พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

การถวายอาหารแห้ง และบัญญัติ

ศุกร์ 25 ก.ย. 2009 7:43 am

ในสมัยครั้งพุทธกาล อุบาสกอบาสิกาทั้งหลาย ถวายอาหารบิณฑบาตรแก่

บรรพชิตผู้เที่ยวบิณฑบาตร ด้วยอาหารที่ปรุงสำเร็จ เมื่อพระภิกษุรับไปท่านฉันได้เลย

ไม่ต้องทำอะไรอีก บางท่านถวายข้าวสาร ถั่ว งา เป็นต้น ไว้ที่โรงครัว แต่ไม่ใช่เอา

มาใส่ที่บาตร จริงอยู่ การให้สิ่งของที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นความดี เป็นกุศล แต่

การให้ทานมีหลายประเภท บางคนให้ทานด้วยสิ่งของที่ปราณีต บางคนให้ทานด้วย

สิ่งของที่ไม่ปราณีต ซึ่งผลการให้ทานย่อมต่างกันตามเหตุ คือ สภาพจิต สรุปคือ การ

ถวายข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น ตามเทศกาลนั้น เป็นกุศล(บุญ) แต่บางท่านสักแต่

ว่าทำๆไป ซื้อของไม่ดี และสภาพจิตไม่ผ่องใส
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและ

น้ำด้วยความศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล

ย่อมพะนอชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลก

หน้า เพราะเหตุนั้น พึงเปลื้องความตระหนี่

เสีย ครอบงำมลทินคือความตระหนี่เสีย

ให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของเหล่า

สัตว์ในโลกหน้า.

อรรถกถาเสรีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเสรีสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า ทายโก แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ. บทว่า ทานปติ ได้แก่

เป็นเจ้าแห่งทานที่ให้แล้วให้ ไม่ใช่เป็นทาส ไม่ใช่เป็นสหาย. จริงอยู่ ผู้ใด

บริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น ผู้นั้น ชื่อว่า เป็น

ทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาน ให้ทาน [ทาสทาน]. ก็ผู้ใดบริโภคของใดด้วย

ตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน [สหายทาน]. ส่วน

ผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่า

เป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน [ทานบดี]. เสรีเทพบุตรนั้นกล่าวว่า

ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นนั้น.



การให้ดีทั้งนั้นไม่ว่าจะให้กับใคร ถ้าสิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อผู้รับ การถวายข้าวสาร

อาหารแห้งกับพระภิกษุ ไม่เป็นประโยชน์ เพราะท่านงดเว้นจากการหุงหาอาหารอย่าง

เพศฆราวาส การให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดควรพิจารณาถึงความเหมาะสม และประโยชน์ของผู้

รับเป็นที่ตั้ง

พระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าไม่เปลี่ยนเพศ เป็นสามเณร หรือเป็นฆราวาส

ยังขืนอยู่เป็นพระต่อไป เท่ากับหลอกลวงบรรพชิตและฆราวาส เป็นอยู่อย่างโจร

มีโทษมาก คือ กั้นสวรรค์และมรรคผล มีทุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้าแน่นอน แต่ถ้าละเพศ

ภิกษุ เป็นสามเณร หรือเป็นอุบาสก ประพฤติปฏิบัติโดยชอบอยู่ ย่อมบรรลุเป็นพระอริยะ

ขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีได้ ส่วนผู้ที่กระทำอนันตริยกรรม

ภพหน้าต้องเกิดในอบายแน่นอน ไม่มีทางแก้ไข ส่วนท่านพระองคุมาล ก่อนบวชได้ทำ

บาปฆ่าคนเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่อนันตริยกรรม เมื่อท่านบวชแล้ว ด้วยบารมีที่ท่าน

สะสมมาท่านจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้



การศึกษาพระธรรม เป็นเรื่องละเอียดมาก

เพราะเป็นการศึกษาสภาพธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง

ที่พระผู้มีพระภาคฯ ตร้สรู้ และ ทรงพระมหากรุณาแสดงไว้

เพื่ออนุเคราะห์ให้พุทธบริษัท

ได้เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง.


.


ในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ปริจเฉทที่ ๗

มีข้อความว่า


ถามว่า........


เพราะเหตุไร

แม้พระผู้มีพระภาคฯ

จึงทรงแสดงธรรมไว้เป็นอันมากอย่างนั้น.?


แก้ว่า.........


เพราะทรงประสงค์ การอนุเคราะห์สัตว์ ๓ เหล่า ฯ


จริงอยู่...... สัตว์ ๓ เหล่า

ด้วยอำนาจความหลงงมงาย

ในนาม ๑. ในรูป ๑. ในนามและในรูปทั้งสองนั้น ๑.


.


ด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์

แก่กล้า ๑. ไม่แก่กล้า ๑. อ่อน ๑.


.


ด้วยอำนาจแห่งความชอบ

ชอบคำยอ ๑. ชอบคำปานกลาง ๑. ชอบคำพิสดาร (ละเอียด) ๑.


.


บรรดาสัตว์ ๓ จำพวก เหล่านั้น


สัตว์ผู้งมงายในนาม จะรู้ เข้าใจ ขันธ์ ได้

เพราะแจกนามไว้ ๔ อย่าง ในขันธ์นั้น ๆ


สัตว์ผู้งมงายในรูป จะรู้ เข้าใจ อายตนะ ได้

เพราะแจกรูปไว้ ๑๐ อย่าง

กับอีกครึ่งอายตนะ ฯ

(เพราะ ธัมมายตนะ มีทั้งนามธรรม และ รูปธรรม)


สัตว์ผู้งมงายในนามและรูปทั้งสอง จะรู้ เข้าใจ ธาตุ ได้

เพราะแจกนามและรูป แม้ทั้งสองไว้

ในจำพวก ธาตุ นั้น โดยพิสดาร.


.


"อายตนะ ๑๒"


เป็น อายตนะภายใน ๖.


คือ


จักขายตนะ ๑.

โสตายตนะ ๑.

ฆานายตนะ ๑.

ชิวหายตนะ ๑.

กายายตนะ ๑.

มนายตนะ ๑.


เป็น อายตนะภายนอก ๖.


คือ


รูปายตนะ ๑.

สัททายตนะ ๑.

คันธายตนะ ๑.

รสายตนะ ๑.

โผฏฐัพพายตนะ ๑.

ธัมมายตนะ ๑.



"อายตนะ"

คือ

สภาพปรมัตถธรรม ที่ประชุมกัน

เมื่อจิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ ขณะหนึ่ง ๆ


ซึ่งจำแนกเป็น

อายตนะภายใน ๖. และ อายตนะภายนอก ๖.

ได้แก่

ปสาทรูป ๕ และ จิต ๑

เป็น อายตนะภายใน ๖ เพราะว่า จิต เป็นสภาพรู้

และ ปสาทรูป ๕ เป็นที่อาศัยให้จิตรู้อารมณ์

จึงเป็นภายใน.

ปรมัตถธรรมนอกจากนั้น เป็นภายนอกทั้งสิ้น.!


อายตนะ ๑๒

เป็น รูป ๑๐ อายตนะ + ครึ่ง (ธัมมายตนะ) คือ เป็นรูปอายตนะภายใน ๕

เป็นรูปอายตนะภายนอก ๕ + ครึ่งธัมมายตนะ (สุขุมรูป)


อายตนะ ๑๒

เป็นนาม ๑ อายตนะ + ครึ่ง (ธัมมายตนะ)

คือ เป็นมนายตนะภายใน ๑ + ครึ่งธัมมายตนะ (เจตสิกและนิพพาน)



.


"ธาตุ ๑๘"


สภาพปรมัตถธรรมทั้งหมด เป็น ธาตุแต่ละชนิด

เมื่อประมวลตามทวาร ๖

เป็น ธาตุ ๑๘ ดังนี้ คือ


จักขุธาตุ ๑. รูปธาตุ ๑. จักขุวิญญาณธาตุ ๑.

โสตธาตุ ๑. สัททธาตุ ๑. โสตวิญญาณธาตุ ๑.

ฆานธาตุ ๑. คันธธาตุ ๑. ฆานวิญญาณธาตุ ๑.

ชิวหาธาตุ ๑. รสธาตุ ๑. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑.

กายธาตุ ๑. โผฏฐัพพธาตุ ๑. กายวิญญาณธาตุ ๑.

มโนธาตุ ๑. ธัมมธาตุ ๑. มโนวิญญาณธาตุ ๑.


.


"วิญญาณธาตุ"


ได้แก่ จิต ๑๐ ประเภท

ที่รู้ได้เฉพาะอารมณ์ของตน ๆ เพียงอารมณ์เดียวเท่านั้น.

คือ

จักขุวิญญาณ ๒ ประเภท รู้ได้แต่ รูปารมณ์ อย่างเดียว.

โสตวิญญาณ ๒ ประเภท รู้ได้แต่ สัททารมณ์ อย่างเดียว.

ฆานวิญญาณ ๒ ประเภท รู้ได้แต่ คันธารมณ์ อย่างเดียว.

ชิวหาวิญญาณ ๒ ประเภท รู้ได้แต่ รสารมณ์ อย่างเดียว.

กายวิญญาณ ๒ ประเภท รู้ได้แต่ โผฏฐัพพารมณ์ อย่างเดียว.


.


"มโนธาตุ"

ได้แก่จิต ๓ ประเภท

ที่รู้อารมณ์ได้ ๕ อารมณ์ ทางทวาร ๕ เท่านั้น.

คือ

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑.

สัมปฏิจฉันนจิต ๒.


.


"มโนวิญญาณธาตุ"

เป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางมโนทวารได้.


มโนวิญญาณธาตุ บางประเภท รู้อารมณ์ได้ โดยไม่ต้องอาศัยทวารเลย.


มโนวิญญาณธาตุ คือ จิต ๗๖ ประเภท.

(เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐. และ มโนธาตุ ๓.)


.


ประมวล จิต ๘๙

เป็น วิญญาณธาตุ ๗ ประเภท

คือ

จักขุวิญญาณธาตุ ๑.

โสตวิญญาณธาตุ ๑.

ฆานวิญญาณธาตุ ๑.

ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑.

กายวิญญาณธาตุ ๑.

มโนธาตุ ๑.

มโนวิญญาณธาตุ ๑.


.


ฉะนั้น

ควรพิจารณาว่า ท่านเป็นผู้ที่งมงายในนาม เท่านั้น

หรือว่า เป็นผู้ที่งมงายในรูป เท่านั้น

หรือว่า เป็นผู้ที่งมงายทั้งในนามและรูป.


ถ้างมงายอยู่ทั้งในนามและรูป ก็จะต้องอาศัยการฟังพระธรรม

และ การศึกษาพระธรรมประการต่าง ๆ โดยละเอียด

เพื่อให้เข้าใจพระธรรมทั้งหลายอย่างถูกต้อง

เพื่ออบรมเจริญกุศลทุกประการ

และ เพื่อเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น

ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


ปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

แต่ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เลย.


ปรมัตถธรรม ที่เกิดขึ้น

เป็นเพียง จิต เจตสิก รูป แต่ละลักษณะ แต่ละอาการ

ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป อย่างรวดเร็ว.




.


ขณะใด ที่ไม่รู้ ลักษณะของจิต เจตสิก รูป

ว่า เป็น ปรมัตถธรรม

ที่เกิดขึ้นและดับไป-สืบต่อกันอย่างรวดเร็ว


ขณะนั้น เป็นการรู้บัญญัติ.!

คือ การถืออาการของรูปธรรม และ นามธรรม

ซึ่งเกิด-ดับ-สืบต่อกันอย่างรวดเร็ว

ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด.!


ฉะนั้น

ผู้ที่ไม่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม

จึงอยู่ในโลกของ "สมมติสัจจะ"

เพราะ ยึดถือ สภาพธรรมที่ปรากฏ โดยอาการ โดยสัณฐาน

ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างแท้จริง.


.


แต่ เมื่อศึกษาปรมัตถธรรมแล้ว

และ รู้หนทาง ที่จะอบรมเจริญปัญญา

เพื่อศึกษาลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น และปรากฏ

จนกระทั่งปัญญาเจริญขึ้น

ถึงขั้นที่สามารถประจักษ์ การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรม

ที่กำลังเกิด-ดับในขณะนี้

จน รู้แจ้งชัด ว่า

ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน

มีแต่ ปรมัตถธรรม แต่ละลักษณะจริง ๆ

ตรง ตามที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสรู้

และ ทรงแสดงไว้.


.


ความลึก ความเหนียวแน่นของ "อวิชชา"

ที่ทำให้ ยึดถือ ใน "สมมติสัจจะ"

ว่า เป็นวัตถุ เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ต่าง ๆ นั้น

เริ่มตั้งแต่เมื่อ "ปฏิสนธิจิต" เกิดขึ้น

ก็มีนามธรรม และ รูปธรรม

เกิด-ดับ-สืบต่อกันมาเรื่อย ๆ


และ เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว

ย่อมเห็นสิ่งที่ปรากฏ ได้ยินเสียงที่ปรากฏ ลิ้มรสที่ปรากฏ

รู้เย็น รู้ร้อน ที่กระทบสัมผัสกาย เป็นต้น.


แต่ขณะนั้น

ไม่รู้ ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง

จึงยึดถือในอาการของสภาพธรรมที่เกิด-ดับ-สืบต่อกันตลอดเวลา

ที่ปรากฏเสมือนไม่เกิด-ดับ ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด.!

ขณะนั้น...มี "ฆนบัญญัติ"

คือ

การยึดถืออาการของสภาพธรรมที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน

โดยที่ยังไม่รู้ ว่า สมมติเรียกสิ่งนั้น ว่าเป็นอะไร.!


เด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่รู้ความ และ ยังพูดไม่ได้

และ สัตว์ดิรัจฉาน ย่อมรู้ ฆนบัญญัติ เหมือนกัน.


จนกว่า เด็กจะโตขึ้น และ เข้าใจความหมายของเสียง

จึงสามารถรู้ สมมติสัจจะ

คือ การสมมติบัญญัติ เรียกสภาพธรรมต่าง ๆ

เพื่อให้เข้าใจตรงกัน.


ฉะนั้น เมื่อตอนเป็นเด็ก

เคยเห็นอาการของสภาพธรรม ที่ปรากฏเสมือนไม่เกิด-ดับ อย่างไร

เมื่อเติบโตขึ้นแล้ว ก็ยังคงเห็นเป็นอย่างนั้น เป็นสิ่งนั้น

เช่น เห็นเป็นวัตถุ เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่าง ๆ ฯลฯ


คามความเป็นจริงนั้น

สภาพที่แข็ง ไม่ว่าจะเป็นถ้วย หรือ จาน ฯลฯ

ก็เป็นเพียง "ธาตุแข็ง" เป็น "ปฐวีธาตุ"


แต่ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

เห็นอะไร กระทบสัมผัสอะไร ก็ไม่เคยรู้เลย ว่า

กำลังกระทบสัมผัส สิ่งที่มีจริง ซึ่งเป็น "สภาพที่แข็ง"

แต่มีความรู้สึก ว่า สัมผัสถ้วย หรือ จาน ฯลฯ

ตามที่เคยยึดถือ

ในอาการที่เกิด-ดับ-สืบต่อกันอย่างรวดเร็วของสภาพธรรม

จนปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ เป็นวัตถุต่าง ๆ

ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียง "สภาพธรรมที่แข็ง"

เมื่อกระทบสัมผัสกาย.

และ โดยการจำรูปร่างต่าง ๆ

จึงทำให้รู้ว่า ถ้วย ไม่ใช่จาน เป็นต้น.


ฉะนั้น

แม้ว่า สภาพธรรมที่มีจริงนั้นเป็นรูปธรรม ที่มีลักษณะแข็ง

แต่ก็ยังจำสมมติของสภาพธรรมนั้น ว่า

เป็นถ้วยสำหรับใส่แกง เป็นจานสำหรับใส่ข้าว เป็นต้น.

ฯลฯ

นี่คือการจำสมมติบัญญัติ จากสิ่งที่ปรากฏทางตา

ซึ่ง มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการประดิษฐ์ใหม่ ๆ ฯลฯ


.


ขณะที่ รู้ รูปร่างสัณฐาน

จากอาการของสภาพธรรมที่ปรากฏรวมกันเป็นวัตถุต่าง ๆ

ขณะนั้นเป็นการรู้บัญญัติ ซึ่งเป็น สมมติสัจจะ

ไม่ใช่ การรู้ปรมัตถสัจจะ.


.


นอกจาก รู้ ฆนบัญญัติทางตา แล้ว

ยังมีการรู้ สัททบัญญัติ คือ การรู้ความหมายของเสียงด้วย.


.


นี่เป็นเรื่องชีวิตประจำวันที่ต้อง "รู้ชัด" ว่า

สภาพธรรมใด เป็น ปรมัตถธรรม และ สภาพธรรมใด หมายถึง สมมติ.

"สมมติ" หมายถึง สิ่งที่ไม่ใช่ปรมัตถธรรม.!


.


เมื่อรู้อาการรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ

ที่ปรากฏเป็น วัตถุต่าง ๆ แล้ว

มนุษย์ยังสามารถเปล่งเสียงเป็น "คำบัญญัติ"

ใช้สมมติเรียกสิ่งที่ปรากฏ ให้เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงสิ่งใด

ซึ่ง กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

ไม่มีความสามารถที่จะทำอย่างมนุษย์ได้ โดยละเอียด.


.


เสียง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

และ เสียง ชื่อว่า "นาม"

เพราะว่า ถ้าไม่มีเสียง

นาม คือ ชื่อ หรือ คำทั้งหลาย ก็มีไม่ได้.!


แม้ว่าจะมีตา ซึ่งเห็นสิ่งต่าง ๆ

แต่ถ้าไม่มีเสียง ก็จะไม่มีชื่อ ไม่มีคำที่ใช้เรียกสิ่งที่มองเห็น.


ฉะนั้น

การรู้ความหมายของเสียง จึงเป็น "สัททบัญญัติ"

ทำให้มีการพูด มีชื่อ เป็นเรื่องราวต่าง ๆ


.


ทุกคนติดในชื่อ ที่สมมติบัญญัติต่าง ๆ

ฉะนั้น

จึงควรรู้ลักษณะของเสียง ซึ่งเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง.


คำว่า "เสียง" ไม่มีในภาษาบาลี

สภาพธรรมที่เป็นเสียงนั้น

ภาษาบาลีบัญญัติเรียกว่า "สัททรูป"

เสียง เป็นสิ่งที่มีจริง เสียง ไม่ใช่สภาพรู้

เสียง เป็นรูปธรรม ที่ปรากฏทางหู.


.


ในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา

ฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๘

มีข้อความอธิบายเรื่อง ปรมัตถธรรม และ สมมติบัญญัติ

ซึ่งเป็นชีวิตประจำวันที่ลึกซึ้ง และ ควรเข้าใจให้ถูกต้อง

แม้ในเรื่องชื่อต่าง ๆ ซึ่งจะมีได้ ก็เพราะ มีเสียง.


ข้อความ มีว่า


"สัททรูป (เสียง)

ที่ชื่อว่า "นาม" (ในที่นี้หมายถึงชื่อ ไม่ได้หมายถึงนามธรรม)

เพราะอรรถว่า น้อมไปในอรรถทั้งหลาย

"นาม" นั้น มี ๒ อย่าง

ด้วยอำนาจแห่ง "นาม" (คือ ชื่อ) ที่คล้อยตามอรรถ ๑.

และ นาม ( คือชื่อ) ตามนิยม ๑.


.


ในชีวิตประจำวัน

มีการพูด เพื่อให้คนอื่นเข้าใจเรื่องราว

ให้เข้าใจสิ่งที่หมายถึง

ฉะนั้น

สัททรูป ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า

น้อมไปในอรรถ คือ เรื่องราวทั้งหลาย.


การที่จะให้ใครเข้าใจความหมาย และ เรื่องราวต่าง ๆ นั้น

ย่อมแล้วแต่ว่าใครนิยมใช้คำอะไร ภาษาอะไร

เพื่อให้เข้าใจความมุ่งหมายนั้น ๆ เรื่องราวนั้น ๆ หรือ ชื่อนั้น ๆ


.


นอกจากนั้น

ข้อความใน อภิธัมมัตถวิภาวินี

ยังกล่าวถึง นาม คือ ชื่อ อีกหลายนัย

คือ ชื่อ มี ๔ อย่าง

ด้วยสามารถแห่ง "สามัญญนาม"

คือ ชื่อทั่วไป เช่น ฟ้า ฝน ลม ข้าว เป็นต้น.


"คุณนาม"

คือ ชื่อตามคุณความดี เช่น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ซึ่ง ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะใช้ชื่อนี้ไม่ได้เลย

เพราะว่า ไม่ได้ประกอบด้วยคุณธรรม

ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.


"กิริยานาม"

คือ ชื่อของการกระทำต่าง ๆ


"ยถิจนาม"

คือ ชื่อตามใจชอบ
ตอบกระทู้