นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 03 พ.ค. 2024 5:33 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ญาณ
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 04 ม.ค. 2010 8:18 am 
ออนไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4546
ญาณ คือ ปัญญา ปัญญาจะเกิดร่วมกับโสภณจิตเท่านั้น

ฌาน คือ สภาพที่เพ่ง หรือเผาปฏิปักษ์ธรรม มีวิตก วิจาร เป็นต้น จะเกิดร่วมกับกุศล

หรืออกุศลก็ได้

คำว่าฌานที่มาในพระบาลีบางครั้งหมายถึงสมถภาวนา บางครั้งหมายถึงวิปัสสนา

ภาวนาเหตุที่ไม่เรียกลักขณูปนิชฌานเพราะในที่นั้นใช้คำว่าวิปัสสนา ซึ่งมีความ

หมายเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑-หน้าที่ 504

บทว่า ฌาน ฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌานเพ่งอารมณ์ และ

ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ เข้าไปเพ่ง

อารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่า อารัมมณูปนิชฌาน. วิปัสสนามรรคและผล

ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.

ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌานเพราะเข้า

ไปเพ่ง ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น, มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ

กิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค,ส่วนผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ

อรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจอันเป็นลักษณะที่จริงแท้.

คำว่า โสฬสญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ ๑๖ เป็นชื่อของปัญญาระดับสูง

คือ ผู้มีปัญญาอันอบรมจนมีกำลังแล้ว จริงอยู่ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าหรือ

พระอรหันตสาวก ท่านไม่ได้แสดงจำนวนเรียงตามลำดับตั้งแต่ ญาณ ๑ - ๑๖

ก็จริง คือ แสดงจำนวน ๙ บ้าง ๑๐ บ้าง แต่พระอรรถกถาท่านอธิบายขยาย

ความให้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น ตามนัยของพระพุทธพจน์นั่นเองคือในพระบาลี

ท่านละไว้ในฐานะที่เข้าใจกัน จึงไม่ได้กล่าวถึงญาณะบางญาณะ เช่น ญาณะ

ที่ ๑เป็นต้น แต่ผู้ที่จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลต้องผ่านญาณทั้ง ๑๖ ญาณ

ทุกคน ดังนั้น พระอรรถกถาจึงขยายความการเจริญขึ้นของปัญญาเป็นลำดับ

ขั้น เป็น ๑๖ ขั้น สรุปคือ โสฬสญาณ หรือ ญาณ ๑๖ จะกล่าวว่าเป็น

คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ได้ เพราะอธิบายตามนัยของคำสอนของพระพุทธ-

เจ้านั่นเอง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ท่านช่วยให้ผู้ที่ศึกษาธรรมะรุ่นหลัง ซึ่งมีปัญญาน้อยลง

ได้เห็นถึงความละเอียดปราณีตของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า แม้พระองค์

จะตรัสกับสาวกเพียงสั้นๆ แต่ความจริงนั้น อรรถแสนลึก ยากที่จะเข้าถึงหากขาดความ

รอบคอบในการศึกษาเพิ่มเติม แล้วพิจารณา ไตร่ตรองจนเกิดปัญญาเครื่องตรวจสอบ

และพิสูจน์ความจริงด้วยตนเอง ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาที่ละเอียดขึ้นจะช่วยป้องกัน

ไม่ให้มีการหลงผิด คิดว่า การบรรลุอริยสัจจธรรม หรือ การได้วิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ

เป็นเรื่องง่ายที่ใครก็สามารถที่จะประจักษ์และบรรลุได้ ซึ่งความเป็นจริง ก็ไม่ง่ายอย่าง

นั้นจริงๆ เพราะเหตุว่าปัญญาเจริญช้ามาก และหนทางที่จะได้เจริญปัญญานั้นก็แสน

ยาก สาวกที่เป็นปุถุชนจึงไม่ควรประมาทในพระปัญญาคุณของพระองค์ และปัญญา

ของท่านพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ในรุ่นหลังๆ เลย หากยังไม่รู้ ก็ยังต้องอาศัยการฟังพระ

ธรรมที่ทรงแสดงโดยตลอด ๔๕ พรรษาเป็นหลักอีกมากเหลือเกิน พร้อมทั้งเพิ่มพูน

ความเข้าใจในจุดที่เข้าไม่ถึงด้วยอรรถกถาซึ่งท่านอธิบายไว้โดยประการต่างๆ
มหาวิปัสนา(คืออนุปัสนา) ๑๘ [วิสุทธิมรรคแปล]

วิปัสสนาญาณ ๑๖

๑. นามรูปปริเฉทญาน ๒. ปัจจยปริคคหญาณ

๓. สัมมสนญาณ ๔. อุทยัทพพยญาณ

๕. ภังคญาณ ๖. ภยญาณ

๗. อาทีนวญาณ ๘. นิพพิทาญาณ

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ๑๐. ปฏิสังขารญาณ

๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ๑๒. อนุโลมญาณ

๑๓. โคตรภูญาณ ๑๔. มัคคญาณ

๑๕. ผลญาณ ๑๖.ปัจจเวกขณญาณ
ก่อนที่มัคควิถีจิตจะเกิดขึ้นได้นั้น มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเกิด

ขึ้นระลึก ศึกษา รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมไปแต่ละชาติๆ ......จนกว่า

ปัญญาที่สังเกตรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจะเพิ่มขึ้น

เมื่อปัญญาสมบูรณ์มั่นคงถึงขั้นใด มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตที่เป็น

วิปัสสนาญาณก็เกิดขึ้น ประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ตาม

ลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณทางมโนทวาร คือ ...



วิปัสสนาญาณที่ ๑ -- นามรูปปริจเฉทญาณ

มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตเกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรม

และรูปธรรมที่แยกขาดจากกันทีละอารมณ์ โลกปรากฏสภาพที่สูญเปล่าจากตัว

ตน ขณะนั้นไม่มีอัตตสัญญาที่เคยทรงจำสภาพธรรมรวมกันเป็นโลก เมื่อสภาพ

ธรรมขณะนั้นปรากฏลักษณะที่เป็นอนัตตา สัญญาจำลักษณะที่เป็นอนัตตาของ

สภาพธรรมนั้นๆ จึงจะเริ่มมีได้ และสติปัฏฐานก็จะต้องระลึกถึงอนัตตสัญญา

ที่ได้ประจักษ์แล้ว เมื่อพิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมอื่นๆ ต่อไป

เพราะถ้าไม่ระลึกถึงอนัตตสัญญาที่ได้ประจักษ์แล้ว ในนามรูปปริจเฉทญาณเพิ่ม

ขึ้นอีก อัตตสัญญาที่สะสมพอกพูนมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ก็หมดสิ้นไปไม่ได้

วิปัสสนาญาณที่ ๒ -- ปัจจยปริคคหญาณ

เมื่อวิปัสสนาญาณดับไปหมดแล้ว โลกก็ปรากฏรวมกันเหมือนเดิม

ผู้เจริญสติปัฏฐานจึงรู้ชัดความต่างกันของขณะที่วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และ

ขณะที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เมื่อวิปัสสนาญาณดับหมดแล้ว ความไม่รู้ ความ

สงสัยในนามธรรมและรูปธรรมอื่นๆ ก็เกิดอีกได้ เพราะ ความไม่รู้และความสงสัย

ยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท

นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาตปริญญา คือญาณที่รู้เฉพาะลักษณะ

ของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณเท่านั้น ในขณะที่เป็น

วิปัสสนาญาณนั้น ไม่มีความไม่รู้และความสงสัยลักษณะธรรมที่ปรากฏ นามรูป

ปริจเฉทญาณเป็นวิปัสสนาขั้นต้นที่นำทางไปสู่วิปัสสนาญาณ ขั้นต่อๆ ไป ที่

ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มขึ้น

เมื่อสติปัฏฐานระลึกรู้และพิจารณาสังเกตลักษณะของนามธรรมและ

รูปธรรมที่ปรากฏต่อๆ ไปอีก ย่อมพิจารณารู้ขณะที่อารมณ์แต่ละอารมณ์ปรากฏว่า

สภาพรู้แต่ละอย่างนั้นย่อมเกิดขึ้นตามปัจจัย คือ อารมณ์ ถ้าอารมณ์นั้นๆ ไม่ปรา-

กฏ นามธรรมที่รู้อารมณ์ก็เกิดไม่ได้ การปรากฏของแต่ละอารมณ์ย่อมทำให้

ปัญญาเห็นสภาพการเป็นปัจจัยของธรรมที่กำลังปรากฏ ทำให้รู้ลักษณะที่เป็น

อนัตตาของธรรมทั้งหลาย ค่อยๆ คลายการเพ่งติดตามอารมณ์ด้วยความเป็น

ตัวตนลง เมื่อมัคค์มีองค์ ๘ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์เจริญขึ้นสมบูรณ์ขณะใดก็ปรุง

แต่งให้วิปัสสนาญาณที่ ๒ คือ ปัจจยปริคคหญาณเกิดขึ้น ประจักษ์การเกิดขึ้น

ของนามธรรมและรูปธรรมตามปัจจัยต่างๆ ในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น

เช่น ประจักษ์การเกิดขึ้นของนามได้ยินหรือเสียง ประจักษ์การเกิด

ขึ้นของสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือนามคิดนึก ซึ่งปรากฏโดยสภาพที่แยก

ขาดจากกันทีละอารมณ์ โดยลักษณะสูญเปล่าจากตัวตน เป็นต้น

วิปัสสนาญาณ ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏ

ตามปกติ แต่เป็นการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมทางมโนทวาร ซึ่งแยก

ขาดลักษณะของแต่ละอารมณ์ โดยลักษณะที่ว่างเปล่าจากสิ่งอื่นๆ และตัวตน

เมื่อวิปัสสนาญาณดับหมดแล้ว โลกก็ปรากฏรวมกันเหมือนเดิม



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 389

" ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกอันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก

ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือ

กามคุณ ๕ แล้ว ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมารย่อมดิ้นรน ดุจปลา

อันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น."

จิตเป็นสภาพธรรมที่รักษายากเพราะย่อมไหลไปสู่ที่ต่ำในอารมณ์ต่างๆด้วยจิตที่

เป็นอกุศล เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ปัญญาค่อยๆเจริญขึ้นทีละ

เล็กละน้อย แต่ยังมีความไม่รู้และกิเลสอื่นๆอีกมากมาย ยังอยู่ในห้วงน้ำ(โอฆะ)ทั้ง 4 คือ

1.กามโอฆะ ห้วงน้ำคือความยินดี พอใจในรูปเสียง กลิ่น รส..เป็นต้น

2.ภโวฆะ ห้วงน้ำคือความยินดีพอใจในอัตภาพนี้ ในภพ

3.ทิฎโฐฆะ ห้วงน้ำคือความเห็นผิดประการต่างๆ

4.อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคือความไม่รู้ตามความเป็น
สัตว์โลกย่อมจมอยู่ในห้วงน้ำ ดั่งปลาในห้วงน้ำ เมื่อมีโอกาสเจริญปัญญาในหนทางที่

ถูก แต่เป็นเพียงปัญญาขั้นการฟังก็ยังจมอยู่ในห้วงน้ำ เมื่อเข้าใจขึ้นก็เหมือนปลาที่ถูก

ซัดไว้บนบก ย่อมดิ้นรนที่จะลงไปสู่ห้วงน้ำคือกิเลสประการต่างๆอีก ยังอยากรู้มากๆ ยัง

อยากได้ผลเร็ว หรือต้องการลาภ สักการะ เป็นต้น

ผู้มีปัญญาจึงพิจารณาตามความเป็นจริง อดทนที่จะฟังธรรมต่อไป ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น

แต่เพื่อรู้ความจริงในขณะนี้และไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 392

ปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรน

ฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้

ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารลือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้น

ฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสียคือควรละบ่วงมารกล่าวคือกิเลส

วัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล.

ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรค ผล

นิพพาน เช่น ความสำคัญตนว่ารู้แล้ว เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมก็ไม่ฟังธรรม
กุศลศีลต้องหมายถึงขณะจิตที่เป็นกุศล มีเจตนาวิรัติ งดเว้นจากทุจริตทางกาย

ทางวาจา ขณะจิตที่เป็นอกุศล ขณะจิตที่เป็นวิบาก ไม่ใช่ศีล แต่เมื่อจะกล่าวโดย

รวมบุคคลผู้สมาทานศีล หรือมีเจตนาเว้นจากทุจริต ตราบใดที่เขาไม่ล่วงละเมิดศีล

แม้เขาจะหลับ หรือกำลังมีอกุศลจิตอยู่ ก็เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้มีศีล หรือแม้แต่

พระภิกษุหลังท่านอุปสมบทแล้ว ตลอดเวลาที่ท่านไม่ล่วงละเมิดพระวินัย ก็เรียกว่า

เป็นผู้มีศีล..

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป กำหนดอิริยาบทย่อย
ตื่นแต่เช้าสวดมนต์ อาราธนาศีล เมื่อวานนี้ได้ไปไหว้หลวงพ่อโสธร
หอพระที่ชลบุรี และวันนี้ได้ช่วยคนสูงอายุ ยกของ และวันนี้
ตั้งใจว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ กำหนดอิริยาบทย่อย
เจริญอนุสติหลายอย่าง ฟังธรรม ศึกษาธรรม และวันนี้ได้กรวดน้ำ
และอนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทางหลายสาย
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน

การเข้าปฏิบัติธรรมที่วัด จะมีแบบ ๓ วัน และแบบ ๗ วัน ซึ่งหากเป็นผู้เข้าฝึกปฏิบัติธรรมใหม่ ขอแนะนำให้เข้ากรรมฐานแบบ ๗ วัน เพื่อที่จะได้รับผลดีที่สุด

สำหรับการเข้าปฏิบัติธรรมแบบ ๓ วัน สามารถไปลงทะเบียนได้ที่วัด ทุกวันศุกร์ ก่อน ๔ โมงเย็น และจะลาศีล (กลับบ้าน) ก่อนบ่ายของวันอาทิตย์ครับ (อาจจะเป็นเสาร์ช่วงเย็น อาทิตย์ช่วงเช้า แล้วแต่เจ้าหน้าที่จะดูความเหมาะสมครับ)

สำหรับการเข้าปฏิบัติธรรมแบบ ๗ วัน ก็จะสามารถไปลงทะเบียนได้ที่วัด ทุกวันโกนก่อน ๔ โมงเย็นเช่นกันครับ และลาศีลในวันโกนถัดไป (วันโกนคือวัน ก่อนวันพระ ๑ วัน)

ในปัจจุบันนี้การนับวันบางท่านจะนับวันรวมวันที่ไปลงทะเบียนเป็นวันแรก แล้วนับต่อไปจนครบ ๗ วัน แบบนี้ก็ไม่ผิดระเบียบแต่อย่างใดครับ แต่หากกระทำได้ก็ควรเข้าวันโกนออกวันโกนนะครับ

การลงทะเบียนเข้าปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องจองหรือโทรไปแจ้งล่วงหน้าครับ ไปให้ตรงกับวันเวลาที่กำหนดเพียงเท่านั้นครับ

เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ก็ให้นำสัมภาระเข้าไปเก็บยังที่พักที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ได้เลยครับ จากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเป็นชุดปฏิบัติธรรมแล้วมารอที่อาคารภาวนา ๑ ชั้นบน ในเวลาประมาณ ๑๗.๓๐ น. ครับ ท่านพระครูจะลงมาสอนกรรมฐานเบื้องต้นให้ครับ

ดังนั้นหากท่านไปไม่ตรงกับวันที่ทางวัดกำหนด จะไม่มีการสอนกรรมฐานเบื้องต้นให้ แต่จะมีวีดีโอให้ดูครับ

สำหรับการพาบุตรหลานไปปฏิบัติธรรมด้วยนั้น สามารถกระทำได้ แต่ที่วัดจะไม่มีการแยกการสอน ไม่มีการการฝึกหรือที่พักเป็นพิเศษ จำเป็นจะต้องปฏิบัติรวมกับบุคคลทั่วไปครับ

สำหรับเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องนำหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครองนำติดไปด้วยครับ สามารถใช้วิธีเขียนก็ได้ โดยระบุชื่อผู้ปกครอง อนุญาตให้มากี่วัน เบอร์โทรศัพท์ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนครับ

การเข้าปฏิบัติธรรมสำหรับชาวต่างชาติ (ภาคภาษาอังกฤษ)

การสอนกรรมฐานและสอบอารมณ์ในภาคภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาิตินั้น สามารถให้เดินทางไปที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดของแก่นได้ทุกวันครับ ที่เบอร์โทรศัพท์ ๐๔๓-๒๓๗-๗๘๖, ๐๘๗-๔๕๕-๘๑๖๕ แฟกซ์ ๐๔๓-๒๓๗-๓๙๐ ได้ทุกวันครับ

แบบหน่วยงาน องค์กรหรือหมู่คณะ

ทางวัดมีการจัดปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะให้กับหน่วยงานหรือองกรณ์ต่างๆ ได้เข้าปฏิบัติธรรม ๓-๗ วันแล้วแต่นโยบายของหน่วยงานนั้นๆ โดยจะฝึกปฏิบัติแยกกับผู้ปฏิบัติทั่วๆ ไป และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติจะได้รับประกาศนีย์บัตรจากทางวัดมอบให้ด้วย

ในการจองนั้น จะต้องไปจองด้วยตนเองที่สำนักเลขาฯ ของวัด เพื่อที่จะไปตรวจดูว่า วันและระยะเวลาที่ต้องการมาฝึกปฏิบัตินั้น มีผู้อื่นจองอยู่หรือไม่ และจะสามารถจองได้ในวันไหน ซึ่งหากเป็นไปได้วันที่จะขอเข้ารับการฝึกปฏิบัตินั้นเลือกให้ตรงกัับวันโกนก็จะดีครับ แต่พยายามหลีกเลี่ยงวันหยุดสำคัญต่างๆ จะดีมากครับ

จากนั้นก็จะต้องทำจดหมายยืนยัน โดยนำรายชื่อของผู้ที่จะไปทั้งหมด ระบุเพศ อายุ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองของหน่วยงานนั้นๆ แล้วไปติดต่อที่ สำนักเลขาฯ ตรงข้ามกับร้านหนังสือข้างกุฏิหลวงพ่อได้ทุกวันครับ

สำนักงานเลขานุการวัดอัมพวัน
วัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี
โทรศัพท์ ๐-๓๖๕๙-๙๓๘๑


ขอให้ทุกท่านได้บรรลุมรรคผลด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญรวมทั้ง 31 ภพภูมิด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: รสมน และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO