นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 พ.ค. 2024 7:00 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สันโดษ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 17 ก.ค. 2009 7:59 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4561
อะไร..".เป็น "เครื่องวัด"

ว่า "สันโดษ" หรือเปล่า.!



เพราะว่า ถ้ายังมีกิเลสอยู่...จะไม่ยินดีพอใจ ในสิ่งที่ปรากฏ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้น.



เป็นไปได้หรือ...ในเมื่อยังมีกิเลสอยู่.!



เพราะฉะนั้น

การที่จะถึง "ความเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเลย" นั้น

เป็นไปได้ไหมคะ.....สำหรับผู้ที่ไม่มี "ปัญญา"


และ

"กิเลสที่มีอยู่"

จากการที่ "มีกิเลสมาก"....ไปจนถึงการที่จะ "ไม่มีกิเลสเลย"

เป็นไปได้ไหม.?



เพราะฉะนั้น

คำสอนของพระผู้มีพระภาค

ก็เป็นไปตามลำดับขั้น.



.



ถึงแม้ว่า เป็นบุคคลผู้ซึ่ง "ยังมีกิเลส" อยู่

เพราะว่า

เป็นบุคคลผู้ซึ่ง "ยังไม่ได้ดับกิเลส"



แต่ "กิเลส" นั้น

ถึงกับทำให้ คนอื่นเดือดร้อน หรือ ตนเองเดือดร้อน หรือเปล่า.?



เพราะฉะนั้น

"ปัญญา" เท่านั้น ที่จะทำให้ทราบ ว่า

ขณะนั้น...สันโดษ หรือ ไม่สันโดษ.!



.



อะไร เป็น "เครื่องวัด"



อย่างเช่น พระภิกษุ ท่านมีจีวร ๓ ผืน...ใช่ไหม.?

และถ้าหากท่านมีมากกว่านั้น......สันโดษไหม.?



และ ถ้าหากมีคนนำจีวร มาถวายให้ท่าน เป็นจำนวนมาก

ท่านรับไป แล้วท่านนำจีวรที่ได้รับนั้นไป เพื่อ"ประโยชน์"

(เช่น มอบให้พระภิกษุที่ยังไม่มีจีวร เป็นต้น)

เพราะท่านจะเก็บไว้เป็นของท่านเอง ก็ไม่ได้.!


นั่น คือ "ชีวิตของบรรพชิต"



.



แล้วสำหรับ "ชีวิตของคฤหัสถ์"

ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างแล้ว...ใชไหม.?



การที่ คฤหัสถ์จะ "สันโดษ" อย่าง บรรพชิต

เป็นไปได้ไหม.?



เช่น จะมีใครที่ "พยายาม" จะมีเสื้อเพียง ๓ ตัว

เป็นไปได้ไหม.?



เพราะฉะนั้น

เมื่อมีเท่าไร ก็ยินดี เท่าที่มี.!



และ ขณะใด

ที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่น่าพอใจ

และ เป็นที่ต้องการที่จะได้มา.



ขณะนั้น

ถ้าไม่กระทำทุจริตกรรม.!

ขณะนั้น

ก็ชื่อว่า มีความสันโดษ คือ พอใจในสิ่งที่มี.


(โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และ บุคคลอื่น เพราะการกระทำทุจริตกรรม)



ขณะนั้น

มีความพอใจ ในสิ่งที่ตนสามารถแสวงหามาได้ ตามกำลัง.!


ถ้า สิ่งที่แสวงหามาได้นั้น...แสวงหามาโดยไม่เป็นโทษ.!


เพื่อที่จะทำให้ การดำรงชีวิต มีความสบายขึ้น

และไม่เดือดร้อนเพราะ "ความต้องการที่มาก"



เพราะถ้าหาก "ความต้องการที่มาก" นั้น

มาก จนถึงกับ...กระทำทุจริตกรรม.!


คือ "กระทำทุจริตกรรม"

เพื่อให้ได้มา ซึ่งสิ่งที่ตนเองยินดีพอใจ.!


(นี่คือ ไม่สันโดษ แล้ว.!)



.



เพราะฉะนั้น

เป็นเรื่องของ "ปัญญา"

ที่จะต้อง รู้ ถึง "สภาพธรรม" ที่ได้สะสมมา

ตามลำดับขั้น ด้วย.!



ด้วยเหตุนี้

"การไม่กระทำทุจริตกรรม"

ก็เป็นระดับของ "ความสันโดษ" ขั้นหนึ่ง.



แต่

หากใคร...ที่สามารถจะมี "ความสันโดษ"

ได้มากกว่านี้อีก....ก็เป็นไปได้

ตามกำลังของ "ปัญญา"
"ภูมิที่มีขันธ์ ๕"

คือ

"ภูมิ" ที่มีทั้ง รูปขันธ์ และ นามขันธ์.


.


ขณะที่ "ปฏิสนธิ" ใน "ภูมิที่มีขันธ์ ๕"

ขณะนั้น

"กรรม" เป็น "ปัจจัย" ทำให้ "กัมมชรูป" เกิดขึ้น.


.


"กัมมชรูป"

ได้แก่

จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป

ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป หทยรูป

เป็นต้น.


(กัมมรูป) ซึ่ง เกิด-ดับ-สืบต่อ

ดำรง สภาพ ความเป็นบุคคล

ที่ไม่ตาบอด ไม่หูหนวก ฯลฯ

เป็นต้น.


.


เช่น......ถ้า ขณะใด

ที่ "กรรม" ไม่เป็น "ปัจจัย" ทำให้ "จักขุปสาทรูป" เกิดขึ้น

บุคคลนั้น.......ก็ ตาบอด ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้เลย.

เป็นต้น.


.


ฉะนั้น

"จิตเห็น" และ "จิตอื่นๆ"..... ทุก ๆ ขณะ

จะเกิดขึ้นได้....ก็จะต้อง อาศัย "ปัจจัย"


.


ขณะที่ "วิถีจิต" ยังไม่เกิดขึ้น

ขณะนั้น.......เป็น "ภวังคจิต"

ที่ กระทำกิจ คือ

เกิด-ดับ-สืบต่อกันไป เรื่อย ๆ


.


เมื่อ รูปใด เกิดขึ้น กระทบกับ ปสาทรูปใด

และ ในขณะแห่ง ภวังคจิต ขณะใด.........

ขณะนั้น "วิถีจิต" ยังเกิดขึ้นทันทีไม่ได้.!


.


แต่ เพื่อ ให้ทราบว่า

รูป เกิดขึ้น กระทบกับ ปสาทรูป ณ ภวังคจิต ขณะใด.!

จึงมีการ "บัญญัติ" คำว่า "อตีตภวังค์"


.


"อตีตภวังค์"

คือ

"ภวังคจิต" ขณะที่ รูปใดรูปหนึ่งเกิดขึ้น กระทบกับปสาทรูป.

และ เป็น ภวังคจิต ที่เหมือนกับ ภวังคจิต ขณะก่อน ๆ


.


เพราะแม้ว่า "รูป".....เกิด-ดับ เร็วมาก

แต่ "จิต".........เกิด-ดับ เร็วกว่า รูป.!


.


ดังนั้น

"สภาวรูป".......รูปหนึ่ง รูปใด นั้น

มีการเกิด-ดับ เท่ากับ การเกิด-ดับของจิต ๑๗ ขณะ.


.


ฉะนั้น

"อตีตภวังค์"

คือ ภวังคจิต ขณะที่รูปเกิดขึ้น กระทบกับ ปสาทรูป.


.


ทั้งนี้...เพื่อที่จะให้เข้าใจ ว่า

รูป ที่กระทบกับ ปสาทรูป นั้น....จะดับเมื่อไร.!


เพราะว่า

รูป......รูปหนึ่ง นั้น

มีอายุเท่ากับ การเกิด-ดับ ของจิต ๑๗ ขณะ เท่านั้น.


.


เมื่อ อตีตภวังค์ ดับไปแล้ว

เป็นปัจจัย ที่ทำให้ ภวังคจิตขณะต่อไป เกิดขึ้น

ภวังคจิตขณะต่อไป นั้น.......มี ลักษณะไหวไป

ซึ่ง เรียก "ภวังคจิตขณะนั้น" ว่า "ภวังคจลนะ"

ซึ่ง ก็ยังเป็น ภวังคจิต นั่นเอง.!


.


เพราะเหตุว่า

"วิถีจิต" จะเกิดขึ้น

โดย คั่น "กระแสของภวังคจิต" ทันที...ไม่ได้.!


.


ฉะนั้น....เมื่อ ภวังคจลนะ ดับไปแล้ว

เป็นปัจจัย ที่ทำให้ ภวังคจิตขณะต่อไป เกิดขึ้น

ซึ่ง เรียก ภวังคจิตขณะนั้น ว่า "ภวังคุปเฉทะ"


.


"ภวังคุปเฉทะ"

เป็น "ภวังคจิต" ขณะ ที่ ตัด กระแสของภวังค์.!


เพราะว่า

"ภวังคุปเฉทะ"

เป็น

"ภวังคจิตขณะสุดท้ายของกระแสภวังค์"


.


เมื่อ "ภวังคุปเฉทะ" ดับไปแล้ว

"วิถีจิต"...จึงสามารถเกิดขึ้นได้.


.


และ กระทำกิจ คือ...."รู้อารมณ์"

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ ต่อไปได้.

"วิถีจิตทุกขณะ" ที่ "รู้อารมณ์ทางตา"

เป็น "จักขุทวารวิถีจิต" เพราะว่า "รู้" รูปารมณ์.


"รูปารมณ์" คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่งกระทบกับจักขุปสาท

และ สิ่งที่ปรากฏทางตา นั้น ยังไม่ดับ.


.


"วิถีจิตทุกขณะ" ที่ "รู้อารมณ์ทางหู"

เป็น "โสตทวารวิถีจิต" เพราะว่า "รู้" สัททารมณ์.


"สัททารมณ์" คือ เสียง ที่กระทบกับ โสตปสาท

และ เสียงนั้น ยังไม่ดับ.


.


"วิถีจิตทุกขณะ" ที่ "รู้อารมณ์ทางจมูก"

เป็น "ฆานทวารวิถีจิต" เพราะว่า "รู้" คันธารมณ์.


"คันธารมณ์" คือ กลิ่น ที่กระทบกับ ฆานปสาท

และ กลิ่นนั้น ยังไม่ดับ.


.


"วิถีจิตทุกขณะ" ที่ "รู้อารมณ์ทางลิ้น"

เป็น "ชิวหาทวารวิถีจิต" เพราะว่า "รู้" รสารมณ์.


"รสารมณ์" คือ รส ที่กระทบกับ ชิวหาปสาท

และ รส นั้น ยังไม่ดับ.


.


"วิถีจิตทุกขณะ" ที่ "รู้อารมณ์ทางกาย"

เป็น "กายทวารวิถีจิต" เพราะว่า "รู้" โผฏฐัพพารมณ์.


"โผฏฐัพพารมณ์" คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ที่กระทบกับ กายปสาท

และ เย็น-ร้อน หรือ อ่อน-แข็ง หรือ ตึง-ไหว อย่างหนึ่งอย่างใด ยังไม่ดับ.


.


"วิถีจิตทุกขณะ" ที่ "รู้อารมณ์ทางใจ"

เป็น "มโนทวารวิถีจิต"


"มโนทวารวิถีจิต" รู้อารมณ์ได้ ทุกอารมณ์

ได้แก่

รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ

ซึ่ง "มโนทวารวิถีจิต" รู้อารมณ์เหล่านี้ ต่อจาก "ปัญจทวารวิถีจิต"


และ "มโนทวารวิถีจิต" ยังสามารถรู้ "ธัมมารมณ์" ด้วย.!


.


"ธัมมารมณ์"

หมายถึง

อารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางใจ

(คือ ทางมโนทวาร)

ทางเดียวเท่านั้น.!


.


"อารมณ์ทั้งหมด" จำแนกเป็น ๖ อารมณ์

ซึ่ง "จิต" รู้ได้ ทาง ๖ ทวาร.....ดังนี้ คือ



"รูปารมณ์"

จิต รู้ได้ ทางจักขุทวาร และ ทางมโนทวาร.


"สัททารมณ์"

จิต รู้ได้ ทางโสตทวาร และ ทางมโนทวาร.


"คันธารมณ์"

จิต รู้ได้ ทางฆานทวาร และ ทางมโนทวาร.


"รสารมณ์"

จิต รู้ได้ ทางชิวหาทวาร และ ทางมโนทวาร.


"โผฏฐัพพารมณ์"

จิต รู้ได้ ทางกายทวาร และ ทางมโนทวาร.


"ธัมมารมณ์"

จิต รู้ได้ ทางมโทวาร เพียงทวารเดียว.


.


"มโนทวารวิถีจิต"

รู้อารมณ์ ได้ทั้ง ๖ อารมณ์.

(รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์)


.


"ธัมมารมณ์"

รู้ได้ ทาง "มโนทวารวิถีจิต" เท่านั้น.!



จะมีธรรมะใดเป็นธรรมะที่เป็นเครื่องกั้นกระแสของตัณหาและกิเลสทั้งหลาย

ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสว่า

มีสติ เป็นเครื่องกั้น มีปัญญาเป็นเครื่องปิดกั้น

เพราะเหตุว่าสติไม่เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามรูปแล้วล่ะก็ ตัณหาก็ย่อมเกิดขึ้นไหลไปตามอารมณ์ต่างๆ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านอชิต ต่อไปว่า

บทว่า สโต ในอุเทศว่า สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเซ ความว่า ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ

มีสติ เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในกาย ๑

มีสติ เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเวทนาทั้งหลาย ๑

มีสติ เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในจิต ๑

มีสติ เจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในธรรมะทั้งหลาย ๑

ไม่เคยทรงแสดงจำกัดเจาะจงว่าให้เจริญสติปัฏฐานหนึ่งสติปัฏฐานใด เพราะเหตุว่าจะต้องรู้ชัดทั้งนามและรู้ ไม่ใช่ว่าจะรู้แต่เพียงรูปหรือว่าไม่ใช่ว่าจะรู้ แต่เพียงนาม แล้วก็จะต้องรู้ชัด รู้ทั่ว จึงจะละคลายได้ เพราะฉะนั้นก็จะต้องเจริญทั้งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: สันโดษ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 17 ก.ค. 2009 11:26 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบคุณครับ

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO