นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 19 พ.ค. 2024 12:12 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สัมปยุตตธรรม
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 28 ส.ค. 2009 8:52 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4563
จิต ต่างกันโดย สัมปยุตตธรรม.


สัมปยุตตธรรม คือ เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต.


.


จึงมีการ จำแนกจิต โดยนัยของ

"เวทนาเภท"

คือ


จำแนกจิต โดยประเภทของเวทนาเจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย.


ซึ่งมีต่าง ๆ กัน ดังนี้


๑. โสมนสฺสสหคตํ.

คือ

จิต ที่เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนาเจตสิก (ความรู้สึกดีใจ)



๒. โทมนสฺสสหคตํ.

คือ

จิต ที่เกิดร่วมกับ โทมนัสเวทนาเจตสิก (ความรู้สึกเสียใจ)



๓. อุเปกฺขาสหคตํ.

คือ

จิต ที่เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนาเจตสิก (ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์)



๔. ทุกฺขสหคตํ.

คือ

จิต ที่เกิดร่วมกับ ทุกขเวทนาเจตสิก (ความรู้สึกทุกข์ทางกาย)


.


ขณะใด ที่จิตเกิดขึ้น

ขณะนั้น ต้องมี เวทนาเจตสิก เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง.!


ฉะนั้น

เวทนาเจตสิก ประเภทใดประเภทหนึ่ง

(ดังกล่าวข้างต้น)

ต้องเกิดกับจิตแต่ละขณะ ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์

แล้วแต่ ว่า จะเป็น เวทนาเจตสิกประเภทใด.


.


จิต

เป็นใหญ่ เป็นประธาน

ในการ รู้แจ้ง ลักษณะต่าง ๆ ของอารมณ์.

แต่

เวทนาเจตสิก ประเภทใดประเภทหนึ่ง

ที่เกิดร่วมด้วยกับจิตขณะนั้น ๆ

เป็นสภาพธรรม ที่มีกิจหน้าที่ต่างกับจิต

คือ

เป็น สภาพธรรมที่รู้สึก

เช่น

รู้สึกดีใจ หรือ เสียใจ หรือ เฉย ๆ

ในขณะที่ จิต รู้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง.


.


เมื่อจิต ต่างกัน โดยชาติ (การเกิด)

คือ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา.


ดังนั้น

เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต

ก็ต้องเป็นชาติเดียวกับจิตขณะนั้น.


เช่น

อกุศลเจตสิก.

จะเกิดร่วมกับกุศลจิต วิบากจิต และ กิริยาจิต ไม่ได้.!


กุศลเจตสิก.

จะเกิดร่วมกับ อกุศลจิต วิบากจิต และ กิริยาจิต ไม่ได้.!


วิบากเจตสิก.

จะเกิดร่วมกับ กุศลจิต อกุศลจิต และ กิริยาจิต ไม่ได้.!


กิริยาจิต.

จะเกิดร่วมกับ กุศลจิต อกุศลจิต และ วิบากจิต ไม่ได้.!


.


ฉะนั้น

เวทนาเจตสิก แต่ละประเภท

จึงต่างกัน โดยเป็น (ชาติ) กุศล อกุศล วิบาก และ กิริยา

เช่นเดียวกับ เจตสิกประเภทอื่น ๆ อีก ๕๑ ประเภท.


.


ถ้าหาก พระผู้มีพระภาคฯ

ไม่ทรงแสดง ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละประเภทไว้ โดยละเอียด

ก็จะมีผู้เข้าใจผิด ในลักษณะของเวทนาเจตสิก.


เช่น

ทุกขเวทนาทางกาย

ซึ่งเป็นความรู้สึกไม่สบายกาย เจ็บปวดทางกาย นั้น

เกิดร่วมกับ กายวิญญาณ

ซึ่งเป็น จิตที่รู้ สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ)

ซึ่งเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเดียว แล้วดับไปทันที.


(โผฏฐัพพะได้ รูปธรรม คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว)


ดังนั้น

ขณะที่เกิดทุกขเวทนาทางกาย

จึงไม่ใช่ขณะที่ รู้สึกโทมนัส หรือ ไม่แช่มชื่น

หลังจากได้กระทบสัมผัสกับ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ

ทางกาย (กายวิญญาณ) แล้ว.


.


เมื่อ "จิตแต่ละขณะ"

ต่างกันโดยละเอียด

ตามเวทนาเจตสิกแต่ละประเภท

ที่เกิดร่วมด้วย.


พระผู้มีพระภาคฯ

จึงทรงแสดงไว้โดยละเอียด ว่า


จิต ที่เป็น อกุศล...แต่ละประเภท นั้น

มีเวทนาอะไร เกิดร่วมด้วย.!


และ

จิต ที่เป็นกุศล...แต่ละประเภท นั้น

มีเวทนาอะไร เกิดร่วมด้วย.!


และ

จิต ที่เป็นวิบาก...แต่ละประเภท นั้น

มีเวทนาอะไร เกิดร่วมด้วย.!


และ

จิต ที่เป็นกิริยา...แต่ละประเภท นั้น

มีเวทนาอะไร เกิดร่วมด้วย.!


.


ชั่วขณะ ที่รู้สึกเจ็บ นั้น

เป็นทุกขเวทนาทางกาย

ขณะนั้น เป็น อกุศลวิบากจิต.

แต่

ขณะที่เกิดความรู้สึกไม่พอใจ

เดือดร้อน กังวล เพราะ ทุกขเวทนาทางกาย.


ขณะนั้น ไม่ใช่ วิบากจิต

แต่ เป็น อกุศลเวทนาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ อกุศลจิต.

จึงเกิดเป็น ความไม่สบายใจ เดือดร้อนใจ

(เพราะเป็น อกุศลจิต.)
เข้าใจว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ขณะนั้นจิตก็สงบจากอกุศล

คือมีสมถะด้วย โดยองค์สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมถะก็เกิดร่วมด้วย แต่

ไม่ใช่สมถภาวนาที่อบรมจนจิตสงบเป็นฌานขั้นต่างๆ ดังนั้นการอบรมเจริญ

สติปัฏฐานเป็นภาวนาประเภทวิปัสสนา แต่การอบรมเจริญสมถภาวนาอันมีอารมณ์

สี่สิบประเภท เป็นสมถภาวนา

ควรทราบว่าสภาพของจิตต่างกันหลายประเภท บางประเภทมีปัญญาเกิดร่วมด้วย

บางประเภทไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ประเภทที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย มีโมหเจตสิก

เกิดร่วมด้วยก็มี ไม่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มี ในมหากุศลญาณวิปยุตนั้นไม่ได้

หมายถึงมีโมหะ แต่เพราะไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงเป็นญาณวิปยุต และเพราะเป็น

โสภณจิต ไม่มีอกุศลธรรมเกิดร่วมด้วย
ผู้ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม และมีความเข้าใจถูกในสภาพธรรม ถ้ายังไม่เป็นพระ

โสดาบัน ความเห็นผิดย่อมเกิดขึ้นได้ จริงอยู่ความเห็นผิดที่รุนแรงปฏิเสธบุญบาป

ปฏิเสธพระรัตนตรัย ชาตินี้อาจไม่เกิดขึ้น แต่ความเห็นผิดที่ละเอียดยังเกิดขึ้นได้ เช่น

ความเห็นว่าขันธ์ห้าว่าเป็นเรา(สักกายทิฏฐิ) ความเห็นในข้อปฏิบัติที่ไม่ตรงกับอริย

มรรคมีองค์แปด(สีลัพพตปรามาส) หรือแม้แต่ความเข้าใจผิดในพระธรรมบางบท

ที่ละเอียดลึกซึ้งที่ปัญญาเข้าไม่ถึง ก็อาจจะพูดผิดไปจากอรรถที่ถูกต้องก็ได้

ในชาติต่อไปไม่ต้องพูดถึง ถ้าไปเกิดในสกุลที่มีความเห็นผิด เราก็เป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย

เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอะไรแน่นอนสำหรับปุถุชน
ตามพระวินัยบัญญัติ เวลาพระภิกษุบิณฑบาตรในละแวกบ้าน ขณะรับอาหารแล้ว

ให้พร จะทำให้พระท่านต้องอาบัติหลายประการ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่สมควร

ในสมัยครั้งพุทธกาลพระอริยสาวกท่านไม่ทำกันอย่างนี้ ถ้าจะช่วยให้พระไม่ต้องอาบัติ

ก็เรียนท่านว่าไม่ต้องให้พร หรือถ้าท่านกล่าวธรรมะ(ให้พร)เราไม่ควรนั่ง ยืนพนมมือ

ก็พอ

เห็นกายในกาย ภายใน คือ รูปภายในกายตนเอง

เห็นกายในกาย ภายนอก คือ รูปกายของผู้อื่น

เห็นกายในกาย ภายในภายนอก คือ กล่าวรวมทั้งของตนเองและผู้อื่น


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: สัมปยุตตธรรม
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 28 ส.ค. 2009 9:43 am 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
ขอบพระคุณครับ

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO