พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตแม้ทุกดวง

เสาร์ 22 ส.ค. 2009 9:48 am

อนึ่ง

จิต แม้ทุกดวง ชื่อว่า "จิต"

เพราะเป็นธรรมชาติ วิจิตรตามสมควร

ด้วยอำนาจ แห่ง สัมปยุตตธรรม.


"วิจิตร"

คือ ต่าง ๆ กันไป ตามสัมปยุตตธรรม

ซึ่งหมายถึง เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย.

เป็นไป ตามการสั่งสม ของแต่ละบุคคล.


.


ฉะนั้น

ที่จะให้ทุกคน มีความคิดอย่างเดียวกัน

นับถือลัทธิ หรือ ศาสนาเดียวกัน นั้น.

จึงเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ เลย.!


.


เพราะแม้แต่ รูปร่างกาย ก็ไม่เหมือนกัน

ความคิดนึก ก็ย่อมไม่เหมือนกัน

ความเห็น ความเชื่อต่าง ๆ

ก็ย่อมไม่เหมือนกัน.


.


แม้ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคฯ

ยังไม่ทรงปรินิพพาน.

พระผู้มีพระภาคฯ เอง

ก็ไม่ทรงสามารถโปรด ให้บุคคลทั้งหลาย

มีความเห็นถูก ได้ทุกคน.!


.


ผู้ที่สั่งสมเหตุปัจจัยมาแล้ว

ย่อมมีโอกาสที่วิบากจิต และ กุศลจิตจะเกิดขึ้น

ได้ยิน ได้ฟัง ได้ศึกษา ได้พิจารณาพระธรรม

ซึ่ง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นั้น.

เมื่อได้ยิน ได้ฟังแล้ว.........

ก็ควรพิจารณา ใคร่ครวญ

สอบสวน ให้รอบคอบ ละเอียดยิ่งขึ้น.


และ

อบรมเจริญปัญญา.


จนกระทั่งสามารถ รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

ตรง ตามที่พระผู้มีพระภาคฯ ได้ทรงแสดงไว้.


.


ความเห็นผิด นั้น

ไม่ได้มีแต่ในลัทธิอื่น.

แม้แต่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา

ก็ประพฤติปฏิบัติ ต่าง ๆ กันไป

ตามความคิด ความเข้าใจ

ซึ่งสั่งสมมาต่าง ๆ กัน.



.


ในสมัย หลังจากการสังคายนาครั้งที่ ๒.

ภิกษุชาววัชชี

ผู้เป็นต้นเหตุให้เกิดการสังคายนาครังที่ ๒ นั้น

ก็ได้ตั้งนิกายต่าง ๆ ตามความคิดเห็นของตน.


เช่น

นิกายหนึ่ง มีความเห็นว่า

ผู้ใดก็ตาม ที่จะบรรลุมัคค์ผล รู้แจ้งพระนิพพานได้

ต้องเปล่งวาจา ว่า ทุกข์หนอ ๆ

(จาก นิทานกถา กถาวัตถุปกรณัฏฐกถา)


.


การเข้าใจหนทาง

และข้อประพฤติปฏิบัติ ที่ผิดพลาด คลาดเคลื่อนนั้น

มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ.


.


ฉะนั้น

สมัยนี้ ทุกท่านจึงควรศึกษาและพิจารณา พระธรรมวินัย

โดยละเอียด.


เพราะว่า

ผู้ที่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ในสมัยนี้

ไม่ใช่ อุคฆฏิตัญญูบุคคล หรือ วิปัญจิตัญญูบุคคล.


ผู้ที่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ในสมัยนี้

ย่อมเป็น เนยยบุคคล.


และ ผู้ที่ไม่สามารถจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

แม้ว่าจะได้ฟังธรรมมาก อ่านธรรมมาก

สนทนาธรรมมาก กล่าวธรรมมาก

ก็เป็น ปทปรมบุคคล.


.


ฉะนั้น

พระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงมหากรุณาแสดง

โดย ตลอด ๔๕ พรรษา นั้น.

ก็เพื่ออนุเคราะห์

ผู้เป็นเนยยบุคคล และ ปทปรมบุคคล.


.


ทุกท่าน จึงควรศึกษา ให้เข้าใจจริง ๆ ว่า

การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม นั้น...คือ รู้ อะไร.!


และ หนทางที่จะรู้แจ้งการเกิดขึ้นและดับไป

ของนามธรรม และ รูปธรรม ที่ปรากฏ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

ได้จริง ๆ นั้น.


ต้อง อบรม เจริญ...อย่างไร.!


.


จึงจะชื่อว่า

เป็นผู้ที่เข้าใจ ประโยชน์อย่างแท้จริง ของการศึกษาพระธรรมวินัย

ว่า ศึกษา เพื่อเกื้อกูลให้สติ ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

ที่ พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสรู้

และ ทรงพระมหากรุณา แสดงไว้โดยละเอียด.


.


แม้แต่ ลักษณะของจิต.!

ที่ได้กล่าวถึงแล้ว.

และ "จิต" ซึ่งกำลังเห็น

ก็เป็น "สติปัฏฐาน"

ซึ่งเป็น สภาพธรรม ที่ "ปัญญา" สามารถอบรมเจริญขึ้น

จนประจักษ์แจ้ง สภาพที่เป็น "อนัตตา"

ซึ่งก็คือ

การเกิดขึ้นและดับไป ของสภาพธรรมทั้งหลาย

ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ วัตถุสิ่งใด ๆ เลย.!

ตามปกติ ตามความเป็นจริง

ในชีวิตประจำวัน.

ชีวิตเป็นของน้อย การฟังธรรมเป็นกำไรชีวิต ที่หากำไรอย่างอื่นมาทดแทนไม่ได้ และ

ถึงจะฟังเท่าไรเพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิดสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้จิตเกิดการคิดที่ถูก

ต้องนั้น เป็นเรื่องยากมาก การปรุงแต่งของจิตดูเหมือนว่าจะเป็นไปตามโลภะ โทสะ

และโมหะเกือบตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ฟัง ๆ ๆ ยากจริง ๆ

ชนเหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ

และรู้ธรรมอันหาสาระมิได้ โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้

ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมบรรลุธรรมอันเป็นสาระ

พระธรรมเป็นของยาก ละเอียด และลึกซึ้งมาก มิเช่นนั้นพระพุทธองค์คงไม่ต้องใช้

เวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญพระบารมีถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ เพราะฉะนั้นไม่ควรรีบ

ร้อนที่จะบรรลุเร็ว ๆ หรือจะให้สติปัฎฐานเกิดเร็ว ๆ บางท่านยังไม่เข้าใจถึงลักษณสภาพ

ธรรมที่กำลังปรากฎที่มีอยู่จริง ๆ ไม่ว่าทางตา ทางหู...และทางใจ ว่ารูปธรรม นามธรรม

มีลักษณะอย่างไร ก็บอกว่าได้ประจักษ์การเกิดดับแล้ว..ไม่ควรประมาทว่าพระธรรมง่าย

สามารถบรรลุเร็ว ควรศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบ ไม่เช่นนั้นก็จะเดินทางผิดต้อง

วนเวียนอยู่ในวัฎฎะต่อไป การฟังพระธรรมควรตั้งใจฟังและพิจารณาให้ตรงให้ถูกใน

สิ่งที่กำลังฟัง ไม่ควรจดหรือเขียนขณะฟังพระธรรม เพราะว่าขณะที่จดนั้นก็ไม่ได้ฟัง

หรือไตร่ตรองพระธรรม

Re: จิตแม้ทุกดวง

เสาร์ 22 ส.ค. 2009 9:52 am

ขอบคุณครับผม
ตอบกระทู้