นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 19 พ.ค. 2024 4:59 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ผัสสเจตสิก
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 12 ก.ย. 2009 10:18 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4563
ผัสสเจตสิก เป็น นเหตุ (ไม่ใช่เหตุ)

แต่ ผัสสเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ.



ถ้า จิตขณะใด

เกิดร่วมกับ เจตสิกที่เป็นเหตุหนึ่งเหตุใด ในเหตุ ๖

ผัสสเจตสิก

ที่เกิดร่วมกับจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยขณะนั้น

ก็เป็น สเหตุกะ(เจตสิก)



ถ้าจิตขณะใด เป็น อเหตุกะ(จิต)

คือ ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งในเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วย

ผัสสเจตสิก

ที่เกิดร่วมกับ อเหตุกจิต นั้น

ก็เป็น อเหตุกะ(เจตสิก) ด้วย.



ฉะนั้น

ผัสสเจตสิก จึงเป็น นเหตุ.

และ บางขณะ ผัสสเจตสิก ก็เป็น สเหตุกะ หรือ อเหตุกะ ก็ได้

โดยนัยดังกล่าว ข้างต้น.


.


ชีวิตของทุกท่าน ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

มีทั้ง สเหตุกจิต และ อเหตุกจิต.!

แต่

เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรม

ก็ย่อมไม่ทราบว่า ขณะไหน เป็น สเหตุกจิต

และ ขณะไหน เป็น อเหตุกจิต.


.


พระผู้มีพระภาคฯ

ทรงแสดง สภาพของจิตแต่ละขณะไว้ โดยละเอียด ว่า

จิตขณะใด เป็น อเหตุกจิต

จิตขณะใด เป็น สเหตุกจิต

และ

จิต ที่เป็นสเหตุกะ นั้น

เกิดร่วมกับเหตุ กี่เหตุ

และ

มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย กี่ประเภท.!


.


โมหมูลจิต

มี โมหเหตุ เกิดร่วมด้วยเพียงเหตุเดียว

โมหมูลจิต จึงเป็น "เอกเหตุกะ"



โลภมูลจิต

มี เหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ

คือ โมหเหตุ และ โลภเหตุ

จึงเป็น "ทวิเหตุกะ"



โทสมูลจิต

มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ

คือ โมหเหตุ และ โทสเหตุ

จึงเป็น "ทวิเหตุกะ"


.


สำหรับ กุศลจิต นั้น

ก็ต้องมี "โสภณเหตุ" เกิดร่วมด้วย.

มิฉะนั้น ก็เป็น กุศลจิต ไม่ได้.!



กุศลจิต

มี ๒ ประเภท

คือ


๑. กุศลจิต ที่ไม่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก.

๒. กุศลจิต ที่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก.



ฉะนั้น

กุศลจิต ที่ไม่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก

มีเจตสิกที่เป็นเหตุ เกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ

คือ

อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ.

กุศลจิต ที่ไม่เกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก

จึงเป็น "ทวิเหตุกะ"



และ

กุศลจิต ที่เกิดร่วมกับ ปัญญเจตสิก

มีเจตสิกที่เป็นเหตุ เกิดร่วมด้วย ๓ เหตุ

คือ

อโลภเหตุ อโมหเหตุ อโทสเหตุ

กุศลจิต ที่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก

จึงเป็น "ติเหตุกะ"


.


กุศลจิต ที่เป็น "เอกเหตุกะ" ไม่มี.!

เพราะว่า กุศลจิต

ต้องมี อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก เกิดร่วมด้วย ทุกครั้ง

จึงจะเป็น กุศลจิต ได้.


(บางครั้ง ก็เป็นกุศลจิตที่มี ทั้ง ๓ เหตุ เกิดร่วมด้วยเป็น ติเหตุกะ)
คำว่า "เหตุ" กับ คำว่า "ปัจจัย"

ต่างกันอย่างไร.?


.


"ปัจจัย"


เป็นสภาพธรรมที่อุปการะ เกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่น เกิดขึ้น

หรือ ดำรงอยู่ตามควร แก่ประเภทของปัจจัย นั้น ๆ


(ตัวอย่าง เช่น)


ผัสสเจตสิก ไม่ใช่ โลภเจตสิก.!


แต่

ทั้ง ผัสสเจตสิก และ โลภเจตสิก

ต่างก็เป็นปัจจัย เกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่น ๆ

คือ จิต เจตสิกอื่น ๆ และ รูป

สามารถเกิดขึ้นได้.!


แต่

เมื่อ สภาพลักษณะ และ กิจ

ของ ผัสสเจตสิก และ ของ โลภเจตสิก นั้น

ต่างกัน.!


ผัสสเจตสิก จึงเป็น "ปัจจัย" ที่ต่างกับ โลภเจตสิก.


(เป็นต้น)


.


"ผัสสเจตสิก" เป็น ปัจจัย โดยเป็น "อาหารปัจจัย"


.


คำว่า "อาหาร"

หมายถึง สภาพธรรมที่นำมาซึ่ง "ผล"


แต่

(โดยอุปมา)

ผัสสเจตสิก ซึ่งเป็น อาหารปัจจัย

ไม่มั่นคง ถึงกับทำให้ "ผล" ที่เกิดขึ้น

งอกงาม ไพบูลย์ได้ เหมือนรากแก้วของต้นไม้.


ส่วน สภาพธรรม ที่เป็น เหตุ.

(เช่น โลภเจตสิก)

เป็นปัจจัย โดยความเป็น "เหตุ"

ซึ่ง อุปมาเหมือนกับรากแก้วของต้นไม้.


.


แต่

ต้นไม้ จะเจริญเติบโต

โดยมีแต่รากแก้วอย่างเดียว ไม่ได้.!

ต้องมีดิน มีน้ำ เป็น "อาหาร"

แต่

ถ้าขาด รากแก้ว.!

แม้จะมีดิน มีน้ำ เป็นต้น

ต้นไม้นั้น ก็ไม่สามารถที่จะมั่นคง งอกงาม ไพบูลย์ได้.



ต้นไม้ที่มีรากแก้ว กับต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้ว นั้น

ย่อมมีความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ต่างกัน ฉันใด.!


เจตสิกอื่น ๆ และ สภาพธรรมอื่น ๆ

นอกจาก

"เจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ประเภท"


ก็เป็นปัจจัย โดยเป็น ปัจจัยอื่น ๆ

ซึ่ง ไม่ได้เป็นปัจจัย

โดยเป็น "เหตุปัจจัย"


.


ในคัมภีร์ "ปัฏฐาน"

ซึ่งเป็น คัมภีร์ที่ ๗

และเป็น คัมภีร์สุดท้าย ของพระอภิธรรมปิฎก นั้น.


แสดง สภาพธรรมทั้งหลาย

โดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

โดยประเภทของปัจจัยต่าง ๆ


ปัจจัยแรก คือ "เหตุปัจจัย"

ซึ่ง แสดงให้เห็นความสำคัญ ของสภาพธรรม ซึ่งเป็น "เหตุ"


.


ในงานศพ

เมื่อพระภิกษุท่านสวดพระอภิธรรม

จะเริ่มต้นด้วย "เหตุปจฺจโย"

หมายถึง

โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ

อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ (ปัญญาเจตสิก)


เพื่อ "เตือน" ให้รู้ว่า

สภาพธรรม ซึ่งเป็น "ตัวเหตุ"

ที่จะทำให้เกิด "ผล" คือ เกิดภพเกิดชาติ นั้น

ได้แก่

"เจตสิก ๖ ประเภท"

คือ

โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเจตสิก)

ชาวพุทธส่วนมากไม่สนใจศึกษาพระธรรมขั้นละเอียด เพราะเห็นว่า

เป็นเรื่องที่ยากเกินจะเข้าใจได้ ในขณะที่ชาวพุทธบางกลุ่มโดยเฉพาะผู้ที่มี

การศึกษาสูงๆ เข้าใจผิดคิดว่าพระธรรมง่าย สามารถจะคาดคะเนหรือคิดเอา

เองได้ตามความคิดนึกของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบ-

คอบก็สามารถจะเข้าใจได้ โดยคิดว่าเป็นหลักคำสอนที่สอนให้ทำความดี

ละความชั่วเหมือนกับหลักคำสอนของศาสนาอื่นๆ ทั่วไป จึงไม่สนใจศึกษา

พระธรรมเพราะคิดว่าตนเองดีแล้ว พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่แล้ว ไม่คิดร้าย

กับใคร ไม่อิจฉาริษยาใคร ไม่มีทุกข์ เป็นคนดีของสังคมแล้ว จะต้องศึกษา

พระธรรมไปทำไม

เมื่อไม่สนใจศึกษาพระธรรม ซึ่งก็คือความจริงของชีวิตที่พระสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงพระธรรมเพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกผู้มืด

บอดทั้งหลายให้รู้ตาม ผู้นั้นก็ไม่สามารถจะเข้าใจความเป็นจริงที่มีอยู่ ไม่สา-

มารถหาคำตอบให้กับชีวิตของตนเอง ในทางตรงกันข้าม เมื่อผู้ใดมีโอกาส

ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาโดยละเอียดแล้ว ผู้นั้นจะรู้ได้ด้วยตนเองทันทีว่า

นี่คือของจริง และนี่คือ คำตอบของชีวิต

กรรม คืออะไร? กรรม คือการกระทำ ได้แก่ เจตนา (ความจงใจ

ความตั้งใจ) ที่เป็นกุศล (บุญ) หรือ อกุศล (กิเลส) เป็นเหตุให้กระทำกุศล-

กรรมหรืออกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกุศล-

กรรมหรืออกุศลกรรมสำเร็จไปแล้ว กุศล หรือ อกุศลกรรมนั้นจะเป็นปัจจัยให้

เกิดผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ การให้ผลของกรรมนั้น จะให้ผลได้ในชาติ

ที่กระทำก็ได้ หรือจะให้ผลในชาติหน้าหรือชาติต่อๆ ไปก็ได้ ไม่ใช่กรรมทุก

กรรมจะให้ผลได้ทั้งหมดในชาติที่กระทำกรรม เพราะกรรมสามารถติดตาม

ไปให้ผลได้ ตราบใดที่ยังไม่ได้ให้ผลหรือยังให้ผลไม่หมด เนื่องจากกรรมจะ

สะสมสืบต่ออยู่ในจิตทุกๆ ขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันไป

พุทธศาสนาเป็นเรื่องของเหตุและผล ทุกสิ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ

หรือเป็นเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น

ดังที่ท่านพระอัสสชิแสดงธรรมแก่ท่านพระสารีบุตรว่า “ธรรมะทั้งหลายย่อม

เกิดจากเหตุ” นั่นก็คือ การที่ทุกคนเกิดมาแตกต่างกัน เป็นเพราะได้กระทำ

เหตุ คือทำ กรรม มาต่างกัน กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง เป็นเหตุให้มีรูป-

ร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ต่างกัน มีอุปนิสัยดีเลวต่างกัน กรรมที่กระทำไว้แล้ว

นั่นเองเป็นเหตุให้ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้รับความสุข ทุกข์

สรรเสริญ นินทา ท่านจะเข้าใจสิ่งที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ต่อเมื่อได้ศึกษาพระ-

อภิธรรมโดยละเอียด พระอภิธรมเป็นคำสอนเกี่ยวกับสภาวธรรมที่มีอยู่จริง

หรืออีกนัยหนึ่งคือสัจจธรรมนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบำเพ็ญ

ความเพียรอบรมพระบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เพื่อตรัสรู้ สัจจธรรม หรือ

ความจริงของสิ่งทั้งปวง นี้

ฉะนั้น ความจริงที่ทรงตรัสรู้นั้นไม่ง่าย ผู้ใดที่คิดว่าพระธรรมเป็น

ของง่ายไม่จำเป็นต้องศึกษาก็สามารถเข้าใจได้ ผู้นั้นกำลังเข้าใจผิดและ

กำลังประมาทพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า แม้พระพุทธองค์เองเมื่อทรง

ตรัสรู้ใหม่ๆ ก็ไม่ทรงน้อมพระทัยที่จะแสดงพระธรรมแก่สัตว์โลก ด้วยทรง

เห็นว่าพระธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้นละเอียด ลึกซึ้ง และรู้ตาม เห็นตามได้ยาก

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยสะสมปัญญามาก็จะสามารถพิจารณาหรือ

พิสูจน์ธรรมะที่ทรงแสดงได้ตามกำลังของปัญญาของตน ดังข้อความ

ปรากฏในคำนำของหนังสือพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า พระ-

ธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้น เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบ ประณีต

ไม่อาจรู้ได้ด้วยการตรึกละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO