นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน จันทร์ 14 ก.ค. 2025 9:48 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เจริญจิตภาวนา
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 07 ก.ค. 2025 5:07 am 
ออนไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4985
"..ทีนี้ เราพุทธบริษัทควรจะเคารพอะไร ให้เป็นหลักของใจ จึงจะได้ชื่อว่า เรายึดถือหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินในชีวิตประจำวันของเรา เบื้องต้นเราต้อง เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมอะไรไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ในที่ใด ๆ มากหรือน้อยไว้แล้ว ผลกรรมนั้นต้องตกมาเป็นของตัวอย่างแน่นอน ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้วผู้นั้นไม่สามารถกระทำกรรมอันเป็นบาปได้เด็ดขาด จะทำแต่กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลตลอดเวลา ได้ชื่อว่า "ถือธรรมเป็นที่พึ่ง.."

โอวาทธรรมคำสอน
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
(พ.ศ.๒๔๔๕-๒๕๓๗)







" ชีวิตคนเราถ้าหากว่าไม่มีบุญกุศลติดตัวแล้ว มันก็ไร้ประโยชน์
เพราะว่าจะสวยจะงาม จะหล่อจะเหลาเท่าไหร่ก็ตาม
ไม่พ้นที่จะไปอยู่บนกองไฟ พอไปอยู่ตรงนั้นเมื่อไหร่ก็หมดแล้ว
มีอะไรนอกจากเถ้าถ่าน "

โอวาทธรรม หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร







"บัวใต้น้ำดีเด่น"
"ไปเถอะไปถือศีลภาวนา มันเป็นเรื่องดี
คนบางคนอยู่วัดนาน เข้าวัดนาน จนยึดว่า
วัดเป็นของเขา ของวัดเป็นของเขา พระใน
วัดก็เป็นพระของเขา อยู่จนชิน ชินบาปชินกรรม ไปวัดแทนที่จะไปเอาบุญไปเอาความดี กลับไปจับผิดจับชั่วคนอื่น.."

พระท่านเทศน์ท่านสอนก็ไม่ฟังซะแล้ว

"หูมันสูงกว่าธรรมะ สูงกว่าพระเทศน์ บางคน
มีตำแหน่งหน้าที่ในวัด บางคนมีหน้าที่ทางสังคม เป็นครูเป็นอาจารย์ เลยเป็นกะลาคว่ำ ฝนตกไม่เข้าในกะลา คนแบบนี้หลวงปู่เรียก "พวกบัวใต้น้ำดีเด่น.. "

ปทปรมะ.. ไม่จำเป็นต้องเป็นคนโง่นะ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไม่เข้าวัดนะ บางคนฉลาดเกินธรรม ฉลาดเกินกรรม ฉลาดมากๆ ก็ไม่เห็นธรรมนะ ฉลาดในทางโลก ในทางถือตัวถือตนคิดว่าตนสูงกว่าคนอื่น จนลืมว่าดอกบัวของตัวเองกำลังหันลงสู่โคลน มีแต่นับวันจะจมลงเรื่อยๆ

บัวชนิดนี้ บางดอกเป็นดอกเตอร์ บางดอก
เป็นอาจารย์ บางดอกเป็นพลโท พลเอก
บางดอกเป็นมรรคทายกก็มี นั้นหล่ะหลวงปู่
จึงเรียก "บัวใต้น้ำดีเด่น"

หลวงปู่หา สุภโร







พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
...
“เราเห็นแล้วว่า ถ้วยใบนี้ เอาไว้ที่ไหน
มันก็ต้องแตก จานนี่ เอาไว้ที่ไหน ก็ต้องแตก
แต่เราก็ต้องสอนเด็กว่า ล้างให้มันสะอาด
เก็บไว้ให้ดี เราก็ต้องสอนเด็กอย่างนี้
ตามสมมุติอย่างนี้ เพื่อเราจะใช้ถ้วยนี้นาน ๆ
อันนี้เรารู้จักธรรมะ เอาธรรมะมาปฏิบัติ
ถ้าเห็นว่า อันนี้มันจะแตกอยู่แล้ว เราบอก
เออ ... ช่างมันเถอะลูก กินแล้วก็ไม่ต้องล้าง
มันหรอก จะตกก็ช่างมันเถอะ ไม่ใช่ของเรา
หรอก เอาทิ้งไว้ที่ไหนก็ได้ มันจะแตกอยู่แล้ว
อย่างนี้ก็เป็นคนโง่ไป ถ้าเราเป็น “ผู้รู้สมมุติ”
อันนี้ เมื่อมันเจ็บไข้ ก็หาหยูกยาให้มันกิน
เมื่อมันร้อน ก็อาบน้ำให้มัน เมื่อมันเย็น
ก็หาความอบอุ่นให้มัน เมื่อมันหิว ก็หาข้าว
ให้มันกิน ... แต่ให้เรารู้ว่าให้ข้าวมันกิน มันก็
จะตายอยู่ แต่ในเวลานี้ ยังไม่ถึงคราวจะตาย
เหมือนถ้วยใบนี้ ยังไม่แตก ก็รักษาถ้วยใบนี้
ให้มัน “เกิดประโยชน์” เสียก่อน” ...






"..ทีนี้ เราพุทธบริษัทควรจะเคารพอะไร ให้เป็นหลักของใจ จึงจะได้ชื่อว่า เรายึดถือหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินในชีวิตประจำวันของเรา เบื้องต้นเราต้อง เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมอะไรไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ในที่ใด ๆ มากหรือน้อยไว้แล้ว ผลกรรมนั้นต้องตกมาเป็นของตัวอย่างแน่นอน ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้วผู้นั้นไม่สามารถกระทำกรรมอันเป็นบาปได้เด็ดขาด จะทำแต่กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลตลอดเวลา ได้ชื่อว่า "ถือธรรมเป็นที่พึ่ง.."

โอวาทธรรมคำสอน
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
(พ.ศ.๒๔๔๕-๒๕๓๗)







"..ทีนี้ เราพุทธบริษัทควรจะเคารพอะไร ให้เป็นหลักของใจ จึงจะได้ชื่อว่า เรายึดถือหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินในชีวิตประจำวันของเรา เบื้องต้นเราต้อง เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมอะไรไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ในที่ใด ๆ มากหรือน้อยไว้แล้ว ผลกรรมนั้นต้องตกมาเป็นของตัวอย่างแน่นอน ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้วผู้นั้นไม่สามารถกระทำกรรมอันเป็นบาปได้เด็ดขาด จะทำแต่กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลตลอดเวลา ได้ชื่อว่า "ถือธรรมเป็นที่พึ่ง.."

โอวาทธรรมคำสอน
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
(พ.ศ.๒๔๔๕-๒๕๓๗)







#เอกายนมรรค
.
#การกำหนดลมหายใจนี้ จะต้องพยายามตัดสัญญาอารมณ์ภายนอกออกให้หมด เพราะถ้ามีนิวรณ์มากแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะสังเกตความละเอียดของจิตและลมได้
.
ลมที่อยู่ภายในร่างกายนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ในหัวใจและปอด ส่วนหนึ่งอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ อีกส่วนหนึ่งอยู่ทุกต่อมโลหิตทั่วสรีระร่างกาย ทั้งหมดนี้เป็นลมที่มีลักษณะไหวตัวอยู่เสมอ แต่มีอีกส่วนหนึ่งเป็นลมเฉย ๆ มีลักษณะว่างและเบา ลมนี้กั้นอยู่ชิดกะบังลม ระหว่างหัวใจและปอดกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นลมที่อยู่นิ่ง ๆ ไม่ไหวตัวเหมือนกับลมที่อยู่ในปอดและหัวใจ ซึ่งเป็นลมกลั่น ลมนี้มีลักษณะเบาเหมือนก้อนสำลีที่กลิ้งไปบนกระดาษ ไม่ทำความกระทบกระเทือนอันใดให้เกิดขึ้นแก่ส่วนอวัยวะของร่างกายเลย ส่วนลมที่มีอาการไหวตัวนั้น เมื่อปะทะกับเส้นโลหิตก็มีลักษณะร้อน อุ่น และบางทีก็เป็นกากออกมาทางจมูก ธาตุลมนี้ถ้ามีเป็นส่วนมาก ธาตุไฟก็จะมีเป็นส่วนน้อยและทำให้โลหิตเย็น ถ้าธาตุลมมีส่วนน้อย ธาตุไฟก็มีส่วนมาก และทำให้โลหิตร้อน ส่วนเวทนาที่เกิดขึ้นจากการผสมธาตุถูกส่วนนี้ก็คือ ความสบาย เฉย ๆ สบายเย็น ๆ สบายว่าง ๆ เหมือนกับเรามองขึ้นไปในอากาศว่าง ไม่มีอะไรขัดตา บางครั้งก็มีความรู้สึกว่าง สบาย เย็น แต่ไหวตัวนี้เรียกว่า ปีติ
.
ทางที่ดีที่สุด ให้เอาจิตไปไว้กับลมว่าง ๆ ส่วนการใช้ลมให้เป็นประโยชน์ หมายความว่า ให้ขยายเวทนาอันใดอันหนึ่ง ซึ่งมีน้ำหนักมากที่สุด เช่นเห็นมาก หรือว่างมาก หรือสบายมาก หรือมีอาการไหว แต่อาการไหวนี้ไม่ควรใช้ ให้ใช้แต่ความว่าง ความเย็น และความเบา การใช้คือ ขยายวงให้กว้าง ให้มันว่างไปทุกส่วนในร่างกาย นี่เรียกว่ารู้จักใช้เวทนาที่มีอยู่ แต่การใช้เวทนานี้ต้องมีสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ มิฉะนั้น ถ้าเกิดความรู้สึกว่างหรือเบาขึ้นแล้ว เดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่า ไม่มีตัวจริง ๆ อย่างนี้ก็ไม่ใช้
.
ส่วนการขยายเวทนานั้น จะขยายทีละอย่าง หรือจะขยายพร้อมกันก็ได้ แต่ต้องได้รับความเสมอภาคกันทั้งหมด และกำหนดกายทั้งก้อนให้เป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งเรียกว่า“เอกายนมรรค” ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็เปรียบเหมือนกับผ้าขาวทั้งผืน ที่เรากำเข้ามาไว้ในกำมือได้ หรือจะคลี่ออกให้ถึงวาก็ได้ หรือร่างกายของเราซึ่งหนัก ๕๐ กิโลกรัม แต่อาจรู้สึกเหมือนมีน้ำหนักเพียง ๑ กิโลกรัมเท่านั้น อย่างนี้เรียกว่า “มหาสติปัฏฐาน”
.
เมื่อสติเซิบไปทั่วร่างกายดังนี้ ธาตุทุกส่วนก็จะมีงานทำทั่วกันหมด เหมือนคนเราที่ช่วยกันทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่างคนก็ต่างแบก ต่างคนก็ต่างหาม มิช้า งานนั้นก็จะสำเร็จ เบาสบาย เหมือนไส้ตะเกียงเจ้าพายุที่ถูกไฟเผาทั่วทุกเส้นด้าย ย่อมเกิดความเบา สว่าง และขาวรอบตัวของมัน ฉันใด ถ้าเราสุมจิตของเราด้วยสติสัมปชัญญะ ให้เกิดความรู้สึกทั่วตัวแล้วจิตและกายของเราก็จะเบา เหมือนกับไส้ตะเกียงเจ้าพายุฉะนั้น
.
เมื่อเรานึกขึ้นด้วยอำนาจของสติ ก็จะเกิดความสว่างรอบคอบขึ้นในตัวทันที อันความเจริญในร่างกายและในทางจิตใจ ซึ่งสามารถที่จะนั่ง นอน ยืน เดิน ได้อย่างผิดธรรมดา เช่นนั่งหรือยืนได้นาน ๆ โดยไม่เมื่อย เดินได้ไกล ๆ โดยไม่เหนื่อย กินน้อยผิดธรรมดาก็ไม่หิว หรืออดกินอดนอนได้หลาย ๆ วัน โดยไม่เสียกำลัง อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นผลซึ่งเกิดขึ้นทางกาย ซึ่งเราบริหารในส่วนสุขวิทยา
.
ส่วนทางดวงจิตก็ได้รับความเจริญ กล่าวคือความบริสุทธิ์สะอาด ปราศจากมลทินเครื่องปกปิด จิตก็สว่างเบากระจ่างแจ้ง คล่องแคล่ว สว่างไสว ว่องไว และกล้าหาญ เป็น “จิตฺตปุญฺตา” ความเชื่อคือ สทฺธาพลํ ก็แล่นไปเหมือนกับรถที่แล่นไปตามถนนโดยไม่หยุดยั้ง วิรยพลํ ความเพียรก็เร่งรัดก้าวหน้า ไม่ท้อถอย สติพลํ สติก็แก่กล้า สามารถที่จะกำหนดรู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งอดีตและอนาคตได้ เช่น บุพเพนิวาสานุสสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ เป็นต้นญาณนี้ก็คือตัวสติ ถ้าสติแก่กล้าแล้ว ก็ย่อมสามารถที่จะรู้เรื่องกรรมดี กรรมชั่ว และกำเนิดชาติภพของมนุษย์ในโลกได้ สมาธิพลํ จิตก็ตั้งอยู่ในสมาธิอย่างแน่วแน่และมั่นคง ซึ่งอิริยาบถทั้งหลายไม่สามารถที่จะไปฆ่าสมาธิของจิตได้คำที่ว่า “อิริยาบถไม่สามารถฆ่าสมาธิได้” นั้น หมายความว่า ถึงแม้เราจะนั่ง จะยืน จะเดินจะพูด หรือทำอะไร ๆ อยู่ก็ตาม เมื่อจิตนึกจะทำสมาธิเมื่อใด ก็เป็นสมาธิได้เมื่อนั้น คือพอต้องการนึกก็ได้ทันที เมื่อจิตมีกำลังแห่งสมาธิมั่นคงเช่นนี้ ก็สามารถที่จะเจริญวิปัสสนาได้อย่างง่ายดาย ปัญญาพล ปัญญาก็จะเกิดขึ้นเหมือนกับหอกหรือมีดที่คมทั้ง ๒ ด้าน คือความรู้ที่แล่นเข้าไปก็มีคม ความรู้ที่แล่นออกมาก็มีคม
.
เมื่อกำลังทั้ง ๕ ประการนี้เกิดขึ้นในดวงจิตของบุคคลผู้ใด จิตของผู้นั้นก็จะมีความเป็นใหญ่โดยสมบูรณ์ เช่น สทฺธินฺทฺริยํ วิริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ และ ปญฺญินทริยํ ต่างฝ่ายต่างก็มีความเป็นผู้ใหญ่ในตัวเอง ธรรมดาของผู้ใหญ่นั้นย่อมมีนิสัยไม่เกะกะและจะทำอะไรก็สำเร็จ ส่วนเด็กนั้นมักไถลถลาก และทำงานอะไรก็ไม่สำเร็จ ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่ทั้ง ๕ คน เกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อใด ก็สามารถที่จะสั่งงานหรือบริหารกิจการให้สำเร็จได้ทุกอย่าง จิตก็จะมีอำนาจเป็น “มโนมยิทธิ” สามารถที่จะระเบิดสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ให้พินาศหมดสิ้นไปจากใจได้ ที่เรียกว่า อนุสัยกิเลส คือทำความพินาศฉิบหายให้แก่กิเลสได้ทุกอย่าง เหมือนกับระเบิดปรมาณู ซึ่งทำความพินาศฉิบหายให้แก่โลกได้ทุก ๆ แห่ง
.
ฉะนั้นเมื่อมีอำนาจเกิดขึ้นทางใจเช่นนี้ วิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้น เหมือนกับหอกที่มีคมซึ่งใช้ได้ทั้ง ๔ ด้าน หรือเหมือนกับเลื่อยวงเดือน ซึ่งมีกงจักรหมุนไปรอบ ๆ ตัวของมัน ร่างกายก็เหมือนกับแผ่นไม้ที่วางตัวเลื่อย จิตก็เหมือนกับตัวเลื่อย เมื่อหมุนไปทางไหนก็ย่อมตัดสิ่งต่าง ๆที่ป้อนเข้าไปนั้นได้ขาดหมด นี้แหละเรียกว่าวิปัสสนาญาณ นี่กล่าวถึงอำนาจอานิสงส์ของการที่เราทำลมละเอียด แล้วสามารถขยายลมละเอียดนั้นให้เกิดเป็นคุณประโยชน์ขึ้นได้อย่างไรในทางจิตและทางกาย เหตุนั้นจึงควรที่เราจะต้องน้อมนำเข้าไปให้ เพื่อให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่ตนเองบ้างตามสติกำลังที่จะทำได้
.
#พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๕ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๔







..#ผู้เป็นพระโสดาบันนั้น จะรู้ตนว่ามีศีล ๕ ศีล ๘ ครบบริบูรณ์ ถ้ารู้ว่าปฏิบัติได้มากกว่านั้น ก็รู้ตัวว่าได้มากกว่านั้น ไม่สงสัย ไม่ลูบคลำว่าศีลข้อนั้นมันดีหรือไม่ดี พระสกิทาคามีนั้น ละความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงได้แต่ไม่หมด พระอนาคามีนั้นอยู่ในฌานเป็นพรหมจรรย์อยู่โดดเดี่ยว เหมือนคนไม่มีคู่เรียงเคียงหมอน จิตวิญญาณมีอยู่ขันธ์เดียว อยู่กับความสุข ไม่ยุ่งกับใคร ศีล ๘ สมบูรณ์

..สำหรับพระอรหันต์นั้น รู้แจ้งหมดแล้ว หายสงสัยในโลกหมดแล้ว รู้โลกแจ้งชัดเจนแล้ว ไม่หลงโลก ใครจะทำให้หลงก็ไม่หลง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีความต้องการ ร่างกายก็รู้หมด รู้เฒ่า รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย รู้ทุกข์ รู้ยาก พอแล้ว อิ่มแล้ว ไม่เอารูปขันธ์นี้แล้ว เรียกว่าตัดกิเลสขาด ขาดจากความยึดมั่น ถือมั่น วิราโค คลายความกำหนด สิ้นความยินดี ไม่ยินดีกับอะไรในโลกนี้ ความรัก ความชังขาดลอยหมดแล้ว ไม่แต่อุเบกขาญาณ วางเฉยอยู่แต่ยังสอนคนอยู่ จะเอาไม่เอาช่างมัน สอนด้วยความเมตตาเฉยๆ แต่ตัวท่านนั้นทำงานเสร็จแล้ว ไม่มีงานจะทำแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือ การปฏิบัติธรรมอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไม่มีอีก ที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะมาเกิดอีกไม่มี จิตของท่านไม่ต้องพูดถึง เป็นสมาธิทั้งวันทั้งคืน เป็นอยู่ทุกขณะ รู้อยู่ตลอด พุทโธเต็มอยู่บริบูรณ์อยู่ตลอด มีธัมโม สังโฆอยู่ในตัวตลอด

..ท่านว่า ผู้ที่รู้ธรรมย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง และวิญญูชน รู้ด้วยเฉพาะตัวเอง เหมือนว่า ร้อนเรารู้ หนาวเรารู้ เรารู้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่รู้ด้วย ทุกข์เรา ก็รู้อยู่คนเดียวของเรา คนอื่นจะมารู้ไม่ได้ วิญญูชนรู้ได้ด้วยเฉพาะตนเอง ไม่ต้องไปวัดหรอก ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มาวัดหรอก เขาจะวัดของเขาเอง ถ้าเขาหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เขาก็จะรู้ของเขาเองว่าหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอะไรขัดข้องกับจิตใจ..

#หลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป









"ถ้าเราหมั่นหา "อุบาย"
มาอบรมจิตแล้ว
ส่วนมาก "จิต" มักจะ
เฉื่อยชา วางเฉย

ดังนั้น "อุบาย" จึงเป็น
ของสำคัญ
ยกขึ้นสู่การพิจารณา
ชี้แจงให้ "จิต" อาจหาญ ร่าเริง
เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา

ถ้า "จิต" ยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไร
เราต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน
โดย "อุบาย" ให้เท่าเทียมกัน
จนเกิดความขยันขันแข็ง
เบิกบาน ผ่องใส..."

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ







#บันไดสามขั้นของอุบาสกอุบาสิกาที่ดี

เมื่อเราเกิดมีร่างกายมีชีวิตจิตใจ บางอารมณ์ที่มันได้ดั่งใจ..เราก็มีความสุข แต่บางอารมณ์ที่มันไม่ได้ดั่งใจ..มันก็มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นแล้ว สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของจิตใจภายในตัวเราเอง เหมือนพวกเราทุกคน ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะอยากยากจนข้นแค้นแสนลำบากแสนเข็ญ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่า บุคคลใดก็แล้วแต่ อยากจะรวยซึ่งโภคทรัพย์ คือมีเงินทองข้าวของมากมาย มีสวรรค์อยู่ในใจ มีนิพพานอยู่ในใจ บุคคลที่อยากจะรวย อยากจะไปเกิดบนสวรรค์ อยากจะเข้าพระนิพพานนั้น เหมือนที่เรารับจากพระว่า “อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา, สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสมา สีลัง วิโส ..”

บุคคลที่จะไปบังเกิดในภพภูมิของสวรรค์นั้น บุคคลนั้นต้องรักษาศีล หรือเป็นผู้มีศีล
บุคคลใดในโลกนี้ อยากจะร่ำรวยเงินทอง โภคสมบัติ บุคคลนั้นต้องรักษาศีล
บุคคลใดปรารถนาที่จะหนีความทุกข์ ที่จะหนีความสุข เพราะว่าความทุกข์..มันก็ไม่ยั่งยืน ความสุข..มันก็ไม่ยั่งยืน มันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป บุคคลนั้นก็ต้องอาศัยการรักษาศีล เพราะศีลนั้นเป็นบันไดที่ให้พวกเราทุกคนได้เดินทางสู่จุดมุ่งหมาย คือพระนิพพาน

“บันได ๓ ขั้น” ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อุบาสกที่ดี อุบาสิกาที่ดีนั้น

๑. ต้องรู้จักให้ทาน ต้องรู้จักให้ทาน
๒. ต้องรู้จักรักษาศีล
๓. ต้องรู้จักภาวนา คือการนั่งสมาธิเจริญจิตภาวนา

นี่เรียกว่า “หน้าที่” ที่เราเป็นอุบาสกอุบาสิกาต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดเป็นบุญเป็นกุศล

เพราะอำนาจของการให้ทานนั้น ถ้าเรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ จะทำให้เราไม่ไปเกิดในตระกูลยาจกยากจนข้นแค้น เราจะไปเกิดในตระกูลมหาเศรษฐีหรือเศรษฐี พ้นจากความยากจน ด้วยอานิสงส์แห่งการ “ให้ทาน”

“ศีล” ถ้าเราเอาศีลมาประพฤติ เอามาปฏิบัติ เอามารักษา ศีลจะทำให้พวกเรานั้นปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ จะมีอายุยืนยาวนาน และมีร่างกายที่แข็งแรง และจะเกิดเป็นบุรุษหรือเป็นสตรี จะเกิดมารูปร่างผิวพรรณผ่องผุด ผิวพรรณผ่องใส เกิดมามีหน้าตาหล่อ เกิดมามีหน้าตาสวย เพราะอานิสงส์แห่งการ “รักษาศีล”

และ “การเจริญภาวนา” อย่างที่ญาติโยมทุกคนกำลังทำกันอยู่ตอนนี้ ญาติโยมเจริญภาวนา คำว่าไม่รู้ จะไม่พึงบังเกิดขึ้นมีกับญาติโยม คำว่าโง่เง่า ไม่ฉลาด ย่อมจะไม่เกิดมีขึ้นกับพวกเราทุกคน เมื่อเราเจริญจิตภาวนา เราจะเกิดเป็นผู้ฉลาด เกิดเป็นผู้มีปัญญา

ถ้าเราทำได้ครบเหมือนบันได ๓ ขั้นที่เราก้าวเดิน ด้วยผลาอานิสงส์ตรงนี้ ถ้าเรายังเวียนว่ายตายเกิด ยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน ถ้าเราทำ “ให้ทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา” พวกเราทุกคนนั้นย่อมได้อานิสงส์ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงชี้และบอกเอาไว้

พระราชวชิรคุณาธาร, ดร.
(หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
วัดใหม่ปลายห้วย จ.พิจิตร
cr. ตอนหนึ่งจากฝึกกัมมัฏฐานออนไลน์ วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: รสมน และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO