นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 20 พ.ค. 2024 4:51 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: วันของแต่ละบุคคล
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 04 ก.ย. 2009 8:56 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4564
สัมปยุตตธรรม.


คือ


เจตสิก ที่จำแนกจิต ให้ต่าง ๆ กัน

โดย ความเป็น "สัมปยุตต์" หรือ "วิปปยุตต์"


.


สำหรับ คำว่า "สัมปยุตตธรรม" นั้น

โดยทั่วไป..........หมายถึง "เจตสิก"

ซึ่งเป็น สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต.


.


เมื่อกล่าวถึง

จิต ซึ่ง มีความต่างกัน....โดยนัยของ "สัมปยุตต์" นั้น


มี ๕ ประเภท.


คือ


เป็น อกุศล-สัมปยุตต์ ๔ ประเภท.

เป็น โสภณ-สัมปยุตต์ ๑ ประเภท.


.


อกุศล-สัมปยุตต์ ๔ ประเภท.


ได้แก่


๑. ทิฏฐิคตสัมปยุตต์.

หมายถึง

จิต ที่เกิดร่วมกับ....ทิฏฐิเจตสิก.



๒. ปฏิฆสัมปยุตต์.

หมายถึง

จิต ที่เกิดร่วมกับ...... โทสเจตสิก.



๓. วิจิกิจฉาสัมปยุตต์.

หมายถึง

จิต ที่เกิดร่วมกับ.....วิจิกิจฉาเจตสิก.



๔. อุทธัจจสัมปยุตต์.

หมายถึง

จิต ที่เกิดร่วมกับ....อุทธัจจเจตสิก.


.


โสภณ-สัมปยุตต์ ๑ ประเภท.


ได้แก่


ญาณ-สัมปยุตต์.


คือ

จิต ที่เกิดร่วมกับ....ปัญญาเจตสิก.


.
.
.


อกุศลจิต ๑๒ ประเภท.....จำแนก โดย สัมปยุตต์.


ดังนี้


โลภมูลจิต ๘ ประเภท.


ได้แก่

จิต ที่เกิดร่วมกับ ทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด)


ซึ่ง เป็น ทิฏฐิสัมปยุตต์

มี ๔ ประเภท.


และ


จิต ที่ไม่เกิดร่วมกับ ทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด)


ซึ่ง เป็น ทิฏฐิคตวิปปยุตต์

มี ๔ ประเภท.


รวมเป็น อกุศลจิต ๘ ประเภท.

คือ

เป็น สัมปยุตต์ ๔ ประเภท.

เป็น วิปปยุตต์ ๔ ประเภท.


.


โลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ และ โลภมูลจิต ทิฏฐิคตวิปปยุตต์.

ต่างกัน เป็น ๔ ประเภท.

(โดยเวทนาเจตสิก)


คือ


เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนาเจตสิก ๒ ประเภท.

เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนาเจตสิก ๒ ประเภท.


.


โลภมูลจิต ที่เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนาเจตสิก

และ

โลภมูลจิต ที่เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนาเจตสิก

ต่างกัน (โดยกำลัง)


คือ


เป็น อสังขาริก.

หมายถึง เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง

มี ๒ ประเภท.


และ


เป็น สสังขาริก.

หมายถึง เกิดขึ้น โดยต้องอาศัยการชักจูง

มี ๒ ประเภท.


.


รวม เป็น โลภมูลจิต ๘ ประเภท.


คือ


โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑.


โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฐิคตสฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑.


โสมมนฺสสหคตํ ทิฏฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑.


โสมมนฺสสสหคตํ ทิฏฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑.


อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑.


อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑.


อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑.


อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑.



วันของแต่ละบุคคลนั้น ชีวิตไปในแต่ที่ดำเนินละ เป็นความเป็นไปของขันธ์ คือ จิต

เจตสิก รูป ซึ่งไม่พ้นไปจากนามธรรม กับ รูปธรรม ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้งหมด

ได้อย่างเด็ดขาด ย่อมมีการเกิดอยู่ร่ำไป เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอย่างไม่มีวันจบสิ้น

ชาติก่อน ๆ ที่ผ่านมา ก็เป็นอย่างนี้มาแล้ว นับชาติไม่ถ้วน ทุกอย่างผ่านพ้นไปหมดแล้ว

ไม่มีอะไรเหลือ จึงไม่ควรที่จะไปคำนึงหรือคาดหวังที่จะระลึกถึงชาติที่ผ่านมาเพื่อจะทำ

ให้ตนเองไม่ทำอกุศล ถึงแม้ว่าจะระลึกชาติไม่ได้ แต่สามารถที่จะเจริญกุศล อบรม

เจริญปัญญา สั่งสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นการสร้างเหตุ

ใหม่ที่ดี (สังสารวัฏฏ์ของคนพาลผู้โง่เขลา ผู้ไม่รู้ความจริง ย่อมยาวนาน) จึงควรเป็น

ผู้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าชาตินี้อกุศลก็ยังมีมาก อีกทั้ง

ปัญญาก็ยังไม่ได้เจริญขึ้น ถ้าหากว่าไม่เริ่มในชาตินี้ ขณะนี้ ชาติหน้าต่อไปก็จะเป็น

อย่างนี้อีก คือ เป็นผู้มากไปด้วยอกุศล และไม่มีปัญญา ดังนั้น ขณะนี้จึงเป็นโอกาสที่

ดีที่สุดที่เริ่มตั้งตนไว้ชอบในการศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจที่

ถูกต้องยิ่งขึ้น เพื่อละคลายความไม่รู้ ต่อไป


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 179



จัณฑาลิวิมาน



ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้

เป็นวีรบุรุษ ส่งไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระ-

โคดม ผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระเกียรติยศ ครั้นได้

ถวายบังคมพระยุคลบาทแล้ว จุติจากกำเนิดหญิง

จัณฑาลไปเข้าถึงวิมาน อันเพรียบพร้อมด้วยสมบัติ

ทั้งปวงในอุทยานนันทนวัน เทพอัปสรพันหนึ่งพา

กันมายืนห้อมล้อม ดีฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศกว่า

เทพอัปสรเหล่านั้น โดยวรรณะ เกียรติยศ และอายุ

ดิฉันได้กระทำกรรมอันงามมากมาย มีสติสัมปชัญญะ

ท่านเจ้าขา ดิฉันมามนุษยโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวาย

นมัสการพระมุนีผู้มีกรุณา เจ้าค่ะ.

เทพธิดาจัณฑาลี ผู้กตัญญูกตเวที ครั้นกล่าว

ถ้อยคำนี้แล้ว ไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระมหาโมค-

คัลลานเถระ องค์พระอรหันต์แล้ว ก็อันตรธานไป

ณ ที่นั้นนั่นเองแล

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติแต่ปางก่อนได้ ว่าชาตินั้น ๆ ได้เกิดเป็นอะไร

มาแล้ว มีการจำแนกตามความสามารถในการระลึกชาติได้นั้น ไว้เป็น ๖ อย่างได้แก่

พวกเดียรถีย์ คือ นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา ระลึกชาติได้ ๔๐ กัปป์

ปกติสาวก คือ พระอริยบุคคลสามัญทั่วๆไประลึกชาติได้ ๑๐๐ ถึง๑๐๐๐ กัปป์

มหาสาวก คือ พระอรหันต์ที่มีวุฒิเป็นเลิศในทางใดทางหนึ่ง (ซึ่งมีรวมจำนวน ๘๐

องค์) ระลึกชาติได้ ๑ แสนกัปป์

อัครสาวก คือ พระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร อัครสาวกซ้ายขวา

ระลึกชาติได้ ๑ อสงขัยกับ ๑ แสนกัปป์

พระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ ๒ อสงขัยกับ ๑ แสนกัปป์

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ โดยไม่มีกำหนดขีดขั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1000


อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้ลำดับขันธ์เท่านั้น พ้นลำดับไปแล้ว

ไม่สามารถระลึกถึงจุติและปฏิสนธิได้.เดียรถีย์เหล่านั้นระลึกได้ไม่พ้นลำดับขันธ์

เหมือนคนตาบอดไม่ปล่อยไม้เท้าเดินไปฉะนั้น.

สาวกธรรมดา ระลึกได้แม้ตามลำดับขันธ์ ย่อมก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ.

มหาสาวก ๘๐ รูป ก็อย่างนั้น. ส่วนอัครสาวกทั้งสอง ไม่มีกิจต้องระลึกตาม

ลำดับขันธ์ คือ เห็นจุติของอัตภาพหนึ่งแล้วแล้วย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย ย่อมก้าว

เลยไปถึงจุติและปฏิสนธิอย่างนี้ คือ ครั้นเห็นจุติของคนอื่นอีกก็ย่อมเห็นปฏิสนธิ

ด้วย. พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็เหมือนกัน. ส่วน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกิจ

ต้องระลึกตามลำดับขันธ์ ไม่มีกิจต้องระลึกก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ เพราะว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายทรงปรารถนาฐานะใดๆ ข้างล่าง คือ ล่วงแล้วก็ดีข้างบน คือ

อนาคตก็ดี ในโกฏิกัปไม่น้อยฐานะนั้นๆ ย่อมปรากฏได้ทีเดียว. เพราะฉะนั้น

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงย่อโกฏิกัปแม้ไม่น้อย แล้วปรารถนาฐานะใดๆ ทรง

ก้าวเข้าไปในฐานะนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งการก้าวไปของพระพุทธเจ้าผู้สีหะ.

ญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นไปอยู่อย่างนี้ ไม่ติดขัดในชาติในระหว่าง ๆ ย่อม

ถือเอาฐานะที่ปรารถนาแล้ว ๆ

เสขิยวตฺต แปลว่า ข้อวัตรที่ควรศึกษา ควรปฏิบัติตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 999


บทว่า ปุพฺพนิวาสํ - ชาติก่อน คือ สันดานที่อยู่ในชาตินั้น ๆ

ทำภพในอดีตที่ใกล้ที่สุดให้เป็นเบื้องต้น. บทว่า อนุสฺสรติ - ย่อมระลึก

ตามไป ๆ ด้วยสามารถลำดับขันธ์ หรือด้วยสามารถจุติปฏิสนธิ. จริง

อยู่ ชนทั้ง ๖ คือ เดียรถีย์ ๑. สาวกธรรมดา ๑. มหาสาวก ๑.

อัครสาวก ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑. พระพุทธเจ้า ๑ ย่อมระลึก

ถึงชาติก่อนนี้ได้.

ในชนเหล่านั้น เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมระลึกได้ ๔๐ กัป.

ไม่ยิ่งไปกว่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเดียรถีย์มีปัญญาอ่อน. จริงอยู่

ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น อ่อนเพราะไม่มีการกำหนดนามรูป.

สาวกธรรมดา ย่อมระลึกได้ ๑๐๐ กัปบ้าง ๑,๐๐๐ กัปบ้าง

เพราะมีปัญญาแก่กล้า. มหาสาวก ๘๐ รูป ระลึกได้ แสนกัป.

อัครสาวก ทั้งสองระลึกได้ อสงไขยหนึ่ง กับแสนกัป. พระปัจเจก-

พุทธเจ้า ระลึกได้ สองอสงไขย กับแสนกัป. เพราะอภินิหารของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีประมาณเพียงนี้. แต่ พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายระลึกได้ ไม่มีกำหนด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331



(๑๓๖) ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม

จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก

คือระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติ

บ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติ

บ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอด

หลายวิวัฏฏกัปบ้าง ตลอดหลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า ในภพโน้นเรามีชื่อ

อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข

เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั่นแล้วได้ไป

เกิด ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว

พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ

เพียงเท่านั้น


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO