นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 03 พ.ค. 2024 8:29 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ชนผู้มี
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 05 ม.ค. 2010 8:47 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4547
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 389

" ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกอันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก

ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือ

กามคุณ ๕ แล้ว ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมารย่อมดิ้นรน ดุจปลา

อันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น."

จิตเป็นสภาพธรรมที่รักษายากเพราะย่อมไหลไปสู่ที่ต่ำในอารมณ์ต่างๆด้วยจิตที่

เป็นอกุศล เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ปัญญาค่อยๆเจริญขึ้นทีละ

เล็กละน้อย แต่ยังมีความไม่รู้และกิเลสอื่นๆอีกมากมาย ยังอยู่ในห้วงน้ำ(โอฆะ)ทั้ง 4 คือ

1.กามโอฆะ ห้วงน้ำคือความยินดี พอใจในรูปเสียง กลิ่น รส..เป็นต้น

2.ภโวฆะ ห้วงน้ำคือความยินดีพอใจในอัตภาพนี้ ในภพ

3.ทิฎโฐฆะ ห้วงน้ำคือความเห็นผิดประการต่างๆ

4.อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง
สัตว์โลกย่อมจมอยู่ในห้วงน้ำ ดั่งปลาในห้วงน้ำ เมื่อมีโอกาสเจริญปัญญาในหนทางที่

ถูก แต่เป็นเพียงปัญญาขั้นการฟังก็ยังจมอยู่ในห้วงน้ำ เมื่อเข้าใจขึ้นก็เหมือนปลาที่ถูก

ซัดไว้บนบก ย่อมดิ้นรนที่จะลงไปสู่ห้วงน้ำคือกิเลสประการต่างๆอีก ยังอยากรู้มากๆ ยัง

อยากได้ผลเร็ว หรือต้องการลาภ สักการะ เป็นต้น

ผู้มีปัญญาจึงพิจารณาตามความเป็นจริง อดทนที่จะฟังธรรมต่อไป ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น

แต่เพื่อรู้ความจริงในขณะนี้และไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 392

ปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรน

ฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้

ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารลือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้น

ฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสียคือควรละบ่วงมารกล่าวคือกิเลส

วัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล.

โสมนัส สันตีรณจิต ไม่ทำกิจปฏิสนธิ เพราะอุเบกขาสันตีรณจิต และมหาวิบาก

ทำกิจปฏิสนธิ คือถ้ามีกำลังอ่อน ก็เป็นอุเบกขาสันตีรณจิต ถ้ามีกำลังมากขึ้นก็

เป็นมหาวิบาก ๘ ดวงใดดวงหนึ่งทำกิจ ดังนั้น โสมนัสสันตีรณจิต จึงทำกิจ ๒ กิจ

คือ สันตีรณกิจ และตทาลัมพนกิจ
ธรรมกาย พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นเกิดจากพระหทัยความดำริของพระองค์

อันอาศัยกายของพระองค์ กายของพระองค์ที่เป็นที่อาศัยให้แสดงธรรมออกมา จึงชื่อว่า

ธรรมกาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนว่าเสฏฐะและภารทวาชะ

เธอทั้งหลายแล มีชาติต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกัน ออกจาก

เรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ถูกเขาถามว่า ท่านเป็นพวกไหนดังนี้ พึงตอบ

เขาว่า พวกเราเป็นพวกพระสมณะศากยบุตรดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-

วาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น เกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่าง

มั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามารพรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้เคลื่อน

ย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเถิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์

ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นทายาท

ของพระธรรมดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี พรหม

กายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต.


คำว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนาน

นามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก

ด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา. ด้วยเหตุนั้น พระวรกาย

ของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้เพราะสำเร็จด้วยธรรม. พระธรรม

เป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนา. มานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค

จึงชื่อว่าธรรมกาย. ชื่อว่าพรหมกายเพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง

พระธรรมท่านเรียกว่าพรหมเพราะเป็นของประเสริฐ. บทว่า ธมฺมภูโต

ได้แก่สภาวธรรม. ชื่อว่า พรหมภูต เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง

ข้าพเจ้าขอนมัสการหมู่พระอริยสงฆ์นั้น

ผู้เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระของพระสัมพุทธเจ้า

เป็นผู้ประเสริฐ มีจิตบริบูรณ์ด้วยหมู่แห่งคุณทั้งหลาย

มีความสำรวมดีแล้ว เป็นเนื้อนาบุญแห่งผู้ปรารถนาบุญ

มีคุณขจรไปในภพทั้งหลาย อันเทวดาและมนุษย์สรรเสริญแล้ว
ในอรรถกถาอธิบายไว้ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

บทว่า อาเสวยิตฺวา ได้แก่ เจริญแล้ว. ธีรชนเหล่าใดกระทำบุญ-

สมภารไว้ ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาแห่ง

พระชินเจ้า ธีรชนเหล่านั้นได้กระทำบุญสมภารไว้ ย่อมเป็นพระปัจเจก-

ชินเจ้า คือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สยัมภู คือผู้เป็นเอง.

ถามว่า ท่านเป็นอย่างไร ? ตอบว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมยิ่งใหญ่

คือมีบุญสมภารใหญ่อันได้บำเพ็ญมาแล้ว มีธรรมกายมาก คือมีสภาวธรรม

มิใช่น้อยเป็นร่างกาย. ถามว่า ท่านเป็นอย่างไรอีก ? ตอบว่า ท่านมีจิต

เป็นอิสระ คือเป็นไปในคติของจิต อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยฌาน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

.......................... ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-

วาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น เกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่าง

มั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามารพรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้เคลื่อน

ย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเถิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์

ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็น

ทายาทของพระธรรมดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี

พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต.

คำว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระ

ตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระ

พุทธพจน์คือพระไตรปิฎกด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา.

ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้เพราะ

สำเร็จด้วยธรรม. พระธรรมเป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนา.

มานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่าธรรมกาย. ชื่อว่าพรหมกายเพราะ

มีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระธรรมท่านเรียกว่าพรหมเพราะเป็น

ของประเสริฐ. บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่สภาวธรรม. ชื่อว่าพรหมภูต

เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง

เวทนาขันธ์ (ความรู้สึกต่าง ๆ ) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

และเราสามารถระลึกรู้ "ลักษณะ" ของเวทนาขันธ์ได้

ลักษณะของความรู้สึกทุกประเภท เป็น เวทนาขันธ์.


.


เวทนาขันธ์ จำแนกได้หลายนัย.!

บางครัง ก็จำแนกเป็น ๓ ประเภท

คือ

สุขเวทนา

(ความรู้สึกเป็นสุข)


ทุกขเวทนา

(ความรู้สึกเป็นทุกข์)


อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา)

(ความรู้สึกไม่ทุกข์ และ ไม่สุข)




บางครั้ง จำแนกเวทนา เป็น ๕ ประเภท

คือ

โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

สุขเวทนา ทุกขเวทนา.


.


ความรู้สึก...ทางกาย

มี "กายปสาทรูป" เป็นปัจจัย.


กายปสาทรูป เป็น รูปธรรม

ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์.


กายปสาทรูป

ซึ่งสามารถกระทบสัมผัส-สิ่งที่กระทบได้ เฉพาะทางกาย

ได้แก่ สภาพธรรมที่มีลักษณะเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว

เท่านั้น.


.


"ความรู้สึก" เป็น นามธรรม

เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์.


เมื่อมีปัจจัยให้เกิดการกระทบสัมผัส "ทางกาย"

กายปสาทรูป เป็นปัจจัยให้เกิดนามธรรม ซึ่งรู้อารมณ์ที่มากระทบทางกาย.


นามธรรม ที่เป็น "ความรู้สึกทางกาย" นั้น

จะต้องเป็นทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง

และ ต้องไม่เป็นอุเบกขาเวทนาเลย.!


ขณะที่ความรู้สึกเป็น ทุกขเวทนาทางกาย

ขณะนั้น เป็น "อกุศลวิบากจิต"

(คือ ผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว)


ขณะที่ความรู้สึกเป็น สุขเวทนาทางกาย

ขณะนั้น เป็น "กุศลวิบากจิต"

(คือ ผลของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว)


.


เพราะเหตุว่า

เวทนาขันธ์ ( ความรู้สึกต่าง ๆ ) ไม่เที่ยง...เป็นอนัตตา

มีการเกิดขึ้นและดับไปอยู่เรื่อย ๆ

จึงเป็นการยากที่จะรู้ลักษณะของเวทนาแต่ละประเภท.


เช่น อาจจะเข้าใจผิด

ระหว่าง สุขเวทนาทางกาย คือ "กุศลวิบากจิต"

ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม

กับ โสมนัสเวทนา (ความสบายใจ)

ซึ่งมีลักษณะที่พอใจในสุขเวทนาทางกาย


หรือ เข้าใจผิด

ระหว่าง ทุกขเวทนาทางกาย คือ "อกุศลวิบากจิต"

กับ โทมนัสเวทนา ที่ไม่พอใจในทุกขเวทนาทางกาย.



โสมนัสเวทนา และ โทมนัสเวทนา

ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นภายหลังจาก สุขเวทนา และ ทุกขเวทนาทางกาย นั้น

เป็น ความสบายใจ (สุขใจ) และ ความไม่สบายใจ (ทุกข์ใจ)


ในขณะเกิดความรู้สึก ทุกขเวทนา

เป็น อกุศลวิบากเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกับ "อกุศลวิบากจิต"

ขณะที่กำลังรู้อารมณ์ที่ไม่ดีที่กระทบทางกาย

แต่ โทมนัสเวทนา ที่อาจจะเกิดภายหลังนั้น เกิดร่วมกับ "อกุศลจิต"


ดังนั้น โทมนัสเวทนา

จึงไม่ใช่ อกุศลวิบากเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ "อกุศลวิบากจิต"


.


โทมนัสเวทนา

เกิดขึ้นได้เพราะ "โทสะที่สะสมไว้" เป็นปัจจัย.!


เพราะแม้ว่า

ทุกขเวทนา และ โทมนัสเวทนา เป็นนามธรรม คือสภาพรู้

แต่ เป็นนามธรรม (ที่เป็นความรู้สึก) ที่ต่างกัน.


ต่างกัน...เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดนั้น ต่างกัน.!


สำหรับผู้ที่ดับ "เหตุที่ทำให้เกิดโทสะ" ได้แล้ว

(หมายถึง พระอนาคามีและพระอรหันต์)

ทุกขเวทนาทางกายก็ยังเกิดได้

แต่ไม่มี "เหตุ" (คือ โทสมูลจิต)

ที่เป็นปัจจัยให้เกิดโทมนัสเวทนาอีกต่อไป.


.


ดังนั้น ผู้ที่ดับเหตุ-ปัจจัย

คือความยินดีพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

บรรลุเป็นพระอนาคามี และ พระอรหันต์แล้ว นั้น

ท่านยังมี "อกุศลวิบากจิต"

(ผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีต)

ตราบเท่าที่ท่านยังมีชีวิต (คือยังมีขันธ์ ๕)


แต่ ท่านไม่มีโทมนัสเวทนาเกิดขึ้นอีกเลย.!

เพราะว่า ได้ดับ "เหตุ-ปัจจัย"

คือ โลภมูลจิต ความติดข้องในกาม และ โทสมูลจิต

ได้เป็นสมุจเฉท.


.
.
.


ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒

สกลิกสูตรที่ ๓ ข้อ ๔๕๒ มีข้อความว่า


สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคฯ ประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิมิคทายวัน

เขตกรุงราชคฤห์ ฯ


ก็สมัยนั้นแล

พระบาทของพระผู้มีพระภาคฯ ถูกเสก็ดหินเจาะแล้ว

ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลายอันยิ่ง เป็นไปในสรีระ

เป็นทุกข์แรงกล้า เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ทรงพระสำราญ

ย่อมเป็นไป แด่พระผู้มีพระภาคฯ


พระองค์มี "สติสัมปชัญญะ" อดกลั้นซึ่งเวทนาเหล่านั้น

ไม่ทรงกระสับกระส่าย ฯ



เวทนาขันธ์ จำแนกเป็น ๖ โดยนัยของ ทวาร ๖

คือ เวทนา (ความรู้สึก) ที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.


เวทนาทั้ง ๖ นี้....ต่างกัน เพราะเกิดจากปัจจัยที่ต่างกัน.!

เวทนาเกิดขึ้นและดับไปพร้อมกับจิตที่เวทนานั้น ๆ เกิดร่วมด้วยเสมอ

ฉะนั้น ทุกขณะ (จิต) จึงไม่ใช่เวทนาเดียวกันเลย.!


.


ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เคสัญญสูตรที่ ๒

มีข้อความว่า


".....ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ-สัมปชัญญะ รอกาลเวลา

นี้เป็นคำของเรา สั่งสอนพวกเธอ ฯ


ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติ-สัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้..........

สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น...เธอย่อมรู้อย่างนี้ ว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา


ก็สุขเวทนานี้แล...อาศัย จึงเกิดขึ้น....ไม่อาศัย ก็ไม่เกิดขึ้น

อาศัยอะไร.....อาศัย "ผัสสะ" นี้เอง.!

ก็แต่ว่า "ผัสสะ" นี้ ไม่เที่ยง

มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย จึงเกิดขึ้น.


ก็สุขเวทนา....ซึ่งอาศัยผัสสะ อันไม่เที่ยง

มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย จึงเกิดขึ้น

(เวทนาและผัสสะ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา....จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้


เธอย่อมพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง

เธอย่อมพิจารณา เห็นความเสื่อมไป

เธอย่อมพิจารณา เห็นความคลายไป

เธอย่อมพิจารณา เห็นความดับไป

เธอย่อมพิจารณา เ ห็นความสละคืน

ในผัสสะ และ สุขเวทนา อยู่..............

(เธอ) ย่อมละ "ราคานุสัย" ใน ผัสสะและสุขเวทนาเสียได้ฯ


.


ข้อความเกี่ยวกับผัสสะและทุกขเวทนา

ผัสสะและอทุกขมสุขเวทนา

ก็โดยนัยเดียวกัน.


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้า สวดมนต์ กรวดน้ำ ถวายข้าวพระพุทธรูป
สักการะพระธาตุ กำหนดอิริยาบทย่อย และวันนี้ตั้งใจว่าจะฟังธรรม
สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย เจริญอนุสติหลายอย่าง
ทำความสะอาดที่สาธารณะ และเมื่อวานนี้และวันก่อนนี้ได้ให้อภัยทาน
และวันนี้ได้อาราธนาศีล ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



















ขอเชิญไหว้พระที่วัดถ้ำเหง้า ซึ่งเป็นวัดถ้ำพระ

โบราณ อยู่เส้นทางแม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน เลยสวนรุกชาติห้วยชมพูแม่สะเรียงไปประมาณ 2-3 กิโลเมตร จะ

มีป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ ทางขึ้นวัดเป็นถนนคอนกรีต ค่อนข้างชันบ้างบางจุด







ขอเชิญไหว้พระที่วัดถ้ำเหง้า ซึ่งเป็นวัดถ้ำพระ

โบราณ อยู่เส้นทางแม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน เลยสวนรุกชาติห้วยชมพูแม่สะเรียงไปประมาณ 2-3 กิโลเมตร จะ

มีป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ ทางขึ้นวัดเป็นถนนคอนกรีต ค่อนข้างชันบ้างบางจุด

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงถึงนิพพานด้วยกันทุกท่านเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO