นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 03 พ.ค. 2024 9:13 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: มีอยู่
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 09 ก.พ. 2010 8:55 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าสังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นใจ,

สังขารแม้อย่างหนึ่งที่เที่ยงนั้น ไม่มีเลย จะเห็นได้ว่า ชีวิตของแต่ละบุคคลก็

ไม่พ้นจากสังขารเลย ทุกขณะของชีวิตเป็นสังขาร (จิต เจตสิก รูป) บุคคลใน

ยุคต่าง ๆ ในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ บุคคลเหล่านั้นได้ กระทำกาละไป

หมดแล้ว (ตาย) แล้วบุคคลเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ? ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้ง

ปวงได้อย่างเด็ดขาด แน่นอนต้องเกิด มีจิต เจตสิก และรูป เกิดขึ้นเป็นไป ใน

ภพต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรา หรือ เป็นใคร คนใดคนหนึ่ง ที่อยู่ที่นี่ในขณะนี้ก็ได้...

ดังนั้น ประโยชน์สูงสุดของการเกิดมาในแต่ละภพ แต่ละชาตินั้น ก็คือ มีโอกาส

ได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา (ความเข้าใจถูก ความเห็นถูก) ไปตาม

ลำดับ จนกว่าจะมีมากขึ้น เจริญขึ้น ถึงขั้นดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด บรรลุ

ถึงความเป็นพระอรหันต์. สังสารวัฏฏ์จึงเป็นอันจบสิ้น...

อกุศลย่อมเสียดแทงจิต ทำให้จิตเน่าเสีย อกุศลเกิดเมื่อไหร่ก็ทำให้จิตเน่าเสีย

ไม่เป็นประโยชน์....ไม่ใช่แค่เพียง โลภะ เท่านั้นที่ทำให้จิตเน่าเหม็น แต่หมายรวมถึง

โทสะ โมหะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ กิเลสทุกชนิดเสียดแทงจิตให้เน่าเหม็น.....การ

ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ให้มีความรู้ถูกต้องในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้เป็น

หนทางเดียวที่จะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้จิตถูกเสียดแทงด้วยอกุศล ฉะนั้น ปัญญาที่

อบรมดีแล้วย่อมนำไปสู่การพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ได้ในที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า๑๖๕

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า

"ฝน ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด, ราคะ

ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ ฉันนั้น

ฝน ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด, ราคะ

ก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารํ คือ ซึ่งเรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า ทุจฺฉนฺนํ คือ ที่เขามุงห่าง ๆ มีช่องเล็กช่องน้อย.

บทว่า สมติวิชฺฌติ คือ เม็ดฝนย่อมรั่วรดได้.

บทว่า อภาวิตํ เป็นต้น ความว่า ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ชื่อว่าไม่ได้อบรม

เพราะเป็นธรรมชาติเหินห่างภาวนา ราวกะว่าฝน (รั่วรด)เรือนนั้นได้ฉะนั้น, ใช่แต่

ราคะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้, กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโทสะ โมหะ และมานะ

เป็นต้น ก็เสียดแทงจิตเห็นปานนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่ ที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา;

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่อาจเสียดแทงจิตเห็นปานนั้นได้ ราวกะว่าฝน

ไม่อาจรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วได้ฉะนั้น.

การบวชเป็นสามเณร สำเร็จได้โดยถึงไตรสรณคมณ์และศีล ๑๐ ข้อ

แต่ถ้าพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าเขาไปบวชให้สามเณร

การบวชนั้นจะใช้ได้หรือไม่ ยังไม่พบกรณีนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาครับ

ส่วนสามเณรขโมยเงินเพียงเล็กน้อย คือ หนึ่งสลึง ก็ขาดจากความเป็นสามเณรทันที

ไม่ต้องถึง ๕ มาสกครับ ต้องขอสรณะและศีลใหม่ จากพระภิกษุ แล้วตั้งอยู่ในสังวรต่อ

ไป ย่อมมีหวังเจริญในพระธรรมวินัยนี้ได้ครับ
เรื่องมหาประเทศ ๔ ในพระวินัยเป็นเรื่องที่ละเอียดมากครับ โดยสรุปก็คือ บางสิ่ง

ที่ไม่มีพุทธบัญญัติไว้โดยตรง แต่สิ่งนั้นเมื่อพิจารณาแล้ว เข้ากับสิ่งที่ไม่สมควร

แก่บรรพชิต สิ่งนั้นก็ไม่สมควร เช่น ยุคปัจจุบัน มีสิ่งของที่เกิดขึ้นใหม่ๆ เช่น เกมส์

โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ทีวี บุหรี่ เป็นต้น ไม่มีพระบัญญัติไว้

แต่ถ้าพิจาณาแล้ว สิ่งของเหล่านี้ไม่เหมาะกับเพศบรรพชิต เป็นไปเพื่อการสะสม

ให้ก่อกิเลสตัณหา ถ้าพระภิกษุใช้สิ่งของดังกล่าว ก็ต้องอาบัติ...


พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 161


พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔

[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติ

บางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่

ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า.


วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก

สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรหากสิ่ง

นั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่ง

นั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่ง

นั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

มหาปเทส ๔

เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) ๔ ข้อเหล่านั้น ว่า ยํ ภิกฺขเว

มยา อิทํ น กปฺปติ เป็นต้น.

พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหา-

ปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.

ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด

เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล

มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง

เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.

มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ

สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.

น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย

มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน

แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม

เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.

ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย

แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม

กาลิกแท้.

จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด. จีวรอื่นอีก ๖ ชนิดที่

อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง

แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต

แล้ว.

บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าปัตตุนนะนั้น ได้แก่ ผ้าที่เกิดด้วยไหมใน

ปัตตุนประเทศ. ผ้า ๒ ชนิด เรียกตามชื่อของประเทศนั่นเอง. ผ้า ๓ ชนิด

นั้น อนุโลมผ้าไหม ผ้าทุกุละ อนุโลมผ้าป่าน นอกจากนี้ ๒ ชนิด อนุโลม

ผ้าฝ้ายหรือผ้าทุกอย่าง.

บาตรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ๑๑ อย่าง อนุญาต ๒ อย่าง คือ

บาตรเหล็ก บาตรดิน. ภาชนะ ๓ อย่าง คือ ภาชนะเหล็ก ภาชนะดิน ภาชนะ

ทองแดง อนุโลมแก่บาตรนั้นแล.

กระติกน้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๓ อย่าง คือ กระติก

โลหะ กระติกไม้ กระติกผลไม้. ภาชนะน้ำ ๓ อย่าง คือ คนโทน้ำ ขันทอง

ห้าว หม้อตักน้ำ อนุโลมกระติกน้ำ ๓ อย่างนั้นแล. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า สังข์

สำหรับใส่น้ำฉัน และขันน้ำ อนุโลมแก่กระติกเหล่านั้น.

ประคดเอวทรงอนุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ ประคดทอเป็นแผ่น ประคด

ไส้สุกร ประคดเอวที่ทำด้วยผืนผ้า และด้วยเชือกอนุโลมประคด ๒ ชนิดนั้น

ร่มทรงอนุญาตไว้ ๓ ชนิด คือ ร่มขาว ร่มรำแพน ร่มใบไม้, ร่ม

ใบไม้ใบเดียว อนุโลมตามร่ม ๓ ชนิดนั้นเอง; แม้ของอื่น ๆ ที่เข้ากับสิ่งที่

ควรและไม่ควร ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาดูบาลีและอรรถกถาแล้วทราบตามนัยนี้

เถิด
ก่อนอื่น...ควรทราบว่า พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคฯ

หรือ "พระธรรมวินัยทั้งหมด" ก็เพื่อ การขัดเกลากิเลส

เป็น การนำออก ซึ่งอกุศลทั้งปวง.


แต่ในสมัยพุทธกาล นั้น

เมื่อมีการกระทำที่ไม่สมควร ของพระภิกษุทั้งปวง

ก็จะให้มีการประชุมสงฆ์ และขอความเห็นของ"สงฆ์" โดยพร้อมเพรียงกัน

ว่า สิ่งนั้น หรือ การกระทำนั้น ไม่เหมาะ-ไม่ควรแก่ "เพศบรรพชิต"


ควรทราบว่า ในครั้งนั้น บริษัท มี ๔

คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

ซึ่งทั้งหมดสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ในเพศ หรือบริษัทของตน ๆ

โดยความต่างกัน เป็น ๒ เพศ คือ เพศบรรพชิต และ เพศคฤหัสถ์.


เพราะเหตุว่า ผู้ที่ "สะสมอัธยาศัย" ที่จะไม่ครองเรือน

และ มีจุดประสงค์ที่จะ "ขัดเกลากิเลส-อย่างยิ่ง-ดุจสังข์ขัด"

หมายความว่า มีจุดประสงค์ที่จะขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง

ทั้งทางกาย และทางวาจา ตลอดไป ตั้งแต่ตื่นจนหลับ

ซึ่งหมายถึง เพศบรรพชิต

ไม่ใช่ผู้ที่ครองเรือน หรือ เพศคฤหัสถ์


เพราะฉะนั้น

เมื่อมีผู้ที่มี "ศรัทธา" เห็นว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง และเห็นได้ยาก

มีอัธยาศัยที่จะขัดเกลากิเลส ในเพศบรรพชิต

เป็นผู้ตรง-ที่จะประพฤติปฏิบัติตาม "พระวินัยบัญญัติ"

ซึ่ง หมายถึง "สิ่งที่ควรแก่การเป็นบรรพชิต"

และ เป็นผู้ที่มี "เจตนาที่มั่นคง" ในการอบรมปัญญา ในเพศบรรพชิต

ต้องประพฤติปฏิบัติตาม "พระวินัยบัญญัติ" ได้อย่างครบถ้วน

จึงจะสมควรในการเป็น "พระภิกษุ-ในพระธรรมวินัยนี้"


แต่ บุคคลใดที่ "ไม่มีอัธยาศัย" ในการที่จะเป็นเพศบรรพชิตหรือพระภิกษุ

แต่มีการฟังพระธรรม เข้าใจพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในเพศคฤหัสถ์

ก็สามารถที่จะบรรลุอริยสัจจธรรมได้ ในเพศคฤหัสถ์-ผู้ไม่ครองเรือน.


การบรรลุอริยสัจจธรรม นั้น

สามารถบรรลุได้ ทั้งผู้ที่มีอัธยาศัย-ในการครองเรือน

และ ผู้ที่มีอัธยาศัย-ในการไม่ครองเรือน

เพราะเหตุว่า สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ การเจริญขึ้นของปัญญา

เมื่อปัญญา-อบรมเจริญดีแล้ว

ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหน ก็สามารถบรรลุ-อริยสัจจธรรม ได้.


ผู้ที่มี "ศรัทธา" ถึงกับบรรพชา-อุปสมบท เป็นพระภิกษุ นั้น

จะต้องประพฤติปฏิบัติตาม"พระวินัยบัญญัติ" ด้วยความเข้าใจจริง ๆ

ว่า จุดประสงค์ที่พระผู้มีพระภาคฯ และ สงฆ์ ได้บัญญัติพระวินัย

ก็เพื่อ"ประโยชน์-เกื้อกูล" ให้พระภิกษุ อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก

ดำเนินชีวิตและมีการบำเพ็ญประโยชน์ ในเพศที่บริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะครองเพศบรรพชิต เป็นพระภิกษุ

ต้องเป็นผู้ที่ "เห็นโทษของกิเลส-แม้เพียงเล็กน้อย"

และ ต้องรู้ว่า "พระวินัยบัญญัติ-ทุกข้อ"

บัญญัติไว้ เพื่อไม่ให้มีการล่วงกายทุจริต และ วจีทุจริต ซึ่งเป็นโทษ

แม้ เพียงเล็กน้อย.!


อย่างเช่น ขณะที่คฤหัสถ์-ผู้ครองเรือน เกิดความโกรธ

แล้วมีกิริยา-อาการแบบของคฤหัสถ์

จะมีใครไปกล่าวว่า เป็น "อาบัติ" หรือเปล่าคะ.?

ถ้าไม่มีการประทุษร้าย-เบียดเบียน จนกระทั่งเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อน.


แต่ สำหรับ "เพศบรรพชิต" ทำอย่างนั้นไม่ได้.!

ฉะนั้น ก็เห็นความแตกต่างระหว่างบรรพชิต และ คฤหัสถ์.


ยิ่งศึกษา"พระวินัยบัญญัติ" โดยละเอียด

ก็จะยิ่งเห็นความงามของพระวินัยบัญญัติ ซึ่งเป็นไปทางกาย ทางวาจา

ถ้าบุคคลใดไม่เข้าใจพระวินัยบัญญัติ จริง ๆก็ไม่สามารถที่จะแยกได้

ว่า พระภิกษุรูปไหน เป็นพระอรหันต์ หรือไม่ใช่พระอรหันต์.


เพราะว่า "พระภิกษุผู้ทรงพระวินัย"

จะไม่มีการแสดงออกทางกาย ทางวาจา ที่จะทำให้เห็นว่า เป็นผู้มีกิเลส.


ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีความประสงค์ และ มีเจตนาที่มั่นคงจริง ๆ

ที่จะอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างบรรพชิต

จะใช้ชิวิตเหมือนเดิม อย่างเพศคฤหัสถ์ ไม่ได้.!


เพราะฉะนั้น

ถ้าไม่มีความเข้าใจ เรื่องพระวินัยบัญญัติ จริง ๆ

ก็จะเป็นโทษ เป็นผู้ทุศีล.


เพราะเหตุว่า บุคคลผู้มีศรัทธาที่จะอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต นั้น

ไม่ได้ "ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง" ไม่ได้เห็นโทษของกิเลส แม้เพียงเล็กน้อย

แต่มีชีวิตอยู่ ด้วย "ศรัทธาของชาวบ้าน"


และถ้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตาม "พระวินัยบัญญัติ"

พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า เป็น "มหาโจร"


เพราะผู้ที่เป็นโจร หมายถึง ผู้ที่เบียดเบียนบุคคลอื่น

นำเอาของ ๆ บุคคลอื่น มาเป็นของ ๆ ตน.


แต่ ผู้ที่เป็นพระภิกษุ-ที่ไม่ได้ประพฤติตาม-พระวินัยบัญญัติ นั้น

ชื่อว่า เป็น "มหาโจร"

เพราะว่า การนุ่งห่ม-ไม่ใช่อย่างคฤหัสถ์ แสดงเพศของความเป็นบรรพชิต

แต่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตาม "พระวินัยบัญญัติ"

จึงเป็นผู้ "ทุศีล" และ "มีโทษมาก" สำหรับบุคคลผู้ประพฤติเช่นนั้น.

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจที่จะสร้างบารมี 10 ให้ครบทุกบารมี และจะศึกษาการรักษาโรค
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญท่องเที่ยววัดจุฬามณี

ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

สิ่งที่น่าสนใจ

อุโบสถจตุรมุขหินอ่อน
เป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง ประดับประดาด้วยโคมไฟ บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และะรับรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่าง ๆ บานหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีตงดงาม ฝีมือของจิตรกรหญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี
ขนมทองม้วนสูตรโบราณ
บริเวณถนนทางเข้าวัดจุฬามณี จะมีร้านขายขนมทองม้วน ซึ่งผลิตจากสูตรการทำดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา มีรสชาติอร่อย และมีชื่อเสียงของอำเภออัมพวา
การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (บางแพ-สมุทรสงคราม) เลยทางแยกเข้าอำเภอัมพวาไปประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานข้ามคลองอัมพวา เลี้ยวขวาตรงไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงวัด
รถประจำทาง
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถสองแถวสายแม่กลอง-วัดจุฬา คิวรถอยู่บริเวณตลาดธนวัท ซึ่งห่างจากสถานีขนส่งสมุทรสงครามไปประมาณ 100 เมตร รถเข้าถึงวัด


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO