆ่ามนุษย์ ลักทรัพย์ เสพเมถุน ต้อง

ขาดจากความเป็นสามเณร



ต่อไปเป็นอภิธรรม

ชีวิตคืออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้นสิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้วยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้นให้คาจากัดความของชีวิตไว้ว่า “ชีวิตคือความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นาเกิดและตามรักษาดารงชีวิต และกระทาการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิตและเจตสิกเป็นผู้กากับ” ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ทางธรรมะเรียกว่า “รูปธรรม” หรือเรียกสั้นๆ ว่า รูป เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก นึกคิดใดๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ ส่วน จิตและเจตสิก เป็นนามธรรม หรือเรียกสั้นๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ได้ ดังนั้นตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิตและเจตสิก ซึ่งในทางธรรม เรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่างๆ ดังนั้นคาว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น คาว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สาคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้วมีแต่รูปกับนามเท่านั้นที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ใช่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใดๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิก ที่มีการเกิดดับอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทาให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทากรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเราและสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสาหรับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลายก็จะถูกทาลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด ๒

รูปนามกับขันธ์ ๕ สัมพันธ์กันอย่างไร

รูป คือ รูปขันธ์

จิต คือ วิญญาณขันธ์

ชีวิตเหล่านี้ประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่างได้แก่

เจตสิก ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

คาว่า ขันธ์ แปลว่า กอง , พวก , หมวด , หมู่

ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงหมายถึง สภาวธรรม ๕ อย่าง ซึ่งประกอบด้วย

๑. รูปขันธ์ คือ อวัยวะน้อยใหญ่หรือกลุ่มรูปที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด ๒. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ ๓. สัญญาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจา หรือเป็นหน่วยความจาของจิตนั่นเอง ๔. สังขารขันธ์ คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่างๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่างๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้า เป็นเหตุให้น้าในแก้วเปลี่ยนไปตามสีที่หยด ๕. วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาติที่ทาให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ

การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยมีเจตสิก (ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ลาพังจิตอย่างเดียวไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือนชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่างๆ ที่ทาให้นาฬิกาทางานได้ จิตและเจตสิกจะแยกจากกันไม่ได้ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นจะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ

สรุปแล้วขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือรูปกับนาม นั่นเอง

จิตคืออะไร

จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทาหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกายและรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีลักษณะเหมือนกัน คือ มีการรู้อารมณ์ เหมือนกันทั้งสิ้น จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ด้วยกาย ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใดๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริง เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่างๆ ทาให้เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ตามกฎธรรมชาติ อานาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอานาจในการกระทา การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอานาจในการสร้างฤทธิ์ ทาสมาธิ ทาฌาน ทาอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์ จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

สถานที่เกิดของจิตมีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ

๑. ที่ตา เพื่อทาหน้าที่เห็นรูปที่ปรากฏทางตา จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา)

๒. ที่หู เพื่อทาหน้าที่ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู ” โสตวิญญาณ (โสต = หู)

๓. ที่จมูก เพื่อทาหน้าที่รู้กลิ่น ที่ปรากฏทางจมูก ” ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก)

๔. ที่ลิ้น เพื่อทาหน้าที่รู้รส ที่ปรากฏทางลิ้น ” ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา = ลิ้น)

๕. ที่กาย เพื่อทาหน้าที่รับความรู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย จิตนี้มีชื่อว่า กายวิญญาณ

๖. ที่ใจ เพื่อทาหน้าที่ รู้สึก นึก คิด ทางใจ จิตนี้มีชื่อว่า มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)

ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย ปัญฑระ มโน มนัส มนินทรีย์ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

จิตกับอารมณ์

จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ ฉะนั้นถ้าจิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้น คือ อารมณ์ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ จิตเป็นผู้รู้ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้

คาว่า “อารมณ์” ในที่นี้หมายถึง เครื่องยึดหน่วงจิต อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดนึก มิได้มีความหมายดังที่ใช้กันทั่วไป เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย หรือมิได้หมายถึง สภาพนิสัยใจคอ เช่น อารมณ์เย็น อารมณ์ร้อน อารมณ์โรแมนติก อารมณ์ขัน เป็นต้น จิตที่เกิดแต่ละขณะจะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ในขณะที่เราดูโทรทัศน์ จิตที่เห็นภาพทางตากับจิตที่ได้ยินเสียงทางหูเป็นคนละขณะกัน ขณะที่เห็นภาพก็จะไม่ได้ยินเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงก็จะไม่เห็นภาพ แต่เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมากจึงทาให้เราแยกไม่ออก และเข้าใจผิดว่าการเห็นและการได้ยินนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน จริงๆ แล้ว จิตแต่ละขณะจะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อความชัดเจนในเรื่องจิตกับอารมณ์ ขอให้พิจารณาการรับอารมณ์ของจิตทางทวาร หรือประตู หรือช่องทางที่จิตออกมารับอารมณ์ ทั้ง ๖ ช่องทาง ดังนี้

ทางตา จิตทาหน้าที่เห็น สิ่งที่เห็น คืออารมณ์ของจิต ทางหู จิตทาหน้าที่ได้ยิน เสียงที่ได้ยิน คืออารมณ์ของจิต ทางจมูก จิตทาหน้าที่รู้กลิ่น กลิ่นที่ได้รับ คืออารมณ์ของจิต ทางลิ้น จิตทาหน้าที่รู้รส รสที่ได้รับ คืออารมณ์ของจิต ทางกาย จิตทาหน้าที่รู้การสัมผัสถูกต้อง สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง คืออารมณ์ของจิต ทางใจ จิตทาหน้าที่รู้สึก, คิด, นึก สิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ที่รู้สึก คิด นึก คืออารมณ์ของจิต จิตจะว่างจากอารมณ์ไม่ได้ เมื่อจิตเกิดขึ้นทุกครั้งจะต้องมีอารมณ์ให้รู้เสมอ จิตคือตัวรู้ ส่วนอารมณ์คือตัวถูกรู้ ถ้าไม่มีตัวถูกรู้ ตัวรู้ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อมีการรู้ก็ย่อมจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้อยู่ควบคู่กันด้วยเสมอไป

อารมณ์ ๖

ธัมมารมณ์

โผฎฐัพพารมณ์

รสารมณ์

คันธารมณ์

สัททารมณ์

รูปารมณ์

ทวาร ๖

กาย รู้สัมผัส

ใจ รู้สึกนึกคิด

ลิ้น รู้รส

จมูก ได้กลิ่น

หู ได้ยิน

ตา เห็น

วิญญาณ ๖

สภาพรู้ทั้งหลายมี จิต เป็นผู้รู้ แต่ปุถุชนทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เราเห็น เราได้ยิน เรารู้กลิ่น เรารู้รส เราเย็น เราร้อน เรารู้สึก เราคิดนึก แท้ที่จริงแล้ว สภาพรู้ทั้งหลายนี้เป็นจิต ไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว หาแก่นสาร หาเจ้าของ หาตัวตนมิได้เลย มีแต่ “จิต” กับ “อารมณ์” เท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เพราะไม่รู้ความจริงเช่นนี้ จึงหลงผิดคิดว่าเป็นเรามาตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และเพราะมีเรานี่แหละจึงได้มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอด เพราะมี “เรา” นี่แหละจึงมีความรู้สึกเหมือนกับแบกโลกไว้ทั้งโลก ถ้าเอา “เรา” ออกเสียได้ก็จะรู้สึกเหมือนกับว่ากาลังยืนอยู่เหนือโลก

มโน วิญญา

กาย วิญญาณ

ชิวหา วิญญาณ

ฆาน วิญญาณ

โสต วิญญาณ

จักขุ วิญญาณ

ลักษณะของจิต

จิตมีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการ คือ ๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลง(เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา ๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป) ๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่อยู่ในอานาจบังคับบัญชาของผู้ใด จะ บังคับให้หยุดการเกิดดับก็ไม่ได้

สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติที่เรียกว่า “ไตรลักษณ์” รูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายอันได้แก่ รูป จิตและเจตสิก ย่อมจะต้องมีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งหมด นอกจากจิตจะมีลักษณะสามัญตามที่กล่าวมาแล้ว จิตยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว(วิเสสลักษณะ) อีก ๔ ประการ คือ ๑. มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ ๒. เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ ๓. มีการเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เป็นผล ๔. มีอดีตกรรม ทวาร อารมณ์และเจตสิก เป็นเหตุใกล้ ให้จิตเกิดขึ้น การทางานของจิต การทางานของจิตจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มีใจความว่า “...ยากที่จะนาสิ่งอื่นๆ ทั้งหลายในโลก มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต เพราะจิตเกิดดับๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใดๆ ในโลก เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง) ” ที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย เพราะจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นจิตดวงที่ ๒ ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันแล้วก็ดับไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ

ภาวะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นกระแสนี้ท่านเรียกว่าสันตติ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับกระแส น้าที่ประกอบไปด้วยอณูของน้าเล็กๆ เรียงติดต่อกันเป็นสาย ขณะที่กระแสจิตไม่ออกมารับรู้เรื่องราว (อารมณ์) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ภวังคจิต ซึ่งเป็นจิตที่ทาหน้าที่รักษารูปนามในภพปัจจุบันไว้มิให้แตกทาลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุจากภพนี้ แม้ในขณะหลับสนิท (ไม่มีการฝัน) หรือสลบไป ก็จะมีภวังคจิตเกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลา อารมณ์ของภวังคจิตเป็นอารมณ์ที่สืบเนื่องมา จากเหตุปัจจัยในอดีตภพ เมื่อใดก็ตามที่จิตออกมารับรู้เรื่องราว(อารมณ์) ทางประตู(ทวาร) ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อนั้นจิตจะขึ้นสู่วิถีซึ่งเรียกว่า วิถีจิต และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวิถีก็จะมีภวังคจิตที่คอยรักษาภพชาติ เกิดคั่นอยู่ทุกครั้ง แต่เราจะไม่รู้สึกตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมานั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก แม้แต่แสงไฟจากหลอดไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีการกระพริบ(เกิด-ดับ)ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับด้วยความเร็วเพียง ๕๐ ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น เราก็ยังไม่สามารถสังเกตเห็นการกระพริบของแสงไฟได้เลย ดังนั้น จิตซึ่งมีการเกิดดับอย่างรวดเร็วถึงประมาณ ๑ ล้านๆ ครั้งต่อวินาที* จึงไม่น่าสงสัยว่าทาไมเราถึงไม่สามารถที่จะรู้สึกได้

อนุมานว่าการลัดนิ้วมือ (การงอนิ้วเข้ามาหาฝ่ามือ) ใช้เวลาประมาณ ๑ วินาที

ตามธรรมชาติของจิต เมื่อมีอารมณ์มาปรากฏทางทวารใด จิตหรือวิญญาณจะเกิดขึ้นเพื่อรับอารมณ์ทางทวารนั้น เช่น เมื่อมีเสียงมาปรากฏทางหู โสตวิญญาณวิถีจะเกิดขึ้นเพื่อรับรู้เสียงนั้น โสตวิญญาณจะเกิดดับเร็วมากเป็นจานวนนับครั้งไม่ถ้วน สลับกับมโนวิญญาณวิถีที่เกิดขึ้นทางใจ เพื่อตีความ หมายของเสียงที่กาลังปรากฏอยู่ เมื่อรู้ความหมายว่าเป็นเสียงชมเชยก็จะมีความยินดีพอใจ แต่หากเป็นเสียงด่าก็จะเกิดโทสะ ถ้ามีสติยับยั้งไว้ได้ก็ดีไป แต่เมื่อใดที่ขาดสติก็จะเกิดการตอบโต้ทางกาย (กายกรรม) เช่น ไปชกหน้าผู้ที่กาลังด่าเรา หรือทางวาจา (วจีกรรม) เช่น ด่าตอบไปทันที ซึ่งเป็นการสร้างกรรมใหม่ที่จะต้องได้รับผลของกรรม (วิบาก) ในอนาคตต่อไป ใจจะเป็นผู้สั่งให้เกิดการกระทาทางกายและทางวาจา ทั้งที่เป็นบุญ (กุศลกรรม) และที่เป็นบาป (อกุศลกรรม) บางครั้งก็เพียงแต่คิดไว้ในใจ (มโนกรรม) โดยที่ไม่ได้แสดงออกทางกาย หรือ ทางวาจาเลยก็มี การแสดงออกทางกายและทางวาจาที่เป็นบุญ เรียกว่า กายสุจริต วจีสุจริต ส่วนการแสดงออกทางกายและทางวาจาที่เป็นบาป เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต กรรมที่ทาด้วยเจตนาดีมีจิตสะอาดผ่องใส ผลลัพธ์จะออกมาเป็นความสุขท่านเรียกว่า บุญ ส่วนกรรม ที่ทาด้วยเจตนาไม่ดี มีจิตเศร้าหมองและจะส่งผลออกมาเป็นความทุกข์ ท่านเรียกว่า บาป กรรมที่กระทาไว้แล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมไม่สูญหายไปไหน เพราะกรรมสามารถติดตามไปให้ผลได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ปัญหาที่น่าสงสัยคือ เราสั่งสมกรรมไว้ได้อย่างไร มีใครจดบันทึกบัญชีกรรมของเราไว้ เหมือนบัญชีเงินฝากในธนาคารหรือไม่ คาตอบก็คือบุญบาปที่เราทาไว้ไม่ต้องมีใครมาติดตามจดบันทึกไว้ เพราะจิตมีอานาจวิเศษอย่างหนึ่งในการสั่งสมบุญและบาป เมื่อเราได้กระทากรรมใดๆ ลงไปไม่ว่าจะดีหรือชั่ว แม้จะนานสักเพียงใดก็ตามจะกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ผู้กระทาย่อมจะต้องได้รับผล (หรือเรียกว่าได้รับวิบาก) ของบุญและบาปเมื่อกรรมมีโอกาสส่งผล ถึงแม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ผลกรรมที่ได้กระทาไว้ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือเป็นบาป ก็จะไม่สูญหายไปพร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้เพราะจิตดวงใหม่มีเหตุปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แก่จิตดวงต่อไปเช่นกัน การที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้นั้น จะต้องอาศัยผลของบุญกุศลในอดีต ครั้นหมดเหตุหมดปัจจัยของบุญกุศลก็ต้องตายไปจากโลกมนุษย์ เมื่อตายไปแล้วก็ต้องเกิดอีก การเกิดใหม่ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยชุดใหม่ทาให้ชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่อีก สุดแล้วแต่เหตุปัจจัยใหม่นี้จะเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นกุศลก็จะปฏิสนธิ (เกิด) ในสุคติภูมิ คือเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ถ้าเป็นอกุศลก็จะปฏิสนธิในอบายภูมิ คือ เกิดเป็นสัตวนรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน แล้วแต่เวรกรรมของตน เพราะชีวิตของคนเราและสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามอานาจของ กิเลส กรรม และวิบาก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่เกิดของจิต

เปลวเทียนต้องอาศัยไส้เทียนในการลุกไหม้ฉันใด จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีที่ตั้งให้อาศัยเกิดฉันนั้น ฉะนั้น ที่ตั้งอันเป็นที่ให้อาศัยเกิดของจิตมี ๖ แห่ง คือ ๑. ประสาทตา (จักขุปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้มิได้หมายถึงดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตาที่อยู่กลางตาดา มีขนาดประมาณเท่ากับศีรษะของเหา จักขุปสาทนี้จะซึมซาบอยู่ที่เยื่อตาบางๆ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ ๒. ประสาทหู (โสตปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และมีขนอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบ ๓. ประสาทจมูก (ฆานปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตรู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบ ๔. ประสาทลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบ ๕. ประสาทกาย (กายปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสาลีที่แผ่บางๆ ชุบน้ามันจนชุ่มซ้อนกันหลายๆ ชั้น มีความสามารถในการรับความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบ

๖. หทัย (หทยรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ ได้แก่ จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น ที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ มีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้าหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณ

กึ่งซองมือ (วิธีวัด คือ ให้ห่อฝ่ามือนิ้วเรียงชิดติดกัน น้าน้้ามาใส่บรรจุไว้ในฝ่ามือ ปริมาตรน้้าประมาณครึ่งหนึ่งนั้น =กึ่งซองมือ) มีสัณฐานโตประมาณเท่าเมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ หากถามว่า อะไรคือปสาทรูป อะไรคือวัตถุ และอะไรคือทวาร ก็จักตอบได้ว่า ปสาทรูปทั้ง ๕ ได้แก่ จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป เมื่อเป็นที่อาศัยเกิดของจิต ก็เรียกปสาทรูปว่า จักขุวัตถุ , โสตวัตถุ , ฆานวัตถุ , ชิวหาวัตถุ , กายวัตถุ นั่นก็หมายความว่า จักขุปสาทเมื่อเป็นที่อาศัยเกิดของจิต ก็ชื่อว่าจักขุวัตถุ แต่ขณะที่ไม่ได้เป็นที่อาศัยเกิดของจิตเห็น ก็ชื่อว่าจักขุปสาทรูป นั่นเอง ในปสาทรูปที่เหลือคือ โสต ฆาน ชิวหา กาย ก็เป็นไปในทานองเดียวกัน อีกประการหนึ่ง ปสาทรูปทั้ง ๕ ยังทาหน้าที่เป็นประตู (ทวาร) สาหรับรับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จึงเรียกปสาทรูปว่า จักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวาร, ชิวหาทวาร กายทวาร ส่วนหทยรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ(จิต)ทั้งหมด (ยกเว้นจิตที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย) หทยรูปนี้ก็ได้ชื่อว่า หทยวัตถุ และเมื่อเป็นประตูสาหรับรับธัมมารมณ์ หทยรูปนี้ก็ได้ชื่อว่า มโนทวาร

อานาจของจิต จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ตามที่ทราบแล้ว ยังทาหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่างๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสาเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ซึ่งมีความหมายว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สาเร็จ ได้ด้วยจิต

จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอานาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ ๑. มีอานาจในการกระทา ไม่ว่าจะเป็นการทางานของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทาต่างๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์อานวยความสะดวกต่างๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น ๒. มีอานาจด้วยตนเอง คือ มีอานาจในการทาบุญ ทาบาป ทาสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอานาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอานาจในการทาลายอนุสัยกิเลสที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น ๓. มีอานาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุให้มีการทาบาป ทาบุญ ทาฌาน อภิญญา ทาวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทาลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอานาจของจิต ๔. มีอานาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทาลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไปจนกว่าจะปรินิพพาน ๕. มีอานาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทาใด ๆ หากกระทาอยู่บ่อยๆ กระทาอยู่เสมอๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทาเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้ เป็นเพราะอานาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง ๖. มีอานาจในการรับอารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อารมณ์อนาคต หรืออารมณ์ปัจจุบัน และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทาไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ-สันดาน จะไม่สูญหายไปพร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไปจนกว่าจะปรินิพพาน.

ยังไม่จบเดี๋ยวพบกับในฉบับหน้า

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน กับครอบครัว เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน

กำหนดอิริยาบทย่อย อาราธนาศีล รักษาศีล กรวดน้ำอุทิศบุญ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน

เมื่อวานนี้ได้มีโครงการอบรมจริยธรรม แก่เด็กนักเรียน และยอดกฐินสร้างอาคาร

2 ล้าน 2 แสน กว่าบาท และวันนี้ตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง

ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญปฎิบัติธรรมบวชชีพราหมณ์
ในวันที่ 25 - 31 มีนาคม 2553
ณ สำนักสงฆ์ธรรมปิฎก บ้านทับลานใน ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
โทร 089-2525-957

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO