นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 02 พ.ค. 2024 10:33 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ความรัก
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 11 ก.พ. 2010 8:48 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4546
โดยทั่วไป คนมีความทุกข์เพราะ อวิชชาและตัณหา เพราะดับอวิชชาและตัณหาได้

คนจึงพ้นจากทุกข์ การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า อันเป็นหนทาง เพื่อ

การดับทุกข์ พร้อมทั้งเหตุของทุกข์ เริ่มต้นตั้งการศึกษาตามลำดับ คือการฟังให้เข้าใจ

ทุกข์อย่างเป็นเพียงธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น เกิดเพราะปัจจัย ไม่มีเรา ไม่มีคนอื่น และ

การฟังพระธรรมบ่อย ๆ ทำให้ใจของเรา คิดในสิ่งที่ดี ๆ มากขึ้น เมื่อเข้าใจความจริงที่

กำลังปรากฏมากขึ้น มีปัญญามากขึ้น จะทำให้ละคลายความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ น้อยลง

แต่ต้องใช้เวลา ดูตัวอย่างพระอริยบุคคลทั้งหลาย ในสมัยครั้งพุทธกาล เมื่อท่านอบรม

เจริญปัญญาจนปัญญาคมกล้า สามารถดับการยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งทั้งปวงได้ เพราะ

ท่านมีปัญญานั่นเองครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 271

๑๐. สาธุศีลชาดก

ว่าด้วยเลือกเอาผู้มีศีล

[๒๔๙] เราขอถามท่านพราหมณ์ว่า ๑. คนมีรูป

งาม ๒. คนอายุมาก ๓. คนมีชาติสูง ๔. คนมี

ศีลดี ๔ คนนั่น ท่านจะเลือกเอาคนไหน.

[๒๕๐] ประโยชน์ในร่างกายก็มีอยู่ ข้าพเจ้าขอทำ

ความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ประโยชน์ใน

บุรุษผู้มีชาติดีก็มีอยู่ แต่เราชอบใจศีล.

จบ สาธุศีลชาดกที่ ๑๐
ในทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า ความรักความติดข้องเป็นโลภะ เป็นกิเลสตัณหาไม่

ใช่เพียงความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น ความรักพี่น้อง รักเพื่อน หรือ ติดข้องในกาม

รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ และในภพ ก็เป็นตัณหา ตัณหาเป็นต้นเหตุของทุกข์ทั้ง

ปวง เมื่อดับตัณหาเสียได้ ทุกข์ย่อมถูกดับไปด้วย
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ตํ วินา นาญฺญโต ทุกฺขํ น โหติ น จ ตํ ตโต

ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจํ วิสตฺติกา

เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มี

แต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหา

นั้นก็หาไม่ เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดส่าย

ไปในอารมณ์ต่าง ๆ นั้น บั ณฑิตจึงรู้ว่าเป็น

สัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 787

ฯลฯ

ดูก่อนนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๗๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๓๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่

รัก ๘ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖

ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็

มีทุกข์ ๔ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มี

ทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์

เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี

มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอัน

เป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร และความทุกข์

เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มี

ความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้

ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่

พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก ในโลกไหน ๆ.

จบวิสาขาสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 389

บุคคลประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ

และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ ละเสียแล้ว

ซึ่งประโยชน์ ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก ย่อมทะเยอ

ทะยานต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน บุคคลอย่าสมาคม

กับสัตว์และสังขารทั้งหลายอันเป็นที่รัก (และ) ไม่

เป็นที่รักในกาลไหน ๆ (เพราะว่า) การไม่เห็นสัตว์

และสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์และสังขาร

อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่พึง

กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะความพราก

จากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นการต่ำทราม

กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ของเหล่าบุคคลผู้ไม่มี

อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ย่อมไม่มี.

๒. ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก ภัยย่อมเกิด

แต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้องได้

จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

๓. ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิด

แต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจาก

ความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.
ความรักระหว่างหญิง ชาย เป็นอกุศลธรรม มีอวิชชาเกิดร่วมด้วย การอบรมใน

เบื้องต้นต้องด้วยการฟัง การศึกษาพระธรรมของท่านผู้รู้ พระธรรมของท่านผู้รู้

สอนให้เข้าใจให้รู้ความจริง เมื่อเริ่มเข้าใจความจริงนั่นคือปัญญาเกิด เมื่อปัญญา

มากขึ้นปัญญาย่อมทำกิจของปัญญา คือ รู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงย่อมเบื่อหน่าย

และละคลาย และหลุดพ้นจากทุกข์

สภาพธรรมทั้งปวงที่ไม่เที่ยงนั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ฉะนั้น จึงเป็นทุกข์ ถึงแม้จะ

ใช้คำว่า ทุกข์ ก็มิได้หมายเฉพาะความรู้สึกที่เป็นทุกข์เท่านั้น ทุกขอริยสัจ คือสภาพ

ของสังขารธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ตลอดชีวิตของเรานั้นไม่มีอะไรเลยที่ไม่

ใช่ทุกข์ ถึงแม้ความรู้สึกเป็นสุข นั้นก็เป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยง อริยสัจธรรมที่ ๑ คือ

ทุกขอริยสัจ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความ

เกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็

เป็นทุกข์ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”

อริยสัจที่ ๒ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ซึ่งได้แก่ตัณหา ในพระสูตรเดียวกันมีข้อความว่า

“…ก็ทุกขสมุทัย อริยสัจนี้แล คือ ตัณหา อันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด

ด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา

ภวตัณหา วิภวตัณหา”

ตราบใดที่ยังมีตัณหาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะใดก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยให้เกิดอยู่ มี

ปัจจัยให้นามธรรมและรูปธรรมเกิดขึ้น ฉะนั้น ก็จะต้องเป็นทุกข์

ทุกคนมีโลภะมากมาย แต่ระลึกได้ไหมว่า โลภะแต่ละขณะที่เกิดขึ้นนั้นเป็น

สมุทัย เป็นเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ คือ การเกิดขึ้นของนามธรรมและรูปธรรม ทางตา

ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จากชาติหนึ่งสืบไปอีกชาติหนึ่ง ไปสู่อีก

ชาติหนึ่ง ทั้งๆ ที่มีโลภะ ก็ไม่เคยพิจารณารู้ว่า โลภะเป็นสมุทัย พระธรรมที่พระผู้มี

พระภาคทรงแสดง ที่แต่ละท่านได้สะสมมาแล้ว ทำให้แต่ละท่านระลึกได้ในชีวิต

ประจำวัน


อริยสัจที่ ๓ คือ ทุกขนิโรธ ซึ่งได้แก่นิพพาน มีข้อความว่า “…ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้

แล คือความดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความ

วาง ความปล่อยความไม่อาลัย” นิพพานเป็นธรรมที่ดับกิเลส เมื่อดับตัณหาแล้ว

ก็ไม่มีเหตุ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดภพชาติอีกต่อไป ฉะนั้น จึงเป็นที่ดับของทุกข์ทั้งปวง
อริยสัจที่ ๔ ว่าดังนี้

“…ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แลคืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ ซึ่งได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ฯ” มรรคมีองค์ ๘ หรือ

อริยมรรคนั้นเป็นการเจริญปัญญารู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหลายที่ปรากฏในชีวิตประจำ

วัน เราเจริญปัญญาให้รู้ชัดในโลกทั้งภายในและภายนอก ไม่ใช่โดยการคาด

คะเน แต่เป็นการรู้แจ้งด้วยตนเอง

โดยมากความต้องการผล ทำให้หาวิธี

นี่เป็นลักษณะของความต้องการ

เป็นเพราะความต้องการ จึงไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา

ผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานนั้น อบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แล้วละ แต่เมื่อยังไม่รู้ก็ไม่ละ

วิธีก็คือ เริ่มต้นจากการฟัง แล้วพิจารณาไตร่ตรองให้เข้าใจ จนเป็นปัญญาของผู้ฟังเอง
จะละคลายหรือดับความยึดมั่นได้อย่างไร คำตอบก็คือ ต้องมีความเข้าใจตาม

ความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งที่เราติดข้องพอใจนั้น แท้จริงก็เป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละ

อย่างที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แต่ต้องด้วยปัญญาจริง ๆ ไม่ใช่เพียงขั้น

คิดนึกเท่านั้น จึงจะคลายความยึดมั่นไปได้บ้าง

ดังนั้นควรเห็นประโยชน์ของการอบรมเจริญปัญญา ที่เริ่มจากการฟังธรรม

ศึกษาธรรมที่จะค่อยๆ สะสมความรู้ความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย ไม่ใช่จะหวัง

เกินวิสัยที่จะไม่ติดข้องผูกพันหรือไม่ยึดมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 480

ว่าด้วยไม่มีผู้เป็นที่รักกว่าตน

[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

เจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่บนปราสาทอันประเสริฐชั้นบน พร้อมด้วย

พระนางมัลลิกาเทวี ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนาง

มัลลิกาเทวีว่า ดูก่อนนางมัลลิกา มีใครอื่นบ้างไหมที่น้องรักยิ่งกว่าตน

พระนางมัลลิกากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หามีใครอื่นที่หม่อมฉันจะรัก

ยิ่งกว่าตนไม่ ก็ทูลกระหม่อมเล่ามีใครอื่นที่รักยิ่งกว่าพระองค์ เพคะ.

ป. ดูก่อนน้องมัลลิกา แม้ฉันก็ไม่รักใครอื่นยิ่งกว่าตน.

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทแล้ว เสด็จ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันอยู่บนปราสาทกับพระนางมัลลิกาเทวี ได้

ถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า มีใครอื่นที่น้องรักยิ่งกว่าตน เมื่อหม่อมฉัน

ถามอย่างนี้ พระนางมัลลิกาเทวีกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า หามีใครอื่นที่

หม่อมฉันจะรักยิ่งกว่าตนไม่ ก็ทูลกระหม่อมเล่ามีใครอื่นที่รักยิ่งกว่าพระ-

องค์ หม่อมฉันเมื่อถูกถามเข้าอย่างนี้ จึงได้ตอบพระนางมัลลิกาว่า แม้

ฉันก็ไม่มีใครอื่นที่จะรักยิ่งกว่าตน.



ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ใคร ๆ ตรวจตราด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว หาได้พบ

ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ ไม่เลย สัตว์เหล่าอื่น

ก็รักตนมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่

ควรเบียดเบียนผู้อื่น.

จบราชสูตรที่ ๑
อรรถกถาราชสูตร

.......พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไม่มีใครอื่นที่จะเป็นที่รักยิ่งไปกว่าตน.

พระเทวีแม้ตรัสแล้วประสงค์จะกระทำอรรถที่ตนยืนยันให้ประจักษ์แก่

พระราชาด้วยอุบาย จึงทูลถามพระราชาเหมือนที่พระราชาตรัสถามเองว่า

พระพุุทธเจ้าข้า ก็พระองค์มีใครอื่นเป็นที่รักยิ่งกว่าตน. ฝ่ายพระราชา

ไม่อาจกลับ (ความ) ได้ เพราะพระเทวีตรัสโดยลักษณะพร้อมทั้งกิจ แม้

พระองค์เองก็ตรัสโดยลักษณะพร้อมทั้งกิจ จึงตรัสยืนยันเหมือนดังพระเทวีตรัสยืนยัน.

ก็ครั้นตรัสยืนยันแล้ว เพราะความที่พระองค์มีปัญญาอ่อน จึงทรง

ดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ครอบครองปก-

ครองปฐพีมณฑลใหญ่ การจะยืนยันว่า เราไม่เห็นคนอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่ง

กว่าตน ดังนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย แต่นางนี้ เป็นหญิงถ่อย ชาติชั่ว

เราตั้งไว้ในตำแหน่งสูง ที่ยังไม่รักเราผู้เป็นสามีอย่างแท้จริง ยังกล่าวต่อ

หน้าเราว่า ตนเท่านั้นเป็นที่รักแก่ตน ดังนี้แล้ว จึงไม่พอพระทัยประท้วงว่า

เธอรักพระรัตนตรัยมากกว่าหรือ. พระเทวีกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

หม่อมฉันปรารถนาสุขในสวรรค์ และสุขในมรรคเพื่อตน แม้พระรัตนตรัย

หม่อมฉันก็รัก เพราะฉะนั้น ตนนั่นแล จึงเป็นที่รักยิ่งของหม่อมฉัน.

ก็สัตวโลกทั้งหมดนี้ รักคนอื่นก็เพื่อประโยชน์ตนเองเท่านั้น แม้เมื่อ

ปรารถนาบุตร ก็ปรารถนาว่า บุตรนี้จักเลี้ยงดูเราในยามแก่ เมื่อปรารถนา

ธิดา ก็ปรารถนาว่า ตระกูลของเราจักเจริญขึ้น เมื่อปรารถนาภริยา ก็

ปรารถนาว่า จักบำเรอเท้าเรา เมื่อปรารถนาแม้คนอื่นจะเป็นญาติมิตร

หรือพวกพ้อง ก็ปรารถนาเนื่องด้วยกิจนั้น ๆ ดังนั้น ชาวโลก เป็นผู้

เห็นแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น จึงรักคนอื่น รวมความว่า พระเทวี มีความ

ประสงค์อย่างนี้แล.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า นางมัลลิกานี้ เป็นผู้ฉลาด

เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม กล่าวว่า ตนนั้นแล เป็นที่รักยิ่งแก่เรา แม้ตน

ของเรานั้นแหละ ก็ปรากฏว่าเป็นที่รัก เอาเถอะ เราจักกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสาความว่า

ส่งจิตไปด้วยอำนาจการแสวงหาทั่วหมดทั้ง ๑๐ ทิศ. บทว่า

เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ ความว่า คนบางคน มีความอุตสาหะ

อย่างแรง แสวงหาบุคคลอื่น ผู้เป็นที่รักยิ่งแก่ตน ไม่พึงพบ คือไม่พึง

ประสบในที่ใดที่หนึ่ง คือในทุกทิศ. บทว่า เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ

ความว่า สัตว์เหล่านั้น ๆ ก็มีตนเป็นที่รักมาก คือเป็นพวก ๆ เหมือน

อย่างนั้น คือจะหาใคร ๆ ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนไม่ได้. บทว่า ตสฺมา น

หึเส ปรมตฺตกาโม ความว่า เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหมดรักตัวเอง คือ

รักสุข เกลียดทุกข์อย่างนี้ ฉะนั้น ผู้รักตนเมื่อปรารถนาหิตสุขเพื่อตน

จึงไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์อื่น โดยที่สุดมดดำมดแดง ทั้งไม่เบียดเบียน

ด้วยปหรณวัตถุ มีฝ่ามือ ก้อนดิน และท้อนไม้เป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อตนทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่น

ทุกข์นั้นเป็นเหมือนก้าวออกมาจากกรรมที่ตนทำไว้แล้วนั้น

จักปรากฏในตนเวลาใกล้ตาย. ก็ข้อนี้ เป็นธรรมดาของกรรม นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 441

ข้อความบางตอนจาก มูคผักขจริยา

เราจะ เกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้ เราจะ

เกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณ

เป็นที่รักของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 106

ชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม

ถึงมีกำลังก็เป็นผู้หมดกำลัง

แม้มีเรี่ยวแรงก็เสื่อมถอย

มีตาก็เป็นคนตาบอด.

ชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม

ถึงมีคุณความดีก็หมดคุณความดี

แม้มีปัญญาก็เสื่อมถอย

เป็นผู้ประมาท ติดพันอยู่ในบ่วง มาตุคาม

ย่อมปล้นเอาการศึกษาเล่าเรียน ตบะ ศีล

สัจจะ จาคะ สติ และมติความรู้ของตน

ผู้ประมาท เหมือนพวกโจรคอยดักทำร้ายในหนทาง.

ย่อมทำยศ เกียรติ ฐิติความทรงจำ ความกล้าหาญ

ความเป็นพหูสูต และความรู้ของตนผู้ประมาทให้เสื่อมไป

เหมือนไฟผู้ชำระทำของฟืนให้หมดไปฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 599

๓. โคธชาดก

เขารักก็รักมั่ง เขาชังก็ชังตอบ

[๖๓๑] พึงอ่อนน้อมต่อผู้ที่อ่อนน้อม

พึงคบ ผู้ที่เขาพอใจจะคบด้วย

พึงทำกิจ แก่ผู้ที่ช่วยทำกิจ

ไม่พึงทำความเจริญ ให้แก่ผู้ที่ใคร่ความเสื่อม

อนึ่ง ไม่พึงคบหาสมาคม กับผู้ที่เขาไม่พอใจจะคบหาสมาคมด้วย.

[๖๓๒] พึงละทิ้ง ผู้ที่เขาละทิ้ง

ไม่พึงทำความสิเนหา ในผู้เลิกลากัน

ไม่พึงสมาคม กับผู้มีจิตคิดออกห่าง

นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว

ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด

คนก็ฉันนั้น รู้ว่าเขาหมดความอาลัยแล้ว

ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่

เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ
ความพอใจเป็นไปในทางกุศลหรืออกุศลก็ได้

ขณะใดที่ติดข้องเป็นรักที่เป็นกิเลส และ ขณะใดไม่ติดข้องแต่หวังดี

ขณะนั้นเป็นรักที่ไม่มีกิเลส

กุศลเป็นสิ่งที่ดีควรเจริญ แต่ให้เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓- หน้าที่ 453

พระศาสดา ทรงสดับกถาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ทั้งสองสามีภริยานั้น ย่อมเรียกบุตรของตนเท่านั้นว่า 'บุตร'

ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมา ทรงแสดงความที่พระองค์เป็นบุตร

ของพราหมณ์ผัวเมียทั้งสองนั้นสิ้น ๓,๐๐๐ ชาติว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในอดีต-

กาล พราหมณ์นี้ได้เป็นบิดาของเรา ๕๐๐ ชาติติด ๆ กัน, เป็นอาของเรา

๕๐๐ ชาติ, เป็นลุง ๕๐๐ ชาติ, ถึงพราหมณีนั้นก็ได้เป็นมารดาของเรา

๕๐๐ ชาติติด ๆ กัน, เป็นน้าของเรา ๕๐๐ ชาติ, เป็นป้าของเรา ๕๐๐

ชาติ; เราเป็นผู้เจริญแล้วในมือของพราหมณ์ ๑,๕๐๐ ชาติ; เจริญแล้ว

ในมือพราหมณี ๑,๕๐๐ ชาติอย่างนี้. " แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้

ว่า :-

" ใจย่อมจดจ่อ, แม้จิตก็เลื่อมใสในบุคคลใด,

เขาย่อมสนิทสนมในบุคคลแม้นั้น ซึ่งตนไม่เคยเห็น

โดยแท้ ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒

ประการอย่างนี้ คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑,

เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือน

ดอกบัวเกิดในน้ำได้ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ)

ฉะนั้น."

ฯลฯ

พระพุทธองค์ทรงแสดงความรักเกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือ เคยทำบุญ

ร่วมกันมาในอดีต และได้เกื้อกูลกันในปัจจุบัน ทำให้เมื่อพบกับคนนั้น แล้ว

รู้สึกเป็นมิตร ถูกอัธยาศัย อยากสนทนาด้วย เป็นต้น ความรักในที่นี้ มิได้

หมายถึงความรักของหนุ่มสาวเพียงอย่างเดียว เป็นความรู้สึกที่ดีรู้สึกเป็นเพื่อน

เป็นไมตรีก็ได้ แต่สำหรับชายหนุ่มที่เห็นหญิงสาวที่สวยงามเกิดรักใคร่ อย่างนี้

เป็นราคะ อาจไม่เกี่ยวกับเหตุ ๒ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 245


แท้จริง ลูกสาวเศรษฐีนั้น เป็นภรรยาของนายโฆสกะนั้นในเวลา

ที่เขาเป็นนายโกตุหลิก ได้ถวายข้าวสุกทะนานหนึ่ง แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ด้วยอานุภาพแห่งผลทานนั้น นางจึงมาเกิดในตระกูลเศรษฐีนี้. ความรัก

ในปางก่อน ได้ท่วมทับยึดลูกสาวเศรษฐีนั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า


"ความรักนั้น ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการ

อย่างนี้ คือ ด้วยความอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑

ด้วยการเกื้อกูลกันในกาลปัจจุบัน ๑ เหมือนอุบล

(อาศัยเปือกตมและน้ำ) เกิดในน้ำฉะนั้น."

ฯลฯ

เป็นผู้มีปกติเจริญกุศลทุกประการและทำวันนี้ให้ดีที่สุด ส่วนความเป็นไปของชีวิตให้

ปล่อยไปตามเหตุและปัจจัย การอบรมเจริญสติปัฏฐานเจริญได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้ามี

เหตุปัจจัยให้มีชีวิตแบบไหนก็ต้องเป็นแบบนั้น ไม่ควรกังวลเรื่องอนาคตมากเกินไป

ส่วนการจะดับคือละความรักความติดข้องในกามคุณ(โลภะ) ต้องอบรมเจริญปัญญาจน

บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคลจึงจะ

หมดโดยไม่เกิดอีกเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อมีเหตุ ผลนั้นย่อมตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้า

หากว่าเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ที่จะทำให้เกิดมีความรัก ถามว่ามีใครที่จะยับยั้งได้ไหม ? ไม่

มีทาง ไม่เช่นนั้นคำสอนของพระพุทธองค์จะต้องเป็นโมฆะแน่ ๆ เพราะฉะนั้นมีอยู่หน

ทางเดียว คือ ศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจ เมื่อเรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เราก็

จะไม่เป็นกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เราจะศึกษาในสภาพธรรม ที่

กำลังเกิดขึ้นปรากฏอยู่ในขณะนี้ เพราะนั่นคือสิ่งที่มีประโยชน์และมีสาระที่สุดในชีวิตนี้
ความอยากไม่ได้ทำให้เราสมความปรารถนา แต่ความรู้ ความเข้าใจในความเป็นจริง

ของสภาพธรรมะที่ปรากฏสามารถบรรเทาได้ ทำให้เราเกิดความสงบได้ตามลำดับ

ขั้นของปัญญา ถ้าปัญญาและสติเกิดบ่อยๆ ชีวิตคงมีความผาสุขมากขึ้น แต่ถ้า

ความอยากเกิดแล้วยังไม่รู้ว่านี้คือเหตุของความทุกข์ ก็ต้องอยากไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้

ความจริงว่าอกุศลเกิดแล้ว เหตุของทุกข์ที่ไม่อยู่ในตำรำมาแล้ว ในความเป็นจริงใน

ชีวิตประจำวัน ท่านอาจารย์ สุจินต์ บอกว่าความอยากเกิดขึ้นนิดหนี่ง ก็ให้เข้าใจว่า

เขาเป็นทั้งศิษย์และอาจารย์ ค่อยแนะนำและให้เราทำตามอยู่เสมอ

เป็นผู้มีปกติเจริญกุศลทุกประการและทำวันนี้ให้ดีที่สุด นี่คือความไม่ประมาท

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้ง

หลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอ

ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.ไม่ช้าตถาคตจักปรินิพพาน

จากนี้ล่วงไปสามเดือนตถาคตจักปรินิพพาน . พระผู้มีพระภาคเจ้าสุคตศาสดา

ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๐๘] คนเหล่าใด ทั้งเด็กผู้ใหญ่ ทั้งพาล ทั้ง

บัณฑิต ทั้งมั่งมีทั้งขัดสน ล้วนมีความ

ตายเป็นเบื้องหน้า. ภาชนะดิน ที่ช่าง

หม้อทำ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ

ทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชี-

วิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 587


๗. ปุปผรัตตชาดก

เป็นทุกข์เพราะภรรยา ไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอากาสัฏฐ-

เทวดา ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีมหรสพกลางคืนวันเพ็ญ

กลางเดือน ๑๒ ผู้คนพากันตกแต่งบ้านเมืองสวยงาม ราวกับ

เทพนคร คนทั้งปวงมุ่งแต่จะเล่นมหรสพ แต่มีคนเข็ญใจผู้หนึ่ง

มีผ้าเนื้อแน่นอยู่คู่เดียวเท่านั้น เขาเอามาซักให้สะอาด ฟาดลง

เลยขาดเป็นริ้วเป็นรอยนับร้อยนับพัน ครั้งนั้นภรรยาพูดกะเขา

ว่า นาย ฉันอยากจะนุ่งผ้าย้อมดอกคำสักผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง

กอดคอท่านเที่ยวตลอดงานประจำราตรี เดือนกัตติกะ เขากล่าวว่า

นางผู้เจริญ เราเข็ญใจจะมีผ้าย้อมดอกคำได้ที่ไหน เธอจงนุ่ง

ผ้าขาวเที่ยวเล่นเถิด นางกล่าวว่า เมื่อไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ

ฉันจักไม่เล่นกีฬาในงานมหรสพละ เธอพาหญิงอื่นเล่นกีฬาเถิด

เขากล่าวว่า นางผู้เจริญ ใยจึงคาดคั้นฉันนักเล่า เราจักได้ผ้า

ย้อมดอกคำมาจากไหน ? นางกล่าวว่า เมื่อความปรารถนาของ

ลูกผู้ชายมีอยู่ มีหรือจะชื่อว่าไม่สำเร็จ ดอกคำในไร่ดอกคำของ

พระราชามีมากมิใช่หรือ ? เขากล่าวว่า นางผู้เจริญ ที่นั่นมีการ

ป้องกันแข็งแรง เช่นเดียวกับโบกขรณีที่รากษสคุ้มครอง เรา

ไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ดอก เธออย่าชอบใจมันเลย จงยินดีตาม

ที่ได้มาเท่านั้นเถิด นางกล่าวว่า นาย เมื่อความมืดในยามรัตติกาล

มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสถานที่ที่ลูกผู้ชายจะไปไม่ได้ ไม่มีเลย เทวดา

ผู้เที่ยวไปในอากาศผู้หนึ่ง เห็นภัยในอนาคตของเขา ช่วยห้าม

เขาไว้.

เมื่อนางพูดเซ้าซี้อยู่บ่อย ๆ อย่างนี้ เขาก็เชื่อถือถ้อยคำ

ของนางด้วยอำนาจกิเลส ปลอบนางว่า นิ่งเสียเถิด นางผู้เจริญ

อย่าคิดมากไปเลย ถึงเวลากลางคืน ก็เสี่ยงชีวิตออกจากพระนคร

ไปสู่ไร่ดอกดำของหลวง ปีนรั้วเข้าไปในไร่ พวกคนเฝ้าไร่

ได้ยินเสียงรั้ว ต่างร้องว่า ขโมย ขโมย แล้วล้อมจับได้ ช่วยกันด่า

รุมกันซ้อม มัดไว้ ครั้นสว่างแล้ว ก็พาไปมอบพระราชา พระราชา

รับสั่งว่า ไปเถิด พวกเจ้าจงเอามันไปเพียบเสียที่หลาว คนเหล่านั้น

มัดเขาไพล่หลัง พาออกจากเมือง โดยมีคนตีกลองประกาศโทษ

ประหารตามไปด้วย แล้วเอาไปเพียบที่หลาว เขาเสวยเวทนาแสน

สาหัส ฝูงกาพากันไปเกาะที่ศีรษะ จิกนัยน์ตาด้วยจะงอยปาก

อันคมเหมือนปลายคีม เขาไม่ได้ใส่ใจทุกข์แม้จะสาหัสเพียงนั้น

คิดถึงแต่หญิงนั้นถ่ายเดียว รำพึงว่า เราพลาดโอกาส จากงาน

ประจำราตรีในเดือนกัตติกะ กับนางผู้นุ่งผ้าย้อมด้วยดอกคำ

ใช้แขนทั้งคู่โอบกอดรอบคอ คลอเคลียกัน แล้วกล่าวคาถานี้

ความว่า " ที่เราถูกหลาวเสียบนี้ ก็ไม่เป็นทุกข์

ที่ถูกกาจิกเล่า ก็ไม่ทุกข์ เราทุกข์อยู่แต่ว่า นาง-

ผิวทองจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อมดอกคำ เที่ยวงาน

ประจำราตรีแห่งเดือนกัตติกะ" ดังนี้.

เขาเอาแต่พร่ำเพ้อ บ่นถึงมาตุคามนั้น อยู่อย่างนี้เท่านั้น

จนตายไปเกิดในนรก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในครั้งนี้

ส่วนอากาสัฏฐเทวดา ผู้ยืนประกาศทำเหตุนั้นให้ประจักษ์ ได้

มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปุปผรัตตชาดกที่ ๗

โลภะ(ความรัก) เมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้ไม่เห็นตามความเป็นจริง(มีโมหะเกิดร่วมด้วย)

คิดไปในทางที่ผิด วาจาก็ผิด กายก็ผิด ย่อมไม่รู้ว่าสิ่งใดควร ไม่ควร ย่อมไม่รู้ว่าสิ่งใด

ควรเสพ ไม่ควรเสพ ไม่รู้ว่าสิ่งใดมีโทษ ไม่มีโทษ ไม่รู้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์ ไม่มีประ-

โยชน์ โดยนัยตรงกันข้ามเมื่อปัญญาเกิด ย่อมเห็นตามความเป็นจริง...

ความหลงและกิเลสอื่นๆก็เช่นกัน เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงและในสิ่งอื่นๆ

อีกมากมายในทางที่ผิดครับ จึงควรเห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรมในแนวทางที่ถูก

ต้องครับ

ความรักและโลภะทำให้คนตาบอด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ข้อความบางตอนจาก…

อรรถกถา พรหมชาลสูตร

คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที

ความโลภก่อให้เกิดความพินาศ ความโลภทำให้จิต

อยากได้ ชนไม่รู้จักความโลภนั้นซึ่งเป็นภัยเกิดใน

ภายใน ดังนี้
ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นทำให้คนตาบอด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ข้อความบางตอนจาก..

อรรถกถา พรหมชาลสูตร

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปเรส ความว่า ก็คนมักโกรธ ย่อมไม่รู้

ทั่วถึงเนื้อความของคำที่เป็นสุภาษิต และคำที่เป็นทุพภาษิต ของคน

พวกใดพวกหนึ่ง คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก

หรือมารดาบิดา หรือคนที่เป็นข้าศึกได้เลย. อย่างที่ตรัสไว้ว่า

คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที

ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ ความโกรธทำให้

จิตกำเริบ ชนไม่รู้จักความโกรธซึ่งเป็นภัยเกิดในจิต

ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคล

ในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นมาประพฤติ

ต่อบุคคลนั้นด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคล

นั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจของเราด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อม

เกิดโทสะในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก

อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคล

ในโลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ

มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ

บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่น ๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่า

ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักใคร่ในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลใน

โลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ

มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่น ๆ มาประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เขาย่อมเกิดโทสะในบุคคลเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะ

โทสะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่

สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะ

ที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อม

ไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน

สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่

บังเกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะ

ความรัก เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น

เหมือนตาลยอดด้วยทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้โทสะที่เกิด

เพราะความรัก.. . แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ . . . แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ

เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาล

ยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้เราเรียกว่า

ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 453

ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒

ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒

ประการอย่างนี้ คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑,

เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือน

ดอกบัวเกิดในน้ำได้ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ)

ฉะนั้น
ในทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า ความรัก ความติดข้อง เป็นโลภะ เป็นกิเลสตัณหา

ไม่ใช่เพียงความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น ความรักพี่น้อง รักเพื่อน หรือ ติดข้องในกาม

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และในภพ ก็เป็นตัณหา ตัณหาเป็นต้นเหตุของทุกข์

ทั้งปวง เมื่อดับตัณหาเสียได้ ทุกข์ย่อมถูกดับไปด้วย


เป็นธรรมดาครับ โลกธรรม ๘ มีลาภก็ต้องเสื่อมลาภ มียศก็ต้องเสื่อมยศ มีสุข ก็ต้องมี

ทุกข์ มีนินทา ก็ต้องมีสรรเสริญ ดังนั้น เมื่อเกิดขึ้นมา ก็ต้องมีความทุกข์อันเนื่องมาจากการ

เกิด หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ดังนั้น ควรเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลก การที่จะไม่พลัดพรากจาก

ของรัก ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ไม่จากเป็น ก็ต้องจากตายครับ และธรรมดาแล้วเราก็รักตัวเอง

เป็นที่สุด ย่อมอยากจะได้ความรักจากคนที่เรารัก แต่ถ้าเราคิดถึงความสุขของคนอื่นก่อน

บ้าง(คิดด้วยเมตตา) ไม่ว่าเหตุการณ์นั้น จะเป็นอย่างไรก็ตามก็ย่อมทำประโยชน์ให้เขา(อบรม

เมตตาในชีวิตประจำวัน) และเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ จากที่

กล่าวมาก็เป็นเพียงขั้นพิจารณา

สติขั้นคิดนึก เพียงบรรเทาให้ความทุกข์ให้คลายลงบ้าง แต่มีเหตุปัจจัยก็ทุกข์ขึ้นมา

อีก ดังนั้น พระพุทธองค์จึงแสดงหนทางดับทุกข์ มีทางเดียวคือ สติปัฏฐาน คือระลึกรู้สภาพ

ธัมมะที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน เช่น ความทุกข์มีจริงไหม มีจริง บังคับไม่ให้เกิดได้ไหม ก็

ไม่ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วเราก็ยึดถือว่า เป็นเราที่ทุกข์ ดังนั้น เพราะความที่ยังยึดว่าเป็นเรา

นี่แหละ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์และการเกิดต่อไปอีก ดังนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นการอบรมปัญญา

ให้ระลึกขณะที่ ความทุกข์เกิดว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรมครับ จึงสามารถดับกิเลส ไม่เกิดอีกได้

ครับ

ดังนั้นการพิจารณาก็แล้วแต่ระดับปัญญาจริงๆ ขอยกพระสูตรให้อ่านนะครับ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓- หน้าที่ 140

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจาก

ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ใน

ของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรัก

ใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย

อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา

เนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒- หน้าที่ 495

ข้อความบางตอนจาก เรื่อง นางปฏาจารา

พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า "อย่าคิดเลยปฏาจารา,

เธอมาสู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว; เหมือน

อย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป, คนหนึ่งถูกน้ำ

พัดไป, สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว, มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับ

ฉันใด; น้ำตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารนี้ ในเวลาที่ปิยชน

มีบุตรเป็นต้นตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

"น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย, น้ำตาของ

คนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก มิใช่น้อย มาก

ว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น; เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่

เล่า ? แม่น้อง."

เมื่อพระศาสดาตรัสอนมตัคคปริยายสูตรอยู่อย่างนั้น, ความโศกใน

สรีระของนาง ได้ถึงความเบาบางแล้ว.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔- หน้าที่ 599

๓. โคธชาดก

[๖๓๐] หม่อมฉันทราบว่า พระองค์ผู้ทรงดำรง

รัฐจะไม่ทรงอาลัยใยดีต่อหม่อมฉัน ตั้งแต่

ครั้งเมื่อพระองค์ทรงภูษาเปลือกไม้ เหน็บ

พระแสงขรรค์ ทรงผูกสอดเครื่องครบ ประ-

ทับอยู่กลางป่า เหี้ยย่างได้หนีไปจากกิ่งไม้

อัสสัตถะแล้ว.

[๖๓๑] พึงอ่อนน้อมต่อผู้ที่อ่อนน้อม พึงคบผู้

ที่เขาพอใจจะคบด้วย พึงทำกิจแก่ผู้ที่ช่วย

ทำกิจ ไม่พึงทำความเจริญให้แก่ผู้ที่ใคร่

ความเสื่อม อนึ่ง ไม่พึงคบหาสมาคมกับผู้

ที่เขาไม่พอใจจะคบหาสมาคมด้วย.

[๖๓๒] พึงละทิ้งผู้ที่เขาละทิ้ง ไม่พึงทำความ

สิเนหาในผู้เลิกลากัน ไม่พึงสมาคมกับผู้มี

จิตคิดออกห่าง นกรู้ว่าต้นไม้มีผลหมดแล้ว

ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่เต็มไปด้วยผล ฉันใด

คนก็ฉันนั้น รู้ว่าเขาหมดความอาลัยแล้ว

ก็ควรจะเลือกหาคนอื่นที่เขาสมัครรักใคร่

เพราะว่าโลกกว้างใหญ่พอ.

[๖๓๓] ฉันเป็นกษัตริย์มุ่งความกตัญญู จะทำ

ตอบแทนแต่เธอตามสติกำลัง อนึ่ง ฉันจะ

มอบอำนาจให้แก่เธอทั้งหมด เธอต้องการ

สิ่งใดแก่คนใดฉันจะให้สิ่งนั้นแก่เธอ เพื่อ

คนนั้น.

จบ โคธชาดกที่ ๓


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 389

ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก ภัยย่อมเกิด

แต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้องได้

จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิด

แต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจาก

ความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี ภัยย่อม

เกิดแต่ความยินดี ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษ

แล้วจากความยินดี ภัยจักมีแต่ที่ไหน

ความโศกย่อมเกิดแต่กาม ภัยย่อมเกิดแต่

กาม ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจาก

กาม ภัยมีภัยแต่ที่ไหน.

ความโศกย่อมเกิดเพราะตัณหา ภัยย่อมเกิด

เพราะตัณหา ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว

จากตัณหา ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 786

พ. ดูก่อนนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์๘๐

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓

ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑

ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก

ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี

มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอัน

เป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร และความทุกข์

เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มี

ความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้

ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่

พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก ในโลกไหน ๆ.

จบวิสาขาสูตรที่ ๘
การทะเลาะ การวิวาท ความร่ำไรความโศกเศร้า



อันเกิดแต่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก



มาพร้อมกับความตระหนี่ความเสียดาย ความเห็นแก่ตัว





ทุกข์เพราะความรัก



ชื่อว่าทุกข์นี้มีสิ่งที่น่ารักเป็นเหตุสิ่งที่น่ารักมีประมาณเพียงใด ทุกข์ก็มีประมาณเพียงนั้น



ความรักในสามี ภรรยา บุตร และญาติ เหมือนพุ่มไม้ไผ่มีหนามมาก



รกยุ่งเกี่ยวคล้องกันพันกันฉันใด



ตัณหา ราคะ สราคะ ความกระหยิ่ม ความยินดี ความเพลิน ความกำหนัด



ด้วยอำนาจความเพลิน ความกำหนัดแห่งจิต



ความปรารถนา ความหลง ความติดข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความลวง



ตัณหาอันให้สัตว์เกิด ตัณหาอันให้เกี่ยวข้องไว้ในทุกข์ เย็บไว้ ตัณหาดั่งข่าย



ตัณหาดังแม่น้ำ ตัณหาเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ความรัก ความสนิทสนม ความเพ่ง



ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ความเป็นผู้หวังในลาภ ทรัพย์ บุตร ชีวิต



ความดี ความชอบ ความโลภมาก ความทะเยอทะยาน



เป็นกิเลสอันถือมั่นกั้น บัง ปิด ผูกไว้ในความหม่นหมอง ความปรารถนาต่าง ๆ



นั่นคือความรัก บ่วงมาร เบ็ดมาร อำนาจมาร เมาชีวิตลืมความตาย
ความรักเมื่อผิดหวัง

แม้จะไม่ผิดศีลธรรมก็ทำให้เกิดความเกลียดชัง อาฆาตพยาบาทถึงขนาดฆ่าให้ตายไปได้

ถ้าเบาลง ทำให้เกิดหึงหวง ห่วงใย เกิดโทสะ

เมื่อไม่ได้ดังปรารถนาก็อาฆาตมาดร้าย น้อยใจ เสียใจ เสียดายอิจฉาริษยา

เชือดเฉือน เผ็ดร้อน เผาผลาญ ตามอกุศลเจตนาที่คิดปรุงแต่งไปต่าง ๆ นานา

ร้อนใจ วุ่นวายใจ คิดทำลาย ทำร้ายผู้อื่นและตนเอง โดยถือสิทธิ์เป็นเจ้าของเฉพาะตน




เมื่อรักมากแล้วผิดหวังก็มีทุกข์มากความเสียใจน้อยใจโหยหา

ทำลายสุขภาพร่างกาย ทำให้โง่ขาดสติ ไม่มีปัญญา แก้ปัญหาไม่ได้

ทำให้ขาดความเจริญก้าวหน้า คิดแต่ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ร้องไห้ รำพัน

คิดแต่ความดีของตนและความไม่ดีของผู้อื่นเท่านั้นเสมอ ๆ บ่อย ๆ

ความรักทำให้เห็นแก่ตัว สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นที่พบเห็น

เคียดแค้นบุคคลที่มาเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกับคนที่ตนรัก

เกิดจิตวิปริต สร้างความวิปลาส เพราะถ้อยคำที่ทำให้เจ็บช้ำใจ

ทำให้เกิดภาพหลอนที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นต่าง ๆ นานา ผิด ๆ ถูก ๆ

จิตใจใฝ่ต่ำคิดทำร้ายตัวเองและผู้อื่นอยู่เสมอ

กล่าววาจาไม่สุภาพ รอคอยรับความทารุณจิตใจ (กิเลสของตัวเอง)

ในเมื่อยังอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน เมื่อถูกหลอก ถูกลวงต่าง ๆ นานา



ภัยของความรักด้วยตัณหา มานะ ความชอบใจ ความสนิทสนม

จิตผูกพันในสามี ภรรยา บุตร และญาติมิตรคนใช้ สัตว์ต่าง ๆ ไร่นา บ้านเรือน ที่ดิน

ด้วยยึดถือว่าเป็นของเรา จึงเกิดการทะเลาะแก่งแย่งชิงดี

สามารถประพฤติทุจริต ทางกาย วาจา ใจ

ผิดศีลได้ทุกข้อ มีอคติต่าง ๆ ทำทารุณผู้อื่นต่าง ๆ นานา ทำกรรมลามกต่าง ๆ

แก้แค้นหรือประชด โดยทำสิ่งที่จะทำให้ตัวเองเลวร้ายต่าง ๆ ตีโพยตีพาย โวยวาย

ที่ไม่ได้ดังความปรารถนา เมื่อไม่สมหวังในความรักจะแสดงอาการน่าเกลียดน่ากลัว

หูตาแดงหมดความกลัว ตามกำลังของกิเลสที่แต่ละคนสะสมมา

การรำพันบ่นเพ้อด้วยความทุกข์โศกที่บีบคั้นนั้นมากน้อยตามความต่างกันของนิสัย

ความเศร้าโศกเกิดเพราะอารมณ์อันเป็นที่รักนั้น ๆ

เมื่อเห็นโทษภัยของความรัก ก็ควรมีเมตตา ความเป็นมิตร อุปการะ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล

เผื่อแผ่ปรารถนาดีต่อกันและกัน

เราจะไม่ประทุษร้าย แม้ผู้เป็นข้าศึกของเราและผู้ที่หวังร้ายต่อเรา

ผู้ใดหวังร้าย ก็เป็นอกุศลของเขาไม่ใช่ของเรา ผู้ไม่รับความชั่วของผู้อื่น

คือผู้ชนะกิเลสของตนเองได้ ยอมรับสภาพธรรมทุกอย่างพร้อมกับให้อภัยได้เสมอ

ก็จะมีแต่ความสุข

โดยย่อ คือ อุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์

เมื่อย่อลงไป จนถึงที่สุดของทุกข์ทั้งหมด ที่ได้กล่าวถึงแล้ว ก็คือ

ขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์ นั่นเอง เป็นทุกข์


บทว่า สงฺขิตฺเตน โดยย่นย่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสทรงหมายเอา

เทศนาจริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจจะย่นย่อทุกข์ไว้ว่า เท่านี้ ๑๐๐ ทุกข์ หรือว่าเท่านี้
๑๐๐๐ ทุกข์แต่เทศนาอาจย่นย่อได้ เพราะฉะนั้นเมื่อทรงย่นย่อเทศนาว่า ขึ้น

ชื่อว่าทุกข์ มิใช่อะไรอื่น โดยย่นย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังนี้ จึงตรัส

อย่างนั้น เพราะทุกข์มีชาติเป็นต้นอันใด อันพระพุทธเจ้าผู้คงที่ ตรัสไว้ในโลก

นี้ และทุกข์ใดที่พระองค์มิได้ตรัสไว้ทุกข์นั้น ๆ ทั้งหมด เว้นขันธ์ ๕ นี้เสียแล้ว

ย่อมไม่มี ฉะนั้น อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงแสดงที่สุดแห่งทุกข์

จึงได้ตรัสว่า เป็นทุกข์ โดยย่อ ถ้าจะกล่าวถึงทุกข์ของแต่ละคน ให้แต่ละคน

เอาทุกข์ของตัวเองมาเล่าสู่กันฟังก็คงจะไม่มีวันจบ เพราะว่าวันนี้ทุกข์อย่างหนึ่ง
อีกวันก็ทุกข์อีกอย่างหนึ่ง

ในโลกนี้มีคนมากมายเพียงใด ทุกข์ก็แจกแจงไปตามเหตุตามปัจจัย

เพียงนั้นไม่มีทางที่จะประมาณได้ว่า นี้ทุกข์ ๑๐๐ ทุกข์ นี้ ๑๐๐๐ ทุกข์ ก็จริง

แต่โดยสรุปแล้วทุกข์ทั้งหมดคืออุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเองเป็นทุกข์ เพราะว่าถ้า

ไม่มีขันธ์ ๕ ก็ไม่มีทุกข์

ทุกคนมีทุกข์ต่าง ๆ กัน คนที่มั่งมีเงินทอง ก็มีทุกข์ในเรื่องของ

ทรัพย์สมบัติ คนที่ไม่มีเงินทอง ก็เป็นทุกข์ในเรื่องของการไม่มีเงินทอง

คนที่มีโรคภัยไข้เจ็บ ก็เป็นทุกข์เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รวมความแล้วทุกคนมี

ทุกข์ และมีสุข ซึ่งเกิดจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส

การกระทบสัมผัส และการคิดนึก

เมื่อศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถา ก็จะไม่พ้นจากเรื่องของตา

หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ฯ ทรงแสดงลักษณะที่แท้จริง

ของธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ไว้โดยละเอียด เพื่อให้ผู้ฟังพิสูจน์ให้รู้ความจริงจน

กระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม และดับกิเลส ได้เป็น

ลำดับขั้น

การที่จะดับกิเลสได้เป็นลำดับขั้นนั้น ในขั้นแรกจะต้องรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

เพราะเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างเท่านั้นเอง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

ปรากฏจริงตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าผู้ใดไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ฟังพระ

ธรรมโดยละเอียด แม้ว่าจะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตั้งแต่เกิดจน

ตาย ก็ไม่รู้ความจริงของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเลย การศึกษาพระ

ธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงศึกษาตามตัวหนังสือในคัมภีร์ต่าง ๆ ในตำราต่าง ๆ

แต่จะต้องพิจารณาสภาพลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

ใจ ในขณะนี้ประกอบด้วยว่า พระธรรมที่ทรงแสดงไว้นั้น เป็นความจริง

อย่างไร


ซึ่งมีข้อความอุปมาว่า ชาติ เป็นต้น เบียดเบียนอุปาทาน ขันธ์ ๕ นั่น

แล โดยประการต่าง ๆ ดังไฟป่าเบียดเบียนเชื้อฟืน เครื่องประหารเบียดเบียน

เป้า เหลือบและยุงเป็นต้น เบียดเบียนโค คนเกี่ยวข้าวเบียดเบียนนา โจร

ปล้นบ้าน เบียดเบียนบ้าน ย่อมเกิดในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้นเอง ดุจหญ้าและ

เถาวัลย์เป็นต้น เกิดในพื้นดิน ดุจดอกไม้ผลไม้และใบอ่อน เป็นต้น เกิดในต้นไม้
ฉะนั้น เมื่อขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็เหมือนต้นไม้ที่เกิดแล้ว ซึ่งย่อมมีดอกไม้ ผลไม้

และใบอ่อน เกิดที่ต้นไม้นั้น ฉันใด เมื่อขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็ย่อมจะมีทุกข์ลักษณะ

หนึ่งลักษณะใด เช่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส หรืออุปายาสนั่นเอง เกิดจาก

อุปาทานขันธ์ ๕ นั้นและอุปาทานขันธ์ ๕ ...

มีทุกข์เบื้องต้น คือ ชาติ

มีทุกข์ท่ามกลาง คือ ชรา

มีทุกข์สุดท้าย คือ มรณะ

เพราะทุกข์มีความตายเป็นที่สุดกระทบเฉพาะ จึงมีทุกข์ที่เผาลน คือ
โสกะเพราะอดกลั้นโสกะไม่ได้ จึงมีทุกข์ซึ่งเป็นเหตุพูดรำพัน คือ ปริเทวะ

ต่อนั้น เพราะประจวบกับโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา กล่าวคือธาตุกำเริบ จึงมี

ทุกข์ที่เบียดเบียนกายคือทุกข์ เพราะปุถุชนผู้ถูกทุกข์เบียดเบียนอยู่ เกิด

ปฏิฆะขึ้นในอุปาทานขันธ์นั้น จึงมีทุกข์ที่เบียดเบียนใจ คือ โทมนัส เพราะ

โสกะ เป็นต้น เจริญ สำหรับผู้ที่เกิดความปราศจากยินดี มีทุกข์ที่คอยถอน

หายใจเนือง ๆ คือ อุปายาส สำหรับผู้ที่ถึงความพลาดหวังแห่งใจ มีทุกข์ เพราะ

พลาดหวัง คือความไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่บคคล

เข้าไปพิจารณาโดยประการ ต่าง ๆ อย่างนี้ ด้วยประการนี้นั่นแล ชื่อว่าเป็นทุกข์


ข้อความต่อไปมีว่า พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดง ย่อทุกข์ที่

พระองค์ตรัสแสดงแต่ละอย่าง ๆ นี้ ซึ่งใคร ๆ ไม่อาจกล่าวโดยไม่เหลือได้ด้วย

กัปป์มิใช่น้อยนั้นแม้ทั้งหมดในอุปาทานขันธ์ ๕ หมวดใดหมวดหนึ่ง ดุจย่อรส

แห่งน้ำในมหาสมุทรทั้งสิ้นแสดงในหยดน้ำหยดเดียว ฉะนั้น จึงได้ตรัสว่า

สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธาทุกฺขา กล่าวโดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕

เป็นทุกข์ ดังนี้แล


ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ ในสังสารวัฏฏ์ หลายแสนโกฏิกัปป์นับประมาณไม่

ได้เลยนั้น ความทุกข์ก็มีประการต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีมากเพียงใด พระผู้มีพระ

ภาคก็ทรงย่อลงที่อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง ดุจย่อรสแห่งน้ำในมหาสมุทรทั้ง

สิ้น แสดงในหยดน้ำ หยดเดียว ฉะนั้น

การละกิเลสต้องเป็นไปตามลำดับ กิเลสที่ละเป็นอันดับแรกคือ ความยึดถือว่าเป็นสัตว์

บุคคล เป็นเราไม่ใช่ความยึดติดด้วยโลภะ เพราะฉะนั้นการยึดติดด้วยโลภะในความ

พอใจในสิ่งต่างๆ พระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้นย่อมจะละกิเลสคือความยึดติด

ด้วยโลภะได้ครับ

การเลิกยึดติด จึงไม่ใช่การบอกให้ทำแล้วจะเลิกยึดติดได้ แต่เป็นเรื่องของปัญญา

และปัญญาก็มีหลายระดับ ปัญญาระดับสูงถึงระดับพระอนาคามีจึงจะละความยึดติด

ติดข้องในสิ่งต่างๆได้ครับ ซึ่งก่อนที่จะมีปัญญาถึงระดับพระอนาคามี ก็ต้องเป็นพระ-

สกทาคามี เป็นพระโสดาบันก่อน และกว่าจะเป็นพระโสดาบันก็ต้องได้ปัญญาระดับสูง

อันเกิดจากการฟังธรรมในหนทางที่ถูกต้อง ดังนั้นจะต้องเริ่มจากเหตุที่ถูกให้เกิดปัญญา

คือการฟังพระธรรม

เราทุกข์ ก็อยากให้หายทุกข์เร็วๆ แต่หากไม่มีปัญญาทำอย่างไรก็ไม่หายทุกข์ และก็

ต้องทุกข์ซ้ำซากอยู่ร่ำไป ขอให้เริ่มจากเหตุที่ถูกคือการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม

ทุกคนล้วนมีความทุกข์ แต่ผู้มีความทุกข์แล้วควรแสวงหาประทีปคือปัญญาในการดับ

ทุกข์ โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ ขออนุโมทนาครับ

ทั้งๆที่รู้ว่ามีเหตุมาจากการยึดติดที่มากเกินไป และไม่สามารถยอมรับกับความเปลี่ยน

แปลงของจิตใจคนได้ รู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีปัญญามองหาทางออกได้ ต้องเจ็บปวด

วนเวียนซ้ำๆอย่างนี้ตลอดมา....ทุกอย่างเป็นธัมมะ..เป็นธรรมดาเหมือนเรื่องอื่นๆที่ต้อง

มีการเปลี่ยนแปลง...เขาเปลี่ยนไปเจอสิ่งที่ดีมีความสุข....ควรดีใจด้วย.รักที่ควรเป็นคือ

เมตตาหากเป็นความติดข้อง(โลภะ)มีแต่ความทุกข์....

การแสดงธรรมในวันนี้ก็ขอยุติเพียงเท่านี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญ

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมบุญเนื่องด้วยทางวัดป่าคำไก่แก้วสวรรค์ บ้านนาลาดควาย อ. หนองไพสูนย์ จ. หนองบัวลำ
ได้สร้างพระ ปูนปั้ย หน้าตัก เก้าเมตร
กำหนดการนั้น
27 มีนาคม 2552 ร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี
ณ. วัดป่าคำไก่แก้วสวรรค์
บ้านนาลาดควาย อ. หนองไพสูนย์ จ. หนองบัวลำภู
ออกเดินทาง วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2553
ห้าแยกปากเกร็ด ( เวลา 17.30 ) ถึง หนองบัวลำภู ( 02 .00 )โดยประมาณ
ร่วมบุญได้ตาม บัญชีวัดที่เปิดเฉพาะการสร้างพระ ๙ เมตร
ธนาคาร กรุงไทยชื่อ บัญชี วัดอุทยานธรรมคำไก่แก้ว
เลขที่บัญชี 402-0-23010-2
สาขา หนองบัวลำภู

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO