นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 02 พ.ค. 2024 10:48 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ความเพลิดเพลิน
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 13 ก.พ. 2010 6:19 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4546
สาร์ทจีน กับความเข้าใจที่ถูกต้อง

(ธรรมต้องเป็นเรื่องตรง)





สาร์ทจีน เป็นประเพณีอย่างหนึ่ง ซึ่งตามความเข้าใจเดิมนั้น มีดังต่อไปนี้

ตามความเข้าใจเดิม

ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้วิญญาณพเนจร

ไหว้เจ้า เจ้าคืออะไร คือเทพ แล้วไหว้เจ้ากันนั้น ไหว้ด้วยอะไร ด้วยของเซ่นต่างๆ

เป็นต้น เพื่ออะไร เพื่อความเจริญของคนที่ไหว้

ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้เพื่อแสดงความกตัญญู ไหว้ด้วยอะไร ด้วยของเซ่นต่างๆ มี

เป็ด ไก่ ขนม และกระดาษเงิน กระดาษทอง เป็นต้น เพื่อให้บรรบุรุษได้รับสิ่งต่างที่

ลูกหลานทำให้

ไหว้วิญญาณพเนจร ด้วยของเซ่นต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับอาหาร ด้วยความเข้าใจว่า

เป็นวันประตูนรกเปิด เป็นต้น

ความเข้าใจที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนา (สาร์ทจีน)

การไหว้เจ้า

ไหว้เจ้า เจ้าคืออะไร คือ เทพ เทพต้องการอาหารแบบมนุษย์ไหม หรือมีอาหารทิพย์อยู่

แล้ว ไม่ต้องให้อาหารมนุษย์ก็ได้ ( ดังข้อความในพระไตรปิฎก พรหมเทวสูตร )

การบูชาเทพคืออย่างไร คือ ทำกุศลอุทิศผลบุญที่เราทำให้ ชื่อว่าบูชาเทพ ( ข้อความ

ใน ปาฏลิคามิยสูตร )

การที่เราจะเจริญไม่เจริญ อยู่ที่กุศลใช่ไหม ( สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน )

ระลึกถึงเทพอย่างไรจึงจะถูกต้อง การได้เกิดเป็นเทพ เป็นผลมาจากกุศลกรรม และ

คุณธรรมของเทพนั้น ก็มี ศรัทธา ศีล เป็นต้น ดังนั้น การระลึกถึงเทพ คือ นึกถึง

คุณธรรมที่เป็นธรรมฝ่ายดี เช่น ศรัทธา ศีล เป็นต้น จึงเป็นการระลึกถึงเทพที่ถูกต้อง

( เทวตานุสสติ )

การกตัญญูต่อบรรพบุรุษคืออย่างไรจึงจะถูกต้อง

การกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ คือ ทำกุศลแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ ( สิงคาลกสูตร )

อาหารของมนุษย์ บุคคล ( บรรพบุรุษ ) ที่ล่วงลับไปแล้วทานได้ไหม ( อรรถกถาธนปาล

เสฏฐิเปตวัตถุ )

การไหว้วิญญาณพเนจร

วิญญาณพเนจรมีจริงไหม ไม่มีจริง ตายแล้วต้องเกิดทันที ( ถ้ายังมีกิเลส ) ไม่มีไปเร่

ร่อน 7 วัน 15 วัน แสวงหาที่เกิด แต่ที่เราเห็นว่า เป็นคนนั้น คนนี้ที่ตายแล้ว เป็นภพภูมิ

อื่นที่เขาไปเกิดแล้วเช่นเปรตที่ต้องการส่วนบุญ จากการอุทิศส่วนกุศล จึงมาปรากฎตัว

ประตูนรกเปิดได้ไหม เปิดได้ บางครั้งบางคราว ต่อก็อยู่ในนรกนั้นอีก (นรกขุมใกล้ๆ)

อาหารของสัตว์นรกคืออะไร ใช่อาหารของมนุษย์หรือเปล่า ไม่ใช่ แต่มีอาหารของสัตว์

นรกอยู่แล้ว

ดังนั้น การกตัญญูที่ถูกต้อง สำหรับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว คือ ทำบุญอุทิศกุศลไปให้

เทวดาก็เช่นกัน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ใครหละควรไหว้ สูงสุด พระพุทธเจ้า เป็น

บุคคลที่ควรกราบไหว้สูงสุด แม้แต่พรหม เทวดา มีพระอินทร์ เป็นต้น ก็ไหว้ เพราะ

พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศครับ( ทุติยสักกนมัสนสูตร )

เรื่อง อาหารของเทพ ไม่ใช่อาหารแบบมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ข้อความบางตอนจาก พรหมเทวสูตร

ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะนาง

พราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะด้วยคาถาทั้งหลายว่า

ดูก่อนนางพราหมณี ท่านถือการ

บูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด มั่นคงเป็น

นิตย์ พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจาก

ที่นี้ ดูก่อนนางพราหมณี ภักษาของพรหม

ไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของพรหม

ทำไมจึงบ่นถึงพรหม.

เรื่อง การบูชาเทพคือทำบุญแล้วอุทิศกุศลให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 755

ข้อความบางตอนจาก ปาฏลิคามิยสูตร

บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศ

ใด พึงเชิญท่านผู้มีศีล สำรวมแล้ว ประพฤติ

พรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศ นั้น ควรอุทิศ

ทักษิณาทานเพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ เทวดา

เหล่านั้น อันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว ย่อม

นับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์

บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร

บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญ

ทุกเมื่อ.


เรื่อง การจะอนุเคราะห์บุคคลที่ล่วงลับ ไม่ใช่นำอาหารแบบ

มนุษย์มาให้เพราะไม่เกิดประโยชน์ ไม่พ้นจากความเป็น

เปรตหรือหิวกระหาย แต่ต้องทำบุญอุทิศกุศลไปให้


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ

พวกพานิชเหล่านั้น ได้สดับคำของเปรตทั้งหลาย เกิดความ

สังเวช เมื่อจะอนุเคราะห์เปรตนั้น จึงเอาภาชนะตักน้ำดื่มมา ให้

เขานอนลงแล้ว กรอกเข้าทางปาก. แต่นั้นน้ำที่มหาชน ลาดลง

หลายครั้ง ก็ไม่ไหลลงสู่ลำคอ เพราะพลังแห่งกรรมชั่วของเปรต

นั้น. จักกำจัดความกระหายได้ที่ไหนเล่า. พ่อค้าเหล่านั้นจึงถาม

เปรตว่า ท่านได้ความโปร่งใจอะไรบ้างไหม ? เปรตนั้นตอบว่า

ถ้าน้ำที่ชนมีประมาณเพียงนี้ กรอกเข้าไปตลอดเวลาเพียงเท่านี้

แม้เพียงสักหยดเดียวก็ไม่เข้าไปในลำคอเรา กับไหลเข้าลำคอ

ของคนอื่นไปหมด, ความหลุดพ้นไปจากกำเนิดเปรตนี้ จงอย่ามีเลย.

ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ได้ฟังดังนั้น จึงเกิดความสังเวชยิ่งนัก

พากันกล่าวว่า ก็อุบายอะไร ๆ เพื่อระงับความกระหายมีบ้างไหม ?

เปรตตอบว่า เมื่อกรรมชั่วนี้สิ้นไป เมื่อพวกญาติถวายทานแต่

พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต อุทิศทานให้แก่เรา,

เราก็จักพ้นจากความเป็นเปรตนี้ไปได้.


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ข้อความบางตอนจาก ทุติยสักกนมัสนสูตร

[๙๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร

ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระองค์นั่นเทียว

ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเช่นนั้น พระองค์

ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่าน

ผู้ควรบูชาคนนั้น คือ ใครเล่า.

[๙๓๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ดูก่อนมาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์ใดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เรา

นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

นั้น ผู้เป็นศาสดามีพระนามไม่ทราม

ดูก่อนมาตลี ท่านเหล่าใดสำรอกราคะ

โทสะและอวิชชาแล้ว เป็นพระอรหันต

ขีณาสพ เรานอบน้อมท่านเหล่านั้น

ดูก่อนมาตลี ท่านเหล่าใดกำจัดราคะและ

โทสะก้าวล่วงอวิชชา ยังเป็นพระเสขะ

ยินดีในธรรม เครื่องปราศจากการสั่งสม

เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่ เรา

นอบน้อมท่านเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ข้อความบางตอนจาก ทุติยสักกนมัสนสูตร

[๙๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร

ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระองค์นั่นเทียว

ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเช่นนั้น พระองค์

ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่าน

ผู้ควรบูชาคนนั้น คือ ใครเล่า.

[๙๓๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ดูก่อนมาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์ใดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เรา

นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

นั้น ผู้เป็นศาสดามีพระนามไม่ทราม

ดูก่อนมาตลี ท่านเหล่าใดสำรอกราคะ

โทสะและอวิชชาแล้ว เป็นพระอรหันต

ขีณาสพ เรานอบน้อมท่านเหล่านั้น

ดูก่อนมาตลี ท่านเหล่าใดกำจัดราคะและ

โทสะก้าวล่วงอวิชชา ยังเป็นพระเสขะ

ยินดีในธรรม เครื่องปราศจากการสั่งสม

เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่ เรา

นอบน้อมท่านเหล่านั้น.

มิลินทปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนหนึ่งรู้ว่าทำอย่างไรเป็นบาป และ

บาปนั้นมีโทษอย่างไร อีกคนหนึ่งไม่รู้เสียเลย คน ๒ คนนี้ทำบาป ด้วยกัน ใครจะบาป

มากกว่ากัน

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร คนไม่รู้บาปมากกว่า

ม. ไฉนจึงเป็นเช่นนั้นเล่าเธอ ก็ทางบ้านเมือง ผู้ที่ไม่รู้

กฎหมายกระทำผิดบางอย่าง ย่อมได้รับความลดหย่อนผ่อนโทษเบากว่า ผู้รู้กฎหมาย

น. ขอถวายพระพร ก้อนเหล็กซึ่งเขาเผาไฟจนแดงโชน คน

หนึ่งรู้ว่าเป็นเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ ก็ถ้าจะให้คน ๒ คนนี้หยิบก้อนเหล็กแดง

นั้น คนไหนจะหยิบได้เต็มมือ และถูกความร้อนเผามากกว่ากัน

ม. คนรู้จะหยิบได้สนิทหรือเธอ ต่อคนไม่รู้ จึงหยิบได้เต็ม

มือ เมื่อเช่นนั้นก็ต้องถูกความร้อนเผามากกว่าคนรู้

น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้น คือผู้ที่รู้เหตุรู้ผลแห่งบาปกรรม

โดยจริงใจ มีอยู่อย่างไร ขณะเมื่อตนกระทำบาปอยู่ย่อมเกิดความละอายใจ และ

ความหวาดกลัวว่า ตนมิสมควรจะกระทำเช่นนั้นด้วยเกรงว่า ภายหลังจะได้รับความ

เดือดร้อนเพราะบาปกรรมนั้นตามให้ผล เป็นอันว่า มิกล้าที่จะกระทำบาปต่อไป

อีกส่วนผู้ที่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรเป็นบาป และการกระทำนั้นมีโทษเพียงไร ย่อมไม่มี

ความตะขิดตะขวงใจ อาจทำได้ตามอำเภอใจ แม้บาปหนัก ๆ ก็ทำได้ โดยที่ตน

ไม่รู้ว่าการกระทำนั้น ๆ ตนจะต้องเป็นผู้รับผลอย่างสาหัส ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้

แลจึงว่า คนไม่รู้บาปมากกว่า

ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว

จบชานอชานปัญหา

การไหว้ทิศ 6 คือ การประพฤติให้เหมาะสมกับแต่ละทิศแต่ละบุคคล เช่น ทิศ

เบื้องหน้า มารดาบิดา ให้กตัญญดูแลท่านในยามชรา อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา คอย

ปรนนิบัติรับใช้ เชื่อฟังคำสอนท่าน

ภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้ มิตรเป็นทิศเบื้องซ้าย

เลี้ยงดูเพื่อนให้เป็นสุข

ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ ให้การสงเคาระห์ช่วยเหลือ สมณพราหมณ์เป็นทิศ

เบื้องบน ให้การเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ การให้อาหารที่ดีมีรสอร่อย

ทิศ คือ บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรา การไหว้ ทิศ 6 คือ การประพฤติสิ่งที่ดีงาม

เหมาะสำหรับแต่ละทิศ ถ้าเราประพฤติเหมาะกับแต่ละคน(ทิศ) เราเรียกว่าเป็นการปก

ปิดทิศ ดังเช่น ในพระไตรปิฎก พระสารีบุตร ไหว้ไปที่ทิศที่พระอัสสชิอยู่ จนภิกษุอื่น

สำคัญว่าพระสารีบุตรยังเห็นผิด เพราะไหว้ทิศต่างๆ ดังนั้น การไหว้ทิศที่ถูกคือ การ

ประพฤติที่เหมาะสมกับบุคคลต่างๆ ที่เปรียบเหมือนทิศครับ ลองอ่านเรื่องพระสารีบุตร

ดูนะ ซาบซึ้งดี แสดงถึง เราควรกตัญญูกับผู้มีพระคุณ และควรประพฤติสิ่งที่เหมาะสม

กับผู้มีพระคุณ ดังเช่น พระสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔- หน้าที่ 444

๙. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๒๗๒]

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยมฺหา ธมฺม วิชาเนยฺย " เป็นต้น.

พระสารีบุตรเคารพในพระอัสสชิผู้อาจารย์

ได้ยินว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น จำเดิมแต่กาลที่ท่านฟังธรรมใน

สำนักของพระอัสสชิเถระแล้วบรรลุโสดาปัตติผล สดับว่า " พระเถระ

ย่อมอยู่ในทิศใด" ก็ประคองอัญชลีไปทางทิศนั้น นอนหันศีรษะไปทาง

ทิศนั้นแล.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถึงวันนี้ก็เที่ยว

นอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ " ดังนี้แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-

ตถาคต.

พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า " สารีบุตร

นัยว่า เธอเที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ จริงหรือ ?" เมื่อพระเถระ

กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พระองค์เท่านั้นย่อมทรงทราบความเป็นคือ

อันนอบน้อมหรือไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย ของข้าพระองค์ " ดังนี้แล้ว,

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย, แต่เพราะ

ความที่เธอฟังธรรมจากสำนักของพระอัสสชิเถระ แล้วบรรลุโสดาปัตติผล

จึงนอบน้อมอาจารย์ของตน; เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาจารย์ใด ย่อมรู้ธรรม,

ภิกษุนั้นพึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมไฟ

อยู่ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์

นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชา

เพลิงอยู่ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิหุตฺตว ความว่า บุคคลพึงรู้แจ้ง

ธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์

นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงโดยเคารพ ด้วย

การบำเรอด้วยดี และด้วยกิจทั้งหลายมีอัญชลีกรรมเป็นต้นฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ


คำว่าพุทธบูชาด้วยอามิส หมายถึง การรู้ถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า จึงมอบให้อามิส

เพื่อบูชาคุณของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไม่รู้พระคุณของพระพุทธเจ้า ก็ได้แต่นำของไป

เซ่นไหว้เพื่อขอ เพื่อให้ได้ ลาภ สักการะ ให้ชีวิตมีความสุข เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่การ

ระลึกถึงพระคุณแล้วให้อามิสบูชาพระคุณ และที่สำคัญ หมู เห็ด เป็ด ไก่ พระพุทธเจ้า

ปรินิพพานไปแล้ว ไม่สามารถที่จะเสวยได้ครับ ผู้ที่มีความเข้าใจจึงไม่ให้สิ่งเหล่านี้เป็น

พุทธบูชาครับ ที่สำคัญอาจสำคัญพระพุทธรูป ว่าเป็นเจ้าหรือเป็นเทพหรือคิดว่า

พระพุทธเจ้ายังมีอยู่จึงถวายอาหาร ซึ่งก็เป็นความเข้าใจผิด จึงไม่ใช่พุทธบูชาเลยครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ข้อความบางตอนจากอรรถกถา อัจฉราสังฆาตวรรค

.......ไม่พึงอาจละฐานะได้ แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น จะ

พึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิด

ความสังเวช ละฐานะ. ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกบังเกิด

ในเทวโลก. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก

ด้วยอาการอย่างนี้. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนา

กัณฑ์นี้ไซร้ เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง

ปาราชิกบ้าง ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า พระ

พุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญ

ข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้ จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์. ชนเหล่านั้น

ตั้งอยู่ในสรณะ ๓ รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม บางพวก

เป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล. ฯลฯ






คำว่า นเหตุ หมายถึง ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ กล่าวคือ ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ดังนั้น

ธรรมใด ที่ไม่ใช่เหตุ ๖ เหตุ ธรรมนั้น ชื่อว่า นเหตุ (โดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่

จิตทั้งหมด เจตสิก ๔๖ ประเภท, รูปทั้งหมด และ นิพพาน เป็น นเหตุ)
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ ก่อนว่า เหตุ ได้แก่เจตสิก

๖ ประเภท(ที่เป็นเหตุ) คือ โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโลภะ, อโทสะ และ อโมหะ ส่วน

สภาพธรรมที่เหลือทั้งหมด เป็น นเหตุ ดังนั้น ที่กล่าวโดยนัยนี้ ไม่ต้องมี กะ ต่อท้าย

เพราะถ้ามี กะ ต่อท้าย จะมุ่งอธิบายอีกนัยหนึ่ง และ ความหมายจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อเข้าใจ ความต่างระหว่าง เหตุ กับ นเหตุ แล้ว ต่อไปก็จะสามารถเข้าใจถึง

สเหตุกะ และ อเหตุกะ ได้ เพราะตามศัพท์แล้ว สเหตุกะ หมายถึง มีเหตุเกิดร่วมด้วย

ธรรมใดก็ตามที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า สเหตุกะ เช่น โลภมูลจิต (จิตที่มี

โลภะเป็นมูล) โดยสภาพของจิตแล้ว เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ) แต่โลภมูลจิต เป็นจิตที่

มีเหตุเกิดร่วมด้วย นั่นก็คือ มีโลภเหตุ และ มีโมหเหตุ เกิดร่วมด้วย ดังนั้น โลภมูลจิต

จึงชื่อว่า สเหตุกะ (มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เป็นต้น
ส่วน คำว่า อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ธรรมใดก็ตาม ที่ไม่มีเหตุเกิด

ร่วมด้วย ธรรมนั้น ชื่อว่า อเหตุกะ(ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) เช่น จักขุวิญญาณ(จิตเห็น)

เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น ไม่มีเหตุใด ๆ ในบรรดาเหตุ ๖

เกิดร่วมด้วยเลย ดังนั้น จักขุวิญญาณ จึงชื่อว่า อเหตุกะ และ เจตสิก ๗ ประเภทที่

เกิดร่วมกับจักขุวิญญาณ ก็ชื่อว่า อเหตุกะ ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นต้น

ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด จึงต้องเป็นผู้ค่อย ๆ ฟัง ค่อย ๆ ศึกษา สะสมปัญญาไป

ตามลำดับ เพื่อความเข้าใจในพระธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไป

เพื่อละคลายความไม่รู้ และ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน

เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครับ

จิตตสังเขป


บางท่าน อาจจะมีความรู้สึกว่า บางวัน เหมือนกับไม่มีอะไรเป็นของๆ เราเลย

และ ทำไมจึงไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อน.!

แต่ก่อน เคยยึดถือ ว่า เป็นเรา และเป็นของของเรา

แต่อยู่ ๆ วันหนึ่ง เมื่อฟังธรรมบ่อย ๆ มาก ๆ เข้า......

ก็เกิด "นึก" ขึ้นมา ว่า

ไม่เห็นมีอะไรที่จะเป็นของ ๆ เราสักอย่างเดียว

ไม่น่าที่จะหลงยึดถือ ว่าเป็นของของเราเลย.!

แต่ เพียง "คิด" เท่านั้น ไม่พอ

เพราะ ดับกิเลส ไม่ได้.!


ซึ่ง ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็อาจเข้าใจผิดว่า มีปัญญามากแล้ว

ใกล้ต่อการที่จะได้เป็นพระอริยบุคคลแล้ว

เพราะว่า แต่ก่อนนี้ ไม่เคยคิด ไม่เคยรู้สึกอย่างนี้

บางคนเกิดความรู้สึกว่า อัศจรรย์ ที่คิดอย่างนั้นได้.!


แต่ ให้ทราบว่า นั่น ไม่ใช่หนทาง ที่จะดับกิเลส.!


เพราะยังไม่รู้ว่า ลักษณะของนามธรรม ซึ่งเป็น ธาตุรู้

เป็นสภาพรู้....ที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น

กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และ กำลังคิกนึก

เป็นต้น นั้น.....ไม่ใช่ตัวตน อย่างไร.!


ในเมื่อยังไม่ได้ระลึก ศึกษา พิจารณา สังเกต อบรมเจริญปัญญา

เพื่อ รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.

หมายความว่า

ยังไม่ใช่ การเข้าถึงอรรถ คือ ลักษณะที่แท้จริง ของนามธรรม และ รูปธรรม

จึงไม่สามารถประจักษ์การเกิดขึ้น และ ดับไป ของนามธรรม และ รูปธรรม

ซึ่งกำลังเป็น "โลก" ที่เกิด-ดับ อยู่ในขณะนี้.!


เพราะฉะนั้น

ไม่ว่าจะ "คิด" ว่าจะเข้าใจลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม อย่างไร

ก็ "อย่าหลงคิด" ว่า เป็น "ปัญญา" ที่สามารถดับกิเลสได้แล้ว.!


เพราะถ้า "สติ" ไม่เกิด ไม่ระลึก ไม่รู้

และ ไม่พิจารณาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

จนประจักษ์ ลักษณะที่ต่างกันของ นามธรรม และ รูปธรรม

ซึ่งเป็น การประจักษ์แจ้งอย่างชัดเจน ทางมโนทวาร...ทีละลักษณะ.!


ถ้ายังไม่ประจักษ์-สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง

"ปัญญา" ก็ยังไม่ได้เจริญขึ้น จริง ๆ

จนสามารถรู้ ว่า...สภาพธรรมทั้งหลาย เป็นเพียง "โลกซึ่งว่างเปล่า"

สูญ จากการที่จะยึดมั่น...ว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล.

จิตตสังเขป


ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคนีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบาย จูฬันตรทุกะ มีข้อความว่า


ชื่อว่า "โลกียธรรม"

เพราะประกอบใน โลก โดยเหตุที่นับเนื่องอยู่ในโลก นั้น.


ชื่อว่า "อุตตรธรรม"

คือ ธรรมอันยิ่ง เพราะข้ามพ้นขึ้นจากโลก นั้น.


ชื่อว่า "โลกุตตรธรรม"

เพราะข้ามพ้นขึ้นจากโลก นั้น.

โดยเหตุที่ไม่นับเนื่องอยู่ในโลก.


จิต เจตสิก รูป เป็น สังขารธรรม และ เป็น สภาพธรรมที่เกิด-ดับ.

แม้ โลกุตตรจิต และ เจตสิก ที่มี นิพพาน เป็นอารมณ์ ก็ เกิด-ดับ


แต่ ที่จำแนกจิต โดยเป็น โลกิยจิต และ โลกุตตรจิต นั้น

ก็เพราะ โลกุตตรจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์

โดย ดับกิเลส (มัคคจิต) และ โดย ดับกิเลสแล้ว (ผลจิต)


ข้อความในขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ภาค ๒

โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส

ตรงกับ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สุญญสูตร ข้อ ๑๐๒

ซึ่ง มีข้อความว่า


ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคฯ ว่า


"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ที่เรียกว่า โลกว่างเปล่า ๆ ดังนี้

ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า."


พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า


"ดูกร อานนท์

เพราะว่างเปล่าจากตน หรือ จากของตน.

ฉะนั้น จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า.


อะไรเล่า ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน.?


จักขุ แล ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

รูป ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

จักขุวิญญาณ ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

จักขุสัมผัส ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้น เพราะ จักขุสัมผัส เป็นปัจจัย

ก็ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน.

ฯลฯ

ใจ ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

ธัมมารมณ์ ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

มโนวิญญาณ ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

มโนสัมผัส ว่างเปล่าจากตน หรือ จากของของตน

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย

ก็ว่างเปล่าจากตน และ จากของของตน.

ฉะนั้น จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า."


จบสุญญสูตร ที่ ๒.


.


ไม่ใช่ว่า ไม่รู้อะไรเลย ก็จะทำให้ว่างได้

โดยไม่รู้ว่า อะไรว่าง.......ว่างอย่างไร.!


แต่ ควรรู้ตามความเป็นจริง ว่า

ที่ว่างจากตน หรือ ว่างจากของของตน

เพราะเป็น "สภาพธรรม" ที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป แต่ละอย่าง ๆ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ.


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน ได้ทัวร์ทำบุญ 3 จังหวัด ไหว้พระพุทธสิหิงค์ชลบุรี
และอนุโมทนาบุญกับป้ายบอกบุญตามท้องถนนจนถึง จังหวัดสุดท้าย
นับไม่ถ้วน ระหว่างทางสลับกับ พอง-ยุบ และ อนุโมทนาบุญกับป้ายต่างๆตามถนน
และได้เสียสละที่นั่งยืนเป็นหลายชั่วโมงก่สตรี และเด็ก จนตัวเองต้องนั่งคนสุดท้าย
และได้ไหว้หลวงพ่อโสธร อนุโมทนาบุญกับผู้ไหว้หลวงพ่อโสธร สักการะรอยพระพุทธบาท
สักการะสังเวชนียสถานจำลอง สักการะหลวงพ่อทวารวดี
ตื่นแต่ดึกลุกมาฟังธรรมเป็นชั่วโมง ศึกษาธรรม สวดมนต์ อาราธนาศีล
รักษาศีล รักษาอาการป่วยของแม่และมีงานบุญอีกมากมายคงกล่าวไม่หมด
ถ้ากล่าวคงจะยาวมาก.....ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมงานมาฆปูรมีศรีปราจีน จ.ปราจีนบุรี มาฆบูชามีพระภิกษุสงฆ์ธุดงค์
ประมาณ250 รูป ที่สระมรกต ที่อ.ศรีมโหสถ ขอเชิญร่วมงาน งานมีระหว่างวันที่ 20 กว่าๆถ้าจำไม่ผิดขอเชิญหรืออาจจะเข้าปริวาสกรรมกับพระภิกษุก็ได้ตามอัตถยาศัย

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO