นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 8:34 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ประโยชน์
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 23 พ.ย. 2009 8:50 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ประโยชน์สูงสุดของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็คือ การได้เข้าใจพระธรรม การศึกษา

พระธรรมต้องมีความเข้าใจเป็นลำดับขั้น ขั้นการฟังเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่มีอยู่จริงต้อง

มีความเห็นถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ ไม่ใช่ไปรู้เรื่องราวของธรรมหรือจำ

ชื่อได้มากมาย เมื่อมีความเห็นถูกต้องในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความ

เป็นจริง ค่อยๆอบรมเจริญความเห็นถูกในสภาพธรรมจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง เพราะ

ฉะนั้น ความเห็นถูกเป็นเบื้องต้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้สามารถประพฤติปฏิบัติ

ต่อไปจนรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ความเห็นถูกต้องในสภาพธรรมก็คือสัมมาทิฏฐิ



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 456


๗. ปฐมสุริยูปมสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ)

[๑๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่จะขึ้น

ก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้อง

ต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจจ์ ตามความเป็นจริง คือ สัมมา-

ทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึง

กระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



เรื่องราวจากตอนที่แล้ว ซึ่งได้มีผู้บรรลุมากมายที่ศรีลังกาจากการแสดงธรรมของ

พระมหินเถระที่มาจากชมพูทวีป(อินเดีย) ซึ่งต่อมาพระมหินเถระและภิกษุทั้งหลายก็อยู่

จำพรรษา ถึงวันปวารณาได้ทูลคำนี้กับพระราชาว่าอยากจะกลับไปชมพูทวีปเพราะ

ไม่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้านานแล้ว พระราชาตรัสว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วมิใช่หรือ

ซึ่งพระเถระก็ทูลพระราชาว่า แม้ปรินิพพานไปแล้วแต่ว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้นยังอยู่

พระราชาจึงทรงทราบทันทีว่า พระเถระปรารถนาให้สร้างพระสถูป เพื่อที่จะประดิษฐาน

พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระเถระได้ให้พระราชาไปบอกเรื่องนี้กลับสุมนสามเณรที่ได้

ติดตามพระเถระมาด้วย ซึ่งสุมนสามเณรเป็นพระอรหันต์แล้วและมีฤทธิ์ ได้อันเชิญพระ-

บรมสารีริกธาตุมาจากพระเจ้าอโศกมหาราชมาบางส่วนและอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

พระรากขวัญเบื้องขวา (กระดูกไหปลาร้าด้านขวา) ที่พระอินทร์ทรงครอบครองไว้ อัน

เชิญมาประดิษฐานที่ศรีลังกา

ดังนั้นพระบรมสารีริกธาตุที่สุมนสามเณรอันเชิญมา มี 2 ส่วนคือที่ได้จากพระเจ้า

อโศกมหาราชส่วนหนึ่งและส่วนที่สองคือจากพระอินทร์ที่เป็นส่วนพระรากขวัญเบื้อง

ขวา(กระดูกไหปลาร้าด้านขวา)

ส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากพระเจ้าอโศก ซึ่งได้ประดิษฐานที่เจติยบรรพต

(มิสสกบรรพต)อันเป็นสถานที่ที่พระมหินเถระและคณะภิกษุสงฆ์ได้เหาะมาจากชมพู

ทวีปมาลงที่เกาะลังกาครั้งแรกและได้พบกับพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ซึ่งชาวศรีลังกา

ได้สร้างเจดีย์ชื่อ พระมหาเสยะเจดีย์(Mahaseya Pagoda) ซึ่งสำหรับผู้ที่จะได้เดิน

ทางไปประเทศศรีลังกา คงได้มีโอกาสไปพระมหาเสยะเจดีย์ เมื่อรู้ประวัติความเป็นไป

ของพระเจดีย์นี้ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันได้มาจากพระเจ้าอโศกย่อมทำให้ซาบซึ้ง

ระลึกถึงพระคุณได้มากชึ้นไม่มากก็น้อย

พระมหาเสยะเจดีย์

อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระเจ้าอโศกและเป็น

สถานที่ที่พระเถระทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์อันมาจากชมพูทวีปมาประกาศ

พระศาสนาที่ศรีลังกาได้มาถึงที่นี่ครั้งแรก

ในตอนต่อไปจะกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่สองที่ได้มาจากพระอินทร์นั่นคือ

พระรากขวัญเบื้องขวา (กระดูกไหปลาร้า) ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุส่วนนี้เองที่ได้

แสดงปาฏิหารย์หลายอย่างก่อนที่จะประดิษฐานในพระสถูป อันเป็นสิ่งที่ควรเลื่อมใส

เป็นอย่างยิ่ง

การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ชั้นไตรทศ ทรงสดับคำนี้แล้ว

เมื่อจะยังเทวดาชั้น ดาวดึงส์ให้เลื่อมใส จึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่า ดูก่อน

มาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ไทยธรรม(ของบูชา)ที่เทพธิดา

นี้กระทำแล้ว ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า

หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณา ไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตลี แม้ชาว

เราทั้งหลาย ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะ

การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพ-

พานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้

ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายกระทำสักการะใน พระตถาคต

เหล่าใดแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่

ชนเป็นอันมากหนอ.

ปรมัตถธรรมที่ ๒ คือ เจตสิก ซึ่งเป็น นามธรรม


จิต เป็นสภาพรู้อารมณ์

ขณะที่จิตเห็นกำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ (เป็นต้น)

ขณะนั้นยังมีนามธรรมอื่น ๆ อีก ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน

คือ มีเจตสิกหลายประเภท เกิดร่วมกับจิตที่เกิดขึ้นในขณะหนึ่ง ๆ


เช่น กำลังคิดด้วยโทสะ โลภะ หรือ ปัญญา ฯลฯ

โทสะ โลภะ ปัญญา (เป็นต้น)...เป็นนามธรรมที่ไม่ใช่ จิต.

แต่ โทสะ โลภะ ปัญญา (เป็นต้น) เป็นเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับจิตประเภทต่าง ๆ



ในขณะที่จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะ มีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วยหลายประเภท

แต่อย่างน้อยที่สุด ต้องมี เจตสิก ๗ ประเภทเกิดร่วมด้วย

เจตสิก ๗ ประเภทนั้น เรียกว่า "สัพพจิตตสาธารณเจตสิก"



จิต และ เจตสิก เกิด-ดับ พร้อมกัน

จิต จะเกิดขึ้นตามลำพัง (โดยปราศจากเจตสิก) ไม่ได้.



เช่น ความรู้สึก ซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า "เวทนา"

เวทนาเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ

จิตเพียงแต่รู้อารมณ์...แต่ เวทนาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่รู้สึก

บางครั้งรู้สึกเป็นสุข บางครั้งรู้สึกเป็นทุกข์

บางครั้งรู้สึกเฉย ๆ (ไม่ทุกข์-ไม่สุข)



ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก) มีอยู่เสมอ

ไม่มีสักขณะจิตเดียวที่ปราศจาก ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก)



เช่น เมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น...ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก) เกิดร่วมกับจิตเห็น

แต่ขณะที่เห็น...ขณะนั้นยังไม่มีความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบเกิดขึ้น

หมายความว่า เวทนาเจตสิกขณะที่กำลังเห็น เป็น ความรู้สึกเฉยๆ

คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุข (ภาษาบาลี เรียกว่า อุเบกขาเวทนา)



และ หลังจากจิตเห็นดับไปแล้ว...จิตขณะอื่น ๆ ก็เกิดขึ้น

อาจจะเป็นจิตที่ชอบ หรือ ไม่ชอบในอารมณ์ (สิ่งที่ปรากฏทางตา) นั้น ๆ

เช่น ถ้าเป็นจิตที่ไม่ชอบในอารมณ์ที่เห็น......หมายความว่า

เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น เป็น โทมนัสเวทนา.


(หรือถ้าเป็นจิตที่ชอบในอารมณ์ที่เห็น..........หมายความว่า

เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น เป็น โสมนัสเวทนา)



จิต มีหน้าที่รู้อารมณ์

จิต เป็นใหญ่....เป็นประธานในการรู้อารมณ์

เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต

จิต และ เจตสิกต่างๆ รู้อารมณ์เดียวกัน เกิด-ดับพร้อมกัน-ที่เดียวกัน

แต่ เจตสิกแต่ละประเภท......มีลักษณะและกิจหน้าที่เฉพาะของตน ๆ



เจตสิกทั้งหมด มี ๕๒ ประเภท

มีเจตสิก (อย่างน้อยที่สุด) ๗ ประเภท ที่เกิดกับจิตทุกขณะ

เรียกว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก.


ควรทราบว่าในสมัยครั้งพุทธกาลกุลบุตรผู้มีศรัทธาเมื่อเข้ามาบวช ย่อมได้รับ

การฝึกอบรมจากอุปัชฌาย์อาจราย์ ให้ศึกษาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุในยุดนั้นจึงเป็นผู้สำรวม มีมรรยาท

ทางกาย ทางวาจางาม น่าเลื่อมใส แต่ยุคปัจจุบันก็ต่างกันออกไป คือท่านไม่ได้

รับการฝึกอบรม ไม่ได้ศึกษา ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ผลคือเป็นผู้มี

ความประพฤติทางกายทางวาจาที่ไม่น่าดู ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส.....

จบปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๗



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน ได้ถวายอุปกรณ์การเรียนให้พระสงฆ์ ได้ถวายพระพุทธรูปปางค์ธรรมเทศนาที่ได้มาจากอินเดีย

ได้กำหนดอิริยาบทย่อย เจริญวิปัสสนา สวดมนต์ อาราธนาศีล

อนุโมทนาบุคคลที่ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหลายสาย

และได้กรวดน้ำ และได้ไหว้พระประธานระหว่างเดินทางด้วย

และปิดไฟตามที่สาธารณะ ให้ธรรมะเป็นทาน

และตั้งใจที่ จะ กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม

ให้อาหารทานแก่คนยากจนตามถนน และรักษาศีล

ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO