นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 3:11 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ระลึกรู้
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 07 ธ.ค. 2009 10:05 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดนั้น สัมมาสังกัปปะ คือวิตกเจตสิกก็ตรึก คือ

จรดในลักษณะของอารมณ์ที่กำลังปรากฏ และปัญญาเริ่มศึกษา พิจารณา

ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าความรู้จะ

เพิ่มขึ้น

ความรู้จะเกิดขึ้น และเจริญขึ้นได้ จากการพิจารณารู้ลักษณะของ

สภาพธรรมซึ่งปรากฏในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น สภาพ

ธรรมเกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไปเร็วเหลือเกิน บางทีก็ยังไม่ทันจะพิจารณา

ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมนั้นเลย เช่น ขณะได้ยิน สติเกิดระลึกรู้สภาพได้

ยินนิดเดียว แต่ยังไม่ทันศึกษาพิจารณารู้ว่าเป็นสภาพรู้เสียง สภาพได้ยินก็หมด

ไปแล้ว แม้ว่าในตอนต้นปัญญาจะไม่เกิดขึ้นรู้ชัดในลักษณะของสภาพได้ยิน ก็

เป็นธรรมดาที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะไม่มีใครสามารถยึดจับเสียงหรือนามธรรมที่

ได้ยินเอามาทดลอง เอามาพิสูจน์พิจารณาได้ แต่ว่าสภาพได้ยินก็จะต้องเกิดอีก

ผู้อบรมเจริญสติและปัญญา จึงระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมที่ได้ยินในคราวต่อ

ไปอีกได้

ขณะนี้สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลัง

ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางหนึ่งทางใดก็

ได้ ทีละลักษณะ และพิจารณาศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ทีละเล็กทีละ

น้อย จนกว่าปัญญาจะเพิ่มขึ้นรู้ชัดในลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม

สามารถที่จะแยกรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมที่ได้ยินกับเสียง ฯลฯ ในที่สุด

ก็จะชินกับสภาพของนามธรรมและรูปธรรมมากขึ้น เมื่อชินแล้วความรู้ลักษณะ

ของนามธรรมและรูปธรรมก็เพิ่มขึ้นอีก ไม่ว่านามธรรมใดรูปธรรมใดจะเกิด ณ

สถานที่ใด สติและปัญญาก็สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ใน

ขณะนั้นได้ตามปรกติ ตามความเป็นจริง

การเจริญสติปัฏฐานเป็นการเจริญสติปัญญา ความรู้ใดที่ได้อบรม

ให้เกิดขึ้นแล้วความรู้นั้นก็จะเพิ่มขึ้น และละคลายความไม่รู้ให้ลดน้อยลงไปด้วย
ที่ว่าทุกข์นี้ช่างมากมายนั้น ก็เพราะมีความเห็นผิด ยึดถือว่าเป็นตัว

ตน ถ้าไม่มีความเห็นผิดยึดถือว่าเป็นตัวตนแล้ว ก็จะละคลายทุกข์ลงไป

มากทีเดียว

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ความทุกข์ทั้งหลายจะละคลาย เบา

บางลงได้เมื่อกิเลสดับไปตามลำดับ เมื่อกิเลสยังไม่ดับสิ้นไป การเกิดก็ย่อม

ยังมีประมาณนับไม่ได้ ตราบใดที่ยังเกิด ตราบนั้นก็ยังมีทุกข์

พระโสดาบันบุคคลดับกิเลสขั้นต้นได้แล้วจึงเกิดอย่างมากที่สุดอีก

เจ็ดชาติเท่านั้น ข้อความในพระสูตร๑ มีว่า พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็ก

น้อย ไว้ที่ปลายพระนขา แล้วตรัสว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายเล็บนี้เปรียบได้กับการ

เกิดอีกของพระโสดาบันบุคคล ซึ่งมีเพียงเจ็ดชาติ ส่วนมหาปฐพีนั้น เปรียบได้

กับชาติที่จะต้องเกิดอีกของพวกปุถุชน

เมื่อชาติคือการเกิดของปุถุชนมีมากเหลือประมาณเช่นนี้ ทุกข์ซึ่งเกิด

เพราะชาติก็จะต้องมากเหลือประมาณตามที่ถามทีเดียว

ผู้ที่เป็นพระโสดาบันบุคคลรู้ชัดว่าสภาพที่กำลังเห็นเป็นนามธรรม

ชนิดหนึ่ง เมื่อเห็นแล้วก็รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ หรือเป็นสิ่งของ สภาพที่

รู้อย่างนั้น ก็เป็นนามธรรมอีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

มีใครบ้างที่เห็นแล้วไม่รู้ว่าเห็นอะไร ? ถ้าเช่นนั้นพระสัมมาสัมพุทธ

เจ้าก็ไม่ทรงรู้จักท่านพระอานนท์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ไม่ทรงรู้อะไรเลย

และถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะมีเพียงนามธรรมที่เห็นเท่านั้น ไม่มีนามธรรมอื่นที่รู้ว่า

เห็นอะไร เป็นต้น แต่สภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น นอกจากนามธรรม

ที่เห็นแล้ว....ก็ยังมีนามธรรมที่รู้ว่าเห็นอะไรด้วย
ขณะนี้กำลังนั่งตามปรกติ ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตาม

ความเป็นจริง เช่น สภาพธรรมที่อ่อน - แข็งซึ่งปรากฏที่กาย หรือสภาพธรรมที่

ปรากฏทางตา .......นั่นเป็นปรกติ

แต่ถ้าเข้าใจว่าเมื่อเจริญสติปัฏฐาน จะต้องนั่งขัดสมาธิ จดจ้องตรง

นั้นตรงนี้ .....นั่นไม่เป็นปรกติ เพราะเป็นความต้องการที่จะเลือกรู้สภาพธรรม

ที่ยังไม่เกิดขึ้น ข้ามการระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เช่น สภาพธรรมที่

กำลังเห็น สภาพธรรมที่กำลังได้ยิน สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา เสียง

กลิ่น รส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ฯลฯ ที่กำลังปรากฏ แม้ความเข้าใจผิดเพียง

นิดเดียว กิเลส ตัณหา ก็ปิดบังไม่ให้ปัญญาเกิดขึ้นรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ตามปรกติ ตามความเป็นจริงในขณะนั้น



ผู้ที่จะอบรมเจริญสติปัฏฐานได้นั้น จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ขณะ

ที่หลงลืมสติ กับ ขณะที่มีสติ นั้นต่างกันอย่างไร ถ้าไม่รู้ก็เจริญสติปัฏฐาน

ไม่ได้ เคยหลงลืมสติอย่างไร ก็ยังหลงลืมสติต่อไปอย่างนั้น หรือมิฉะนั้นก็ต้อง

การเลือกจดจ้องอารมณ์ที่จะให้สมาธิเกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานอยู่

นั่นเอง

ฉะนั้น จึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ขณะที่หลงลืมสติ คือขณะที่ไม่รู้

ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปรกติในชีวิตประจำวันนั่นเอง ไม่

ระลึกรู้สภาพที่เห็น สภาพได้ยิน เป็นต้น

ส่วน ขณะที่มีสติ นั้นเป็นขณะที่ระลึกได้ จึงพิจารณาศึกษารู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปรกติทางหนึ่งทางใด คือ ทางตา หรือทางหู

หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ โดยไม่บังคับ เจาะจง อย่า

เลือกจดจ้อง หรือต้องการอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ เพราะถ้าเป็นโดยลักษณะนี้แล้ว

ก็จะไม่ประจักษ์ว่าสติเป็นอนัตตา

ฉะนั้น ขณะที่มีสติ ก็คือ ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลัง

ปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ เช่น ขณะที่กลิ่นปรากฏ ก็ระลึกรู้

สภาพของกลิ่นที่ปรากฏทางจมูก พิจารณารู้ว่ากลิ่นเป็นเพียงสภาพธรรมชนิด

หนึ่ง ที่เกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไป หรือระลึกรู้สภาพที่กำลังรู้กลิ่นขณะนั้นว่า

เป็นเพียงสภาพรู้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น รู้กลิ่นแล้วก็หมดไปไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

เป็นต้น

ขณะที่ไม่รู้ว่าเป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม ก็มีความยึดถือสภาพธรรม

เป็นตัวตนอยู่เต็ม ซึ่งความเป็นตัวตนที่มีอยู่เต็มนี้จะละคลายหมดไปได้ก็ด้วยสติ

ที่ระลึกรู้ พิจารณาศึกษาเข้าใจลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ

ทีละน้อย

ความรู้ที่เกิดขึ้นทีละน้อยนั้น ละความไม่รู้นามธรรมและรูปธรรมไปทีละ

น้อย จะละให้หมดสิ้นไปทันทีไม่ได้ เพราะเมื่อสติเกิดจะรู้ชัดทันทีไม่ได้ว่าสภาพ

ธรรมที่ปรากฏนั้นเป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม ความรู้ที่เกิดขึ้นทีละน้อยนั้นน้อยจน

กระทั่งไม่รู้สึก เปรียบเหมือนการจับด้ามมีด ซึ่งด้ามมีดก็เริ่มสึกไปทีละน้อยจริงๆ

เพราะเป็นจีรกาลภาวนา๑

บางท่านก็ไม่พอใจที่สติและปัญญาเจริญขึ้นทีละน้อยๆ ซึ่งก็ไม่มีหน

ทางอื่น เพราะถ้าไม่พอใจและผสมวิธีอื่นก็จะทำให้ยุ่งยิ่งขึ้น
ถ้าพยายามจะทำก็วุ่นจริงๆ เลย จะให้สติระลึกเผินหรือจะให้ระลึก

แรง จะให้มากหรือจะให้น้อย การอบรมเจริญความรู้ คือปัญญานั้น ไม่ใช่มีเคล็ด

ที่จะทำ แต่เริ่มด้วยฟังและศึกษาสิ่งที่สติจะระลึกรู้จนเข้าใจยิ่งขึ้น พอที่จะเป็น

ปัจจัยให้สติเกิด ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพนามธรรมหรือรูปธรรมตามปรกติ

ตามความเป็นจริง เมื่อสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นจริงอย่างไร ก็ระลึกรู้ตามความ

เป็นจริงอย่างนั้นเท่านั้น ไม่ต้องไปกดให้แรง ไม่ต้องไปผ่อนให้เบา ไม่ต้องไป

ทำให้เผินหรืออะไรเลย .... เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็เป็นเรื่องตัวตน ไม่ใช่การ

พิจารณาศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง สภาพธรรม

ตามความเป็นจริงเป็นอย่างไร ผู้ไม่หลงลืมสติ คือกำลังระลึกรู้สภาพธรรม

นั้นตามปรกติความเป็นจริงตรงลักษณะนั้น และเริ่มพิจารณารู้ลักษณะที่

เป็นนามธรรมหรือรูปธรรมนั้นๆ ทีละเล็กน้อย โดยไม่ใช่ให้สติจดจ้องให้ลึก

ลงไปอีก หรือว่าให้เผินออกมาหน่อย หรืออะไรอย่างนั้น เมื่อสติที่เกิดขึ้นนั้นดับ

ไปแล้วก็อาจจะหลงลืมสติต่อไป หรือสติก็อาจจะระลึกที่อารมณ์อื่นต่อไปก็ได้

จึงจะเห็นความเป็นอนัตตาของสติปัฏฐาน เมื่อรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายและสติ

ปัฏฐานก็เป็นอนัตตา จึงจะไม่ยุ่ง มิฉะนั้น ความรู้สึกว่าเป็นตัวตน ก็ทำให้ยุ่ง

แน่ๆ เพราะแม้พอจะระลึก ก็ไม่ทราบว่าระลึกแค่ไหนจึงจะถูก จะระลึกหนักหรือ

เบา จะแรงหรือจะเผิน ซึ่งถ้าเป็นการระลึกศึกษาพิจารณาเข้าใจ ลักษณะของ

สภาพธรรมที่กำลังปรากฏก็จะไม่ยุ่งเลย เพราะเมื่อเป็นปรกติแล้วจะยุ่งได้อย่าง

ไร เมื่อผิดปรกติจึงจะยุ่ง


เพราะไม่ใช่ปัญญาที่พิจารณาศึกษา

ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามปรกติ ตามความเป็นจริง ท่านบอกว่า

ประโยชน์ที่ท่านได้ คือรู้ทางไตรลักษณ์ ถ้าไม่รู้สภาพนามธรรมและรูปธรรม

แล้วจะรู้ไตรลักษณ์ของอะไร ? ...ก็เป็นเพียงการรู้ไตรลักษณ์ตามหนังสือเท่านั้น

การประจักษ์ไตรลักษณ์จริงๆ นั้นต้องเป็นวิปัสสนาญาณ และวิปัสสนาญาณจะ

ไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมไม่ได้เลย ฉะนั้น จะกล่าวว่า รู้ไตรลักษณ์

โดยไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม...ย่อมไม่ได้
โดยมากความต้องการผล จะทำให้หาวิธีผสม เพราะบางทีพอไม่รู้

ว่าจะทำอย่างไร ก็ลองใช้อย่างโน้นกับอย่างนี้รวมกัน เผื่อว่าจะมีสัมปชัญญะ

บริบูรณ์ขึ้น และสติจะได้ไม่หลงลืมและจดจ้องอยู่ที่หนึ่งที่ใดได้นาน

แต่นี่เป็นลักษณะของความต้องการหรือเปล่า ท่านที่ต้องการให้จิต

จดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ แต่ทางตาก็ระลึกไม่ได้ ระลึกไม่ถูก ทางหู

ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ปรกติธรรมดาก็ระลึกไม่ถูก เมื่อต้องการให้

จิตจดจ่ออยู่ที่หนึ่งที่ใด ก็เลยพยายามผสมรวมกันหลายๆ ทาง ซึ่งก็เป็นเพราะ

ความต้องการ ........จึงไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา

ผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานนั้น อบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แล้วละ แต่

เมื่อยังไม่รู้ก็ไม่ละ การพยามยามจะทำให้จิตจดจ่อนั้น ละความต้องการหรือ

เปล่า ? ......และก็ไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้แล้วละด้วย อย่าบิดเบือน

ทำอย่างอื่น หรือผสมการปฏิบัติอื่นๆ เข้ามาอีก เพราะจะไม่ทำให้รู้ลักษณะของ

นามธรรมและรูปธรรมขณะนี้ ที่กำลังปรากฏตามปรกติ ตามความเป็นจริง ได้ยิน

เป็นปรกติ คิดนึก เป็นสุขเป็นทุกข์ตามปรกตินั้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด

ตราบใดที่สติไม่เกิดขึ้นระลึกรู้ก็ไม่ใช่เป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐาน

เพราะถึงพยายามทำอย่างอื่น ผสมวิธีต่างๆ มากสักเท่าไร ปัญญาก็ไม่ได้รู้

สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปรกติตามความเป็นจริง ฉะนั้น จะมีประโยชน์

อะไรที่จะไปผสมวิธีต่างๆ ขึ้น ในเมื่อไม่ใช่ปัญญาที่ศึกษาพิจารณารู้ลักษณะที่

เป็นนามธรรมและรูปธรรม ตามปรกติ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

ทางใจ

ขณะที่เห็นทางตา ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตาม

ปรกติขณะนั้นได้ไหม ? ....ข้อสำคัญประการแรกก็คือ จะต้องรู้ว่าการอบรมเจริญ

ความรู้จนถึงความสมบูรณ์ของปัญญาที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณนั้น ต้องเริ่ม

จากสติระลึกศึกษาลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ที่กำลังปรากฏ

ทางหนึ่งทางใดก็ตามปรกติ ไม่ใช่โดยขั้นการฟัง และไม่ใช่พอเห็นก็เริ่มกระวน

กระวาย กระสับกระส่าย นึกกระจัดกระจายว่าสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นรูปและสภาพ

ที่กำลังเห็นเป็นนาม ขณะนั้นไม่ใช่การระลึกศึกษาลักษณะที่เป็นนามธรรมและ

ลักษณะที่เป็นรูปธรรม

การที่สติปัฏฐานจะเกิดได้นั้น จะต้องเข้าใจลักษณะของนามธรรม

และรูปธรรมอย่างถูกต้องก่อน ว่านามธรรมที่กำลังเห็นนั้นเป็นสภาพรู้ ไม่มีรูปร่าง

ตัวตน ไม่ต้องเอาแขน ขา มือ เท้า มาประกอบรวมกันเป็นท่าทางว่ายืน แล้วเห็น

นั่งแล้วเห็น นอนแล้วเห็น สติปัฏฐานระลึกรู้เฉพาะอาการที่กำลังเห็นจริงๆ ว่า

เป็นสภาพรู้ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์บุคคลใดๆ ทั้งสิ้น และ

ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปที่ปรากฏทางตานั้น ก็พิจารณา

ศึกษาเข้าใจ จนกว่าจะรู้ว่าเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคลใดๆ

ทั้งสิ้น


เวลาที่จะ ทำวิปัสสนา ครั้งใดก็ยุ่งยากครั้งนั้นทีเดียว เพราะว่า

จะทำ จะทำถูกได้ยังไง ถ้ายังมีตัวตนที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ พอเริ่มจะทำก็

แสดงว่า มีความต้องการที่จะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทางหนึ่งทางใด

เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งความจริงแล้วลักษณะของสติปัฏฐาน เป็นสภาพธรรมที่ระลึกรู้

ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใด เช่น ทางตาในขณะ

ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ สติปัฏฐานก็ระลึกได้ตามปรกติทีละเล็กทีละน้อย และปัญญา

ก็จะเริ่มศึกษาพิจารณารู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมทีละเล็กละน้อย



ขณะที่กำลังเห็น ก็ระลึกรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เป็นสภาพ

ธรรมชนิดหนึ่งที่เพียงปรากฏทางตาเท่านั้น จะเห็นเป็นผม จะเห็นเป็นโต๊ะ เป็น

เก้าอี้ เป็นเสา เป็นศาลา เป็นอะไรก็ตาม ความจริงแล้วก็เป็นสิ่งที่ปรากฏทาง

ตาเท่านั้น ไม่ปรากฏทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเลย เมื่ออบรมเจริญ

ปัญญายังไม่ถึงขั้นนามรูปปริจเฉทญาณก็เป็นนามรูปปริจเฉทญาณไม่ได้
การเจริญสติปัฏฐานเป็นไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิต(สมาธิ)

สิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะในขณะที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่

ปรากฏนั้น เป็นศีลอย่างละเอียด คือเป็นอธิศีลสิกขา เป็นการระลึกรู้ลักษณะ

ของจิต รูป รู้ลักษณะของกุศลธรรมและอกุศลธรรมก่อนที่จะเกิดการกระทำใดๆ

ทางกาย วาจา

สติปัฏฐานเป็น อธิจิตสิกขา เพราะเป็นความตั้งมั่นของเอกัคคตา

เจตสิก(สมาธิ)ในอารมณ์ที่ปรากฏซึ่งเกิดดับอย่างรวดเร็ว

สติปัฏฐานเป็น อธิปัญญาสิกขา เพราะเป็นปัญญาที่พิจารณา ศึกษา

รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติโดยละเอียดตามความเป็นจริง

อัตตสัญญา คือ ความจำด้วยการยึดถือว่าเป็นตัวตน ความจริงไม่

น่าสงสัยในอัตตสัญญาเลย เพราะทุกคนมีอัตตสัญญา เมื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

เป็นพระโสดาบันบุคคล จึงดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน

สัตว์ บุคคลได้ แต่ก่อนที่สติจะเกิดและปัญญาศึกษาเข้าใจลักษณะของสภาพ

ธรรมจนกระทั่งรู้ชัดประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนได้นั้น ก็จะต้องมี

อัตตสัญญา เมื่อสติไม่เกิด จึงไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏแต่

ละทวารตามความเป็นจริง จึงเห็นผิด ยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏรวมกันเป็น

อัตตา คือเป็นตัวตนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เมื่อไม่รู้ความจริงเป็นสภาพธรรมขณะนี้ ก็

มีอัตตสัญญา มีความทรงจำว่าเป็นเราที่เห็น และจำว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นสัตว์

บุคคล ตัวตน ต่างๆ

ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ไม่ประจักษ์แจ้งว่าสิ่งที่เคยเห็นเป็นคน เป็น

สัตว์นั้น แท้จริงเป็นเพียงสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเท่านั้น ฉะนั้น การฟังพระ

ธรรม การศึกพระธรรมต้องพิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ใคร่

ครวญอย่างละเอียด จนกระทั่งเข้าใจคำที่แสดงลักษณะของสภาพธรรม เช่น คำ

ว่า “สิ่งที่ปรากฏทางตา” นั้น เป็นคำที่ถูกต้องที่สุดเพราะแสดงว่า เป็นธาตุ

ชนิดหนึ่งที่ปรากฏได้ทางตา สิ่งที่ปรากฏให้เห็นนั้น ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเขียว สี

ฟ้า สีเหลือง สีขาว สีใส สีขุ่น ก็ต้องปรากฏเมื่อกระทบกับจักขุปสาท เมื่อเห็น

แล้วไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงมีอัตตสัญญาว่าเป็นคน สัตว์ วัตถุ

ต่างๆ ขณะที่สนใจในสีต่างๆ นั้นทำให้คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน เกิดความทรง

จำในรูปร่างสัณฐาน จึงเห็นเป็นคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ ซึ่งรูปร่างที่เห็นเป็นคน

สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ นั้นก็ต้องมีหลายสี เช่น สีดำ สีขาว สีเนื้อ สีแดง สีเหลือง

เป็นต้น ถ้าไม่จำหมายสีต่างๆ เป็นรูปร่างสัณฐาน ความสำคัญหมายว่าเป็น

สัตว์บุคคล วัตถุต่างๆ ก็มีไม่ได้

ฉะนั้น ขณะใดที่เห็นแล้วสนใจ เพลินในนิมิต คือ รูปร่างสัณฐานและ

อนุพยัญชนะ คือ ส่วนละเอียดของสิ่งที่ปรากฏ ให้ทราบว่าขณะนั้น เพราะสี

ปรากฏจึงทำให้คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐานและส่วนละเอียดของสิ่งต่างๆ ขึ้น เมื่อ

ใดที่สติเกิดระลึกรู้ และปัญญาเริ่มศึกษาพิจารณา ก็จะเริ่มรู้ว่านิมิตและอนุพยัญ-

ชนะทั้งหลายซึ่งเป็นสีต่างๆ ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น นี้คือปัญญา

ที่เริ่มเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เมื่อสติเกิดระลึก

รู้สึกเนืองๆ บ่อยๆ ก็จะเข้าใจอรรถที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่ติดในนิมิตอนุ-

พยัญชนะ (ด้วยการอบรมเจริญปัญญารู้สภาพธรรม ที่ปรากฏตามความจริง) และ

เริ่มละคลายอัตตสัญญาในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามขั้น

ของปัญญาที่เจริญขึ้น

ฉะนั้น จะต้องรู้ว่าไม่ว่าพระไตรปิฎกจะกล่าวถึงข้อความใด พยัญชนะ

ใด ก็เป็นเรื่องสภาพธรรมในชีวิตประจำวันจริงๆ ซึ่งสติจะต้องระลึกและพิจารณา

ให้เข้าใจ จนกว่าปัญญาจะรู้ชัด ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

จนดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท นี่เป็นเรื่องที่ทุกๆ ท่านจะค่อยๆ ฟังไป ศึกษาไป

พิจารณาไปตามปรกติในสภาพที่เป็นชีวิตจริงๆ เพราะยังไม่สามารถที่จะดับ

กิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ซึ่งหลายคนอยากจะดับให้หมดเสียเหลือเกิน แต่

จะต้องรู้ว่ากิเลสจะดับได้ก็ต่อเมื่อโลกุตตรมัคคจิตเกิดขึ้น ดับสักกายทิฏฐิ คือ

การยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย ทางใจ เป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันก่อน แล้วปัญญาจึงจะเจริญ

ขึ้นจนรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ

ฉะนั้น จึงจะต้องอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่มุ่งหน้ารีบร้อนที่จะไป

ปฏิบัติเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี โดยไม่เข้าใจเหตุปัจจัยว่า สติที่เป็นสัมมาสติซึ่ง

เป็นมัคค์มีองค์ ๘ นั้นจะเกิดได้ เมื่อศึกษาเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่

ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จริงๆ เสียก่อน แล้วสัมมาสติจึงจะเกิดระลึก

ได้ และปัญญาเริ่มศึกษาพิจารณาจนประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตาม

ปรกติตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

ถ้าเป็นการเจริญสมถภาวนาก็ดับกิเลสไม่ได้ เพราะไม่บรรลุถึง

นิพพานซึ่งเป็นการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม
ไม่มีใครเร่งรัดให้ใครเจริญสติปัฏฐานได้ ไปเอาเด็กมานั่งเข้าแถว

แล้วบอกให้เจริญสติปัฏฐาน เด็กไม่รู้จักกิเลสเลยและก็ไม่ได้อยากละกิเลสด้วย

แล้วเด็กจะเจริญสติปัฏฐานได้อย่างไร เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็ยังไม่ได้หมด

กิเลส ผู้ใหญ่ทุกคนก็มีกิเลสคนละเยอะๆ ทั้งนั้น ลองถามผู้ใหญ่แต่ละคนว่า

อยากหมดกิเลสไหม ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่อยากหมดกิเลส แม้บางคนจะบอกว่า

ไม่อยากมีกิเลส แต่เมื่อเอ่ยคำว่า “กิเลส” นั้นรู้จักกิเลสจริงๆ หรือยัง โลภะเป็น

กิเลส อยากมีโลภะไหม ไม่ชอบชื่อโลภะแต่ว่าต้องการโลภะทุกขณะ นี่แสดงว่า

ไม่เข้าใจลักษณะโลภะซึ่งเป็นกิเลส อาหารอร่อยไหม เสื้อผ้าอาภรณ์สวยไหม

เพลงนี้เพราะไหม กลิ่นนั้นหอมไหม เก้าอี้อย่างนี้อ่อนนุ่มดีไหม กระทบสัมผัส

แล้วสบายไหม นี่คือไม่ชอบชื่อโลภะ แต่ทุกขณะจิตต้องการโลภะ การเจริญสติ

ปัฏฐานเป็นการเจริญสติปัญญา ไม่ใช่การอยากทำสมาธิ


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่กับครอบครัว เจริญวิปัสสนา เมื่อวานได้พาครอบครัวสักการะพระธาตุและได้เจริญภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ เป็นเวลาหลายชั่วโมง และเมื่อวานนี้ได้นำรูปของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานตามฝาผนังเพื่อให้ผู้คนได้สักการะบูชา และเมื่อเช้านี้ก็ตื่นแต่เช้า
มาเดินจงกรม และอานหนังสือธรรมะเพื่อศึกษาธรรมะ และเมื่อเช้าได้อนูโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง และได้กำหนออิริยาบทย่อยตลอด และได้ถากถางหญ้าตามที่สาธารณะกับคุณแม่
ถากหญ้าจนเวียนศรีษะหน้ามืดก็กำหนดว่าเวียนหนอ เหนื่อยหนอ พร้อมกับกำหนดว่าถากหนอ ขุดหนอ
ถากไปจนเป็นเนื้อที่กว้างจนสะอาดและพักผอนหน่อยก็กำหนดอิริยาบทย่อยต่อไปเรื่อยๆ
เมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของแม่ให้หายเป็นปกติ และได้ศึกษาตำรายาเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย
ต่อไป และได้ให้ธรรมะเป็นทาน เมื่อวานได้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน และตั้งใจที่จะสวดมนต์ นั้งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อยถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO