นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 3:50 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ตามข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 25 ก.พ. 2010 2:36 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ตามข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แสดงว่า พระศาสนาของพระพุทธเจ้า

พระนามว่าพระสมณโคดมพระองค์นี้ จักดำรงอยู่ประมาณ ๕๐๐๐ ปี หลังจากนั้น

คำสอน หรือพระสัทธรรม ก็จักไม่มีใครรู้จัก ชื่อว่า เสื่อม หรืออันตรธาน

ส่วนพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระศรีอริยเมตไตย จะมาตรัสรู้และเผยแผ่พระสัทธรรม

ในอนาคต อีกนานมาก อีกกว่าล้านๆ ปีข้างหน้า ไม่ใช่ในยุคนี้ครับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่ 118

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี

เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ

มนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑

ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ

แปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่ว

ไก่บินตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้

ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ

หรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เมืองพาราณสี

นี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่าเกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรื่องมีพลเมืองมาก

มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ

แปดหมื่นปี ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมืองแปดหมื่นสี่พันเมือง มีเกตุมดีราชธานี

เป็นประมุข.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักมีพระเจ้า

จักรพรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เมืองเกตุมดีราชธานี

เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔

เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ

คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว

เป็นที่ ๗. พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็น

วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม

มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์อายุแปดหมื่น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้น

แล้วในโลกในบัดนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา

และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่ง

กว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้

จำแนกพระธรรม. พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรง

ทำโลกนี้พร้อมเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอัน

ยิ่งด้วยพระองค์เองแล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและ

มนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามใน

ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง

พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเมตไตรย์

พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์

หลายร้อยในบัดนี้ ฉะนั้น.


ถ้าลำพัง "ตัวเอง" ก็ดีใจคนเดียว

หรือว่า ถ้า "พวกพ้องของเรา" ชนะ อย่างเช่นเวลาแข่งขันกีฬา

"เรา" ก็จะยิ่งดีใจใหญ่ และก็มี "หลายคน" มาช่วยดีใจด้วย.
ขณะที่ "ชนะ" แล้วดีใจ

มีความสำคัญตนว่า "เรา" ชนะ ในขณะนั้นด้วย.?
เพราะว่าขณะนั้น มีความสำคัญตน ว่า "เรา-ชนะ"

ความสำคัญตนว่าเราชนะ เป็น "มานะ"

แต่ว่า

มานะในเรื่องอื่น ไม่แรงเท่ากับ "การยกตนข่มผู้อื่นด้วยกาย-วาจา"
หากศึกษาพระธรรมจนมีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้นในความเป็นอนัตตาของสภาพ

ธรรม จะเริ่มเข้าใจว่าไม่มีใครคนอื่นที่ทำความเสียหายให้เราเลย เพราะสิ่งที่ปรากฎ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกายนั้น เป็นเพียงรูปธรรมที่ไม่รู้อะไร และ

ไม่มีเจตาร้ายใดๆแฝงอยู่ในรูปเหล่านั้นแม้แต่น้อย แต่สิ่งที่มีอยู่เสมอคือกิเลสในใจ ที่

เห็นแล้วคิด ได้ยินแล้วคิด ได้กลิ่นแล้วคิด ลิ้มรสแล้วคิด กระทบสัมผัสแล้วคิด ซึ่ง

เป็นไปในทางที่พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง และรุมเร้าให้รู้สึกเป็นทุกข์ใจอยู่เสมอครับ
ความพอใจ ความปรารถนา ความต้องการของท่านที่มีอยู่ในสิ่งใด

ก็สิ่งที่เคยนำความสุข ความพอใจมาให้แก่ท่านนั่นแหละ

จะเป็นสิ่งที่นำความทุกข์โทมนัสมาให้ท่าน

เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนแปลง วิบัติ และ เสื่อมสลาย

ดัง "พุทธภาษิต" บทหนึ่ง ที่ว่า

"ทุกข์ โศก และ ภัย....ย่อมเกิดจากความรัก

ปราศจากเสียซึ่งความรัก....ทุกข์ โศก และ ภัย จะมีมาแต่ที่ใดเล่า"


แสดงว่า ความรัก ความพอใจ มีอยู่ในสิ่งใด

ก็ย่อมมีความ "ยึดมั่นในสิ่งนั้น"

ปรารถนาความสุข ความเที่ยงแท้แน่นอนในสิ่งนั้น

"ความยึดมั่นถือมั่น" นี่เอง ที่เป็นภัยบั่นทอนชีวิตประการหนึ่ง.


เมื่อมี "ความยึดมั่น" ก็ย่อมมี "ความกลัว"

ตราบใดที่ชีวิตนี้....ยังเป็นที่รัก

ตราบนั้น...."ความรู้สึกกลัวภัย" ที่จะเกิดแก่ชีวิตของปุถุชน

ก็ไม่หมดสิ้นไปได้เลย.

ผู้รักชีวิต ย่อมกลัวภัย คือ ความยากจน ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ

ถูกนินทา เป็นทุกข์.


พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นประดุจ "ธรรมโอสถที่รักษาใจ"....แม้กระทั่ง "โรคกลัวภัยต่าง ๆ"


พระองค์ทรงแสดง "กฏของแห่งกรรม" ว่า

"ทำดี ได้ดี....ทำชั่ว ได้ชั่ว"


ซึ่งผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม....ก็เป็นที่แน่นอนว่า

จะไม่เดือดร้อนใจเลย ว่า ทำดี....แล้วจะไม่ได้ดี.


แต่ตรงกันข้าม

"เหตุ" ที่คนส่วนมากต้อง"เดือดร้อนใจ" กันทุกวันนี้

ก็เพราะว่า ตนไม่กระทำความดี แต่ ปรารถนาจะได้ดี

หรือ ตนได้กระทำชั่ว แล้วไม่ปรารถนาจะได้รับผลของกรรมชั่วนั้น.


ในเรื่องของกรรม คือ การกระทำนั้น

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงสอนให้ "ดำรงชีวิตอยู่-ด้วยสัมมาอาชีวะ"

คือ "การเลี้ยงชีพชอบ"

เพื่อขจัดภัย คือ ความกลัว-อันเป็นผลจากการเลี้ยงชีพไม่ชอบ (มิจฉาชีพ)


และ พระองค์ทรงสอนให้เจริญกุศลทุกประการ

ตามความสามารถ และ อัธยาศัย ของแต่ละบุคคลด้วย.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 506

๑. ติณกัฏฐสูตร ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร

[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้

มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมา

อยู่ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.

[๔๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า

ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำ

ให้เป็นมัด ๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้

เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดาแห่ง

บุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้

พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่

สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มี

ตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อม

ไม่ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 508

๒. ปฐวีสูตร ว่าด้วยการกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร

[๔๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา

เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด

เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.

[๔๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพี

นี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเมล็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดา

ของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่ง

บุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่

ได้ ฯลฯ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ด

ร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เหมือน

ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 509

๓. อัสสุสูตร ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไป

มา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพราก

จากสิ่งที่พอใจโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะ

มากกว่ากัน.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อม

ทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหล

ออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ

การประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาล

นานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

[๔๒๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรม

ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ

ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำใน

มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของ

มารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้

ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่

พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน

มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลยพวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา.. .

ของพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว. . . ของบุตร.. . . ของธิดา. . .

ความเสื่อมแห่งญาติ. .. ความเสื่อมแห่งโภคะ. . . ได้ประสบความ

เสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนานน้ำตาที่หลั่งออกของพวกเธอเหล่า

นั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรคคร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ

ประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจาก
พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

จัดเป็นองค์ ๙ คือ

สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่าง ๆ มี

มงคลสูตรเป็นต้น

เคยยะ คือ พระสูตรที่ประกอบไปด้วยคาถาทั้งหมด

เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธ-

วจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ ๘ ได้ชื่อว่าเวยยากรณะทั้งหมด

คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่า

สูตรในสุตตนิบาต

อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ

อิติวุตตกะ คือ พระสูตร 100 สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอปัณณกชาดก

เป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐

อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด

เวทัลละ คือ ระเบียบคำที่ผู้ถามได้ความรู้แจ้ง และความยินดี แล้วถาม

ต่อ ๆ ขึ้นไป ดังจูฬเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และสักกปัญหสูตร เป็นต้น

พระพุทธวจนะเหล่านี้ โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรง

แสดงว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบประณีต ไม่อาจ

จะรู้ได้ด้วยการตรึก

ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาพ และพยัญชนะ เพื่อให้

สามารถหยั่งรู้ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ
เนื่องจากพื้นเพอัธยาศัยของคนแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งทรงอุปมา

ไว้เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า พระพุทธเจ้าจึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรม ตามอาการสอน

ธรรมของพระองค์

๓ ประการ คือ

๑. ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น

๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้

๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การ

ประพฤติปฏิบัติ แต่เพราะพระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ทรงฉลาดในโวหาร

เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งธรรม ก่อนจะทรงแสดงธรรมแก่ใคร ทรงตรวจสอบภูมิหลัง

ด้านต่าง ๆ ของคนเหล่านั้นด้วยพระญาณแล้ว ผลจากการฟังในพุทธสำนึกจึงไม่มี

ปัญหาว่า คนฟังจะไม่เข้าใจ ผลจากการฟังธรรมสมัยพุทธกาลจึงมีความอัศจรรย์

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็น

พระศาสดาแทนพระองค์ ธรรมที่ทรงแสดงไว้ยังเป็นเช่นเดิม แต่ระดับสติปัญญา

บารมี ความสนใจในธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การตีความพระธรรมวินัยตาม

ความเข้าใจของตนเองเกิดขึ้น จนทำให้สูญเสียความเสมอกันในด้านศีล และทิฐิครั้ง

แล้วครั้งเล่า บางสมัยเกิดแตกแยกกันเป็นนิกายต่างๆ ถึง ๑๘ นิกาย
พระอรรถกถาจารย์ผู้ทราบพุทธาธิบาย ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะ

แห่งพระพุทธวจนะ เพราะการศึกษาจำต้องสืบต่อกันมาตามลำดับ มีฉันทะอุตสาหะ

อย่างสูงมาก ได้อรรถาธิบายพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก ส่วนที่ยากแก่การเข้าใจ ให้

เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ศึกษา และปฏิบัติ ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธ

ศาสนาจึงมีลดหลั่นกันลงมา คือ

๑ . พระสูตร คือพระพุทธวจนะที่เรียกว่า พระไตรปิฎก ทั้งพระวินัยปิฎก พระ

สุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

๒. สุตตานุโลม คือพระคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์รจนาขึ้น อธิบายข้อความที่ยากใน

พระไตรปิฎก

๓. อาจริยวาท วาทะของอาจารย์ต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นฎีกาอนุฎีกา และบุรพาจารย์ในรุ่น

หลัง

๔ อัตโนมติ ความคิดเห็นของผู้พูด ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา

ในกาลต่อมา มีการอธิบายธรรมประเภทอาจริยวาท คือ ถือตามที่อาจารย์

ของตนสอนไว้ กับอัตโนมติ ว่าไปตามมติของตนกันมากขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะพระ

คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เป็นหลักสำคัญ คือ พระไตรปิฎก และอรรถกถามีไม่แพร่หลาย

อรรถกถาส่วนมากยังเป็นภาษาบาลี คนมีฉันทะในภาษาบาลีน้อยลง สำนวนภาษาบาลี

ที่แปลออกมาแล้วยากต่อการทำความเข้าใจของคนที่ไม่ได้ศึกษามาก่อน ขาดกัลยา-

ณมิตรที่เป็นสัตบุรุษในพระพุทธศาสนาเป็นต้น
การอธิบายธรรมที่เป็นผลจากการตรัสรู้ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ

เจ้านั้น เป็นอันตรายมาก เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย พระ

ไตรปิฎกเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ กฎหมายทั่วไปจะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่

ได้ฉันใด การอธิบายธรรมขัดแย้งกับพระไตรปิฎกพุทธศาสนิกชนที่ดีย่อมถือว่าทำไม่

ได้เช่นเดียวกันฉันนั้นเพื่อให้พระพุทธวจนะอันปรากฏในพระไตรปิฎก แพร่หลายออกมา

ในรูปภาษาไทย และให้เกิดความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา ตรงตามหลักที่ปรากฏ

ในพระไตรปิฎก และที่พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ จะได้เกิดทิฏฐิสามัญญตา ความ

เสมอกันในด้านทิฐิ และ สีลสามัญญตา ความเสมอกันในด้านศีล ของชาวพุทธทั้ง

ฝ่ายบรรพชิต และคฤหัสถ์ มหามกุฏราชวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีการแปลพระไตรปิฎกและ

อรรถกถาขึ้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 438


๑. ปฐมวัชชีสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔

[๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกฏิคาม ใน

แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เรา

ด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฎนี้ตลอดกาลนาน

อย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกข-

อริยสัจ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจ ๑ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้

ตลอดกาลนานอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้ง

หลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธ-

อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้

แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว

บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๖๙๙ ] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

เราและเธอทั้งหลาย ได้ท่องเที่ยวไปในชาติ

นั้น ๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้

เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะ

นำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูลแห่งทุกข์

ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบปฐมวัชชีสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ข้อความบางตอนจาก.....

จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์

[๑๕๒] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย จง

ทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจง

ทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด ดูก่อน

มาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่ไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงยบุตร ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง

โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่าง

หนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป

ไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

ไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ดังนี้ เราไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร

ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้น ไม่ประกอบด้วยประ-

โยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความ

คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น

ดูก่อนมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร ความเห็นว่า นี้

ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เรา

พยากรณ์ ก็เพราะ เหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้น ประกอบด้วย

ประโยชน์ เป็น เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลาย

กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ

นิพพานเหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำ

ปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำ

ปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 509

๓. อัสสุสูตร

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก


เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ...


แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่อง

เที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่ง

ที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ ภิกษุเหล่านั้น

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรง

แสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ

ร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาล

นานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ

[๔๒๖]พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้

ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้

แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบ

มรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบ

มรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะ

พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ... ของ

บุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประสบ

ความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้

ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะ

พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่า

เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้ง

ปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๓

๔. ขีรสูตร [๔๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้

ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ เธอทั้งหลายจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานนี้ ดื่มแล้ว

กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไหนจะมากกว่ากัน ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกข้า

พระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละ มากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔

ไม่มากกว่าเลย ฯ [๔๒๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดง

แล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละ

มากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่

สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๔
๕. ปัพพตสูตร [๔๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล

มิใช่ง่ายที่จะนับกัป นั้นว่าเท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ ภิ.

ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ [๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไป

ว่า ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่

มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขา

หินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไปสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่

ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิ

ใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนด

ที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อ

หน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๕

๖. สาสปสูตร [๔๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ฯลฯ ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่ง

นานเพียงไรหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้น

ว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ

[๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า นครที่ทำด้วย

เหล็กยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวม

กันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ๆ ออกจากนครนั้นโดยล่วงไป

หนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความ

พยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัป

ที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่ พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุด

พ้น ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๖
๗. สาวกสูตร [๔๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ฯลฯ ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้ง

หลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป

เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯ ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้

ไหม พระเจ้าข้า ฯ [๔๓๔] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้ง

หลาย มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่าท่านเหล่านั้นพึง

ระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึก ไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูป

ของเราผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปี ๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่าน

ไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ร้อย

กัป เท่านี้พันกัป หรือว่าเท่านี้แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๗

๘. คงคาสูตร [๔๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นพราหมณ์นั้นนั่งเรียบร้อย แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้

เจริญ กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอแลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์

กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้

๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯ พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็

พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม ฯ [๔๓๖] พ. อาจอุปมาได้ พราหมณ์ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกร

พราหมณ์ แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เมล็ดทรายในระยะนี้

ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เมล็ด เท่านี้ ๑๐๐ เมล็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เมล็ด หรือว่าเท่า

นี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทราย

เหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัปหรือว่าเท่านี้

๑๐๐,๐๐๐ กัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อ

เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้อง

ต้นไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า

ตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น ดูกรพราหมณ์ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายใน

สังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ [๔๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาค

ตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านพระโคดม แจ่มแจ้งยิ่งนัก

ท่านพระโคดม ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอด

ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๘
๙. ทัณฑสูตร [๔๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก

เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัส

ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา

เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

ฯลฯ [๔๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ บางคราวก็ตกลงทางโคน

บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่

กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นแล บางคราวก็จากโลกนี้ไป

สู่ปรโลก บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุด

เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๙
๑๐. ปุคคลสูตร [๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร

ราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า

นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ [๔๔๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไป

มาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากอง

กระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น

ดังนี้ ฯ [๔๔๒] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสพระ

คาถาประพันธ์ต่อไปว่า เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า กระดูกของบุคคลคน

หนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลละ อยู่

ทิศเหนือของ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ

คือทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความสงบ

ทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้นเขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้

เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง ดังนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๑๐ จบปฐมวรรคที่ ๑
ทุติยวรรคที่ ๒ ทุคคตสูตร [๔๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด

เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึงลง

สันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น

ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 529

๔. มาตุสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯล ฯ

สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

ฯลฯ

สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบิดาโดยกาลนาน มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้. ฯลฯ

สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย. ดังนี้.

สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิงน้องหญิงโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้.

สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย.ฯลฯ

สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ฯลฯ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย

ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ

ไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น

ป่าช้าตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว

เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะ

หลุดพ้น ดังนี้.

ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงสอนให้พิจารณาจิตใจของตนเอง

แทนการเพ่งโทษของคนอื่น.!


เพราะการเพ่งโทษของคนอื่น

ย่อมทำให้จิตใจ (ของตนเอง) เป็นอกุศล

และ ยังเป็นการเพิ่มพูน "กิเลส-อาสวะ" (ของตนเอง)

ซึ่งจะทำให้ห่างไกล "พระนิพพาน" ออกไปทุกที.


.


กุศลทุกอย่าง เป็นการสละ หรือ ขัดเกลากิเลส ทั้งนั้น

การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะต้องมี "เหตุ-ผล" ทั้งนั้น

และ "เหตุ" ของการกระทำที่ไม่ดีทั้งหมด

ก็เกิดจาก "กิเลส" เท่านั้น.


.


เหตุ-ผล ในการรักษาศีล


สำหรับการรักษาศีล ก็เพื่อ "ขจัด-โทสะ"

คือ ขณะที่มีเจตนา "เว้น" การกระทำทางกาย ทางวาจา

อันเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น

จะต้องไม่มี โลภะ เกิดขึ้น-ขัดขวางด้วย

จึงจะสามารถ เว้นการกระทำทุจริต นั้นได้

เพราะว่า ศีล ย่อมขาดได้ เพราะเหตุแห่งลาภบ้าง ยศบ้าง

เพราะเหตุแห่งญาติบ้าง หรือว่า เพราะเหตุแห่งชีวิตบ้าง

สำหรับผู้ที่ยังมีความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ

ความพอใจในสิ่งเหล่านั้น ก็อาจจะเกิดขึ้น

และขัดขวางการรักษาศีลได้ ตามโอกาส

และ ตามกำลังของความยินดี-ติดข้องในวัตถุ และลาภ-ยศ ต่าง ๆ นั้น.


"โลภะ" เป็นมูล

เพราะเป็น"เหตุ"ให้เกิดความปรารถนา-ติดข้อง

และอยากได้ในวัตถุ-สิ่งของต่าง ๆ ก็จริง

แต่ การล่วงทุจริตแต่ละครั้งนั้น ก็ต้องเป็นเพราะ"ขาดความเมตตาต่อผู้อื่น"

และ "ธรรมะ" ที่ตรงกันข้ามกับ "ความเมตตา" คือ "โทสะ"

โทสะ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง และ ประทุษร้าย.


เช่น ผู้ที่อยากได้ทรัพย์ของคนอื่น

แล้วประทุษร้ายคนอื่น เพราะต้องการทรัพย์นั้น

เห็นได้ชัดว่า "ขาดความเมตตา"


เพราะเหตุว่า ถ้ายังมีความเมตตาต่อผู้อื่นอยู่ตราบใด

ก็ไม่อาจประทุษร้ายผู้นั้นเพราะเหตุแห่งทรัพย์

และถ้ามีความเมตตาต่อผู้อื่นจริง ๆ ก็ย่อมทราบว่า

การที่ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์ที่หามาได้นั้น ผู้นั้นย่อมเกิดความเดือดร้อน

ถ้ามีความเมตตา เห็นใจผู้อื่น

ก็ย่อมไม่ช่วงชิง "ทรัพย์ของผู้อื่น" มาเป็นของตนเลย


ขณะใดที่ขาดความเมตตา ขณะนั้น สภาพจิตมีลักษณะที่หยาบกระด้าง

สามารถประทุษร้ายผู้อื่น....เป็นลักษณะของ "โทสะเจตสิก" นั่นเอง.


"โทสะ" จึงไม่ใช่เพียงความโกรธเท่านั้น

แต่หมายถึงขณะที่จิตใจหยาบกระด้าง ประทุษร้าย และขาดเมตตา

ขณะนั้นเป็น ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็น "โทสะ"


ฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า........เมื่อมีความเมตตาอยู่ ตราบใด

การที่จะกระทำกายทุจริต วจีทุจริต

อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อน...ก็จะมีไม่ได้เลย.


ขณะใดที่ขาดความเมตตา ขณะนั้น สภาพจิตมีลักษณะที่หยาบกระด้าง

สามารถประทุษร้ายผู้อื่น....เป็นลักษณะของ "โทสะเจตสิก" นั่นเอง.


.


จากคำกล่าวที่ว่า....

ถ้ามีข้อคิด หรือ ข้อธรรมบางประการ ที่จะช่วยให้เราไตร่ตรองถึง"เหตุ-ผล"

คงจะทำให้เรามีศรัทธาที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ศีลของผู้ครองเรือน ได้มาก


แต่

ข้อสำคัญ คือ จะต้อง"เห็นโทษของกิเลส" เสียก่อน

เพราะ"ความสุขที่แท้จริง" ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ หรือ ลาภ ยศ ฯ

แต่อยู่ที่ "การไม่มีกิเลส" เท่านั้น.


คนที่มีกิเลสพอกพูน หนาแน่นมาก นั้น.....ชื่อว่า "ปุถุชน"

ผู้ที่ไม่ใช่ "พระอริยบุคคล" คือ ผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ นั้น

ชื่อว่า เป็น "ปุถุชน" ทุกคน.


ถามว่า....เพราะอะไร จึงได้ชื๋อว่า เป็น "ปุถุชน".?

เพราะว่า

ไม่รู้-ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง.


เมื่อไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย

ความยินดียินร้าย ก็เกิดขึ้น "ขณะที่จิตเป็นอกุศล" นั่นเอง.


กิเลสเกิดกับอกุศลจิต

และเพราะ "เหตุ" คือ ที่กิเลสเกิดกับอกุศลจิตแต่ละขณะนั้น

มีการสะสม-เพิ่มพูน-อยู่ในจิตที่เกิด-ดับ-สืบต่อกันอยู่ทุก ๆ ขณะ

ทำให้ปรากฏ (ผล) เป็น "สภาพของกิเลสที่สะสมมาในลักษณะต่าง ๆ"

และ การสะสมของกิเลส-ของแต่ละคนนี้เอง

ที่ทำให้แต่ละคน มีอุปนิสัยที่ต่าง ๆ กัน.

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
รักษาศีล ให้อภัยทาน อนุโมทนาบุญกับงานบุญหลายอย่าง
และได้สร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญทำบุญตักบาตร-วัดป่ากรรมฐาน ๙ วัด
พร้อมพระติดตาม ๑๙ รูป

วันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๐๖.๓๐ น.


ที่ โรงเรียนอนุบาลบุณยรักษ์
๙๙๙/๒๐๘ หมู่บ้านเกศินีวิลล์
ซ. รัชดานิเวศน์ ถ. ประชาอุทิศ สามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม.
โทร. ๐๒-๒๗๔ ๓๙๔๔-๕

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO