พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตกับวิบาก

อังคาร 11 ส.ค. 2009 9:21 pm

ทำไม จิต จึงไม่เป็น ๕ ชาติ.?

ในเมื่อ "เหตุ" มี ๒ ชาติ.

คือ อกุศลธรรมเป็นเหตุ ๑. และ กุศลธรรมเป็นเหตุ ๑.

ฉะนั้น

วิบากจิต ก็ควรจะมี ๒ ชาติ ด้วย.!

คือ น่าจะมี อกุศลวิบากจิตชาติ ๑. และ กุศลวิบากจิตชาติ ๑.


.


การที่ จิต มี ๔ ชาติ.

เพราะเหตุว่า.....วิบากจิต เองนั้น

ไม่ชื่อว่า เป็นธรรมชาติที่เลว ปานกลาง หรือ ประณีต.!


.


แต่

อกุศลจิต และ กุศลจิต นั้น

ต่างกัน โดยประการต่าง ๆ


.


เช่น

ต่างกัน โดยความวิจิตร ของอกุศลธรรม หรือ กุศลธรรม.!


ในขณะนั้น ๆ ซึ่งเป็นไป ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.




.


ต่างกัน โดย กรรม.!


ที่เป็น ขั้นทาน ก็มี.....ที่เป็น ขั้นศีล ก็มี

และ ขั้นอบรมเจริญปัญญา

เช่น

ขั้นการฟังธรรม ขั้นแสดงธรรม เป็นต้น.


และ ขั้นอบรมเจริญกุศลที่เป็นความสงบระงับกิเลส

ซึ่งเป็น "สมถภาวนา"


และ ขั้นอบรมเจริญสติปัฏฐาน

ซึ่งเป็น "การอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา"


.


และ ต่างกัน โดยทวาร.!


เช่น

การกระทำโดยกาย หรือ โดยวาจา หรือ โดยใจ.


.


และยังต่างกัน ด้วย อธิบดี.!


คือ

สภาพธรรมที่เป็น "สัมปยุตตธรรม...ที่เป็นใหญ่"

หรือ โดย "เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย" ที่ต่าง ๆ กัน.!


.


ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า

สภาพธรรมที่เป็น "เหตุ" คือ อกุศลธรรม และ กุศลธรรม

มีหลายประเภท และ ต่าง ๆ กัน มากมาย.!



แต่ "ความต่าง" เหล่านี้ ไม่มีในวิบากจิต.!


.


"วิบากจิต"

เป็นเพียง ผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้ว.!


ซึ่งเมื่อ กรรมสุกงอม

พร้อมด้วยโอกาสปัจจัยที่ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น

วิบากจิต ก็เกิดขึ้น

กระทำปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ หรือ กิจอื่น ๆ

ที่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.
คำว่า พุทธะ หรือ พุทโธ โดยสูงสุดเป็นพระนามของท่านผู้รู้ คือพระพุทธเจ้า

ดังคำอธิบายจากอรรถกถาว่า พระผู้พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าพุทฺโธ เพราะ

ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงยังหมู่สัตว์ให้รู้ .....

แม้พระอริยสาวกก็ได้นามว่าพุทธะ เพราะท่านมีปัญญารู้ตามพระพุทธเจ้า ท่านตื่น

จากความหลับ คือ กิเลสทั้งหลาย ท่านเบิกบานด้วยการรู้ความจริง แม้ผู้ที่ศรัทธา

ในพระพุทธเจ้า พระธรรมที่พระองค์แสดง พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

ก็ชื่อว่าพุทธบริษัท หรือพุทธมามะกะ เพราะนั่งใกล้ เพราะเคารพ ศึกษาประพฤติ

ปฏิบัติตามตามพระธรรมคำสอน ส่วนผู้ที่เคารพบูชานับถือศาสดาอื่น ชื่อว่าขาด

จากความเป็นพุทธะ หรือการตายของปุถุชนผู้พุทธมามะกะ ก็ชื่อว่าหมดสภาพเช่นกัน

อนึ่งพระธรรมคำสอนของพระธองค์ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นสัจจธรรม

ทั้งหมด ไม่มีคำไม่จริงเลย

นิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติของพระอริยบุคคลระดับสูง คือพระอนาคามีและพระอรหันต์

ที่ท่านฌาน ๘ ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน เป็นสุขวิหารธรรมอันประณีต บุคคลประเภท

อื่นไม่มีโอกาส แต่การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นกิจ

ที่ควรอบรม ควรเจริญ อย่างยิ่ง

หากไม่มีปัญญาขั้นต้นที่เป็นการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่มีทางถึง

นิโรธสมาบัติได้เลย ที่สำคัญไมได้หมายความว่า เมื่ออบรมปัญญา รู้ลักษณะของสภาพ

ธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ทุกคนจะต้องได้นิโรธสมาบัติ บางอย่างเป็นเรื่องไกล......

ขอให้เข้าใจหนทางในการรู้ลักษณะสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ประเสริฐ

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า กรรม คือ เจตนา เมื่อมีเจตนากระทำ ด้วยกาย

หรือด้วยวาจา ด้วยใจ จึงชื่อว่าเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ดังนั้น ในการเดินทางใน

ชีวิตประจำวัน ขณะเดินทางอาจเหยียบถูกสัตว์เล็กสัตว์น้อยตายโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือขณะ

ขับรถชนแมลงและสัตว์ต่างๆตายโดยไม่ได้ตั้งใจ ลักษณะนี้ตามหลักธรรมคำสอนแสดง

ว่าไม่เป็นอกุศลกรรมบถ เพราะฉะนั้นเมื่อศึกษาพระธรรมโดยละเอียดย่อมทราบความจริง

ว่าลักษณะอย่างไรเป็นอกุศลกรรมบถ ลักษณะอย่างไรไม่เป็นกรรมบถ ทำให้ผู้ศึกษาไม่ต้อง

ไปกังวลหรือเกิดอกุศลกับเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 648

เรื่องบาป เรื่องกรรมพระพุทธองค์ได้แสดงไว้ชัดเจนว่า อยู่ที่เจตนา ถ้าหากเราคิด

มากจนเกินไป ในชีวิตวัน ๆ หนึ่งไม่สามารถทำอะไรได้เลย เช่น ชาวนาไถนาทำให้

สัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดินตาย การขับรถไปต่างจังหวัดทำให้แมลงและสัตว์ตาย การ

เดินทางไปทำงานทำให้เหยียบสัตว์เล็กสัตว์น้อยตาย การเปิดไฟทำให้แมลงมาเล่นไฟ

ตาย เป็นต้น ซึ่งตามความจริงในสมัยครั้งพุทธกาลก็มีการตามประทีป และมีแมลงมา

ตอมไฟทำให้แมลงตาย แต่พระพุทธองค์มิได้รับสั่งให้ดับประทีปนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 41

นายพรานกุกกุฎมิตร ท่านเป็นพระโสดาบัน แต่ท่านส่งอาวุธให้สามีผู้เป็นนาย

พรานเพื่อไปล่าเนื้อ การกระทำของภรรยาไม่มีเจตนาฆ่าเลย จึงไม่เป็นบาป

ในพระวินัยปิฎก ทรงอนุญาตให้พระภิกษุจุดไฟรับเพื่อป้องกันตัวเองและเสนา-

สนะจากไฟ ป่าที่ไหม้มาใกล้ ฉะนั้น การกระทำของเราในชีวิตประจำวัน ใน

บางครั้งทำให้สัตว์ตายโดยไม่เจตนา จึงไม่เป็นบาป

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 103

[พระเจ้าอโศกตรัสถามข้อสงสัยในเรื่องบาป]

พระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว ก็ตกลงพระทัยว่า

บัดนี้ พระเถระจักสามารถเพื่อจะยกย่องพระศาสนาได้ จึงตรัสถามความสงสัย

ของพระองค์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! โยมได้ส่งอำมาตย์นายหนึ่งไปด้วย

สั่งว่า เธอไปยังพระวิหารระงับอธิกรณ์แล้วนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถเถิด

ดังนี้ เขาไปยังพระวิหารแล้ว ได้ปลงภิกษุเสียจากชีวิตจำนวนเท่านี้รูป บาป

นั้นจะมีแก่ใคร ?

พระเถระ ทูลถามว่า ขอถวายพระพร ! ก็พระองค์มีความคิดหรือว่า

อำมาตย์นี้ จงไปยังพระวิหารแล้ว ฆ่าภิกษุทั้งหลายเสีย.

พระราชา. ไม่มี เจ้าข้า.

พระเถระ. ขอถวายพระพร ! ถ้าพระองค์ไม่มีความคิดเห็นปานนี้ไซร้

บาปไม่มีแด่พระองค์เลย.



[พระโมคคลีบุตรติสสเถระอ้างพระพุทธพจน์เล่าอดีตนิทาน]

ลำดับนั้น พระเถระ (ถวายวิสัชนา) ให้พระราชาทรงเข้าพระทัย

เนื้อความนี้ด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวเจตนาว่าเป็น

กรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ๑ ดังนี้. เพื่อแสดง

เนื้อความนั้นนั่นแล พระเถระจึงนำติดติรชาดกมา๒ ( เป็นอุทาหรณ์) ดังต่อ

ไปนี้.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร ! ในอดีตกาล นกกระทาชื่อ ทีปกะ

เรียนถามพระดาบสว่า


ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! นกเป็นอันมาก

เข้าใจว่า ญาติของพวกเราจับอยู่แล้ว จึงพา

กันมา นายพรานอาศัยข้าพเจ้าย่อมถูกต้อง

กรรม เมื่อนายพรานอาศัยข้าพเจ้าทำบาป

นั้น ใจข้าพเจ้า ย่อมสงสัย ว่า (บาปนั้น

จะมีแก่ข้าพเจ้า หรือหนอ ?).

พระดาบส ตอบว่า ก็ท่านมีความคิด ( อย่างนี้ ) หรือว่า ขอนกทั้งหลายเหล่า

นี้มา เพราะเสียง และเพราะเห็นรูปของเราแล้วจงถูกแร้ว หรือจงถูกฆ่า

นกกระทา เรียนว่า ไม่มี ท่านผู้เจริญ

ลำดับนั้น ดาบสจึงให้นกกระทานั้นเข้าใจยินยอมว่า ถ้าท่านไม่มีความ

คิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริง กรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หาถูกต้อง

บุคคลผู้ไม่คิดไม่

ถ้าใจของท่าน ไม่ประทุษร้าย (ใน

การทำความชั่ว) ไซร้ กรรมที่นายพราน

อาศัยท่านกระทำ ก็ไม่ถูกต้องท่าน บาปก็

ไม่ติดเปื้อนท่าน ผู้มีความขวนขวายน้อย

ผู้เจริญ (คือบริสุทธิ์).

Re: จิตกับวิบาก

พุธ 12 ส.ค. 2009 12:16 am

ขอบคุณครับท่าน
ตอบกระทู้