นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 พ.ค. 2024 3:07 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: พระนิพพาน
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 02 ต.ค. 2009 7:34 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4561
พระนิพพานมีความสงบ เป็นลักษณะ (สันติลักขะณัง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ 711


๑. ปฐมนิพพานสูตร ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน

น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ

อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์

และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น

ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ

จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้

มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ 719


๒. ทุติยนิพพานสูตร ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยาก คือ

นิพพาน

[๑๕๙] ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มี

ตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย

ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มี

แก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่

จบทุติยนิพพานสูตรที่ ๒



ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์

ในลักษณะของ สภาพเห็นหรือ ธาตุเห็น นะคะ

ว่าเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นธาตุชนิดหนึ่ง

ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน

จะไม่มีการประจักษ์ การเกิดขึ้นและดับไป

ของสภาพธรรมใดๆเลย.


และเมื่อไม่มีการประจักษ์

การเกิดขึ้นและดับไป ของสภาพธรรม

ย่อมไม่เห็น ความเป็นอนัตตา ของธรรมะทั้งหลาย.


เพราะฉะนั้น...ก็ดับกิเลสไม่ได้

เพราะว่า ปัญญา ไม่ได้เกิดขึ้น

รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง.


ก็ย่อม เป็นเราที่เห็น

และ เป็นเรา ที่ต้องการเห็นไปเรื่อย ๆ


เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมะ ต้องเข้าใจด้วยนะคะ

ให้เข้าใจชัด ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ที่กำลังปรากฏในขณะนี้

จนกว่าจะเป็น...ความรู้ชัด

จนกว่าจะเป็น...ความประจักษ์แจ้ง

คือ รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรม

ที่ไม่ใช่ตัวตน...ที่เป็นอนัตตา.


แต่ต้องเป็นผู้ที่ตรงค่ะ.!


ถ้ายังเป็นตัวตนอยู่...ก็ต้องอบรม

อบรมเจริญปัญญา...จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น


แต่ต้องเข้าใจถูกต้อง ตามความเป็นจริงว่า

อนัตตา หมายถึง สภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน

เป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้

เมื่อเกิดขึ้น จึงปรากฏ

เมื่อปรากฏแล้ว...ก็ดับไปทันที.


นิพพาน ก็เป็น อนัตตา

แต่ยังไม่ปรากฏ.!


เพราะว่า ยังไม่รู้ชัดในสภาพธรรมที่ปรากฏ

เมื่อยังไม่รู้ชัดในสภาพธรรมที่ปรากฏ

"ปัญญา"ก็ไม่เจริญขึ้น

จนกระทั่งสามารถประจักษ์ ในลักษณะของ "นิพพาน" ได้.


นิพพาน หมายถึง ปราศจากเครื่องร้อยรัดคือกิเลส เป็นนามธรรม เป็นอารมณ์ของ

โลกุตตรจิต ในขณะที่ประจักษแจ้งนิพพานค่ะ นิพพานคือธรรมที่พ้นโลก เหนือโลก

เป็นหนึ่งในโลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

คำว่านิพพาน หมายถึง การออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด (นิวานะ)

โดยทั่วไปพระพุทธองค์ทรงจำแนกพระนิพพานเป็น ๒ ประเภท คือ

สอุปาทิเสสนิพพาน ๑

อนุปาทิเสสนิพพาน ๑

สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง พระอรหันต์ที่ดับกิเลสทั้งหมดแล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง พระอรหันต์เมื่อจุติแล้วไม่มีขันธ์เหลืออยู่เลย


พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 326

ย่อหัวข้อสมุฏฐาน

[๘๒๖] สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

บัญญัติ และ พระนิพพาน ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา เมื่อดวงจันทร์ คือ

พระพุทธเจ้า ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ คือ พระ พุทธเจ้า ยังไม่อุทัยขึ้น

มา เพียงแต่ชื่อของสกาพธรรมเหล่านั้น ก็ยังไม่มีใครรู้จัก พระมหาวีรเจ้าทั้งหลาย

เป็นผู้มีพระจักษุ ทรงทำทุกรกิริยามีอย่างต่าง ๆ ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วเสด็จอุบัติ

ในโลกเป็นไปกับพรหมโลก พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรม อันดับเสีย ซึ่งทุกข์

นำมาซึ่งความสุข พระอังคีรสศากยมุนี ผู้อนุเคราะห์แก่ประชาทุกถ้วนหน้า

อุดมกว่าสรรพสัตว์ ดุจราชสีห์ ทรงแสดงพระไตรปิฎก คือ พระวินัย ๑ พระ-


สุตตันตะ ๑ พระอภิธรรม ๑ ซึ่งมีคุณมาก อย่างนี้ พระสัทธรรมจะเป็นไปได้

ฯลฯ คาถาว่า อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา มีความว่า บัญญัติและนิพพาน ท่านวินิจฉัย

ว่า เป็นอนัตตา.



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 305

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ความว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นไป

ในภูมิ ๔ ทั้งหมด เป็นอนัตตา.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 172


อัสสาสะปัสสาสะ - ลมหายใจเข้าออก ย่อมตกแต่งกาย ฉะนั้น

จึงชื่อว่า กายสังขาร.

สัญญาด้วย เวทนาด้วย ย่อมตกแต่งจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่า

จิตตสังขาร. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา สังขตสังขาร.

ชื่อว่า อนิจจา - ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี.

ชื่อว่า ทุกขา - เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.

คำว่า สพฺเพ ธมฺมา - ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระ-

นิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ

พระนิพพานไม่อยู่ในกฏไตรลักษณ์ แต่เป็นอนัตตา พระนิพพานไม่มีการ

เปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่ปรินิพพานแล้ว พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่อยู่ใน

กฏไตรลักษณ์ ผู้ที่ปรินิพพานแล้วไม่มีอะไรเหลือเลย (เว้นอัฏฐิธาตุ) จึงชื่อว่า

ดับโดยรอบ


พระผู้มีพระภาคฯ

ตรัสถึง ภัยในอนาคต ๕ ประการ

อันเป็นความเสื่อมของพระศาสนา.


(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๐ จตุตถอนาคตสูตร)


.


ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

ภัยในอนาคต ๕ ประการ

ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้

แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป


ภัยเหล่านั้น

อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้

ครั้นรู้แล้ว

เธอพึงพยายาม เพื่อละภัยเหล่านั้นเสีย.


ภัย ๕ ประการนั้น คือ


ในอนาคต

ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม

เมื่อชอบจีวรดีงาม


ก็จักละความเป็น ผู้ถือผ้าบังสุกุล เป็นวัตร


จักประชุมอยู่ตามคามนิคม และ ราชธานี

จักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร

ไม่เหมาะสมต่าง ๆ


เพราะเหตุแห่ง วีจร.


.


ในอนาคต

ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตดีงาม

เมื่อชอบบิณฑบาตดีงาม


ก็จักละความเป็น ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร


จักประชุมอยู่ตามคามนิคม และ ราชธานี

แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศด้วยปลายลิ้น

และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร

อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ


ด้วยเหตุแห่ง บิณฑบาต.


.


ในอนาคต

ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่ดีงาม

เมื่อชอบเสนาสนะที่ดีงาม


ก็จักละความเป็น ผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตร

ละเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า และ ป่าชัฏ


จักประชุมกันอยู่ตามคามนิคมและ ราชธานี

และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร

อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ


เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ.


.


ในอนาคต

ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้อยู่คลุกคลี

ด้วยภิกษุณี สามเณรี และ สมณุทเทส


เมื่อมีการคลุกคลี

ด้วยภิกษุณี สามเณรี และ สมณุทเทส


พึงหวังได้ว่า เธอเหล่านั้น

จักเป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์


จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางประการ

หรือจักบอกคืนสิกขา

เวียนมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์


เพราะเหตุแห่ง การคลุกคลีนั้น.


.


ในอนาคต

ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้อยู่คลุกคลี ด้วยอารามิกบุรุษ

เมื่อมีการคลุกคลี ด้วยอารมมิกบุรุษ


พึงหวังได้ว่า เธอเหล่านั้น

จักเป็นผู้ประกอบแต่การบริโภคของที่สะสมไว้ มีประการต่าง ๆ

จักทำนิมิตแม้อย่างหยาบในแผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง.


.


ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

ภัยในอนาคตทั้ง ๕ ประการ

ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้

แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป


ภัยนั้น

อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ

ครั้นแล้ว พึงพยายามละภัยนั้น


เพื่อป้องกัน

ความเสื่อมของพระศาสนา

ในอนาคต.


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO