นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 29 มี.ค. 2024 6:47 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: จิตตสังเขปต่อ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 04 ก.ค. 2009 8:18 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4510
จิตตสังเขป

บทที่ ๒.



"เสียง" ที่ปรากฏทางหู....เป็นเสียงเดียวกันหมด...?


หรือว่า...ต่างกัน ตามปัจจัย ที่ทำให้ "เสียงนั้น ๆ" เกิดขึ้น.!


คน มีเท่าไร...."เสียงของแต่ละคน" ก็ ต่างกันไป เท่านั้น.!



.



"จิต" รู้แจ้ง ทุก "เสียง" ที่ปรากฏต่าง ๆ กัน.


ไม่ว่าจะเป็น เสียงเยาะเย้ย เสียงประชด ถากถาง ดูหมิ่น

เสียงลมพัด เสียงน้ำตก เสียงสัตว์ร้อง ฯลฯ


สัตว์นานาชนิด ก็ร้องเสียงต่าง ๆ กัน

หรือ แม้แต่เสียงของคน...ที่เลียนเสียงของสัตว์.


"จิต" ก็ รู้แจ้ง...."ลักษณะของเสียง" ที่ต่าง ๆ กัน


หมายความว่า


"จิตที่ได้ยินเสียง"

"รู้แจ้ง" คือ ได้ยิน เสียงทุกเสียง ที่มี "ลักษณะ" ต่างกัน.



.





สภาพธรรม ทุกอย่าง ปรากฏได้

ก็เพราะ "จิต" เกิดขึ้น...."รู้แจ้งอารมณ์" ที่ปรากฏ นั้น ๆ


เช่น

"จิต" ที่ "รู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก" เกิดขึ้น.!

"จิต ก็ "รู้แจ้งกลิ่น" ต่าง ๆ......ที่ปรากฏ.


ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นสัตว์....นานาชนิด

กลิ่นพืชพันธุ์...ดอกไม้....นานาชนิด

กลิ่นอาหาร กลิ่นแกง กลิ่นขนม

ฯลฯ


ถึงแม้ ไม่เห็น...เพียงแต่ ได้กลิ่น

ก็ รู้ได้.........ว่า เป็น กลิ่นอะไร.!



.



เมื่อ "จิต" ที่ "รู้แจ้งทางลิ้น" เกิดขึ้น.!

"จิต" ก็ "รู้แจ้งรส" ต่าง ๆ....ที่ปรากฏ.


เช่น รสอาหารต่าง ๆ

รสเนื้อ รสผัก รสผลไม้ รสชา รสกาแฟ

รสเกลือ รสมะนาว รสมะขาม ฯลฯ

ต่างก็เป็น "รส" ที่ไม่เหมือนกันเลย.!


แต่ "จิตที่ลิ้มรส"

สามารถ "รู้แจ้งรส" ที่ปรากฏ ที่ต่าง ๆ กันนั้น

แม้ว่า จะต่างกัน......อย่างละเอียด เพียงใด.!

"จิต" ก็สามารถ "รู้แจ้งลักษณะ"

ที่ต่างกัน อย่างละเอียดนั้นได้.


เช่น

ขณะที่ ชิมอาหาร......"จิตที่ลิ้มรส" รู้แจ้งใน "รสนั้น"

จึงรู้ว่ายังขาด "รส" อะไร...จะต้องปรุงอะไร เติมอะไร.

เป็นต้น.



.



"จิต" ที่รู้แจ้ง "สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย"

รู้แจ้ง..."ลักษณะ" ต่าง ๆ ที่กระทบ "เฉพาะทางกาย"



เช่น

ลักษณะ เย็น-ร้อน ลักษณะ อ่อน-แข็ง

และ ลักษณะ ตึว-ไหว

ที่กระทบสัมผัสทางกาย

และ "จิตรู้แจ้งลักษณะ" ได้...เฉพาะ "ทางกาย" เท่านั้น.



.



ท่านผู้หนึ่ง...ท่านเล่าให้ฟัง ว่า

ท่านกำลังยืนอยู่ที่ถนน ก็เกิดระลึกรู้ "ลักษณะแข็ง" ที่ปรากฏ

แล้วต่อไป...ก็ "คิด" ว่า "แข็งนี้" เป็น ถนน.


และต่อไป...

ก็ "คิด" ว่า "แข็งนี้" เป็นรองเท้า...เป็นถุงเท้า.


นี่เป็น "ความคิดเรื่องลักษณะแข็ง" ที่ปรากฏ.!



"จิตที่คิด" เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ เมื่อมีการกระทบ "ลักษณะแข็ง" ทางกาย

"จิต" จึง "คิด"

ว่า "ลักษณะแข็ง" นี้ เป็นอะไร.!


แสดงให้ทราบว่า

ไม่มีใคร สามารถยับยั้ง "การคิดนึก"

ถึง "เรื่องราว" ของสิ่งต่าง ๆ ได้.!



แต่

การที่จะ "รู้ลักษณะ" ของสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง ได้

ต้อง เป็น "ปัญญา"


คือ "ปัญญา" ที่รู้ว่า

"จิต" เกิดขึ้น "รู้แจ้งอารมณ์" แต่ละ ขณะ ๆ

แล้ว ต้องดับไป อย่างรวดเร็ว.


เช่น

ขณะที่กำลัง "คิดถึงเรื่อง" ถนน รองเท้า ถุงเท้า ฯลฯ

ไม่ใช่ "ขณะที่กำลังรู้แจ้ง....ลักษณะที่แข็ง"

เป็นต้น.



.



ฉะนั้น


การที่..."ปัญญา" จะ "รู้ชัด" ใน "ลักษณะ" ของสภาพธรรม

ตามปกติ ตามความเป็นจริง นั้น.


"ปัญญา" จะต้อง "รู้ชัด"

ว่า

ขณะที่คิด ไม่ใช่ตัวตน...ที่คิด.!

แต่

เป็น "จิต" ที่กำลังรู้...."เรื่องที่คิด"


และ


"จิตที่คิด" ไม่ใช่ "จิตที่เห็น"


"จิตที่เห็น" รู้ อารมณ์ ทางตา.


"จิตที่คิด" รู้ อารมณ์ ทางใจ.


เป็นต้น.



.



ตามปกติ...ขณะที่สภาพธรรมใด ปรากฏทางกาย

จะต้องเป็น "ลักษณะ" ที่ เย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหว

อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ตาม..........


ขณะนั้น...ยังไม่รู้ ว่า เป็นอะไร.!

แล้วภายหลัง...จึงรู้ ว่า อ่อน หรือแข็ง (เป็นต้น) นั้น เป็นอะไร.!


และ ถ้าอยู่ในที่มืด

บางท่าน...ก็อาจจะต้อง ลืมตา และ เปิดไฟ

เพื่อดู ว่า กำลังกระทบสัมผัส อะไร.!


ฉะนั้น

ตามความเป็นจริงแล้ว

ขณะที่ "จิตรู้ลักษณะแข็ง" นั้น

ไม่มี โลกของถนน หรือ รองเท้า ถุงเท้า

ฯลฯ


หมายความว่า


ขณะนั้น

ไม่มี "โลกของสมมติบัญญัติ" ใด ๆ เลย

มีแต่ "สภาพรู้" ที่กำลังรู้ "ลักษณะที่แข็ง"



แม้ "สภาพที่รู้แข็งนั้น" ก็ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล

เป็นเพียง "สภาพรู้แข็ง"

ที่เกิดขึ้น แล้ว ดับไป อย่างรวดเร็ว.


แล้ว "จิตที่เกิดภายหลัง"

จึง เกิดขึ้น "คิดนึก" ถึง เรื่องของสิ่งที่ปรากฏ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

โดย "การคิดนึก"

เป็น

"เรื่องราว สมมติ บัญญัติ"....ของสิ่งที่ปรากฏ นั้น ๆ


จนลืม....ว่า

"จิต" ที่เกิดขึ้น "รู้ลักษณะที่แข็ง"......ดับไปแล้ว

"สภาพธรรมที่มีลักษณะแข็ง" นั้นก็...ดับไปแล้ว.

และ "จิตที่คิดนึกเรื่องสิ่งที่แข็งนั้น"....ก็ดับไป.



.



"สภาพธรรม"

ทั้ง นามธรรม และ รูปธรรม

เกิดขึ้น และ ดับไป

สืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว.!


จึงทำให้ "ไม่รู้"

ว่า

"สภาพธรรม"

ทั้ง นามธรรม และ รูปธรรม นั้น

เกิด และ ดับ และ ไม่ไช่ตัวตน.



.



"จิต"


เป็น "สภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์" ที่ปรากฏ

ไม่ว่าจะเป็น "อารมณ์" ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย หรือ ทางใจ.



เมื่อ "ผัสสเจตสิก" กระทบ "อารมณ์" ใด

"จิต" ที่เกิดขึ้นพร้อมกับ "ผัสสเจตสิก" นั้น

ก็ต้อง "รู้แจ้งลักษณะ" ต่าง ๆ

ของ "อารมณ์"นั้น.



เพราะฉะนั้น

แม้คำว่า "รู้แจ้งอารมณ์" ซึ่ง เป็น "ลักษณะของจิต"

และ เป็น "สภาพรู้"...ก็ต้องเข้าใจ ว่า "รู้แจ้งอารมณ์"



"รู้แจ้งอารมณ์"


คือ

การ "รู้ลักษณะ" ที่ต่าง ๆ กัน....ของ "อารมณ์" ต่าง ๆ


รู้ "อารมณ์" คือ อารมณ์ที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.



เมื่อ "จิต" เป็น "สภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์"

"อารมณ์" จึงเป็น "ปัจจัย" หนึ่ง

(ในหลายปัจจัย)

ที่ทำให้ "จิต" แต่ละประเภท เกิดขึ้น....รู้ "อารมณ์" นั้น.




ฉะนั้น

"อารมณ์" จึงเป็น "อารัมมณปัจจัย"



"อารัมมณปัจจัย"


คือ

เป็น "ปัจจัย" ที่ทำให้ "จิต" เกิดขึ้น

โดย เป็น "อารมณ์ของจิต"



"จิต" แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

มี "ปัจจัย" อื่น อีกหลาย "ปัจจัย"


แต่

"จิต" จะเกิดขึ้น โดย ไม่รู้อารมณ์

ไม่ได้.!


ฉะนั้น

"อารมณ์" จึงเป็น "ปัจจัย" หนึ่ง

ในหลาย ๆ ปัจจัย

ที่ทำให้ "จิตแต่ละขณะ" เกิดขึ้น.




.
.
.
จิตตสังเขป

บทที่ ๓.



ประการต่อไป

อีกอย่างหนึ่ง...เพราะเหตุว่า "จิตฺตํ" นี้

ทั่วไป แก่ จิต ทุกดวง.


ฉะนั้น

ในคำ ว่า "จิตฺตํ" นี้


โลกิยกุศลจิต อกุศลจิต และ มหากิริยาจิต.


ชื่อ ว่า "จิต"


เพราะ สั่งสมสันดานของตน

ด้วยสามารถ แห่ง "ชวนวิถี"


.


การที่จะเข้าใจ อรรถ ที่ว่า

ชื่อว่า "จิต" เพราะสั่งสมสันดาน ด้วยสามารถแห่ง "ชวนวิถี" นั้น

จะต้อง เข้าใจ ...."เรื่องของจิต"

ซึ่ง เกิด ดับ...เกิด ดับ ๆ สืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว


ว่า


"นามธรรม" ที่เกิดกับจิต

แล้วดับไป...แต่ละ ขณะ ๆ นั้น

สะสมในจิต ขณะหลัง ๆ

ที่เกิดดับ สืบต่อ นั่นเอง.


.


เมื่อ "จิต" เกิดขึ้น....."เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา"

หรือ....."ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู"

เป็นต้น


ตามปกติ...จะไม่รู้ ว่า ขณะที่ เห็น หรือ ได้ยิน นั้น

เป็น "ลักษณะของจิต"


แต่มักจะรู้ ว่า

ขณะใด...จิตใจเป็นทุกข์ เศร้าหมอง ขุ่นมัว

หรือ ขณะใด...จิตใจสบาย แจ่มใส

ขณะใด...โกรธ ขณะใด...เมตตาสงเคราะห์บุคคลอื่น

ขณะใด...เป็นมิตรไมตรีกับบุคคลอื่น.

ฯลฯ


จิต แต่ละขณะ

ที่เกิด ดับ สืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว นั้น

ก็สั่งสมสันดานของตน.


คือ

ไม่ว่าจะเป็น โลกิยกุศลจิต อกุศลจิต แต่ละขณะ

ที่เกิดขึ้น และ ดับไป นั้น

เป็น "ปัจจัย"

โดย การสะสม สืบต่อ ในจิต "ขณะ" ต่อ ๆ ไป.


เพราะว่า


เมื่อ "จิต" ขณะหนึ่ง เกิดขึ้น แล้ว ดับไป นั้น

การดับไป ของ จิตขณะก่อน ๆ นั้นเอง

เป็น "ปัจจัย" ให้ "จิต" ขณะต่อ ๆ ไป

เกิดขึ้น สืบต่อ ทันที.


ฉะนั้น

จิต ขณะที่เกิดต่อ นั้น

จึงมี "สภาพธรรม" ที่ จิต ขณะก่อน ๆ สะสมไว้

แล้วสืบต่อไป ใน จิต ขณะหลัง ๆ

ที่เกิดต่อ ๆ ไปอีก เรื่อย ๆ..........


.


แต่ละท่าน จะสังเกตได้ ว่า

แต่ละบุคคล มี "อุปนิสัย" ต่าง ๆ กัน

ตาม "การสะสม" ของจิต แต่ละขณะ

ซึ่งเกิด ดับ สืบต่อกัน.



บางท่าน ก็เป็นผู้ที่ใจบุญ ใจกุศล.


เพราะว่า

เมื่อ จิต ที่เป็นกุศล เกิดขึ้นและดับไปแล้ว

จิต ขณะต่อไป ที่เกิดสืบต่อ ก็สะสมบุญกุศล นั้น ๆ

เป็น "ปัจจัย" สืบต่อ ๆ ไป.


และ

อกุศลจิต ก็เช่นเดียวกัน.


ไม่ว่าจะเป็น "จิต"

ที่ประกอบไปด้วย โลภะ โทสะ หรือ โมหะ

เมื่อ "อกุศลจิต" ประเภทนั้น ๆ ดับไปแล้ว

ก็เป็น "ปัจจัย" ให้ จิต ขณะต่อไป เกิดขึ้น

และ.....สืบต่อ "สภาพธรรม"

ที่สะสมอยู่ใน จิตขณะก่อน ๆ

ต่อไปอีก เรื่อย ๆ..................


และ

เหตุ ที่........."จิตขณะหลัง"

เกิดต่อจาก "จิตขณะก่อน"

อยู่เรื่อย ๆ นั้น เป็นเพราะว่า


"จิตทุกดวง" เป็น "อนันตรปัจจัย"


คือ


"จิตทุกดวง"


เป็น "ปัจจัย".........ที่ทำให้ "จิตขณะต่อไป"

เกิดขึ้น สืบต่อทันที ที่ "จิตขณะก่อน" ดับไป.


และ


"จิตทุกดวง" เป็น "อนันตรปัจจัย"

ที่ทำให้ "จิตขณะต่อไป" เกิดขึ้น.



ยกเว้น

"จุติจิตของพระอรหันต์"

เท่านั้น.!



"จุติจิตของพระอรหันต์".......ไม่เป็น "อนันตรปัจจัย"

เพราะเมื่อ จุติจิตของพระอรหันต์ดับ เมื่อปรินิพพาน

ไม่มี "ปฏิสนธิจิต" หรือ จิตใด ๆ เกิดสืบต่ออีกเลย.



ฉะนั้น


"ปัจจัย" ที่กล่าวมาแล้ว...จึงมี ๓ ปัจจัย.


คือ


"สหชาตปัจจัย"


"อารัมมณปัจจัย"


"อนันตรปัจจัย"


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: จิตตสังเขปต่อ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 04 ก.ค. 2009 7:39 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบคุณครับ :P

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO