นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 3:24 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ความเพลิดเพลิน
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 10 ธ.ค. 2009 8:51 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ความเพลิดเพลินยินดีพอใจในกามอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะไม่หมดสิ้น แม้ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น ๆ จะดับไปแล้ว แต่

รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะอื่น ๆ ก็เกิดสืบต่อ ทำให้เกิดความหลงติด ยินดี

พอใจในรูป เสียง ฯลฯ สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเห็นรูปใดก็ตามซึ่งเป็นที่พอใจ

แล้ว ก็อยากจะเห็นอีกบ่อย ๆ เมื่อได้ยินเสียงที่พอใจแล้วก็อยากได้ยินเสียงนั้น

อีก กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็เช่นเดียว เมื่อบริโภครสใดที่พอใจแล้วก็อยากบริโภค

รสนั้นซ้ำ ๆ อีก ความยินดีพอใจติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เกิดขึ้น

เป็นประจำทุกวัน ซ้ำแล้วซ้ำอีกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง



กามาวจรจิต ซึ่งยินดี พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั้น

เหนียวแน่นมาก แม้ว่ารูปจะปรากฏเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยเหลือเกิน คือ ชั่วขณะ

ที่กระทบจักขุปสาทคือตา เสียงก็ปรากฏเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยเหลือเกิน คือ

ชั่วขณะที่กระทบกับโสตปสาท กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็เช่นเดียวกัน ล้วนเป็น

ปริตตธรรม คือเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏเพียงเล็กน้อยแล้วก็ดับไป แต่จิตก็ยินดี

พอใจติดข้องในปริตตธรรมนั้นอยู่เสมอ เพราะการเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว

ของปริตตธรรมนั้น ๆ จึงดูเสมือนไม่ดับไป

ชื่อว่า “กาม” เพราะอรรถว่า อันสัตว์ใคร่

กามมี ๒ อย่างคือ กิเลสกาม ๑ วัตถุกาม ๑

กิเลสกาม ได้แก่ ฉันทราคะ คือ โลภเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรม

ที่ยินดี พอใจติดข้องในอารมณ์

วัตถุกาม คือ สภาพธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความยินดี ความพอใจ

ความปรารถนา ฉะนั้น วัตถุกาม ได้แก่ วัฏฏะ ซึ่งเป็นไปในภูมิทั้ง ๓ คือ ทั้งกาม

ภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ เพราะไม่พ้นจากการเป็นวัตถุที่ยินดีพอใจของกิเลสกาม

ตราบใดที่ยังดับโลภะไม่ได้ ก็ยังมีวัตถุกาม คือ สภาพธรรมซึ่งเป็นที่ยินดี พอใจ

ของกิเลสกาม

ทุกขณะในชีวิตประจำวันเป็นกามาวจรจิต เมื่อไม่ใช่จิตระดับอื่นที่

ละเอียดกว่า ประณีตกว่าขั้นกาม เมื่อใดที่อบรมเจริญกุศลจิตที่สงบขึ้นโดยมีรูป

เป็นอารมณ์ จนจิตสงบมั่นคงขึ้นถึงขั้นอัปปนาสมาธิ เป็นฌานจิตที่มีรูปเป็น

อารมณ์ ขณะนั้นก็เป็นรูปาวจรภูมิหรือรูปาวจรจิต พ้นจากระดับของกาม และ

เมื่อจิตสงบมั่นคงกว่านั้นอีก โดยเป็นจิตที่สงบแนบแน่นในอารมณ์ที่พ้นจากรูปก็

เป็นอรูปาวจรจิต และจิตที่ละเอียดประณีตกว่าอรูปาวจรจิต คือ โลกุตตรจิต

ซึ่งประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน จึงเป็นโลกุตตรภูมิ ฉะนั้น จิตจึงต่างกัน

โดยภูมิ คือ จิต ๘๙ ดวง จำแนกเป็น ...

กามาวจรจิต ๕๔ ดวง

รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง

อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง

โลกุตตรจิต ๘ ดวง

ขณะใดที่ไม่ใช่รูปาวจรจิต อรูปวาจรจิต โลกุตตรจิต ขณะนั้นต้อง

เป็นกามาวจรจิต

จิตที่เป็นกามาวจรภูมิ ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ ดวง ในอัฏฐสาลินี

จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายความหมายของกามาวจรจิต ๔ นัย มีข้อความว่า ...

นัยที่ ๑ บทว่า กามาวจรํ ได้แก่ จิต อันนับเนื่องในกามาวจรธรรมทั้งหลาย คือ

เป็นจิตที่อยู่ในขั้นของกาม (คำเต็ม คือ กามาวจร แต่ตัดบทหลังออกเหลือเพียง

กามเท่านั้นได้) โดยท่องเที่ยวอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

จึงเป็นจิตขั้นกาม เป็นกามาวจรจิต

จิต ๘๙ ดวงซึ่งต่างกันนั้น จำแนกโดยประเภทของภูมิ คือระดับขั้น

ของจิตเป็น ๔ ภูมิ คือ

กามาวจรภูมิ ๑

รูปาวจรภูมิ ๑

อรูปาวจรภูมิ ๑

โลกุตตรภูมิ ๑

อัพยากตธรรม คือ ปรมัตถธรรมใด ๆ ทั้งหมดที่ไม่ใช่กุศลธรรม

และอกุศลธรรม

ฉะนั้น เมื่อจำแนกจิตและเจตสิกโดยธรรม ๓ หมวด คือ กุศลธรรม

อกุศลธรรม และ อัพยากตธรรม จิตและเจตสิกที่เป็นอัพยากตธรรม ก็ได้แก่

วิบากจิตและวิบากเจตสิก กิริยาจิตและกิริยาเจตสิก เมื่อจำแนกปรมัตถ-

ธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน โดยประเภทของกุศลธรรม อกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรมนั้น

กุศลจิตและเจตสิก เป็น กุศลธรรม

อกุศลจิตและเจตสิก เป็น อกุศลธรรม

วิบากจิตและเจตสิก เป็น อัพยากตธรรม

กิริยาจิตและเจตสิก เป็น อัพยากตธรรม

รูปทุกรูป เป็น อัพยากตธรรม

นิพพาน เป็น อัพยากตธรรม

นอกจากทรงแสดงสภาพของจิตและเจตสิกโดย ชาติ ๔ คือ กุศล

อกุศล วิบาก กิริยา แล้ว พระผู้มีพระภาคยังทรงจำแนกธรรมโดยนัยอื่น คือ

โดยธรรมหมวด ๓ ได้แก่

กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล ๑

อกุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอกุศล ๑

อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอัพยากตะ ๑



บารมี 30 ทัศ

พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย
ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
อธิบาย บารมี 30 ทัศ

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ
ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)

๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)

๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)

๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)

๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)

๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)

๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)

๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)

๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช

๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔)
หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

* การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี

การบำเพ็ญ บารมีนี่หนักหนาสาหัสมากเลยนะครับ พระพุทธเจ้าบำเพ็ญโดยยากลำบากเพื่อสงเคราะห์สัตว์โลกให้ตื่น โดยพระองค์ยอมทุกข์แสนสาหัส ในหลายๆชาติ ยิ่งผู้ใด เข้าใจเรื่องพระเวสสันดร จะเข้าใจว่า พระองค์ทรงเสียสละอย่างยิ่งใหญ่มากแค่ไหน




มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย

ดังที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า อัน"บารมี" ที่ต้องใช้"เงิน"หรือ"วัตถุ"แลกมา ก็มีเพียง"ทานบารมี" เพียงประการเดียวเท่านั้น
ส่วนบารมีอีก 9 ประการที่เหลือ มี ศีลบารมี,เนกขัมบารมี..ฯลฯ ..ไปจนถึงอุเบกขาบารมีเป็นที่สุดนั้น "เงิน" หรือ "คำพูด" ใดๆ ก็ไม่อาจซื้อหาหรือแลกเปลี่ยนมาได้เลย....
แต่ต้องใช้ "ใจ" ที่ถึงพร้อมด้วยการ"คิดเป็น" และความ"อดกลั้นทนทาน" แลกมาทั้งสิ้น......



ยกตัวอย่างเช่น มีคนมาว่าหรือใส่ร้ายป้ายสีเราด้วยเรื่องไม่จริงอันปั้นแต่งขึ้นด้วยประการใดๆ หากว่าเราจะไปด่าตอบโต้เถียงตอบ "ขันติบารมี"จะเกิดได้หรือ..???
ก็ไม่มีทางเกิดทางเป็นไปได้โดยแน่.....
หรือแม้เราจะใช้เงินหรือผลประโยชน์ใดๆไปล่อไปลวงให้เขาหยุดปากสงบวาจา แล้ว"ขันติบารมี"จะเกิดขึ้นได้ฉันใด...????
ก็ไม่มีทางเป็นไปได้อยู่แล้ว.....
ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาแท้ เมื่อประสพกับการจาบจ้วงล่วงเกินหรือการประทุษร้ายด้วยความอันไม่จริงสิ่งใด ย่อมยัง "ขันติบารมี" เบื้องต้น , "ขันติอุปบารมี" ในท่ามกลาง โดยมี "ขันติปรมัตถบารมี"เป็นที่สุดให้บังเกิดถึงพร้อม ด้วย "ใจ"แห่งตนของตนที่ "คิดเป็น" จน "ทนได้" ในที่สุด
และหรือดียิ่งขึ้นไปกว่านั้น อาจจะเลยไปถึงขั้นเกิดปัญญาบารมีเกิดร่วมอีกบารมีหนึ่งให้เห็นแจ้งจน "ปล่อยทิ้งทั้งสิ้น" ได้ในที่สุด(ไม่ต้องทนอด เพราะทิ้งหมดเสียแล้ว)
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงอาจยกเป็นตัวอย่างให้เห็นแจ้งได้ทั่วกันว่า อัน"เงินทอง"หรือ"ข้าวของภายนอก"ใดๆ อาจซื้อหาแลกเปลี่ยนสรรพสิ่งในโลกได้ถึงเพียงไร แต่ก็ไม่อาจซื้อหาแลกเปลี่ยนมาซึ่ง "บารมี" ที่แท้ได้ นอกจาก "ใจ"ตนที่ "คิดเป็น" และ"รู้การ"เท่านั้น.....

ด้วยเหตุฉะนี้ เบื้องต้นสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อมี "โลกธรรม8" (มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสุข มีทุกข์ มีสรรเสริญ หรือนินทา) มากระทบ หากยิ่งอดกลั้นทนทานได้มากเท่าไร ยิ่งได้"บุญ"และ"บารมี" เป็นจตุรทวีตรีคูณมากขึ้นไปเท่านั้น





แต่นั่น ก็ยังเป็น "โลกียะ" แบบ "โลกๆ"อยู่
เพราะหากจะมีพัฒนาการให้ไปจนถึง"ที่สุด" เพราะ"ปล่อยวาง"ได้หมดสิ้นแล้ว ยิ่งได้"บุญ"อันพิเศษและประเสริฐสูงสุด จนไม่อาจจะหากุศลใดอื่นมาเปรียบมิได้เลย....
เพราะนั่น เป็นการก้าวขึ้นไปสู่สภาวะแห่ง "โลกุตระ" ที่"เหนือโลก" โดยประการสิ้นเชิง อัน "โลกธรรม 8" ไม่อาจก้าวล่วงไปกระทบกระทั่งแม้เพียงปลายเล็บได้อีกเลยตลอดจิรกาลนั่นแล.......

...ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา..........





เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่กับครอบครัวได้อนุโมทนาบุญกับผู้ที่ใส่บาตรตอนเช้าได้เจริญกายคตานุสติ และเจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ให้ธรรมะเป็นทาน วันนี้ตั้งใจที่จะเดินจงกรม นั่งสมาธิ รักษาศีลอาชีวกมฐะศีล กำหนดอิริยาบทย่อย

ไหว้หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อทวารวดี หอพระที่ชลบุรี

สักการะรอยพระพุทธบาท

เมื่อวานนี้ได้มีการตรวจสุขภาพ

ให้แก่บุคคลทั้งหมู่บ้านฟรี

วันนี้วันพระได้อนุโมทนากับผู้ที่มาทำบุญที่วัด

ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: ความเพลิดเพลิน
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 10 ธ.ค. 2009 8:08 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 12:00 pm
โพสต์: 488
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ :D


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO