นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 19 พ.ค. 2024 12:33 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: การอ่านพระไตรปิฎก
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 31 ส.ค. 2009 8:20 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4562
การอ่านการศึกษาพระไตรปิฎก

ไม่ใช่การอ่านหนังสือหรือศึกษาเพื่อจำเรื่องราวหรือชื่อยากๆ ให้ได้มากๆ

อย่างที่มีคนจำนวนมากในปัจจุบันเข้าใจผิดกัน

และเรียกเอาเองว่ากำลังศึกษาพระปริยัติธรรม

แต่การศึกษาพระไตรปิฎก

คือการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกส่วน

โดยละเอียดรอบคอบ ไม่เผิน ไม่ผ่าน พิจารณาอย่างระมัดระวังถี่ถ้วนตลอดทั้งสามปิฎก

นับแต่พระวินัย ข้อปฏิบัติของภิกษุเพื่อการขัดเกลากิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

แม้คฤหัสถ์ก็ควรศึกษา เพื่อช่วยกันรักษาภิกษุอย่างถูกต้อง ไม่ใช่อนุโลมเอาเอง

พระสูตร ที่ดูราวกับเป็นเรื่องราวของผู้คนต่างๆ เท่านั้น แต่ความจริงคือเรื่องราว

ที่ทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจถึง เหตุ ซึ่งเป็นที่มาแห่งผลต่างๆ ในชีวิตประจำวันจริงๆ

ของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายกันมายาวนานในสังสารวัฏฏ์

หาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้

เพราะผลทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุทั้งสิ้น

พระอภิธรรม ธรรมอันยิ่ง ละเอียดยิ่ง

เพื่อให้เข้าใจความจริงว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

ทั้งหมดเป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรม

เป็นสภาพธรรมแต่ละลักษณะในแต่ละขณะ

เกิดดับๆ สืบต่อกันไป รวดเร็วราวกับไม่ได้ดับหรือเกิดขึ้นสืบต่อ

อกุศล ต้องเป็น อกุศล ต้องรู้ตามความเป็นจริง แต่ว่าแล้วแต่การสะสมมาของแต่ละบุคคล ที่จะห้ามบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ให้กระทำอย่างนี้ก็ห้ามไม่ได้ ใช่ไหม ใครจะเป็นนักฟ้อนรำ นักเต้นรำ หรือใครจะมีอาชีพต่างๆ ก็แล้วแต่การสะสมของบุคคลนั้น ที่แต่ก่อนเคยคิดว่าเป็นเรา ที่เลือกที่จะมีอาชีพอย่างนั้น อย่างนี้

แต่ความจริงแล้วเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ก็เป็นเพราะการที่ได้สะสมมา แต่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้า กิเลสก็ยังมี และอกุศลกรรมบถก็ย่อมเกิดขึ้น เป็นไปตามกำลังของอกุศลธรรมนั้นๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นอกุศลธรรมที่แรงกล้า ในขณะใด ที่ถึงกับจะทำให้กระทำอกุศลกรรมหรือไม่

แต่อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้ที่รู้สภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง รู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายเกิดปรากฏนั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล แล้วก็เจริญอบรมระลึกรู้สภาพนามธรรม และรูปธรรม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามปรกติตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะอยู่ ณ สถานที่ใด ในขณะใด และเมื่อปัญญาสมบูรณ์ขึ้น แทงตลอดในสภาพธรรม รู้ชัดในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ปัญญานั้นเองก็จะดับกิเลสที่จะเป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรม ที่จะให้ไปสู่อบายภูมิได้

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าท่านผู้หนึ่ง ผู้ใด จะมีอาชีพใดในขณะนี้ ท่านก็ควรเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ระลึกรู้สภาพของนามธรรม และรูปธรรม ที่เกิดปรากฏตามปกติความเป็นจริง สำหรับเรื่องของจิตใจ ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ถ้าปัญญาไม่รู้สภาพธรรมที่ปรากฎตามความเป็นจริง เป็นปรกติประจำวันก็ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้เลย เพราะเหตุว่า กิเลสอยู่ที่จิต แล้วก็ถ้าท่านผู้ฟังเป็นผู้ที่มีปรกติเจริญสติปัฎฐาน แล้วศึกษาธรรมจะเห็นว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้นเกื้อกูลโดยละเอียดยิ่งขึ้น

อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยวรรค ที่ ๒ ข้อ ๑๙๘-๒๐๒

มีข้อความเรื่องของ อกุศลธรรม คือ

การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑

ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑

พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑

กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ ๑

ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมของจิตในขณะนั้นตามความเป็นจริง รู้ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นอกุศลจิตซึ่งเมื่อมีเหตุปัจจัย คือ อกุศลธรรมยังมีอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้สภาพของจิตอย่างนั้นเกิดขึ้น ก็จะทำให้เป็นผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานนั้น รู้จักสภาพธรรมที่เกิดกับตน แล้วก็สามารถที่จะรู้ความละเอียดของอกุศลธรรม แล้วก็อกุศลธรรมที่ละเอียดได้

แม้ในเรื่องของ

การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยตนเอง ๑

หรือว่า ชักชวนผู้อื่นในการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ๑

พอใจในการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ๑

กล่าวสรรเสริญการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ๑

การประพฤติผิดในกาม ด้วยตนเอง ๑

ชักชวนบุคคลอื่น ในการประพฤติผิดในกาม ๑

พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑

กล่าวสรรเสริญการในประพฤติผิดในกาม ๑



สำหรับเรื่องของการพูดเท็จ ก็มีความละเอียดที่ว่า ขณะที่เป็นอกุศลจิตนั้น ถ้าเป็นอกุศลจิตที่มีกำลัง ก็ทำให้พูดมุสา ซึ่งการมุสาก็คือ วัตถุที่ไม่จริง คือไม่แท้ ชื่อว่า มุสาการทำให้บุคคลอื่นเข้าใจวัตถุที่ไม่จริงนั้น โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ชื่อว่า วาทะ นี่เป็นความหมายของมุสาวาทะ หรือ มุสาวาท เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ว่าสิ่งใดที่ไม่จริง แต่ถ้าอกุศลจิตมีกำลัง ก็



ทำให้พูดเท็จด้วยตนเอง ๑

หรือว่าชักชวนบุคคลอื่นในการพูดเท็จ ๑

พอใจในการพูดเท็จ ๑

กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ ๑



ซึ่งถ้าท่านศึกษาธรรมโดยละเอียด ท่านก็จะทราบว่า สิ่งใดที่ผิดจากความจริง แล้วท่านกล่าวสิ่งนั้น เป็นการพูดเท็จ ซึ่งท่านผู้ฟังก็จะต้องพิจารณาอกุศลธรรมโดยละเอียด ในเรื่องของการพูดเท็จ คือ พูดสิ่งที่ไม่จริงนอกจากนั้นก็ยังเป็นเรื่องของการส่อเสียด เรื่องของการพูดคำหยาบ เรื่องของการพูดเพ้อเจ้อ เรื่องของการอยากได้ของผู้อื่น เรื่องของการมีจิตปองร้ายผู้อื่น โดยละเอียด คือ



ด้วยตนเอง ๑

หรือว่า ชักชวนผู้อื่น ๑

หรือว่า พอใจในอกุศลธรรม นั้นๆ ๑

หรือแม้แต่ กล่าวสรรเสริญอกุศลธรรม นั้นๆ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในนครพาราณสีในกาลนั้น

พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. ในกาลนั้น สุนัขตัวหนึ่งไปยัง

โรงช้างมงคล กินเมล็ดข้าวสุกแห่งภัตที่ตกอยู่ในที่ที่ช้างมงคลบริโภค สุนัขนั้นเติบโต

ด้วยโภชนะนั้นนั่นแล จึงเกิดความคุ้นเคยกับช้างมงคล บริโภคอยู่ในสำนักของ

ช้างมงคลนั้นเอง. สัตว์แม้ทั้งสองไม่อาจเป็นไปเว้นจากกัน. ช้างนั้น เอางวงจับสุนัข

นั้นไสไปไสมาเล่น ยกขึ้นวางบนกระพองบ้าง. อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ชาวบ้านคนหนึ่ง

ให้มูลค่าแก่คนเลี้ยงช้าง แล้วได้พาเอาสุนัขนั้นไปบ้านของตน ตั้งแต่นั้น ช้างนั้น

เมื่อไม่เห็นสุนัขก็ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่อาบ พวกคนเลี้ยงช้างจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา

พระราชาทรงสั่งพระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า บัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะ

เหตุไร ช้างจึงกระทำอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ไปยังโรงช้าง รู้ว่าช้างเสียใจ คิดว่าโรค

ไม่ปรากฏในทั้งกายของช้างนี้ ก็ความสนิทสนมฐานมิตรกับใคร ๆ จะพึงมีแก่ช้างนั้น

ช้างนั้น เห็นจะไม่เห็นมิตรนั้น จึงถูกความโศกครอบงำ ครั้นคิดแล้ว จึงถามพวกคน

เลี้ยงช้างว่า ความคุ้นเคยกับใคร ๆ ของช้างนี้ มีอยู่หรือ ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า

มีจ้ะนาย ช้างนี้ถึงความคุ้นเคยกันมากกับสุนัขตัวหนึ่ง พระโพธิสัตว์ถามว่า บัดนี้ สุนัข

ตัวนั้นอยู่ที่ไหน? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า ถูกมนุษย์คนหนึ่งนำไป พระโพธิสัตว์

ถามว่า ก็ที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์คนนั้น พวกท่านรู้จักไหม ? พวกคนเลี้ยงช้าง

กล่าวว่า ไม่รู้จักดอกนาย. พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของพระราชาแล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ อาพาธไร ๆ ของช้างไม่มี แต่ช้างนั้นมีความคุ้นเคยอย่างแรงกล้า

กับสุนัขตัวหนึ่ง ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นสุนัขนั้นจึงไม่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว ไม่

สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้า

ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทมาสำคัญว่า พระยา

ช้างตัวประเสริฐได้ทำความรักใคร่ในสุนัข เพราะได้

เห็นกันเนือง ๆ.

การได้อยู่ใกล้คน สัตว์ หรือวัตถุที่คุ้นเคย ย่อมมีความสุขและยินดีพอใจ

โดยไม่รู้ว่าความพอใจและความติดข้องในสิ่งที่พอใจนั้นเป็นโทษอย่างหนึ่ง

แต่มักเห็นโทษชัดเมื่อพบกับความพลัดพราก เกิดความเสียใจ

ไม่ชอบในโทสะที่เกิดขึ้น เพราะรักมากติดข้องมากก็เสียใจมาก

โลภะมีกำลังเท่าไร โทสะที่เกิดเพราะความติดในวัตถุนั้นๆ

ก็มีกำลังเท่ากันหรืออาจมีกำลังยิ่งกว่านั้นหลายเท่า


อ่านพระสูตรนี้แล้ว ดิฉันคิดนึกถึงโทษของโลภะและราคะได้ชั่วขณะหนึ่ง

แต่เหตุปัจจัยยังมี ความยินดีพอใจและติดข้องยังต้องเกิดอีกแน่

ซึ่ง...คงต้องขึ้นอยู่กับกำลังของปัญญาของแต่ละบุคคลจริงๆ

ว่าจะระลึกได้ ช้าหรือเร็ว บ่อยหรือนานๆ ที แค่ไหน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: การอ่านพระไตรปิฎก
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 31 ส.ค. 2009 11:01 am 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
สาธุ

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO