นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 7:58 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ธรรมทั้งหลาย
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 24 พ.ย. 2009 6:45 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติก็เป็นอนัตตา ปัญญาก็เป็นอนัตตา ในชีวิต

ประจำวันค่อยๆอบรมเจริญความเข้าใจถูกในลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงๆที่กำลังปรากฏ

จนกว่าความเข้าใจที่มั่นคงขึ้นๆเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมตามความ

เป็นจริง

ประโยชน์สูงสุดของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็คือ การได้เข้าใจพระธรรม การศึกษา

พระธรรมต้องมีความเข้าใจเป็นลำดับขั้น ขั้นการฟังเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่มีอยู่จริงต้อง

มีความเห็นถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ ไม่ใช่ไปรู้เรื่องราวของธรรมหรือจำ

ชื่อได้มากมาย เมื่อมีความเห็นถูกต้องในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความ

เป็นจริง ค่อยๆอบรมเจริญความเห็นถูกในสภาพธรรมจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง เพราะ

ฉะนั้น ความเห็นถูกเป็นเบื้องต้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้สามารถประพฤติปฏิบัติ

ต่อไปจนรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ความเห็นถูกต้องในสภาพธรรมก็คือสัมมาทิฏฐิ



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 456


๗. ปฐมสุริยูปมสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ)

[๑๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่จะขึ้น

ก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้อง

ต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจจ์ ตามความเป็นจริง คือ สัมมา-

ทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึง

กระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


จบปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๗

ตามหลักพระพุทธพจน์แสดงว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ทั้งสังขารธรรม

และวิสังขารธรรม ไม่มีสิ่งใดๆเป็นอัตตา ดังนั้น ความที่ธรรมทั้งหลาย ไม่มี

ใครเป็นเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร สูญจากสัตว์บุคคล

ปฏิเสธต่ออัตตา แต่โดยมากเวลาท่านแสดงสังขารเป็นอนัตตา โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีสาระ จึงเป็นอนัตตา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

*สุริยเปยยาลที่ ๖

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร

มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น


เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของ


ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์


๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.


[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค


อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘


อย่างไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ


อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ


สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์


๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.


จบปฐมกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑


*อรรถกถา แก้รวมไว้ท้ายวรรคนี้.



คำว่า กัลยาณมิตร ในพระไตรปิฎก หมายถึง เพื่อนที่ดีมีคุณธรรมประกอบด้วย ศรัทธา
ศีล และ ปัญญา เป็นต้น สามารถแนะนำประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และ

ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ดังนั้น ในพระไตรปิฎกเมื่อท่านยกตัวอย่าง บุคคลผู้เป็นกัลยา-

ณมิตรสูงสุด คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาคือพระอัครสาวก แลมหาสาวก

ผู้อรหันต์ เป็นต้น บุคคลทั่วไปไม่เรียกว่า กัลยาณมิตร
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี สหายดี น้อมใจไปในคนดี เป็นทั้งหมดของ

พรหมจรรย์ เพราะทำให้เรามีความเ็ห็นถูก เข้าใจถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง

จนกระทั่งสามารถบรรลุมรรคผลได้ เพราะมีกัลยาณมิตรนั้นเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 389

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ความว่า ชื่อว่ากัลยาณ-

มิตร เพราะมีมิตรงาม คือ เจริญ ดี. บุคคลผู้มีมิตรสมบูรณ์ด้วยศีลคุณ

เป็นต้น มีอุปการะด้วยอาการทั้งปวงอย่างนี้ คือ บำบัดทุกข์ สร้างสรรค์

หิตประโยชน์ ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรแท้จริง. ชื่อว่ากัลยาณสหาย เพราะ

ไป คือดำเนินไปกับด้วยกัลยาณบุคคลตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ คือไม่

เป็นไปปราศจากกัลยาณมิตรบุคคลเหล่านั้น. ชื่อว่ามีพวกดี เพราะเป็นไป

โดยภาวะที่โน้มน้อมโอนไปทางใจและทางกายในกัลยาณบุคคลนั่นแล. ด้วย

๓ บท ย่อมยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในการสังสรรค์กับกัลยาณมิตร.

ในข้อนั้น มีลักษณะกัลยาณมิตรดังต่อไปนี้ กัลยาณมิตรในพระ-

ศาสนานี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ

และปัญญา. ในลักษณะกัลยาณมิตรนั้น บุคคลมีศรัทธาสมบัติ ย่อมเชื่อ

ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต กรรม และผลแห่งกรรม ไม่ละทิ้งการแสวง

หาประโยชน์เกื้อกูลในเหล่าสัตว์ อันเป็นเหตุแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ

ด้วยการเชื่อนั้น มีศีลสมบัติ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ

สรรเสริญ เป็นผู้โจทก์ท้วง เป็นผู้ติเตียนบาป เป็นผู้ว่ากล่าวอดทนต่อ

ถ้อยคำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย มีสุตสมบัติ ย่อมทำถ้อยคำอันลึก

ซึ้งเกี่ยวด้วยสัจจะ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น มีจาคสมบัติ ย่อมเป็นผู้

มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ มีวิริยสมบัติ ย่อมเป็น

ผู้ริเริ่มความเพียร เพื่อปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย มีสติสมบัติ

ย่อมมีสติตั้งมั่น มีสมาธิสมบัติ ย่อมเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็น

สมาธิ มีปัญญาสมบัติ ย่อมรู้สภาวะที่ไม่ผิดแผก. บุคคลนั้นเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยคติธรรมอันเป็นกุศลด้วยสติ รู้สิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประ-

โยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ในกุศล-

ธรรมเหล่านั้นด้วยสมาธิ ย่อมเกียดกันสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งที่ไม่เป็นประ-

โยชน์แล้วชักนำเข้าไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยวิริยะ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า

บุคคลเป็นที่รัก เคารพ ยกย่อง เป็นผู้ว่ากล่าว

ผู้อดทนถ้อยคำ ผู้กระทำถ้อยคำอันลึกซึ้ง และไม่

ชักนำในฐานะที่ไม่ควร.

ฯลฯ




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๒๐

ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

๑. ปฐมตถาคตสูตร

ทรงแสดงพระธรรมจักร

[๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

กรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

ส่วนสุดสองอย่างนั้นเป็นไฉน คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขใน

กามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่

ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลาง ไม่เข้าไป

ใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น.......... เป็นไฉน คือ อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ นี้แหละ. ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ

การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ ข้อปฏิบัติ

อันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตา

เห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็น

ธรรมดา ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมมเทวดาได้

ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศแล้ว

ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสีอัน สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร

พรหมหรือใครๆ ในโลกประกาศไม่ได้..."

ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ

และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ

ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร

ย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ

ชนเหล่าใดรู้สิ่งอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ

และสิ่งที่ไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ

ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร

ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ

คาถาธรรมบท

ผู้มีบุญอันตนทำไว้แล้ว

ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้

ละไปแล้วย่อมเพลิดเพลิน

เขาย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง

เขาย่อมเพลิดเพลินว่า

เราทำบุญไว้แล้ว

สู่สุคติย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น



ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ

พระตถาคตเหล่าใด

ย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

ผู้มาเฝ้าถึงสำนักของพระองค์

พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่า

เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.

กังขาเรวตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 63

[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์

เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่าง

เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็น

สระยอดเยี่ยม

ข้อความบางตอนจาก..

นัตถิปุตตสมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี

ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข

"...ตราบใดที่ยังไม่ศึกษาพระธรรม

ชื่อว่าผู้นั้นยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้าและไม่เข้าใจพระธรรม

ถ้าเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม

ต้องศึกษา ต้องฟัง ถึงแม้ว่าจะยาก

เมื่อเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องค่อย ๆ ฟัง เพื่อให้ค่อย ๆ เข้าใจขึ้น

ควรเห็นประโยชน์ของปัญญา

ผู้มีทรัพย์มากก็ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย

ต้องมีความทุกข์ ไม่มีใครพ้นไปได้เลย..."

ก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้

๘ ประการ เป็นไฉน คือ

ให้ของสะอาด ๑

ให้ของประณีต ๑

ให้ตามกาล ๑

ให้ของสมควร ๑ เลือกให้ ๑

ให้เนืองนิตย์ ๑ เมื่อให้จิตผ่องใส ๑ ให้แล้วดีใจ ๑



"...บุคคลผู้ที่จะข้ามกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่ได้อย่าง

เด็ดขาดนั้น ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น จึงไม่มีทางอื่นที่จะทำให้เป็น

ผู้หมดจดจากกิเลส ไม่จมลงอยู่ในกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่อีกต่อไป นอกจากการอบรม

เจริญปัญญา เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะนอกจากปัญญาแล้ว

ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมาดับกิเลสได้เลย เพราะฉะนั้น จึงควรที่จะเป็นผู้เห็นประโยชน์สูง

สุดของปัญญา ซึ่งต้องเริ่มอบรมเจริญจากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมในชีวิต

ประจำวัน สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ..."

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 2

โอฆตรณสูตร ว่าด้วยการข้ามโอฆะ


[๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม

พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่

ข้ามโอฆะได้แล้ว.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะ

ได้อย่างไรเล่า.

พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้

เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก

เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล





เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน และถวายโคมไฟ และถวายภาชนะใส่ขยะ

ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ตื่นแต่เช้าสวดมนต์ ฟังธรรมอาราธนาศีลนั่งสมาธิ เดินจงกรม และโมทนาบุญกับการตักบาตรเช้า

กับผู้ที่ใส่บาตรตามถนนตรอกซอยทุกซอยตลอดสายถนน

ให้อาหารปลา และกราบพระพุทธรูประหว่างเดินทางก็ไปแวะกราบสักการะ

เป็นพุทธานุสติ และตั้งใจที่จะ นั้งสมาธิ สวดมนต์ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย

ถวายข้าวพระพุทธรูป ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO