นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 05 พ.ค. 2024 7:08 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: อิทธิบาท
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 15 ต.ค. 2009 7:19 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4549
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



๔. อัจเจนติสูตร


[๙]

เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล

ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า......


กาลทั้งหลาย ย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลาย ย่อมผ่านไป

ชั้นแห่งวัย ย่อมละลำดับไป


บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ

พึงทำบุญทั้งหลาย ที่นำความสุขมาให้.


[๑๐]

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า


กาลทั้งหลาย ย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลาย ย่อมผ่านไป

ชั้นแห่งวัย ย่อมละลำดับไป


บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ

พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด.


.


อรรถกถาอัจเจนติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า อจฺเจนฺติ แปลว่า ย่อมล่วงไป.

บทว่า กาลา ได้แก่ กาล มีปุเรภัตกาล เป็นต้น.


บทว่า ตรยนฺติ รตฺติโย ได้แก่

เมื่อราตรีทั้งหลายก้าวล่วงไป ย่อมผ่าน

คือ ย่อมให้บุคคลที่จะตายไปใกล้ต่อความตายโดยรวดเร็ว.


บทว่า วโยคุณา ได้แก่ คุณ

คือ กอง (ชั้น) แห่งปฐมวัย มัชฌิมวัย และ ปัจฉิมวัย.


จริงอยู่ อรรถแห่งคุณศัพท์ใช้ในอรรถหลายอย่าง

เช่นในความหมายถึง ชั้นแผ่นผ้า

ดังพระบาลีว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สํฆาฏึ แปลว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราย่อมอนุญาตผ้าสังฆาฏิทำให้เป็น ๒ ชั้น ที่ทำด้วยผ้าใหม่ ดังนี้.

มีอรรถว่า อานิสงส์ในบทนี้ว่า สตคุณา ทิกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา

แปลว่า พึงหวังทักษิณาร้อยเท่า.


อรรถแห่งคุณศัพท์ ที่มีความหมายถึงโกฏฐาส

เช่นในคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ แปลว่า ไส้ใหญ่ไส้น้อย.


ที่มีความหมายยถึงเครื่องผูก เช่นในคำว่า ปญฺจ กามคุณา แปลว่า

เครื่องผูก คือ "กาม ๕ อย่าง" ดังนี้.


แต่ในที่นี้ อรรถแห่งคุณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ราสิ ซึ่งแปลว่า กอง หรือคณะ

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ บทว่า วโยคุณา นี้ว่า เป็นกองแห่งวัย ดังนี้.


บทว่า อนุปุพฺพํ ชหนฺติ อธิบายว่า


วัยทั้งหลาย

ย่อมละทิ้งบุคคลไปโดยลำดับ

จริงอยู่.......ปฐมวัย ย่อมละทิ้งบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย

ปฐมวัย และ มัชฌิมวัย (ทั้งสอง) ย่อมละทิ้งบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย

แต่ว่า ในขณะแห่งความตาย.......แม้ วัยทั้ง ๓ ก็ต้องละทิ้งบุคคลไป.



บทว่า เอตํ ภยํ ความว่า


ภัย ๓ อย่างนี้

คือ การก้าวลงไป แห่งกาลทั้งหลาย

ความที่ราตรี และ ทิวาล่วงไปโดยเร็ว

และ ความที่กองแห่งวัยทั้งหลาย

ต้องทอดทิ้งบุคคลไป.


คำที่เหลือ เช่นกับนัยก่อน นั่นแหละ.



....................จบอรรถกถาอัจเจนติสูตร ที่ ๔.....................




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

และ อรรถกถาอัจเจนติสูตร ที่ ๔
การที่อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ จะดำเนินไปได้ ก็ต้องอาศัยการสะสม

เจริญขึ้นของอินทรีย์ ๕ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการนำไปสู่สัมมามัคค์

หนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อินทรีย์ ๕ คือ ...

๑. สัทธินทรีย์ ได้แก่ สัทธาเจตสิก เป็นใหญ่ในการมีศรัทธาที่จะระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๒. วิริยินทรีย์ ได้แก่ วิริยเจตสิก เป็นใหญ่ ไม่เกียจคร้าน ไม่ท้อถอยที่จะระลึกรู้

ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๓. สตินทรีย์ ได้แก่ สติเจตสิก เป็นใหญ่ในการไม่หลงลืม ระลึกรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมที่ปรากฏ

๔. สมาธินทรีย์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่

ปรากฏ

๕. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก เป็นใหญ่ในการไตร่ตรอง พิจารณา

สังเกตศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

ควรทราบว่าความเป็นไปของชีวิตของสัตว์โลกในแต่ละขณะ เป็นไปด้วยปัจจัยหลาย

อย่างไม่ใช่มีเพียงกัมมปัจจัยเท่านั้น แต่มีปัจจัยอื่น เช่น เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย เป็นต้น ดังนั้นวิถีชีวิตของสัตว์ทั้งหลายจะสุขหรือทุกข์

ส่วนหนึ่ง มีเหตุมีจากอดีตก็มี ส่วนหนึ่งมีเหตุมาจากปัจจุบันก็มี จึงควรทำความเข้าใจ

ให้ถูกต้อง ด้วยการศึกษาพระธรรมคำสอนของผู้ตรัสรู้ จึงจะเห็นถูกต้องตามความเป็น

จริงทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพธัมมะ จะรวยจะจน จะมีอาชีพอย่างไร จะ

ตายตอนไหน ก็เพราะกรรมที่ทำมาในอดีต รวมทั้งกรรมที่ทำปัจจุบันด้วยครับ รวมทั้ง

ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเพียร(ปโยคะ) คติ(ที่เกิด) อุปธิ(รูปร่างหน้าตา) และกาลเวลา ซึ่ง

เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพธัมมะที่ปรุงแต่ง อันเป็นความวิจิตรของกรรม ส่วน

อุปนิสัยก็เป็นไปตามการสะสมมาของบุคคลนั้นในอดีต ถ้าพบสิ่งที่ดี เช่นพระธรรมที่ถูก

ต้องในปัจจุบัน ก็สะสมสิ่งที่ดี แต่ถ้าพบกับพระธรรมที่ไม่ถูกต้องอันเนื่องมาจากคบคน

ที่เห็นผิด ก็จะสะสมสิ่งที่ไม่ดีมากขึ้น แต่การพบคนดีก็เนื่องจากุศลกรรมอีกเช่นกัน ดัง

จะขอแสดงข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงว่า การคบอสัตบุรุษย่อมทำให้เสื่อมได้ใน

ปัจจุบัน แม้จะสะสมอุปนิสัยอันงาม สามารถบรรลุมรรคผล ได้ในชาตินั้นแต่ก็ไม่

สามารถบรรลุได้เพราะคบกันคนที่เป็นอสัตบุรุษ

เรื่อง คบคนชั่วหรือเห็นผิดย่อม

ทำให้เสื่อมจากทุกอย่างและเสื่อมจากกุศลธรรมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา เขตตูปมาเปตวัตถุ

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า " ได้ยินว่า ถ้าในปฐมวัย เขาจักได้

ขวนขวายในการดำรงวงศ์กุลไซร้ เขาจักเป็นผู้เลิศกว่าเศรษฐี

ทั้งหลาย ในพระนครนั้นนั่นเอง ถ้าขวนขวายในมัชฌิมวัย เขาจัก

เป็นเศรษฐีวัยกลางคน ถ้าขวนขวายในปัจฉิมวัย เขาก็จักเป็น

เศรษฐีในวัยสุดท้าย. แต่ถ้าในปฐมวัยเขาจักได้บวชไซร้ เขาก็จัก

ได้เป็นพระอรหันต์. ถ้าบวชในมัชฌิมวัย เขาก็จักได้เป็นพระ-

สกทาคามี หรือพระอนาคามี. ถ้าบวชในปัจฉิมวัย เขาก็จักได้เป็น

พระโสดาบัน. แต่เพราะเขาคลุกคลีด้วยบาปมิตร เขาจึงเป็น

นักเลงหญิง นักเลงสุรา ยินดีแต่ในทุจริต เป็นคนไม่เอื้อเฟื้อ

เสื่อมจากสมบัติทั้งปวง ถึงความย่อยยับอย่างใหญ่หลวง โดยลำดับ."

วิบากเป็นผล ซึ่งเกิดจากเหตุ การไม่ได้รับสิ่งที่ปรารถนา ย่อมเป็นเพราะได้เจริญ

เหตุที่เป็นอกุศล อกุศลกรรมย่อมเป็นเหตุให้ได้รับผลที่ไม่พึงประสงค์ มนุษย์ภูมิ

เป็นที่ดูผลของบุญและบาป เมื่อใดได้รับผลของอกุศลกรรม พึงสอนตัวเราเองว่า

เพราะเราไม่ได้เจริญเหตุที่ดีพอ ชาตินี้ถึงได้เป็นอย่างนี้ ต่อแต่นี้ไป ถ้าเราต้อง

การผลที่ดี ย่อมต้องเจริญเหตุที่ดีไว้ให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นผู้รู้เหตุและผล มั่นคง

ในกรรมและผลของกรรม ไม่โทษใคร ๆ ที่ทำให้ แต่เป็นเพราะกรรมที่ได้กระทำ

มาแล้ว อบรมเจริญเหตุที่ดีให้มากขึ้น ให้กุศลนั้นเป็นบารมี เพื่อถึงฝั่งในวันข้างหน้า
ถ้าคนที่มั่นคงเชื่อกรรมและผลของกรรมจริง ๆ คนนั้นจะไม่กล้าทำทุจริตทางกาย

ทางวาจา และทางใจ หรือยังทำอยู่ เพราะหลงลืมสติ เพราะกำลังของกิเลสมีมากกว่า

ที่สำคัญเพราะขาดปัญญา

ตามปกติทั่วไป ปุถุชนย่อมยึดถือ สิ่งต่างๆ ว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคล ไม่รู้ว่าเป็นธัมมะ

เป็น จิต เจตสิก รูป ดังนั้น การที่ได้รับผลดี(วิบาก) ก็ไม่ใช่เราที่รับ แต่เป็นจิตประเภทหนึ่งที่

ทำหน้าที่ คือ วิบากจิต และวิบากจิต(ผลของกรรม) ก็เป็นผลมาจาก เหตุ คือ กุศลหรือ อกุศล

ที่ทำ ถามว่าใครทำกุศลหรือ อกุศล ก็ไม่มีสัตว์หรือบุคคลทำ แต่เป็น จิต เจตสิก นั่นแหละที่

ทำหน้าที่(กุศลจิตหรือ อกุศลจิต)

ดังนั้น เราจะโทษใครถ้าได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในเมื่อไม่มีใครให้โทษ เป็นธัมมะทั้งหมด

ครับ เมื่อคิดได้ดังนี้ ก็เปลี่ยนจากที่เป็นอกุศล ไม่ชอบคนนั้นคนี้ที่ทำไม่ดีกับเรา เปลี่ยนเป็น

กุศล ว่าเป็นเพียงธัมมะเท่านั้น ไม่มีใครทำเราและไม่มีใครรับผล แต่เป็นจิต เจตสิ รูป เท่านั้น

เรื่อง สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 746

ข้อความบางตอนจาก สติปัฏฐานสูตร

เมื่อพระโยคาวจร พิจารณาเห็นว่าคนและคนอื่นมีกรรมเป็นของตน

อย่างนี้ว่า เจ้าโกรธเขาแล้ว จักทำอะไรได้ เจ้าจักสามารถทำคุณธรรม

มีศีลเป็นต้น ของเขาให้พินาศได้หรือ เจ้ามาตามกรรมของตนแล้ว ก็จักไป

ตามกรรมของตนนั่นเอง มิใช่หรือ ? ชื่อว่า การโกรธคนอื่นเป็นเหมือน

กับการที่บุคคลประสงค์จะคว้าเอาเถ้าที่ปราศจากเปลว หลาวเหล็กที่ร้อน

และคูถเป็นต้น ขว้างปาบุคคลอื่น ถึงเขาโกรธเจ้าแล้วก็จักทำอะไรให้ได้

เขาจักสามารถให้คุณธรรมมีศีลเป็นต้น ของเจ้าพินาศได้หรือ ? เขามา

ตามกรรมของตน ก็จักไปตามกรรมของตนเหมือนกัน ความโกรธนั้น

ก็จักตกรดหัวเขานั่นแหละ เหมือนของที่ส่งไป ไม่มีใครรับ (ก็จะกลับ

มาหาผู้ส่ง) และเหมือนกำฝุ่นที่ซัดไป ทวนลม (ก็จะปลิวกลับมาถูกผู้

ขว้าง) ฉะนั้นบ้าง พิจารณาเห็นว่า ทั้งคนทั้งคนอื่น มีกรรมเป็นของตน

และดำรงอยู่ในการพิจารณาบ้าง คบหากัลยาณมิตรผู้ยินดีในเมตตาภาวนา

เช่นพระอัสสคุตตเถระบ้าง, พยาบาทอันเธอย่อมละได้.


กรรม 12

กรรมที่ให้ผลตามกาล 4 -กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน -กรรมที่ให้ในชาติหน้าและชาติต่อไป -

กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆไปได้โอกาสเมื่อใดให้ผลเมื่อนั้น -อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ผลิตผล

กรรมที่ให้ผลตามแรงหนักเบา 4 กรรมซึ่งทำหน้าที่อีก 4


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO